Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Woolrich Outlet

Woolrich

hogan

hogan

hogan

Hogan Sito Ufficiale Hogan Scarpe Hogan Outlet Hogan Scarpe Hogan Hogan Scarpe Hogan Interactive Hogan Donna Scarpe 2013 Hogan Scarpe Outlet Hogan Vendita Hogan Hogan Scarpe 2013 Hogan Scarpe Hogan Scarpe Hogan Hogan Outlet Hogan Scarpe Outlet Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Hogan Outlet Scarpe Hogan Hogan Sito Ufficiale Scarpe Hogan2013 Hogan Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Donna Hogan Interactive Hogan 2013 Hogan Online Hogan Italia Hogan Scarpe
woolrich ASK Hollister Hollister abercrombie abercrombie abercrombie abercrombie woolrich parka Hollister Holliter France Hollister Hollister France Magasin Vetement Hollister Hollister Soldes Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Vente Hollister En ligne Hollister 2013 Hollister France Hollister France 2013 Hollister Hollister Hollister Magasin Hollister Vente Hollister Homme Hollister Pas Cher Hollister T Shirts Hollister Paris Boutique Hollister Vetements Boutique Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Hommes Hollister France Vente Hollister Hollister sortie 2013 Pas Cher Hollister Hollister Pas Cher

บทสัมภาษณ์ - บรรจง คงสุทธิ์
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 10.15 น.
สถานที่ มูลนิธิ 14 ตุลา
ระยะเวลา : 2 .20 ชม.
ผู้สัมภาษณ์ : สมิทธ์ ถนอมศาสนะ และ ปฤณ เทพนรินทร์
ตามโครงการของมูลนิธิ 14 ตุลา ในการรวบรวมปากคำของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อไป


คุณบรรจง : เมื่อผมได้เข้าเรียน ศึกษาที่กรุงเทพฯ ผมได้เห็นความแตกต่าง โดยเฉพาะได้รับการสั่งสอนจากอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ สามารถมองภาพชัดขึ้น

เอ่อ วิชาความรู้ต่างๆ ที่อาจารย์สอนมานี่ ผมสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ และด้านสังคมด้านนิติศาสตร์ เหมือนอาจารย์สัญญานี่สอนชัดเจนว่า นิติปรัชญาเนี่ย เมื่อเราเรียนรู้เรื่องกฎหมาย ต้องเรียนให้ลึกถึงของคำว่า “นิติปรัชญา” เพราะนักศึกษารุ่นปัจจุบัน ส่วนมากไม่ได้เรียนนิติปรัชญา คือการเข้าใจกฎหมาย มันไม่ลงลึกในรายละเอียด

โดยเฉพาะรัฐบาลที่ผ่านมานี่ เรื่องการตีความน่ะ ทางกฎหมาย นักกฎหมายก็จะแบ่งเป็น 2 พวก เพราะว่าไม่เข้าใจในเรื่องนิติปรัชญา ที่เป็นความคิดเห็นที่แตกต่าง ที่ศึกษามาจากอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

ผู้สัมภาษณ์ : พี่เข้ามาศึกษาที่ธรรมศาสตร์ช่วงปีไหนครับ
คุณบรรจง :
ช่วงนี้แหละฮะ ช่วง 14 ตุลานี่

ผู้สัมภาษณ์ : ช่วงปี 16 เลยเหรอครับ
คุณบรรจง :
ครับ

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบรรจง :
แล้วศึกษาต่อที่รามคำแหงด้วยช่วงนี้

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ศึกษาสองที่เลยนะครับ
คุณบรรจง :
ครับ ใช่

ผู้สัมภาษณ์ : นิติศาสตร์ทั้งคู่รึเปล่าครับ
คุณบรรจง :
ครับ นิติศาสตร์ แล้วก็วิทยาศาสตร์ที่รามคำแหง เอกวิทยาศาสตร์ที่รามคำแหง อ่า นิติศาสตร์ที่ธรรมศาสตร์

อาจารย์สัญญาเคยสอนพวกเราว่า เมื่อดำรงตำแหน่ง สมมติว่ารัฐมนตรีหรืออะไรต่างๆ ก็มันต้องคิดเรื่องเกณฑ์จริยธรรมด้วยนะ คือต้องเข้าใจเรื่องพวกนี้ เอ่อ ไม่ใช่กอบโกยหรืออะไรทั้งสิ้น มันเป็นสาเหตุของความเป็นธรรมน่ะ

พวกเรานี่ เมื่อมีความรู้แล้ว สามารถซื้อได้น่ะ ปริญญานี่ ประกาศนียบัตรตีเป็นเงินได้ สามารถซื้อขายได้ ซึ่งเหมือน ส.ส. หรือว่านักการเมือง มันมีการขายตัวอะไรต่างๆ มีการย้ายพรรค บางคน คนเดียวนี่ย้ายไปตั้งเกือบสิบพรรค แบบนี้เนี่ย จริยธรรมมันไม่มี เพราะนี่มันสะสม ปกครองมา คือมันมองเห็น แต่ว่าต้องเรียนรู้

ด้านที่ปรัชญาของพื้นฐานเรื่องของศาสนา เรื่องพวกจริยธรรมพวกนี้ มันต้องรู้ด้วย นักศึกษาที่เรียนมานี่ ปัจจุบันเนี่ย เพื่อประกอบอาชีพที่มันถูกต้อง และความเป็นธรรมมันจะเกิดขึ้น เพราะว่าถ้าไม่เรียนรู้พวกนี้ลึกๆ แล้ว เรื่องการตีความเรื่องกฎหมาย เรื่องนี้ ผมจะเห็นชัดว่ารัฐบาลที่ผ่านๆ มานี่ เรื่องในการตีความน่ะ จนเพื่อนที่เป็นนักกฎหมายอยู่ปัจจุบันเนี่ย หรือเป็นอาจารย์ เป็นศาสตราจารย์อยู่ปัจจุบัน คือเหมือนกับว่าเขามองภาพไม่ชัด หรือว่าเขาละเลยตรงนี้ ครับ นี่คือภาพรวม

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ แล้วช่วง ช่วงก่อนที่คุณบรรจงจะเข้ากรุงเทพฯ นี่ คุณบรรจงได้รับรู้เรื่องข่าวสารการเมืองจากสื่อต่างๆ บ้างไหมครับ
คุณบรรจง :
สื่อเมื่อก่อนค่อนข้างจะถูกปิดกั้นหนังสือด้วย แม้กระทั่งปัจจุบันนี้นะ หรือเรื่องทีวีน่ะ ผมว่าเรื่องพวกนี้ พูดเรื่องสื่อ เช่นทีวีปัจจุบันเนี่ย ไม่มีช่องไหนเลยที่พูดเรื่องความเป็นธรรม พูดเรื่องการทำมาหากินที่ชัดๆ น่ะ ไม่มีสักช่องหนึ่งเลย นี่ผมก็หวังมาว่าทีวีปัจจุบันนี่ มันดูได้ไง มันไม่มีช่องไหนเลยที่กลายเป็นสื่อเสรีจริงๆ สมมติว่าพูดเรื่องการทำมาหากินของชาวบ้าน พูดเรื่องผักปลอดสารพิษ อะไรพวกนี้ คือ มีแต่ละครน้ำเน่าน่ะ

เรื่องสื่อตอนนี้ เหมือนพวกผมไปอยู่ทางใต้เนี่ย ไม่ได้รับเลย เหมือนกับสามจังหวัดภาคใต้ปัจจุบันนี้ คือเขาขาดรับรู้ โอกาสเปลี่ยนแปลงในชีวิต วิถีชีวิตในปัจจุบันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เหมือนกับว่าถูกปิดกั้น ที่ต่างจังหวัดนี่บอดเลย มันค่อนข้างจะบอดสมัยผมด้วย

พอเข้ามากรุงเทพฯ ผมก็ได้อ่านหนังสือของ เอ่อ โกมลคีมทอง เคยได้ยินไหมครับ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบรรจง :
ครับ นั่นคือยุคแรกที่จุดประกาย ที่ผมได้เข้ามาอยู่ด้วยตัวเอง

