Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Woolrich Outlet

Woolrich

hogan

hogan

hogan

Hogan Sito Ufficiale Hogan Scarpe Hogan Outlet Hogan Scarpe Hogan Hogan Scarpe Hogan Interactive Hogan Donna Scarpe 2013 Hogan Scarpe Outlet Hogan Vendita Hogan Hogan Scarpe 2013 Hogan Scarpe Hogan Scarpe Hogan Hogan Outlet Hogan Scarpe Outlet Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Hogan Outlet Scarpe Hogan Hogan Sito Ufficiale Scarpe Hogan2013 Hogan Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Donna Hogan Interactive Hogan 2013 Hogan Online Hogan Italia Hogan Scarpe
woolrich ASK Hollister Hollister abercrombie abercrombie abercrombie abercrombie woolrich parka Hollister Holliter France Hollister Hollister France Magasin Vetement Hollister Hollister Soldes Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Vente Hollister En ligne Hollister 2013 Hollister France Hollister France 2013 Hollister Hollister Hollister Magasin Hollister Vente Hollister Homme Hollister Pas Cher Hollister T Shirts Hollister Paris Boutique Hollister Vetements Boutique Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Hommes Hollister France Vente Hollister Hollister sortie 2013 Pas Cher Hollister Hollister Pas Cher

บทสัมภาษณ์ - อติศักดิ์ พงศ์กระจ่างแก้ว
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 เวลา 11.00 น.
สถานที่ มูลนิธิ 14 ตุลา
ตามโครงการของมูลนิธิ 14 ตุลา ในการรวบรวมปากคำของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อไป


ผู้สัมภาษณ์ 1: ในปี 16 พี่ทำอะไรอยู่
คุณอติศักดิ์ :
วันนั้นเป็นช่วงเช้า ผมมาส่งแฟนที่ซอยรางน้ำ ผมก็กลับเข้ามาร่วมในเหตุการณ์ เช้าวันนั้น ประมาณ 7 โมงเกือบ 8 โมง คือ ช่วงคืนวันที่ 13 รัฐบาลกับศูนย์นิสิตได้ตกลงกันแล้วว่าให้นศ.สลายตัว พอเช้าวันที่ 14 ช่วงเวลาดังกล่าว นศ.กำลังจะกลับบ้านแยกย้ายทางราชวัตร ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอมมานโด ปิดกั้นจะไม่ให้ผ่านทางพระราชวัง แต่ให้ผ่านสนามม้าแทน ช่วงนี้เองที่เกิดการกระทบกระทั่งกัน พอกระทบกระทั่ง เข้าใจว่า มีการขว้างหินไปโดนรถของ มนชัย พันธุ์คงชื่น เขาเลยสั่งให้ลุย

ตอนนั้นมี นศ.หญิงโดนตีตาย เป็นจุดเริ่มต้น นศ.ก็เลยหนีข้ามรั้ว ว่ายน้ำข้ามคลองไป เข้าไปอยู่ข้างใน ช่วงหลังในหลวงกับราชินีก็ลงมาที่สนามหญ้า

พอเหตุเกิดตรงจุดนั้นเสร็จ ข่าวก็เข้ามาที่มธ. ศูนย์ฯจึงประกาศว่ารัฐบาลหักหลัง ได้ฆ่านศ.หญิงตายไปแล้ว จากนั้นทางศูนย์ ก็เอารถออกกระจายข่าว เรียกประชาชน และนศ.ให้มารวมตัวกัน จากจุดนี้จึงมีการรวมตัวกันครั้งใหญ่ ในช่วงนั้นผมจะร่วมอยู่ในขบวนแต่จะขี่อยู่ด้านหลัง

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ตอนวันที่ 13 ได้เข้าร่วมบ้างหรือเปล่าครับ
คุณอติศักดิ์ :
ได้เข้าบ้างเหมือนกัน แต่ไม่มีเหตุการณ์

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ตอนนั้นอายุประมาณเท่าไหร่
คุณอติศักดิ์ :
ช่วงนั้นประมาณ 18-19 ปี

