Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Woolrich Outlet

Woolrich

hogan

hogan

hogan

Hogan Sito Ufficiale Hogan Scarpe Hogan Outlet Hogan Scarpe Hogan Hogan Scarpe Hogan Interactive Hogan Donna Scarpe 2013 Hogan Scarpe Outlet Hogan Vendita Hogan Hogan Scarpe 2013 Hogan Scarpe Hogan Scarpe Hogan Hogan Outlet Hogan Scarpe Outlet Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Hogan Outlet Scarpe Hogan Hogan Sito Ufficiale Scarpe Hogan2013 Hogan Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Donna Hogan Interactive Hogan 2013 Hogan Online Hogan Italia Hogan Scarpe
woolrich ASK Hollister Hollister abercrombie abercrombie abercrombie abercrombie woolrich parka Hollister Holliter France Hollister Hollister France Magasin Vetement Hollister Hollister Soldes Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Vente Hollister En ligne Hollister 2013 Hollister France Hollister France 2013 Hollister Hollister Hollister Magasin Hollister Vente Hollister Homme Hollister Pas Cher Hollister T Shirts Hollister Paris Boutique Hollister Vetements Boutique Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Hommes Hollister France Vente Hollister Hollister sortie 2013 Pas Cher Hollister Hollister Pas Cher



ระบอบเผด็จการทหาร สฤษดิ์ – ถนอม – ประภาส

    ก่อนหน้าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กระบวนการการต่อสู้ทางการเมืองของไทยมักจะจำกัดอยู่ภายในวงแคบ เรียกได้ว่าเป็น “การเมืองของอภิสิทธิ์ชน” เกือบตลอดเวลา การเปลี่ยนและครองอำนาจการเมืองกระทำโดยวิธีการใช้กำลังและอิทธิพลสนับสนุนทางทหารหรือตำรวจ
   อำนาจทางการเมืองไทยตกอยู่ในกำมือของกองทัพบกโดยสิ้นเชิง เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นำทหารกองทัพภาคที่ 1 ก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2500 โดยอาศัยความไม่พอใจของประชาชนหลังเกิด “การเลือกตั้งสกปรก” ในเดือนกุมภาพันธ์ 2500 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี หนีไปเขมร ขณะที่พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ลี้ภัยไปสวิตเซอร์แลนด์ จอมพลสฤษดิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นผู้รักษาพระนคร มีการประกาศยุบสภาและนำรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 (ฉบับแก้ไขใหม่ 2495) มาปรับใช้อีกครั้งหนึ่ง
    ระยะแรกจอมพลสฤษดิ์ได้แต่งตั้งนายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรีสำหรับรัฐบาลชั่วคราว และหลังจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500 จอมพลถนอม กิตติขจร นายทหารคนสนิท ก็ได้ขึ้นเป็นนายกฯ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2501 ภายใต้คำบงการของสฤษดิ์ซึ่งกำลังพักรักษาตัวอยู่
    แต่เมื่อบริหารประเทศได้เพียง 9 เดือนเศษ จอมพลถนอมก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้จอมพลสฤษดิ์ทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 แล้วขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศไม่เรียบร้อย คณะปฏิวัติประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ รัฐสภาถูกยุบ มีการห้ามตั้งพรรคการเมือง มีการประกาศกฎอัยการศึก ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน มีการจับกุมผู้ที่ต้องสงสัยว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ทั้งปัญญาชนฝ่ายก้าวหน้า ส.ส. บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ จอมพลสฤษดิ์ยังแต่งตั้งตนเองเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก อธิบดีกรมตำรวจ ขณะที่จอมพลถนอม กิตติขจรเป็นรัฐมนตรีกลาโหม และจอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย มีการฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ และริเริ่มระบอบ “ประชาธิปไตยแบบไทย” ภายใต้การปกครองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ เน้นแนวคิดที่ว่า ชาติเปรียบเสมือนครอบครัว และจอมพลสฤษดิ์เองก็เปรียบเสมือนบิดาของครอบครัวนั้น
    เมื่อจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมในปลายปี 2506 จอมพลถนอมก็รับทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง และจอมพลประภาสรับทอดตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
    รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรรับช่วงบริหารประเทศตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 สืบต่อจากรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จนถึงปี 2511 จึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์เมื่อปี 2502 นับเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาร่างยาวนานมาก และต้องเสียค่าใช้จ่ายในร่างมากที่สุดยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญฉบับใด ๆ ที่เคยมีมาในประเทศไทย (จ่ายเป็นเงินเดือนสมาชิกสภาร่างฯ)
    เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว จึงมีการกำหนดให้วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จอมพลถนอมได้ตั้งพรรค “สหประชาไทย” ขึ้น เพื่อส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. โดยตัวเองรับตำแหน่งหัวหน้าพรรค มีพลเอกประภาส จารุเสถียร และ นายพจน์ สารสินเป็นรองหัวหน้าพรรค มีพลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์เป็นเลขาธิการพรรค ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคของจอมพลถนอมได้ที่นั่งในสภาฯ 75 ที่นั่ง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ 50 กว่าที่นั่ง นอกนั้นเป็น ส.ส. สังกัดพรรคเล็กพรรคน้อย และ ส.ส. อิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด
หลังการเลือกตั้ง จอมพลถนอม กิตติขจรได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งโดยไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง การแบ่งกลุ่มขับเคี่ยวกันเองในพรรคสหประชาไทยก็ปรากฏให้เห็นเด่นชัด ระบอบรัฐสภาปี 2512-14 เป็นเพียงเวทีและเครื่องมือของการสร้างฐานกำลังทางการเมืองภายนอกระบบราชการสำหรับผู้นำกลุ่มต่าง ๆ
    รัฐบาลจอมพลถนอมเข้าบริหารประเทศในบรรยากาศ “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” อยู่นาน 2 ปีกว่า จึงตัดสินใจ “ปฏิวัติรัฐบาลของตัวเอง” เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 โดยอ้างเหตุผลถึงภัยจากต่างชาติที่เข้ามาแทรกแซงและยุยงส่งเสริมให้ผู้ก่อการร้ายกำเริบเสิบสานในประเทศ นอกจากนั้นสถานการณ์ภายในประเทศก็เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงนานาประการ ซึ่งคณะปฏิวัติเห็นว่า หากปล่อยให้มีการแก้ไขไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญแล้ว จะเป็นการล่าช้า จึงตัดสินใจปฏิวัติเพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ของประเทศได้ผลอย่างรวดเร็ว
    เมื่อทำการปฏิวัติแล้ว จอมพลถนอมได้จัดตั้ง “สภาบริหารคณะปฏิวัติ” ขึ้นปกครองประเทศ โดยจอมพลถนอมดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาบริหารคณะปฏิวัติ มีผู้อำนวยการ 4 ฝ่าย คือ 1. พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นผู้อำนวยการฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประเทศ 2. นายพจน์ สารสิน เป็นผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง 3. พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายเกษตรและคมนาคม และ 4. พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการฝ่ายศึกษาและสาธารณสุข
    ส่วนพันเอกณรงค์ กิตติขจร ลูกชายจอมพลถนอมและลูกเขยจอมพลประภาส ยังได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิบัติราชการ (ก.ต.ป.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจมากมายในการตรวจตราการปฏิบัติงานของข้าราชการ
    ในช่วงที่คณะปฏิวัติขึ้นบริหารประเทศนั้น ได้มีเสียงเรียกร้องอยู่เสมอให้คณะปฏิวัติรีบประกาศใช้รัฐธรรมนูญและจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศให้ถูกต้องตามขั้นตอน ประจวบกับในปี 2515 เป็นปีที่สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ซึ่งมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารฯ จึงจำเป็นต้องมีรัฐบาลให้ถูกต้องตามธรรมเนียมนิยม เพราะจะจัดให้มีพระราชพิธีในขณะที่บ้านเมืองยังอยู่ในระหว่างการปกครองของคณะปฏิวัติไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 ซึ่งมีบทบัญญัติทั้งสิ้นเพียง 23 มาตรา รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มี “สภานิติบัญญัติแห่งชาติ” เพียงสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งจำนวน 299 คน โดยสมาชิกมีสิทธิ์ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลได้ แต่ห้ามอภิปรายหรือซักถามเพิ่มเติม ที่สำคัญคือสมาชิกไม่มีอำนาจเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
    สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ มีมติเลือกพลตรีศิริ สิริโยธินเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และมีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจอมพลถนอมเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการครองอำนาจของจอมพลถนอมก็ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ
    ภายใต้ระบอบทหาร สฤษดิ์ – ถนอม – ประภาส เช่นนี้ ระบบราชการค่อย ๆ แยกตัวเองออกจากโลกภายนอก สืบทอดค่านิยม อุดมการณ์ และทัศนคติแบบเจ้าคนนายคน เกิดช่องว่างระหว่างราชการกับประชาชน ระบบราชการกลายเป็นเวทีต่อสู้และแบ่งกลุ่มทางการเมือง ทัศนคติและหลักปฏิบัติของข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการะดับสูง บ่ายเบนไปที่ศูนย์อำนาจและอิทธิพล การพิจารณาความดีความชอบและการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในวงข้าราชการกลายเป็นบันไดขึ้นไปสู่สถานภาพทางการเมือง คณะรัฐมนตรีประกอบไปด้วยข้าราชการประจำและข้าราชการบำนาญเป็นหลัก ข้าราชการกับนักการเมืองสามารถกอบโกยผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเองและบริวารพวกพ้องได้อย่างมหาศาล ระบบราชการเข้าไปผูกพันกับกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง การผูกขาดอำนาจของคณะทหาร ร่วมกับกลุ่มธุรกิจและข้าราชการอนุรักษ์นิยม หลังการเรืองอำนาจของจอมพลสฤษดิ์นับแต่ปี 2501 ได้ก่อให้เกิดการฉ้อฉลถึงขีดสุดและปฏิเสธการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน


download เอกสาร