ผู้สัมภาษณ์ : หนังสือที่อ่านคือซื้ออ่านเองหรือว่ามีเพื่อนแนะนำครับ
คุณบรรจง :
มี มีเพื่อนแนะนำ แล้วผมก็เข้าร่วมใน staff ของทีมงานของกิจกรรมนักศึกษา ผมไปอยู่ตรงไหนนี่ ผมจะร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น สลัม คุณครูประทีป อึ้งทรงธรรมนี่ก็เคยร่วมมา ตอนชุดแรกๆ เลย ประมาณปี ’15 มูลนิธิสลัม คลองเตย แต่ผมเข้าไปปั๊บเนี่ย ผมก็รู้แล้วว่าตรงนี้ไม่สามารถเดินไปข้างหน้าได้ เรื่องสลัมเนี่ย เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ผมนี่เข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาหลากหลายมาก

ผู้สัมภาษณ์ : ตั้งแต่ปี 1 เลยใช่ไหมครับ
คุณบรรจง :
ใช่ครับ เพราะว่าผมอยู่ในที่ต่างจังหวัดนี่ก็พวกเป็นกรรมการ staff เชียร์อยู่แล้ว คือ กิจกรรมนักศึกษานี่ผมจะทำตลอด ตั้งแต่สมัยมัธยมแล้ว เพราะว่าอยากจะช่วยคนที่ด้อยโอกาส และก็อยากจะช่วยเพื่อนบางคนที่ด้อยโอกาส คล้ายๆว่าเราเป็นคนประสานน่ะ ประมาณนั้น ในการจัดทำกิจกรรมของโรงเรียนของมหา’ลัยเนี่ย

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ แล้วก่อนหน้านั้น ช่วงกลางปี 16 นี่ ที่มีการเดินขบวนขับไล่ดร.ศักดิ์นี่ คุณบรรจงได้เข้าไปร่วมด้วยรึเปล่าครับ
คุณบรรจง :
ใช่

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ร่วมด้วยนะครับ
คุณบรรจง :
ใช่ วิสา คัญทัพ, วิสา คัญทัพเป็นเริ่มต้น

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ก็คือคุณวิสา เป็นแกนนำ
คุณบรรจง :
ครับ กับบุญส่ง ชเลธร แต่เขาเป็นผู้นำ ผมนี่จะเป็นผู้ที่ว่าค่อนข้างจะเหมือนกับว่า ผู้ร่วมเกณฑ์คนเกณฑ์เพื่อน สมมติว่าในพวกเรา staff อยู่สี่ห้าคนแบบเนี่ย เราก็เชิญเข้าร่วม จัดรถจัดอะไรในการเดินขบวน

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ตอนนั้นอยู่ปี 1 เหรอครับ
คุณบรรจง :
ปี 1 แต่กิจกรรม เอ่อ ผมทำมาก่อนหน้านั้นแล้ว ประมาณปี ’14 ’15 เนี่ย เริ่มแล้ว เริ่มศรัทธา เฉพาะปี ’13 นี่อ่านเรื่อง เอ่อ หนังสือของมูลนิธิโกมลคีมทอง อ่านมา เป็นแนวคิดที่ดี เป็นนักศึกษาจุฬาฯ รุ่นแรกๆ ที่กล้าฉีกประเพณีมา

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นอยู่ประมาณชั้นอะไรครับ ที่เริ่มอ่าน
คุณบรรจง :
เริ่มอ่านอยู่ประมาณ ม.6, ม.6-ม.5, ม.ศ.5 สมัยก่อน

ผู้สัมภาษณ์ : ม.ศ.5 นะครับ
คุณบรรจง :
ใช่ๆ ปีนั้น คือปีหมา

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วก็เข้ามาก็เลยมีแนวคิดทางนี้ติดมาด้วย
คุณบรรจง :
ใช่ ติดมาด้วย เพราะว่าผมชอบกิจกรรมอยู่แล้ว ตอนเป็นนักศึกษา หมายถึงว่าชมรมสลัมหรือว่าชมรมค่ายอาสาพัฒนาของมหา’ลัย ธรรมศาสตร์ จุฬาฯ รามฯ แล้วก็ของมศว. สมัยก่อน ประสานมิตร จะออกค่ายร่วมกันเลย สี่ห้าสถาบัน เราออกในนามของ ตอนหลังก็มา เอากลายเป็นชมรมนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ผมจะเข้าในลักษณะนั้น คือก็เข้า เข้าที่ไหนจะเข้า พยายามทำให้เป็นกลาง คือไม่ใช่เราทำคนเดียว เราก็ชวนเพื่อนมา ในกลุ่มผมนี่ก็ชวนมาสี่ห้าคน ครับ

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นร่วมทำกับศูนย์นิสิตฯ บ้างรึเปล่าครับ
คุณบรรจง :
ทำน่ะฮะ ทำมาตลอด เพราะว่าผมทำตัวนี้ มูลนิธิสลัมกับค่ายอาสาอยู่ แล้วก็ตอนหลังก็เอากลุ่มพวกนี้มาร่วมในศูนย์นิสิตฯ

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ แล้วก็ตอนช่วงที่มีการจับกุม 13 คนนั้น ตอนนั้นพี่ได้เข้าร่วมชุมนุมตั้งแต่แรกเลยหรือเปล่าครับ
คุณบรรจง :
ใช่ครับ ใช่

ผู้สัมภาษณ์ : ตั้งแต่วันที่ 8 นะครับ
คุณบรรจง :
ใช่ วันที่ 8 แต่ว่าผม ในรูปของ ไม่ใช่ว่าร่วมจริงๆ ผมตอนนั้นยังๆ เอ่อ ยังสองจิตสองใจว่า อาจจะเอาคนมา เอาคนมาร่วม เราคงต้องกลับบ้าน เอามาร่วมกับเขาแล้วกลับบ้าน คือในเวลาที่มา อาจจะมาฟังแค่วันละสองสามชั่วโมง เหมือนสนามหลวง เหมือนมหา’ลัยธรรมศาสตร์ ผมมาฟังวันสักสองสามชั่วโมง อาจจะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ตลอด

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ก็คือตอนนั้นพี่ก็ เป็นคล้ายๆ กับแค่พาคนมา แต่ไม่ได้เป็น staff
คุณบรรจง :
ใช่ พาคนมา

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ แต่ว่าได้เข้าฟังทุกวัน
คุณบรรจง :
ก็ทุกวัน วันละสอง ประมาณสองถึงสามชั่วโมง ตรงนั้นน่ะมันทำให้เรา หนังสือพวกนี้เนี่ย เราก็อ่าน อ่านศึกษาตลอด หนังสือนี่อาจจะอ่านเกือบทุกเล่ม ที่ เอ่อ ไม่รู้ว่าใครเขาเขียนกันในนั้น ไม่รู้ว่าเหมา เจ๋อ ตุง หรือใครอะไรก็ ผมอ่านหมด

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วบรรยากาศการชุมนุมเป็นยังไงบ้างครับ ตอนนั้น
คุณบรรจง :
ก็ มัน ก็เรื่อยๆ แบบลักษณะของ เขาเรียกว่าโรงเรียน เหมือนโรงเรียนการเมืองที่พลเอก เอ๊ะ พลตรีจำลองทำอยู่แบบอย่างนั้น เป็นโรงเรียนสอนการเมือง อาจจะเปิด เปิดห้องเลยนะ เป็นชั้นๆ อาจจะเปิดที่ธรรมศาสตร์ เปิดที่จุฬาฯ เปิดที่รามฯ คือสอน สมมติว่าพวกเราจะเข้าร่วมชุมนุมนี่นะฮะ วิธีการสลายชุมนุม วิธีอะไรต่างๆ เนี่ย พวกเราจะเรียนหมด แบบนั้น เรียนวิธีกลยุทธ์ในการต่อสู้ ในการหลบหลีก ในการอะไรพวกนี้