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ยังเรียนอยู่หรือทำงานแล้วครับ
คุณอติศักดิ์ :
เปล่าครับ ทำงานแล้ว ทำงานอยู่ที่สวนมะลิ เป็นห้างร้านส่งอะไหล่รถยนต์ เถ้าแก่ให้มอเตอร์ไซต์มาคันนึ่ง ไว้ใช้ส่วนตัว วันนั้นจึงขับมาเข้าร่วม วันนั้น เลือดท่วมเสื้อไปหมดเสียดายที่ไม่ได้เก็บไว้

ผู้สัมภาษณ์ 1 : วันนั้นที่สวนจิตรตอนเช้าพี่ได้อยู่ในเหตุการณ์หรือเปล่า
คุณอติศักดิ์ :
ก็อยู่ครับ ขี่มาเจอเหตุการณ์พอดี ก็เลยขี่มาที่ศูนย์ที่มธ. เลย พอดีมีคนส่งข่าวมาแล้ว แล้วเขาก็เอารถออกแล้วประกาศว่ารัฐบาลหักหลัง ให้คนเข้ามาร่วมประท้วง

ตอน ประพัฒน์ แซ่ฉั่ว ผมก็ยืนอยู่ในเหตุการณ์ ตรงที่ถือกระบองตีทหาร ผมอยู่ตรงไฟแดงนี่เอง ยืนดูอยู่เลย แล้วก็ไปจอดตรงแยกไฟแดงหน้าประชาสัมพันธ์ ณรงค์เอาเฮลิคอปเตอร์ออกมายิง ผมก็หลบอยู่ใต้มอเตอร์ไซต์คันนี้แหละ บินว่อน กราดยิงลงมา ตอนนั้น คนที่ผมช่วยยืนห่างจากผมอยู่ประมาณ 3 เมตรได้ ถูกยิงมาจากข้างบน เนื้อตรงขาหายไปหมดเลย ผมอยู่ใกล้ เขาก็อุ้มมาให้ช่วยส่งโรงพยาบาล


คุณอติศักดิ์ กำลังนำผู้ได้รับบาดเจ็บไปส่งโรงพยาบาล

ผู้สัมภาษณ์ 2 : พี่ไปส่งที่ไหนครับ
คุณอติศักดิ์ :
โรงพยาบาลกลาง

ผู้สัมภาษณ์ 2 : แล้วอาการเขาเป็นอย่างไรบ้าง
คุณอติศักดิ์ :
พอส่งแล้วผมก็กลับเข้ามาร่วมในเหตุการณ์ ไม่ได้ดู ไม่ได้ถามชื่อเลย

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ช่วงก่อนหน้า ที่มีการชุมนุมที่ลานโพ พี่ได้ร่วมบ้างหรือเปล่า
คุณอติศักดิ์ :
ไม่ได้ร่วมครับ ผมอยู่แต่ภายนอก

ผู้สัมภาษณ์ 1 : คือมาอีกทีวันที่ 13 และมาร่วมเดินขบวนเลย
คุณอติศักดิ์ :
ครับ

ผู้สัมภาษณ์ 1 : พอจะเล่าบรรยากาศคร่าวๆ ช่วงกลางวันวันที่ 14 ได้ไหมครับ
คุณอติศักดิ์ :
พอวันที่ 14 เกิดรวมตัวกัน เกิดการปะทะกันหลายจุด จุดที่เราไมได้ไปก็ไม่เห็น คือตอนเช้า พอทางศูนย์ฯ รวมตัวได้ ก็เดินนำนักศึกษาไปที่ลานพระรูป พอมีจำนวนผู้เข้าร่วมมากก็กลับมาที่มธ. แล้วมารวมตัวกันแล้วตั้งขบวนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เต็มไปหมดเลย แล้วทหารก็ออกมา ก็เกิดการยิงกัน


เฮลิคอปเตอร์ ที่กราดยิงประชาชน หน้ากรมประชาสัมพันธ์


เหตุการณ์การบุกเข้าเผา อาคารสถานที่ราชการ บ่ายวันที่ 14 ตค. (กองสลาก)