ก็ บุญส่งพวกนี้เป็นคนคิดขึ้น ก็เป็นโรงเรียนเค้าเรียกโรงเรียนการเมือง คือสอนสำหรับคนที่สมมติว่ามีพื้นฐานต่างกันเนี่ย บางคนเรียนสังคมมา บางคนเรียนวิทยาศาสตร์มา บางคนก็เรียน เป็นนักเรียนมาแบบนี้ เอ่อ ประสบการณ์เขานี่ไม่มีเลย ก็ต้องเปิดสอน สมัยก่อนเปิดสอนนะโรงเรียนนี้ คือสมมติว่าใครไม่มีความรู้ทางนิติศาสตร์ ก็สอนวิธีว่า สิทธิขั้นพื้นฐานนี่คืออะไรพวกนี้ เรื่องการทำนิติกรรม เรื่องอะไรต่างๆ จะศึกษา เออบางคนก็พูดเรื่องเกี่ยวกับวิธีการปลูกผัก ของมหา’ลัยเกษตรฯ นี่ก็จะมาพูดเรื่องการปลูกผัก คือการดำรงชีวิต

คือเมื่อก่อนน่ะจะเปิดสอนเลยสำหรับคนที่ไม่มีความรู้ เพื่อจะอัดไอ้ตรงนี้ ฝึกปูพื้นฐาน พวกเวลาจะ พวกชุมนุมนี่ยืดเยื้อนี่เราจะ แบบเป็นกลยุทธ์น่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือในด้านนึงก็มีชุมนุมข้างล่าง แต่ก็มีเปิดห้องสอนด้วยเหรอครับ
คุณบรรจง :
ใช่ครับ สอนด้วย และการเข้าร่วมในเมื่อกี้ เข้าร่วมเฉยๆ สมัยก่อน ต้องมีความคิดด้วย ต้องใช้ความคิดด้วย เพราะว่าบุ่มบ่ามไม่ได้สมัยก่อนนี่ มันมีปราบกันจริงๆ ไม่ใช่ไปชุมนุม ชุมนุมที่นี่ตายทั้งหมดน้อยนะ 192 วันน่ะ ตายแค่เจ็ดแปดคน สมัยก่อนมันตายจริง ตายทุกวัน แล้ววันละเยอะๆ ห้าคนสิบคน ห้าคนสิบคน เดินขบวนครั้งนี้ขับไล่ฐานทัพนี่ แปดคนนะ ขับไล่ฐานทัพที่ราชดำริ เขาเดินไปเหรอ ข้างหน้าตู้มข้างหลังบึ้ม มันมีการตายกันทุกวัน การเดินขบวนเมื่อก่อนมีการตาย ไม่ใช่เหมือนสมัยนี้หรอก 192 วัน ตายแค่เจ็ดแปดคนซึ่งน้อย เมื่อก่อนตายจริง แล้วก็ก่อนนั้นต้องเรียนรู้ในการหลบหลีก วิถีกระสุนอะไร ต้องมีการฝึกน่ะ จนกว่าเรามีหน่วยของเรา

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วก็ มาร่วมชุมนุมแล้ว ในวันที่ 13 ที่ออกมาเดินขบวนกันนี่ คุณบรรจงออกมาเดินด้วยไหมครับ
คุณบรรจง :
ออกมาด้วย ออกมา 12 แล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : 12 เหรอครับ
คุณบรรจง :
อ้า ใช่ ตั้งแต่ 12-13-14 เลย สามวันเลย เพราะว่าต้องเกณฑ์นักศึกษามาจากรามฯ ใช้รถบัสใช้รถอะไรเนี่ย

ผู้สัมภาษณ์ : คุณบรรจงพักในที่ธรรมศาสตร์รึเปล่าครับ หรือกลับบ้านเป็นระยะ
คุณบรรจง :
เป็นระยะ เป็นระยะ คือส่วนมากกลับไปบ้านแล้ ไปเปลี่ยนผ้า แล้วก็กลับมาชุมนุมต่อ ครับประมาณนั้น ช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่สอบ กำลังสอบอยู่

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ ช่วงนั้นพักอยู่แถวไหนครับ
คุณบรรจง :
พักอยู่ แถวถนนตก

ผู้สัมภาษณ์ : ถนนตกมา อ๋อ ก็ไม่ไกลมาก
คุณบรรจง :
ครับ สาย 1 มา สมัยแต่ก่อน รถไม่ติด

ผู้สัมภาษณ์ : ใช่ครับ แล้ววันที่ 13 นี่ พอออกเดินนี่ คุณบรรจงเดินไปจนถึงพระบรมรูปแล้วก็สวนจิตรฯ รึเปล่าครับ
คุณบรรจง :
ครับ เดินไปถึงบรมรูป

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ครับ
คุณบรรจง :
ก็วันนั้นก็ถูก วันที่ 14 น่ะถูกล้อมปราบ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบรรจง :
น่ะครับ เดินมาถึงที่อนุสาวรีย์เนี่ย ผมก็โดนนะฮะ พวกเราเดินเข้าแถวกัน ก็ยิงแถวแรกยิงลูกกระสุนปลอมก่อน

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ อันนี้คือที่หน้าสวนจิตรฯ หรือว่าที่ไหนครับ
คุณบรรจง :
ที่หน้าเนี่ย หน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ คือค้างคืนอยู่แถบนี้เหรอครับ
คุณบรรจง :
อ้า ใช่ เลย เลยนั้นไปนิดนึง

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ถึงผ่านฟ้าไหมครับ
คุณบรรจง :
ก็ ก็พอดีอยู่ระหว่างผ่านฟ้ากับอนุสาวรีย์ฯ อยู่ตรงกลาง

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ก็คือนอนอยู่แถบนั้น
คุณบรรจง :
ใช่ แถวเอ่อเฉลิม แถวนั้นเฉลิม...

ผู้สัมภาษณ์ : เฉลิมไทย
คุณบรรจง :
อ้า เฉลิมไทยเก่า นั่น ตรงนั้น พวกเรากลิ้งไปกลิ้งมาตรงนั้น เพราะว่าเขาใช้กระสุนปลอมก่อน แถวแรกไม่เป็นไร แถวสอง พอแถวที่สี่นี่ผมอยู่ แถวสี่ โดนบ้างบางคน ผมก็หลบ ใช่ไหม หลบก็กลิ้งไปก็มา ถ้าไม่กลิ้งก็เรียบร้อย

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ตอนนั้นมีข่าวลือ มีการพูดถึงเหตุการณ์นี้ยังไงบ้างครับ เมื่อเวลานั้น
คุณบรรจง :
วันนั้น ถ้าคนที่อยู่ คือข่าวส่วนมากมา โอย จะเซ็นเซอร์หมด สมัยก่อนเนี่ย ข่าวจะเซ็นเซอร์หมด เพราะว่าหนังสือพิมพ์ถูกปิดน่ะส่วนมาก มีหนังสือพิมพ์ไม่กี่ฉบับ

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ก็ ก็คือ คุณบรรจงก็คืออยู่ในเหตุการณ์ที่มีการล้อมปราบตอนนั้นด้วยนะครับ
คุณบรรจง :
ใช่ๆ ตอนนั้นเดินขบวนไปแล้วถือธงชาติ แล้วก็ถือพระบรมฉายาลักษณ์เป็นแถวๆ

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ครับ วัน 14 ถูกล้อมปราบก็ แต่ว่ามาจบไม่โดนกระสุนใช่ไหมครับ
คุณบรรจง :
ไม่โดน แต่เพื่อนโดนฮะ

ผู้สัมภาษณ์ : เพื่อนโดนนะครับ
คุณบรรจง :
ฮะ เป็นแถวๆ ประมาณสามถึงสี่สิบคน เดินเป็นแถวเนี่ย ก็เดิน ริ้วขบวนน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ อันนี้หลังจากได้ข่าวว่ามีการปราบที่หน้าสวนจิตรฯ เหรอครับ ก็เลยตั้งขบวนเดินกันมา
คุณบรรจง :
ใช่ๆ เดินจากนี้ไปโน้น

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ เดินจากนี่ไปโน่น
คุณบรรจง :
ครับ แล้วไปพักค้างคืน ค้างคืนที่สวนจิตรฯ

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ไปค้างคืนที่สวนจิตรฯ
คุณบรรจง :
ใช่

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วก็พอตอนเช้าที่สวนจิตรฯ ก็เริ่มถูกปราบ
คุณบรรจง :
ใช่ๆ ประมาณตีสี่ ตีห้า ตอนนั้น ตอนที่ยิงสวนจิตรฯ ผมไม่ได้อยู่

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ไม่ได้อยู่
คุณบรรจง :
ครับ แต่ว่าอยู่ตรงนี้ เดินจากนี้ไปโน้น แล้วไปค้างที่โน่น

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ คือตอนเหตุการณ์สวนจิตรฯ ตอนนั้น คุณบรรจงอยู่ตรงแถบเฉลิมไทยเก่า
คุณบรรจง :
ครับ ใช่ แล้วก็ผมก็กลับบ้านไป

ผู้สัมภาษณ์ : มาครบแล้วกลับบ้าน
คุณบรรจง :
ครับ

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ
คุณบรรจง :
เขาก็บอกจะประชุมต่อ ไปต่อ

ผู้สัมภาษณ์ : ประมาณกี่โมงครับที่กลับบ้าน
คุณบรรจง :
ก็ประมาณ สักบ่ายสองบ่ายสาม ประมาณเนี้ย เวลาเนี้ย ตอนที่ล้อมปราบน่ะ ตอนที่ยิงตรงนู้นน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ตรงนู้น
คุณบรรจง :
ครับ

ผู้สัมภาษณ์ : ตรงนี้อยู่ตรงเฉลิมไทยใช่ไหมครับ
คุณบรรจง :
ครับ ประมาณตอนเวลาเนี้ย ขณะเนี้ย ตอนเที่ยง แล้วผมกลับไปก็ตอนสามโมงเย็น เพราะรัฐบาลจะเอาจริงไง เราก็หนีเพื่อต้องการตั้งหลักก่อน เพื่อไปเอา ถึงตอนหลังก็ ตอนหลังก็มา ผมก็มาต่อ ขึ้นรถ land เลย รถการ์ด

ผู้สัมภาษณ์ : รถ land
คุณบรรจง :
ใช่ รถ land ไปประชาสัมพันธ์ตั้งแต่โน้น ตั้งแต่ถนนตกมาเนี่ย ไปขอข้าวสาร ไปขอที่คลุมศีรษะเพื่อต่อสู้กับแก๊สน้ำตา

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ
คุณบรรจง :
ไปขอข้าวสาร น้ำปลา ผมไปขอข้าวสารเนี่ย สักโลสองโลเนี่ย เขาให้มาเป็นกระสอบ บางร้านนี่ให้มาเป็นกระสอบ พวกน้ำปลา พวกข้าวสาร พวก เอ่อ ของที่จำเป็นน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ไปกับการ์ดแถบไหนครับ
คุณบรรจง :
ตั้งแต่ถนนตก ขึ้นรถเลย ผมก็ช่วยตอนนั้น มาถึง แถววรจักร แถวร้านทอง

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ไปกันกี่คนครับ
คุณบรรจง :
ไปกันประมาณทีมละประมาณสี่หรือห้า-หก มีคนขับรถ รถ land ขึ้นบนหลังคารถ ก็ประกาศให้พวกเราไปหาเสบียง คิดว่าน่าจะชุมนุมยืดเยื้อ เขาขอแนวร่วมจากประชาชนด้วย ปรากฏว่าประชาชนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ผู้สัมภาษณ์ : อืม รถนี่เป็นรถของที่ไหนหรือยังไงครับ
คุณบรรจง :
น่าจะเป็น รถของนักศึกษา รถ land น่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ไปยึดมา
คุณบรรจง :
ไม่ใช่ยึดสิ ของมหา’ลัยเนี่ย รถของมหา’ลัย

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ
คุณบรรจง :
สมัยก่อนใช้รถ land - รถ land นี่ก็เป็นรถของอังกฤษกับอเมริกันสมัยก่อนที่ยืมของยูซอม อะไรพวกนี้ เขาจะให้ความช่วยเหลือมา

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วเหตุการณ์เริ่มสงบนี่ ช่วงไหนครับ
คุณบรรจง :
ช่วงประมาณหลังวันที่ 14-15-16 ในช่วงนั้น

ผู้สัมภาษณ์ : อืม คือตอนที่สามคนออกนอกประเทศ
คุณบรรจง :
ใช่ๆ

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ช่วงนั้นมีความรู้สึกเกี่ยวกับสามคนนั้น ถนอม ประภาส ณรงค์ นี่ รุนแรงมากไหมครับ
คุณบรรจง :
ผมว่า ณรงค์น่ะ มันชัดเจนน่ะฮะ น่าจะเป็นฆาตกรยิงจริงๆ เขามีจิตใจที่เหี้ยมโหด เพราะเป็นทหารใช่ไหม แต่เหมือนถนอมนี่ เขาดูจะปกปิด ฐานะปกปิด เหมือนกับว่าปกปิด คือยังมีความสุภาพอยู่ ยังมีความสุภาพ ยังมีธรรมะธรรมโมอยู่

ผู้สัมภาษณ์ : อืม แล้วประภาสล่ะครับ
คุณบรรจง :
ประภาส มันก็เป็นตัววางแผน อยู่เบื้องหลังน่ะฮะ การออกหน้านี่ให้ณรงค์ออกหน้า อาจจะคิดกันกับถนอม

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ คิดว่าการล้อมปราบนี่ สามคนนั้นมีส่วนรึเปล่าครับ
คุณบรรจง :
มีสิ เพราะว่ามัน จุดชนวนเขาเป็นรัฐบาล เขาตัดสินใจในการปฏิวัติตัวเองด้วย

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบรรจง :
ก็ฉีกรัฐธรรมนูญ ตัวเองร่างขึ้นมาก็ฉีกทิ้ง รัฐประหารตัวเองน่ะ ว่าอย่างนั้นน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ในตอนอยู่ในเหตุการณ์ที่มีการยิงนี่ คุณบรรจงได้เห็นเฮลิคอปเตอร์บินหรืออะไรบ้างหรือเปล่าครับ
คุณบรรจง :
ตอนช่วงนั้นประมาณ มันอาจจะเป็นวันที่ 12 รึเปล่า ที่...

ผู้สัมภาษณ์ : ประมาณ 14 น่ะครับ
คุณบรรจง :
14 เหรอ 14 มัน มันอะไร 14 นี่อยู่ธรรมศาสตร์ ตอนนั้นผมไม่ได้อยู่ ทั้ง 14 ไม่ได้อยู่ 13 เนี่ยผมไปแล้ว แต่ว่ามันประมาณร่วมเป็นระยะๆ ไง หมายความว่ามัน มันไม่ใช่ได้มาตลอด วันหนึ่งอาจจะสองสามชั่วโมง ครึ่งวันบ่าย ครึ่งวันเช้า ผมไม่ได้อยู่ทั้งวัน เพราะว่าผมต้องการเซฟตัวเองด้วย ผมกะว่าถ้ายืดเยื้อนี่นะครับ ต้องยืดเยื้อแน่

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบรรจง :
มันต้องวางกลยุทธ์น่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ใช่ๆ
คุณบรรจง :
คือเอาตัวรอด หนึ่งเพื่อว่าจะให้กลุ่มเพื่อน อาจจะมีการซิกแซกคนนี้ เหมือนกับอยู่เวรน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ
คุณบรรจง :
เช้า บ่าย เช้า บ่าย จะไม่ตลอด ถ้าตลอดยืดเยื้อนี่ โอ พวกเราจะเสียหมด

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบรรจง :
ซ้อมบล็อกไว้หลายสิ่งหลายอย่าง หลายรูปแบบ ถ้าตายก็ตายกัน อย่าตายหมด อะไรพวกนี้ กลัวตรงนั้นด้วย