ภาพมุมสูงที่ คุณอติศักดิ์ กำลังนำผู้ได้รับบาดเจ็บ ไปส่งโรงพยาบาล
ผู้สัมภาษณ์ 1 : พี่อยู่ที่ถนนราชดำเนินทั้งวันเลยหรือเปล่าครับ
คุณอติศักดิ์ :
ผมอยู่เกือบจะ 5 โมงเย็น พอส่งคนนี้ไปโรงพยาบาลแล้ว ผมก็ไม่ได้ไปไหนแล้วก็จะอยู่ในบริเวณราชดำเนิน ก็จะขี่มอไซต์ร่อนไปตามถนนนี้ พอณรงค์เอาเฮลิคอปเตอร์ขึ้นยิง ผมก็หลบที่แยกไฟแดงหน้ากรมประชาสัมพันธ์ หลบอยู่ใต้มอไซต์ เพราะมันหลบไม่ทันแล้ว ก็เลยต้องหลบตรงนั้น ขี่ไปกลัวจะโดนก็วนอยู่แถวนี้

ผู้สัมภาษณ์ 1: รู้สึกอย่างไรบ้างครับ
คุณอติศักดิ์ :
กลัวก็กลัว โกรธก็โกรธ ไม่รู้จะทำอะไร เพราะเราไม่มีอะไร ได้แต่ร่วมช่วยเหลือพี่น้องเราที่บาดเจ็บ

ผู้สัมภาษณ์ 1: ได้ปาอะไรใส่ทหารบ้างไหมครับ
คุณอติศักดิ์ :
ไม่ได้ปา

ผู้สัมภาษณ์ 1: ทหารประจำอยู่ที่กรมประชาสัมพันธ์ ?
คุณอติศักดิ์ :
ประจำอยู่ทั่วเลย ช่วงเหลังจะเผากรมประชาสัมพันธ์ แล้วมีทหารเรือก็มากั้นมาขอ ช่วงนั้นก็เขวี้ยงกระจกเขวี้ยงอะไรกัน

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ตอนบุกเข้าตึกได้เข้าไปด้วยหรือเปล่า
คุณอติศักดิ์ :
เปล่าครับ อยู่ด้านนอก เหตุการณ์ตรงราชดำเนินเห็นมาหมดแหละ ประพัฒน์ อะไรพวกนี้ คือตึกพวกนี้ที่ไหม้ได้ เพราะเอารถดับเพลิงมาแล้วเอาน้ำออก เอาน้ำมันใส่แล้วฉีด ช่วงนั้นช่างกลเก่งมาก

(ดูรูป สยามรัฐวันที่ 15 ตุลา) สยามรัฐรู้สึกจะเป็นวันที่ 14 ครับ มันจะมีรูปที่ซูมมาด้านบน ด้านหน้า ที่ซูมมาด้านบนจะมีประชาชนเต็มไปหมด ที่ตรงหน้าสยามรัฐ

วันที่ 13 นี่พวกแม่ค้า พ่อค้า เอาอาหารมาส่งให้เยอะเลยนะ พวกกระเพรา ข้าวกล่อง เอามาวางไว้ที่อนุสาวรีย์ฯ ใครหิวก็มากิน ตอนที่มีคนโดนยิง ผมไม่ได้ถามชื่อ พอหมอรับตัวที่โรงพยาบาลกลางผมก็กลับมาเลย

ผู้สัมภาษณ์ 1 : คิดว่าโดนยิงหรือโดนสะเก็ดระเบิด
คุณอติศักดิ์ :
เข้าใจว่าโดนยิงนะ น่าจะเป็นเอ็ม 11 เอ็ม 16 หรืออะไรเนี่ย เฉือนเนื้อเขาไปเลย

ผู้สัมภาษณ์ 2 : กระสุนมาจากด้านไหนครับ
คุณอติศักดิ์ :
ด้านบนตึกกรมประชาสัมพันธ์

ผู้สัมภาษณ์ 2 : เห็นคนยิงไหมครับ
คุณอติศักดิ์ :
ไม่เห็นตอนที่ยิง แต่เห็นตอนโดนยิงแล้ว ตอนแรกก็ไม่มีอะไร ผมอยู่ห่างกันประมาณ 3 เมตร ผมคร่อมมอเตอร์ไซต์อยู่ข้างๆ ตอนเขาโดนยิงแล้ว พวก นศ. อุ้มบอกให้ช่วยไปส่งโรงพยาบาล

ผู้สัมภาษณ์ 2 : เขายิงนัดเดียวเหรอครับ
คุณอติศักดิ์ :
คล้ายลูกหลงมา ครับ

ผู้สัมภาษณ์ 2 : ตอนนั้นยิงปังเดียว เสียงเดียว
คุณอติศักดิ์ :
อ๋อ ตอนนั้นยิงปังๆๆ มาตลอดเลย เขายิงมาตลอด แต่ปังนี่คล้ายๆ ลูกหลงมา ตอนนั้นเสียงปืนตลอดทั้งวันเลยวันนั้นน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ 2 : ตอนนั้นประมาณ กี่โมงได้ครับ
คุณอติศักดิ์ :
ช่วงนั้นประมาณ บ่าย 3 บ่าย 4 โมงเย็นแล้ว ผมอยู่ตั้งแต่ หน้าสวนจิตรฯ จุดนั้นเป็นจุดที่เริ่ม 14 ตุลานะ ตอนคืนวันที่ 13 มีการตกลงกันแล้วว่าจะมีการเลือกตั้ง ให้นายกฯ แต่เช้านั้นคล้ายๆ น้ำผึ้งหยดเดียวน่ะ ไปเขวี้ยงโดนรถเขาแหละ เขาก็โมโห สั่งลุย สั่งให้ผลักดัน แล้วก็ตี นศ. ผู้หญิงตาย

ผู้สัมภาษณ์ 2 : พี่อยู่ตรงหน้าสวนจิตรฯ เลยใช่ไหมครับ
คุณอติศักดิ์ :
จังหวะที่ขับรถมาเจอพอดี มีคนบอกให้ขับรถไปที่ มธ.เพื่อไปแจ้งข่าว ผมก็ขี่ไปที่หน้าประตู

ผู้สัมภาษณ์ 2 : พอเกิดเหตุรุนแรง ไม่ทราบมีนักศึกษาตอบโต้บ้างหรือเปล่า นศ.เขาหนีหรือเขาตีตำรวจเพราะเห็นในภาพนศ.บางคนถือไม้
คุณอติศักดิ์ :
หนีข้ามคลองแล้วก็ว่าย มีแต่หนีน่ะ งัวเงีย บางคนก็อดนอน แต่ช่วงที่จุดแรกเลย ประชาชนสลายตัวจะกลับบ้านแล้ว คอมมานโดก็ไล่ตี

ผู้สัมภาษณ์ 1 : พี่ก็เลยขี่รถมาแจ้งข่าว
คุณอติศักดิ์ :
ครับก็ขี่มาที่ มธ.

ผู้สัมภาษณ์ 1 : แล้วพอมาถึงทาง มธ.เตรียมตัวไว้แล้วหรือ ?
คุณอติศักดิ์ :
ก็เริ่มเตรียมตัวเอารถออก แล้วพูดผ่านเครื่องขยายเสียง เรียกร้องให้ประชาชนรวมตัวเพราะรัฐบาลหักหลัง ฆ่านศ.หญิงตายไปแล้วคนนึง

ผู้สัมภาษณ์ 2 : พอผ่านสวนจิตรฯ พี่ก็เข้ามา มธ.
คุณอติศักดิ์ :
ผมก็ขี่มาที่หน้ามธ. แล้วก็ทางศูนย์ก็เอารถออกกระจายข่าว แล้วก็เดินไปลานพระรูป แล้วก็ย้อนกลับมามธ. มาราชดำเนิน มา (อนุสาวรีย์) ประชาธิปไตย