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ แล้วพอหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาผ่านไป คุณบรรจงคิดว่าสังคมไทยเปลี่ยนไปเยอะไหมครับ นับจากช่วงก่อนหน้า
คุณบรรจง :
ก็เยอะ กฎหมายหลายฉบับ พ.ร.บ.หลายฉบับ จะตามมา ที่ต้องแก้ไข ก็อาจจะไม่ใช่มีผลของรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่มีความคิด สามารถเปลี่ยนความคิด โดยเฉพาะข้าราชการเนี่ย เหมือน อมาตยกุลเนี่ย เหมือนกับว่าเมื่อก่อนมันเป็นลักษณะของข้าราชการนี่เป็นใหญ่ เพราะข้าราชการเป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการศึกษาสูง ต้องมีการสอบเข้า โดยเฉพาะกฎก.พ.เนี่ย ต้องเปลี่ยนน่ะ ตรี โท เอก พิเศษ เนี่ย จะเปลี่ยนมาเป็นพีซี ซึ่งปัจจุบันก็กลับไปเป็นอย่างนั้นอีก เปลี่ยนกลับไปกลับมา แต่ว่าผลของการพีซีนี่มัน ระบบพีซีนี่มันไม่น่าจะเปลี่ยน เพราะว่ามันดีอยู่แล้ว ทีนี้ว่า เพราะว่ามันอยู่ที่คน คนนี่มันมีการเล่นเส้นเล่นพรรคเล่นพวก เรื่องคอรัปชั่นเนี่ย เข้าไปอยู่ในวงการ ผมว่าเรื่องกฎหมายนี่มันไม่น่าจะเปลี่ยนปล่อย ตัวมูลเหตุ ฐานจริงๆ มันน่าจะอยู่ที่ตัวระบบ ระบบก็คือคน ไม่อย่างนั้นเราร่างกันตลอดแหละกฎหมายเนี่ย มันอยู่ที่ระบบ คือ ที่พูดหลังสุดก็คือจริยธรรมน่ะ คือคนมันไม่มีจริยธรรม เอาเงินเป็นตัวตั้งน่ะ เอาจริยธรรมมาเป็นตัวเสริม กฎหมายจะเปลี่ยนบ่อย

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วในแง่ของว่า ความคิดฝ่ายซ้ายหรือสังคมนิยมที่เข้ามาช่วงนั้นนี่ เป็นยังไงบ้างครับ
คุณบรรจง :
ผมไม่ได้คิดถึงตรงนี้นะ เหมือนปัจจุบัน ผมก็ยังยืนยันอยู่อย่างนั้น ไม่มีฝ่ายซ้าย ไม่มีฝ่ายขวา ไม่มีนปช. หรือไม่มีพันธมิตรฯ สำหรับผมนะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบรรจง :
ผมก็ยังอยู่ อยู่แบบผมวันนี้ อยู่แบบวิถีชีวิต เมื่อ 50 ปี ที่ผ่านมา อยู่ยังไง ปัจจุบันก็ยังอยู่อย่างนั้น

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบรรจง :
คือมัน มัน ผมว่าอยู่ที่ตัวระบบ ระบบก็คือคน คนเป็นตัวเปลี่ยนระบบ แต่ระบบตัวเอง มันไม่ได้เปลี่ยนเลย คือ มันไม่ได้ลงในรายละเอียด ไม่มีจริยธรรม ไม่ได้เอาตัวจริยธรรม เอาตัวปรัชญามาเป็นแกนน่ะ มันจะเปลี่ยนไปตามคน พอนายกฯ ขึ้น คนนี้ขึ้นมาก็เปลี่ยนอีกที นายกฯ คนโน้นมาก็เปลี่ยนอีกที คือตัวนโยบายน่ะ มันจะเปลี่ยนตลอดเวลา ซึ่งบ้านเราที่ส่วนหนึ่งที่ไม่เจริญเพราะว่า นโยบายมันเปลี่ยนบ่อย ชีวิตคนจะเปลี่ยนตาม คือคนเปลี่ยนไม่ได้ถ้าไม่มีตัวแกนน่ะ มันไม่ได้เอาเรื่องปรัชญา เรื่องจริยธรรมเป็นหลัก ถ้าถือตัวนี้ ผมว่ามันคงจะไม่ยุ่งยากขนาดนี้ มันน่าจะได้เร็วกว่า คือรัฐบาลต้องมีความต่อเนื่องในการบริหาร ปัญหาอยู่ที่นี่

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา แล้ว คุณบรรจงก็ยังคงทำกิจกรรมอยู่เหรอครับ
คุณบรรจง :
ครับ ใช่ แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ผมก็ยังทำอยู่ แต่ว่าอยู่ ลักษณะจะอยู่ในรูปของสหกรณ์หรืออะไรพวกนี้ เพราะว่าสหกรณ์เป็นระบบประชาธิปไตยนี่ผมชอบมาก คือสมาชิกไม่ว่าเป็นอธิบดี หรือเป็นผู้พิพากษา เป็นศาล หรือสมาชิกทั่วๆไป ถ้ามาอยู่ในระบบสหกรณ์แล้วทุกคนเท่าเทียมกันหมด คือบริหารแบบประชาธิปไตย ซึ่งสหกรณ์ในประเทศไทยนี่คิดมาตั้งประมาณ 60 ปีแล้ว 60 ปี อาจจะพอๆ กับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบรรจง :
ฮะ ผมว่าว่าระบบสหกรณ์นี่เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะว่าทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงเท่ากันหมด ไม่มีผู้บังคับบัญชา คือสิทธิขั้นพื้นฐาน ชอบตรงนี้ คือปัจจุบันนี่ได้มาเป็นเลขาฯ ของสหกรณ์อยู่

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ครับ อยู่ที่โน่น
คุณบรรจง :
ครับ อยู่ที่โน่นก็มี ที่นี่ก็มี ที่นี้พออยู่ตรงไหนก็จะทำลักษณะพวกนี้ คือให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ แล้วกิจกรรมช่วงปี ’17 ’18 นี่ เป็นในลักษณะแบบไหนครับ
คุณบรรจง :
ก็ต่อเนื่องนะฮะ ต่อเนื่องเรื่องค่ายอาสา การเผยแพร่ประชาธิปไตยโดยศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเป็นแกนนำ

ผู้สัมภาษณ์ : เรื่องค่ายอาสา
คุณบรรจง :
ครับ เรื่องมูลนิธินี่แหละชัดเจนที่สุด มูลนิธิต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องพัฒนาชาวเขา นี่อาจารย์ขจัดภัย บุรุษพัฒน์ นี่ที่ว่า พูดเรื่องชนกลุ่มน้อย ซึ่งปัญหาตอนนี้ก็ยังมีชนกลุ่มน้อยมาเพิ่มอยู่เรื่อยๆ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบรรจง :
ซึ่งเดิมก็มีอยู่แล้ว ปัจจุบันเนี่ย เรื่องของใหม่นี่ที่ว่า บังคลาเทศที่ผลักดันมา

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบรรจง :
ใช่ ของชนกลุ่มน้อย คือว่าเราไม่มีแกนไง เรื่องของเรื่องคือเราไม่มีคน staff เขาก็ทำงานได้ไม่โดยตรง ผมว่าน่าจะจัด staff ทำงานด้านชนกลุ่มน้อยโดยตรงเลย แล้วก็ทำให้พวกจริงๆ อาจจะประสานกับทางสหประชาชาติ พูดเรื่องปัญหา ทีนี้เราไม่เคยพูดเรื่องปัญหาให้สหประชาชาติรู้ว่านี่ ปัญหามันคือตรงนี้

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบรรจง :
มันก็แก้ คือแก้ไม่จบน่ะ ตอนนี้ เรื่องคนเถื่อนเข้า อะไรพวกนี้ ใช่ไหมฮะ พม่าเข้ามาเนี่ย เราก็ชอบแรงงานเถื่อนราคาถูก แต่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบรรจง :
นี่คือปัญหา เป็นปัญหาที่มันคงอยู่