ผู้สัมภาษณ์ 2 : อันนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ บอกข่าวกับผุ้ชุมนุมว่าเราโดนหักหลังหรือครับ การที่เราเดินเวียนมา
คุณอติศักดิ์ :
คล้ายๆ ไปรวมพลังกันก่อน เดินไปมธ.แล้วมาที่ราชดำเนิน

ผู้สัมภาษณ์ 1 : นั้นพักอยู่แถวไหนครับ
คุณอติศักดิ์ :
อยู่ฝั่งธนฯ วัดเสวกตฉัตร คลองสาน ผมกลับมาบ้านแม่ผมตกใจ แม่ผมนึกว่าโดนยิง ผมบอกแม่ผมช่วยเขาเนี่ย ไปส่งโรงพยาบาลมา เขาโดนยิงบาดเจ็บ กลับมาเลือดเต็มหมดเลย เพราะว่าเขาเอามือจับ พอขึ้นรถเขาเอามือกอดผม เลือดก็ไหลเลอะเต็ม

ผู้สัมภาษณ์ 1 : วันที่ 15 ได้เข้าร่วมด้วยหรือเปล่าครับ
คุณอติศักดิ์ :
วันที่ 15 ไม่ได้ไป เพราะวันที่ 15 มันสงบแล้วไง เก็บกวาด เสียหายเยอะ ตายเยอะน่ะ แต่มันหลายจุดเราไม่เห็น

ผู้สัมภาษณ์ 1 : เห็นมีข่าวลือว่าทหารเอาศพไปเก็บที่อื่นด้วย
คุณอติศักดิ์ :
ตรงนี้ผมไม่ได้ข้อมูลนะ แต่อาจเป็นไปได้ ทำลายหลักฐานประมาณนี่

ผู้สัมภาษณ์ 2 : พี่ไปเจอเพื่อนในขบวนบ้างหรือเปล่า
คุณอติศักดิ์ :
ไม่เจอเลย ลุยไปคนเดียวเลย

ผู้สัมภาษณ์ 2 : ตอนหลังเหตุการณ์ได้คุยกับเพื่อนบ้างหรือเปล่าว่าได้ไปร่วมเหตุการณ์มาด้วย
คุณอติศักดิ์ :
พอเช้าไปทำงานที่ร้าน เขาเห็นนสพ.สยามรัฐ เขาเห็นรูปผมเต็มไปหมด ผมยังไม่รู้เลย เพิ่งไปเห็นที่นั่นเหมือนกัน ผมเก็บไว้นะ แต่มันย้ายบ้านบ่อย หายเป็นเล่มๆ เป็นพ๊อกเก็ตบุ๊คก็มี แล้วก็จะมีหน้าปกเป็นรูปคนแบกศพที่คลุมธงชาติ

ผู้สัมภาษณ์ 1 : สงสัยเป็นศพ คุณจิระ บุญมาก ที่ถูกยิงช่วงเที่ยง ไม่ทราบว่าได้อยู่ในเหตุการณ์หรือเปล่าครับ
คุณอติศักดิ์ :
ไม่ได้อยู่ในเหตุกาณณ์นั้น ครับ แต่หนังสือพ๊อกเก็ตบุ๊คที่พิมพ์ขายจะมีรูปนี่กับรูปผมขี่มอเตอร์ไซต์อยู่ด้วย

ผู้สัมภาษณ์ 1 : วันที่ 13 พี่ไปเข้าร่วมตั้งแต่แรกเลยหรือเปล่าครับ
คุณอติศักดิ์ :
ตอนนั้นไปตอนเย็น ตอนนั้นไปคนเดียวเลย มอเตอร์ไซต์คันเนี๊ยะ

ผู้สัมภาษณ์ 1: เกิดความรู้สึกอย่างไรถึงอยากจะร่วมครับ
คุณอติศักดิ์ :
คล้ายๆ เรารู้ว่า ที่นิสิต นักศึกษา ที่เขาเดินขบวนเขาเรียกร้องประชาธิปไตย เหมือนกับว่าเราก็ไปร่วมด้วยนะ เราแบบว่างน่ะ มัน...ใจมันชอบ มันรัก อยากจะไปร่วม

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ขี่รถไปจากที่ทำงานเลย?
คุณอติศักดิ์ :
ขี่มาจากบ้าน เพราะวันนั้นผมหยุด เช้าอีกวันไปที่ร้าน เขาบอกว่านี่ไงรูป

ผู้สัมภาษณ์ 2 : ที่พี่ขับรถพาคนเจ็บไปส่งที่ไหนครับ ?
คุณอติศักดิ์ :
คนเจ็บอยู่หน้าสยามรัฐ ฯ ไปส่งที่โรงพยาบาลกลาง


เหตุการณ์หน้าพระบรมมหาราชวังสวนจิตรลดา เช้าวันที่ 14 ตค. หลังจากตำรวจคอมมานโด เข้าสลายการชุมนุมของนิสิต นักศึกษาประชาชน


เหตุการณ์หน้าพระบรมมหาราชวังสวนจิตรลดา เช้าวันที่ 14 ตค. ขณะที่ขบวนนิสิต นักศึกษา ประชาชน ถูกตำรวจคอมมานโด ขวางกั้นไม่ให้แยกย้ายกลับ


เหตุการณ์หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ (รร.รอยัล) ในภาพคือนายประพัฒน์ แซ่ฉั่ว กำลังยืนถือกระบองท้าทหาร ซึ่งภายหลังนายประพัฒน์ ถูกยิง จนเป็นที่มาของฉายา “ไอ้ก้านยาว”


เศษซากของตึก กตป. ที่ถูกประชาชนร่วมกันเผาทำลาย ในวันที่ 14 ตค. 2516


เหตุการณ์หน้าพระบรมมหาราชวังสวนจิตรลดา เช้าวันที่ 14 ตค. หลังจากที่ตำรวจคอมมานโดได้ล้อมปราบ ทำให้นักศึกษา ประชาชน บางส่วนหนีข้ามคลองไปยังฝั่งของพระราชวัง
ผู้สัมภาษณ์ 2 : คนเยอะไหมคัรบที่โรงพยาบาลกลาง
คุณอติศักดิ์ :
แน่น ล้นออกมาเลย ...ช่วงที่ไปลานพระรูป ผมจะอยู่ท้ายขบวนแล้วก็ช่วงที่สน.นางเลิ้งโดนเผา ตอนนั้นจะมีกองบัญชาการตำรวจนครบาล

ผู้สัมภาษณ์ 2 : โทษนะครับ ย้อนกลับมานิดนึง ตอนที่ขับรถจากสวนจิตรมาที่ มธ. ยังไม่มีเสียงปืน
คุณอติศักดิ์ :
อ๋อ ไม่มีครับ เป็นตอนเช้าอยู่ คือคืนวันที่ 13 น่ะเขาตกลงกันแล้ว เขาจะสลายตัวแล้ว รัฐบาลจะคืนอำนาจให้ จะมีการรัฐบาลมีการเลือกตั้ง เช้าวันที่ 14 เป็นวันที่สลายตัว

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ตอนนั้นพี่อยู่บริเวณส่วนไหนพอนึกออกไหม
คุณอติศักดิ์ :
แผงนี่มันจะกั้น จะอยู่ช่วงสนามม้าเนี่ย

ผู้สัมภาษณ์ 2 : ตรงนี้ถนนเส้นไหนครับ
คุณอติศักดิ์ :
เส้นที่อยู่ตรงข้ามสวนสัตว์ดุสิต

ผู้สัมภาษณ์ 1: นี่เป็นรถของศูนย์นิสิต หรือว่า...? (ดูรูป)
คุณอติศักดิ์ :
ไม่แน่ใจว่าเป็นรถพยาบาล หรืออะไรนี่แหละ (รูปถ่ายหน้าสวนจิตร) นี่แหละที่โดนตีแล้วหนี ตรงจุดนี่แหละที่นศ.ผู้หญิงตาย