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบรรจง :
ส่วนพวกชนกลุ่มน้อยนี่ทางภาคเหนือ ที่ว่าในหลวงเข้าไป เรื่องฝิ่นในสมัยก่อน

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบรรจง :
สมัยก่อนผมเข้าไป ฝิ่นมีเยอะ ไม่มีการจับกุม ไปเห็นปัญหานี้มาสะท้อนในมหา’ลัย ธรรมศาสตร์ เขามีอาจารย์ขจัดภัย บุรุษพัฒน์ เป็นนายกสมาคมข้าราชการพลเรือนตอนช่วงหลังแกก็มาพูดเรื่องพวกนี้ ผมก็ไปช่วยเรื่องฝิ่น เรื่องอะไรพวกนี้ เพื่อให้มาทำมาหากินที่บนพื้นราบที่ดอยอย่างถูกกฎหมาย

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบรรจง :
พัฒนาดอยตุงอะไรต่ออะไร แรกๆ น่ะ เข้าไป

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ซึ่งตอนนั้นกำลังศึกษาปี 2 ปี 3
คุณบรรจง :
ใช่ ปีนั้นประมาณ ’17 ’18

ผู้สัมภาษณ์ : ’17 ’18 อืม แล้วมีปัญหากระทบกระทั่งกับกลุ่มอื่นบ้างไหมครับ
คุณบรรจง :
ก็มี ตชด. พอเราเข้าไปปั๊บนี่ ปัญหาเรื่อง ตชด. คือว่า ตชด.นี่ ก็ผมพูดตามตรงว่าผมเป็นคนบ้านนอกแบบนี้กับตชด. ก็ไม่มีปัญหา พวกผมประสานได้ พวกเขาก็จะล้อมปราบ เพราะเขาคิดว่าเราเป็นคอมมิวนิสต์ คือแนวความคิดไม่เข้าใจตรงนี้กัน พอไปแตะตรงไหนก็ ก็เหมือนปัจจุบัน เรื่องยาเสพติดน่ะ เมื่อก่อนกับตอนนี้มันไม่รุนแรงไง อาจจะว่า เป็นงาน ปัญหาของคนกลุ่มน้อย เรื่องการทำไร่เลื่อนลอย เรื่องอะไรพวกนี้ ก็ไปพูดให้เขาเข้าใจ ก็อาจจะเป็นคนเสริม ซึ่งในหลวงพระองค์ท่านก็คิดแนวคิดเรื่องการพัฒนาดอยตุงหรือโครงการหลวงทั้งหลาย ที่ในหลวงก็คิดด้วย เราก็คิดเสริม

แต่เหมือน ตชด. นี่ก็ ส่วนมากก็เหมือนกับว่าเป็นคนบ้านนอกด้วยกัน ที่ไปคุยกับพวกเราไม่ค่อยรู้เรื่อง เขาจะล้อมปราบ เขาจะจับกุมเรา เราก็บอกว่าจับทำไม ผมก็บอก เป็นตัวประสานนี่ อยู่ที่ไหนสามารถเป็นคนประสาน ไม่ค่อยมีปัญหา พวกเราเข้าไปคือตั้งค่ายอาสาพัฒนาเหมือน ดอยตุง แถวแม่แจ่ม แม่ลาน้อย อะไรพวกนี้ ผมเข้าไปในพื้นที่

ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้เป็นค่ายของมหา’ลัย หรือของอะไรครับ
คุณบรรจง :
ของมหา’ลัย ใช่ ของมหา’ลัยต่างๆ

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ไปปีหนึ่งประมาณกี่ครั้งครับ
คุณบรรจง :
ปีหนึ่ง ก็ช่วงนี้แหละ ช่วงมกรา กุมภา กุมภา-มีนา-เมษา สามเดือน

ผู้สัมภาษณ์ : ไปสามเดือนเลยเหรอครับ
คุณบรรจง :
ครับ สามเดือน มีการปลูกผัก ไปก็ปลูกผัก ปลูกแปลงทดลองเลย

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ
คุณบรรจง :
วิธีการทำ ก็เราพยายามจะหยุดยั้งการทำไร่เลื่อนลอยอะไรพวกนี้ ก็เหมือน อาจจะเป็นลักษณะแนวคิดตอนนั้นมันยังไม่ชัด แต่ว่าเหมือนโครงการของโครงการหลวงนี่ก็ทำด้วย เราก็ไม่รู้ แต่คือทำไป ทำไปก็รู้ว่า เออ พระองค์ท่านก็คิด เราคิดเหมือนกันไง

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ แล้วทำควบคู่กันใช่ไหมครับ
คุณบรรจง :
ใช่ ทีนี้ก็ทำ ตชด.นี่เขาไม่เข้าใจ นึกว่าเราไปปลุกระดมชาวบ้านอะไรพวกนี้ ปลุกปั่นชาวบ้าน ไปล้างสมองอะไรพวกนั้น แนวคิดทางด้านคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยผมก็เห็นด้วยนะ แต่วิธีการต่อสู้ด้วยอาวุธ ผมไม่เห็นด้วย

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบรรจง :
จนปัจจุบัน การต่อสู้ด้วยอาวุธนี่ ไม่เห็นด้วย การปิดล้อมสภาล้อมอะไร ผมไม่เห็นด้วย ชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ นี่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญชัดเจน ชุมนุมได้โดยสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่ว่าในป่าในเขาหรือว่าในสภา เขาต้องใช้ตัวเดียวกัน ตอนนี้ผมก็ยืนหยัดตรงนี้มาตลอด ทำไมต้องมาล้อมปราบเราด้วย

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วช่วงนั้นคุณบรรจงมีการขัดแย้งเรื่องลัทธิทางการเมืองกับเพื่อนๆบ้างไหมครับ
คุณบรรจง :
มีครับ มี จนกระทั่งเพลงอย่าง “หนักแผ่นดิน” นี่ ผมได้ยินแล้วมันรู้สึกว่ามัน อื้อหืม คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดินนี่ก็ ตอนนั้นผมไปไหนมันรับไม่ได้ไง จนหลังจากนี้ต่อไปก็เริ่ม 6 ตุลา ตอนนั้นจะได้ยินก้องหู มันรู้สึกว่าประสาทมันจะเสื่อม

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นที่ว่าขัดแย้งนี่ขัดแย้งยังไง เพื่อนเขาเป็น...
คุณบรรจง :
เพื่อน ใช่ สมมติว่าในมหา’ลัย สมมติว่าในชั้นเรียน เอาง่ายๆว่าห้าสิบคน หมายความว่าที่ธรรมศาสตร์ หรือที่จุฬา หรือที่รามคำแหง คือว่าเพื่อนในห้องมีอยู่ห้าสิบคนอย่างนี้ ห้าสิบคนอาจจะแบ่งเป็นสามกลุ่ม กลุ่มที่เลือกเรียนอย่างเดียวมีอยู่สามสิบคน กลุ่มที่ร่วมจัดกิจกรรมซ้ายมีอยู่สิบ ขวามีอยู่สิบ ก็รวมเป็นห้าสิบ ถือว่าในกลุ่มนั้นเรียนน่ะ แต่กลุ่มคนที่เรียนเขาเรียน เรียนอย่างเดียวสามสิบคน ซึ่งผมนี่รอดตัวมาได้เพราะอาศัยประสานเข้ากับกลุ่มสามสิบนี่ ผมถึงจบมาได้

ส่วนพวกขวานี่ เขาก็เห็นด้วยกับรัฐบาล แม้กระทั่งอาจารย์ อาจารย์บางคนนี่ถ้ามีความคิดขัดแย้งกับท่านแล้ว วิชานี้ไม่มีโอกาสจบเลย ลงกี่ครั้งก็ไม่มีผ่าน นี่คือลักษณะที่ว่าความเป็นธรรม อาจารย์ท่านนั้นจะมองคุณเป็นนักศึกษาหน้าที่ก็คือเรียน หน้าที่เรียน เพราะฉะนั้นคุณไม่เข้าเรียนคุณก็ตกสิ ใช่ไหม ผมเหลือเพื่อนสามสิบคนนี่ช่วยติวเวลาผมมาเคลื่อนไหว ก็ขอบคุณเพื่อนนะ ที่เขาเห็นด้วยกับแนวความคิดที่ดีของผมว่าผมเป็นผู้เสียสละ เขาก็จะบอกเออ สละ แต่ว่าอีกสิบคนนี่เขาเห็นว่าผมหนักแผ่นดิน