ผู้สัมภาษณ์ 1 : พอเห็นพี่ก็เลยขี่มาที่มธ.
คุณอติศักดิ์ :
ครับ ผมไม่ได้เข้าไป ผมก็มาที่ประตูมธ. ยังไม่เห็นรถถัง ไม่เห็นอะไรเลย รู้สึกรถถังจะออกมาตอนสายแล้ว ผมเองก็ได้ไปยืนดูประพัฒน์แซ่ฉั่วไอ้ก้านยาวด้วยในตอนนั้น

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ตอนที่โดนยิงพี่คิดว่าเขาตายไหมครับ
คุณอติศักดิ์ :
ผมก็คิดว่าเขาตายเหมือนกัน โดนหลายนัดนะ มารู้ตอนหลังว่าโดนยิงขา ผมก็ยืนดูอยู่

ผู้สัมภาษณ์ 1 : คิดว่าหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาแล้วสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปบ้างหรือเปล่า
คุณอติศักดิ์ :
เปลี่ยนไปเยอะเลย จากนั้นก็เปลี่ยน พอเราได้ประชาธิปไตยก็เปลี่ยน เปลี่ยนจากเผด็จการ 20 กว่าปี อยู่ใต้ปากกระบอกปืน อยู่ใต้อำนาจเผด็จการ ช่วงนั้นณรงค์ใหญ่มาก เขาจะแต่ตั้งให้เป็นจอมพลนะ แต่ว่ามีเหตุก่อน

ผู้สัมภาษณ์ 2 : ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลามีเหตุการณ์ ข้าวแพง ไม่ทราบว่ากินเวลานานไหม
คุณอติศักดิ์ :
นานเป็นปี

ผู้สัมภาษณ์ 2 : ในความรับรู้ของคนทั่วไป มีความรับรู้ว่ารัฐบาลช่วยเหลือ หรือ โกงกินอย่างไรบ้างครับ
คุณอติศักดิ์ :
ใครๆ ก็รู้ว่าเขาโกง แต่ไม่มีใครกล้าพูด เขาก็รู้ว่าณรงค์โกงกินอย่างตึก กตป. ตอนนั้น มีการเผา มีคนบอกให้โดด แต่ไม่ยอมโดด ผมเห็นตอนที่ไฟไหม้ เขาบอกให้โดดยังไงก็ไม่ตายหรอก ก็ไม่ยอม เผาไหม้เกรียมอยู่บนตึกโน่น

ช่วงนั้น ณรงค์ ยิ่งใหญ่มา ป้อมตำรวจตรงคลองหลอด ยกทิ้งลงคลอง

ผู้สัมภาษณ์ 1: ช่วงนั้นก็ทั้งกลัวทั้งเกลียด
คุณอติศักดิ์ :
มันสารพัดน่ะ ทั้งเกลียดทั้งสาปแช่ง ประชาชนทำไรไม่ได้ ต้องอยู่ใต้อำนาจ คิดดูประชาชนตั้งกี่ล้านคน กลัวคนแค่ 3 คน 20 กว่าปีน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ 1 : มันจึงระเบิดออกมาเป็นเหตุการณ์พวกนี้
คุณอติศักดิ์ :
ใช่ครับ ตอนนั้นที่เด่นๆ ก็มี อ.ธีรยุทธ บุญมี และ อ.เสาวนีย์นี่แหละ เท่าที่ผมได้สัมผัส แต่ก็มีหลายคนที่เป็นผู้นำ ก็จากวันนี้ก็เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง พอเราได้ประชาธิปไตย ได้นายกฯ

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ช่วง 6 ตุลา ได้เข้ามาร่วมเหตุการณ์หรือเปล่า
คุณอติศักดิ์ :
ผมไม่ได้เข้ามาร่วม พอหลังจากเหตุกาณณ์ 14 ตุลา ก็เก็บตัวเงียบเลย ไม่เปิดเผย เพราะว่าได้ข่าวประกาศหาคนในเหตุการณ์ ตอนนั้นผมไม่กล้ามา ไม่ทราบว่าเขาจะหลอก กลัวมีภัยกับตัว ตอนช่วงนั้น 18-19 นะ ตอนนี้ 54 แล้ว

ผู้สัมภาษณ์ 2 : ช่วงที่มีการยิงนศ.ที่หน้าสน.ชนะสงครามไม่ทราบว่าได้อยู่หรือเปล่า
คุณอติศักดิ์ :
ไม่ได้อยู่ครับช่วงนั้นกลับมาแล้ว เหตุการณ์ครั้งนี้ยิ่งใหญ่มาก ตอนนั้นหน่วยช่างกล ไปเอารถดับเพลิง แล้วเอาน้ำออก จากนั้นนำน้ำมันใส่ แล้วเอามาฉีด ทำให้เผาได้ พวกหน่วยฟันเฟือง กระทิงแดงนี่แหละ

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ก่อนเข้าร่วมเหตุการณ์มีความสนใจด้านการเมือง มาก่อนหรือเปล่า
คุณอติศักดิ์ :
ไม่ได้สนใจนะ ทำงานทั่วไป

ผู้สัมภาษณ์ 1 : แต่พอเห็นเหตุการณ์ก็อยากเข้าร่วม
คุณอติศักดิ์ :
ก็อยากครับ ตั้งแต่วันที่ 14 ตอนเช้า อยู่ทั้งวันเลย ข้าวปลาไม่หมด พวกพ่อค้าใส่ลังมาวางไว้ที่หน้าอนุสาสวรีย์ มีพวกนักศึกษาเป็นคนแจก

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ปัจจุบันพี่พักอยู่ที่ไหนครับ
คุณอติศักดิ์ :
อยู่หนองจอกครับ ผมไปซื้อบ้านอยู่ลำหิน เดี๋ยวผมให้ที่อยู่ไว้ก็ได้

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ตอนนี้ทำงานอะไรอยู่ครับ
คุณอติศักดิ์ :
ทำอยู่ที่ ขสมก. เป็นนายท่า อยู่ที่สวนสยาม เขตการเดินรถที่สอง

ผู้สัมภาษณ์ 1 : สะพานผ่านฟ้า ตอนที่พี่เข้ามาร่วมเป็นตอนเย็นๆ แบบนี้หรือเปล่าครับ
คุณอติศักดิ์ :
ครับ

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ตอนไปถึงพระบรมรูปมีการปราศรัยอะไรหรือเปล่า ในคืนวันที่ 13
คุณอติศักดิ์ :
ช่วงนี้ไม่ได้เข้าไป

ผู้สัมภาษณ์ 1 : พี่เข้ามาร่วมตอนเย็นแล้วได้เดินต่อหรือกลับครับ
คุณอติศักดิ์ :
เย็นนั้นก็กลับ เช้าก็มาดู วันที่ 13 ไม่มีอะไร มีแต่คนรวมพลังเจรจารัฐบาล (ดูรูปหน้าสวนจิตร) นี่แหละครับตัวเหตุ ของเหตุการณ์ 14 ตุลาเกิดเหตุจากจุดตรงนี้จริงๆ บางคนไม่ทราบว่าเหตุการณ์ 14 ตุลา เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ตอนนั้นตอนเช้าจะกลับบ้าน กันน่ะ อ่อนเพลียกันหมด ไม่ได้หลับไม่ได้นอน นอนหลับกันนี่แหละริมถนน แล้วก็ตอนเช้าก็จะเดินทางกลับ นี่แหละจุดที่ปะทะ น้ำผึ้งหยดเดียว

ผู้สัมภาษณ์ 1 : ขอบคุณมานะครับที่สละเวลา นี่เป็นของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ครับ หนังสือรวมปาฐกถาของมูลนิธิฯ ตั้งแต่ปี 46 หวังว่าโอกาสหน้าจะได้พูดคุยกันอีกนะครับ...