ผู้สัมภาษณ์ : อื้อหืม หนักแผ่นดินเลยหรอ
คุณบรรจง :
ใช่ ๆ สมัยนั้นมันขัดแย้ง แม้กระทั่งในชั้นเรียนกับในมหาลัย แม้แต่อธิการ แต่ผมส่วนมากเป็นคนชอบประสาน ประนีประนอม พูดกับอาจารย์ครับส่วนมาก อาจารย์ทำไมถึงไม่ให้ผ่าน ผมก็ไปพูดกับแกเลย ผมก็พูดในห้องเลย ลุกขึ้นเลย วิจารณ์อาจารย์เลย อาจารย์ทำอย่างนี้ไม่ถูก ถ้ามีอาจารย์แล้วก็มีผม อาจารย์บอกคุณไม่ต้องจบวิชาผม มันพูดชัดเจนเมื่อก่อนน่ะ ขอเกรดนี่ไม่ได้ ขอเกรดนี่ไม่มีทางเลย ถ้าคุณไม่ผ่านคือไม่ผ่าน ถ้าคุณไม่เข้าห้องไม่ผ่าน ทั้งๆที่บางทีเราไม่เข้าห้องแต่เพื่อนติวให้ ก็สอบได้

ผมนี่ซึ้งเพื่อนมากเลย บางวิชาไม่ได้เข้า แต่สอบผ่าน อาจารย์งงน่ะ เฮ้ย มันเรียนยังไงวะ ผมบอก เพื่อนไง เพื่อนบางคนที่เก่งๆน่ะ เพื่อนที่เก่งเขาก็สอบได้เอตลอด เอ เอบวก บี บีบวก อะไรพวกนี้ แต่ผมก็ไม่เคยคบกับคนที่พวกซีนะ เพราะว่าผมน่ะบางทีก็พอๆกับซีใช่ไหม ผมก็ไปพ่วงกับคนที่เก่ง คนที่เก่งก็ติวให้ ติวตรงไหนแล้วอาจารย์ออกตรงนั้นน่ะออกเป๊ะๆเลย อาจารย์ถึงงงไง ทำไมสอบได้ คุณไม่เข้าห้องเลย ตอนหลังอาจารย์ก็เห็นด้วยกับผม เรื่องวิธีการ ไม่เข้าห้องเรียนแต่สอบได้

ผู้สัมภาษณ์ : ขัดแย้งกับเพื่อนนี่มีถึงลงไม้ลงมือบ้างหรือเปล่า
คุณบรรจง :
มี มีคนหนึ่ง แต่ว่าเรื่องส่วนตัว แค่เรื่องเมาเหล้า เรื่องอะไรพวกนี้ เรื่องทางการเมืองนี่ไม่เคย ก็พูดกับเขาดีๆ เพราะผมเป็นคนประนีประนอมอยู่แล้ว แต่ถ้าเรื่องเมาเหล้านี่ เขาเมา แต่ผมไม่เมา ผมก็ได้เปรียบ

ผู้สัมภาษณ์ : ส่วนใหญ่จะเถียงกับฝ่ายไหนมากกว่า
คุณบรรจง :
ส่วนมากก็เถียงกับฝ่ายนั้นแหละ ฝ่ายขวา เขาก็เห็นด้วยกับรัฐบาลไง ตอนหลังเขา บางคนนี่ ก็ไม่มี ก็ยอมรับ เพราะฉะนั้น สำหรับเพื่อนนักศึกษา ปัจจุบันนี่ ผมไม่มีการโกรธกับเพื่อนเลย ถึงเขาซ้ายหรือขวา ไม่เกี่ยว เพราะผมประนีประนอม เคลียร์ทุกอย่าง เคลียร์ได้หมด แม้กระทั่งอาจารย์ คือถึงผมไม่เข้าเรียน แต่ผมสอบได้ อาจารย์เชื่อตรงนี้แล้วก็โอเค ตอนหลังทุกอย่างอาจารย์ก็ปล่อยฟรีหมด เพราะแนวความคิดของผมนี่ เขาตามไม่ทัน เขาบอก

สมัยก่อนมันเรียนเป็นภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด เกือบทุกวิชา แม้แต่นิติปรัชญาเมื่อก่อนมีหน้าซ้าย-ขวา เคยเห็นไหมตำราของอาจารย์สัญญา แปลมาจากเมืองนอก ตำรากฎหมายเล่มหนานั้น มีหน้าเป็นภาษาอังกฤษ อีกหน้าเป็นภาษาไทย กฎหมายเล่มเดียวกัน คือสมัยก่อนจะเรียนเป็นภาษาอังกฤษเกือบทุกวิชา แปดสิบเปอร์เซ็นต์ ภาษาไทยนี่ไม่มี อย่างดีก็เป็นแค่ชีทสรุปเท่านั้นเอง สมัยก่อนตำราไม่ว่านิติ หรือว่าวิทยาศาสตร์ เรียนค่อนข้างจะเหมือนกันหมด คือเรียนภาษาอังกฤษด้วย

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนช่วง 6 ตุลานี่ คุณบรรจงเรียนจบหรือยังครับ
คุณบรรจง :
ยัง อยู่ปีสาม ปีสามขึ้นปีสี่ ปีนั้นผมไม่ได้เรียนเลย

ผู้สัมภาษณ์ : ทำกิจกรรม
คุณบรรจง :
ทำกิจกรรมเต็มที่ ปีสาม สอบผ่านอยู่สามวิชาเท่านั้น

ผู้สัมภาษณ์ : ออกค่ายเหมือนเดิมหรือว่า...
คุณบรรจง :
เหมือนเดิมทุกอย่าง หนักขึ้น ทำหนักขึ้น ทั้งกีฬาด้วยในมหา’ลัย ทำกีฬาด้วยทำค่ายอาสาด้วย โอ้โห มันน่าทำไปหมดน่ะ ชมรมกีฬานี่ผมชอบอยู่แล้ว ปัจจุบันก็ยังเล่นกีฬาอยู่

ผู้สัมภาษณ์ : เล่นอะไรหรือครับตอนนั้น
คุณบรรจง :
ก็เล่นบอล เล่นแชร์บอล เล่นตั้งแต่วิ่งน่ะ ส่วนมากจะวิ่งระยะไกล แปดร้อย พันห้า ห้าพัน ปัจจุบันก็ยังวิ่งอยู่ห้าพัน ห้าพันนี่ถือว่าเบสิก เพราะผมต้องใช้เวลาในการซ้อม ห้าพันเมตรนี่สบาย แต่ว่าสิบกิโล หมื่นเมตรนี่ยังต้องซ้อม ซ้อมหนัก แต่ห้าพันนี่วิ่งสบายนะ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วช่วงใกล้ๆเหตุการณ์ 6 ตุลานี่ ตอนนั้นคุณบรรจงอยู่ในกรุงเทพฯ
คุณบรรจง :
อยู่กรุงเทพฯ ก็อยู่กรุงเทพฯ ตลอดปีหนึ่งถึงปีสี่

ผู้สัมภาษณ์ : ได้เข้าร่วมเหตุการณ์หรือเปล่าครับ
คุณบรรจง :
เข้า เข้าตลอด ก็ทำกิจกรรม เรียนหนักขึ้น ปีหนึ่งนี่ยังไม่ชัด ปีสองนี่เริ่มชัด พอปีสามนี่เต็มที่เลย แต่ว่าไม่ได้เป็นแนวหน้า ผมจะทำลักษณะนี้ เอาคนมา แล้วก็พยายามให้ความคิดกับน้องๆ เหมือนน้องกุ้งนี่ ที่ว่าชัดเจน น้องกุ้งเมียของสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี นี่สนิทกันเลย ร่วมกิจกรรม มันก็รอดตายมา ผมก็รอดตาย แต่เพื่อนสามสี่คนนี่ตาย ที่ห้าหกคนที่เอามารวมกลุ่ม มีน้องกุ้งคนหนึ่งที่รอด

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นคุณบรรจงเข้ามาร่วมตั้งแต่ตอนช่วงที่เค้าขับไล่ถนอม
คุณบรรจง :
ใช่

ผู้สัมภาษณ์ : ก็เห็นละครไหมครับตอนนั้น
คุณบรรจง :
เห็น ภาพที่ผิดๆก็เห็น เห็นเกือบแปดสิบเปอร์เซ็นต์นะ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นพอมีหนังสือพิมพ์ดาวสยามออกมานี่ คิดไหมครับว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น
คุณบรรจง :
ไม่คิด คิดว่าคือละคร แล้วก็เราแสดงละคร แสดงจริงๆ แสดงอย่างนั้นจริงๆ แต่หนังสือพิมพ์เอาไปบิดเบือน เหมือนกับใส่ไข่ เพิ่มไปอย่างน้อยสามสิบเปอร์เซ็นต์อะไรพวกนี้ ข่าวจริงมันมีอยู่เจ็ดสิบ ใส่ไปอีกสามสิบ เมื่อก่อนใส่เยอะนะ แล้วตอนนั้นมีอยู่ช่วงหนึ่งมีนวพล มีกระทิงแดงก็มี มีเยอะ มีลูกเสือชาวบ้านเข้าช่วยเสริมใส่ร้าย

ผู้สัมภาษณ์ : ได้ขัดแย้งกับกลุ่มเหล่านี้บ้างไหมครับ
คุณบรรจง :
ไม่ ไม่ โดยตรงไม่มี

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วรู้สึกยังไงกับกลุ่มเหล่านี้บ้างครับตอนนั้น
คุณบรรจง :
ก็คิดว่าน่าจะเหมือนปัจจุบันนะ คือมีความคิดที่แตกต่าง แต่ผมก็ไม่โทษเขา เขาอาจจะได้เรียนรู้น้อยกว่าผม ผมคิดแค่นั้น เขาก็ได้สัมผัส อาจจะสัมผัสแต่ข้อเท็จ ไม่สัมผัสข้อจริงเลย

หรือว่าจริงบ้างเท็จบ้าง คือเหมือนเรานี่เราจะอยู่กับเหตุการณ์ตลอด เราจะมีอบรม สัมมนา ศึกษาตลอด สรุปเหตุการณ์ เมื่อก่อนเมื่อเราเดินขบวนกันเสร็จต้องมีการสรุปด้วย วันนี้เดินไปแล้วต้องสรุป มีโรงเรียนก็เข้าโรงเรียนเลย สอน สรุปเหตุการณ์ประจำวัน ประจำอาทิตย์ ประจำเดือน ประจำปี เมื่อก่อนมีการสรุป พอเดินขบวนวันนี้ไป เป็นไง สูญเสียไหม ก็แบ่งเป็นฝ่าย ฝ่ายติดโปสเตอร์ เมื่อก่อนเรียนนี่มีการเรียนวิธีกวนกาวด้วยนะ กาวติดโปสเตอร์ติดยังไง ติดเสร็จแล้วฉีกไม่ได้ ติดแล้วฉีกไม่ได้นะ โปสเตอร์สมัยก่อนน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : เหนียวมาก
คุณบรรจง :
เหนียวมาก เขาใช้ไส้กาวหนังควายไง กวน เอากาวนี่ใส่ ผสม เอาหนังควายเป็นตัวประสาน

ผู้สัมภาษณ์ : ฉีกไม่ได้
คุณบรรจง :
ฉีกไม่ได้เลย มันเชื่อมกับผนังเลย มีการสอนวิธีการคนกาวด้วย

ผู้สัมภาษณ์ : ส่วนใหญ่ใครเป็นคนสอนครับ
คุณบรรจง :
ส่วนมากเด็กช่างกล เด็กอาชีวะเป็นแนวร่วม ตอนนั้นเข้าร่วมก็มีเด็กอาชีวะกับเด็กโรงเรียน พวกโรงเรียนสุทธิวราราม วัดสุทธิฯ นักเรียนม.4 ม.5 มาร่วม ก็อาศัยพวกนี้ บางคนเขามีพ่อมีแม่ทำอยู่ ขายหนังอะไรพวกนี้ เราก็ได้ความคิดนี้มา ขายหนังวัวหนังควาย สมัยก่อนมีการซื้อขาย ร้านหนังควายหนังวัวนี่จะเยอะเลย แล้วก็เอามา ตอนนั้นขอมา เขาก็ให้มาทันที แล้วเอามากวนผสมในแป้งมัน ไม่ใช่กวนแป้งมันเฉยๆ

ผู้สัมภาษณ์ : คือเหนียวมาก
คุณบรรจง :
เหนียว คือ ติดแล้วแกะไม่ออกเลยโปสเตอร์นี่ แต่แป้งมันนี่ออก โดนน้ำก็ออกแล้ว ไอนั้นโดนน้ำไม่ออก เรียนรู้หลายๆเรื่องพวกนี้ ต้องเรียนรู้ แล้วการติดโปสเตอร์นี่เสี่ยง เมื่อก่อนต้องติดเวลากลางคืน ตีหนึ่งตีสอง ติดช่วงกลางวันไม่ได้ โดนกระทืบแน่ มันรุนแรงมาก

ผู้สัมภาษณ์ : พี่เคยไปติดไหมครับ
คุณบรรจง :
มี ทุกอย่างต้องเรียนรู้หมดนะ แม้กระทั่งไปขอข้าวสาร ขอความช่วยเหลือ ไม่ได้ข้าวสารเขาก็อาจจะให้ถุงพลาสติกมา อะไรพวกนี้ บางร้านมีถุงพลาสติกเขาก็จะให้ถุงพลาสติกเวลาจะชุมนุม เวลาเขาจะขว้างแก๊สน้ำตา ต้องมีป้องกัน เสี่ยง คือเราไม่สู้ ต่อสู้สมัยก่อน มันไม่มีอาวุธจริงๆ เราไปแบบพลังบริสุทธิ์ ไม่เคยคิดเรื่องอาวุธ เรื่องพวกนี้เลย

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วอย่างวันที่ 6 นี่ ตอนนั้นพี่ก็อยู่ในสนามบอลใช่ไหมครับ
คุณบรรจง :
อยู่ ใช่อยู่ วันที่ 5 นี่ ผมอยู่ตอนวันที่ 5 ตอนทุ่มนึง ตอนทุ่มมันเปลี่ยนการ์ด เปลี่ยนเวร ผมออกมาพอหลังจากนั้นประมาณชั่วโมงเดียว ธรรมศาสตร์ล็อค คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า

ผู้สัมภาษณ์ : ประมาณกี่โมงครับ ช่วงนั้น
คุณบรรจง :
ช่วงนั้นล็อคตั้งแต่ประมาณทุ่มครี่ง ล็อคธรรมศาสตร์ ผมออกมาราวทุ่มสิบนาที

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงตอนเช้าวันที่ 6 คุณบรรจงไม่ได้อยู่ในธรรมศาสตร์แล้ว
คุณบรรจง :
ใช่ ใช่ ผมออกมาอีกทีก็เลือดท่วมจอแล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : เปิดทีวีดู
คุณบรรจง :
ครับ แล้วก็พอวันที่ 7 ช่วงเช้า พวกเพื่อนๆนี้ก็เชิญไปที่หัวลำโพง พวกที่เรารวมตัวกันได้ก็ว่าจะไปขึ้นภูพานเหมือนกัน

ผู้สัมภาษณ์ : ไปที่หัวลำโพง แล้ว...
คุณบรรจง :
ผมไม่ไป อดิศร เพียงเกษ พวกนี้ เขาชวนกันไปขึ้นภูพาน ผมก็บอกกับเพื่อนว่าทำไมผมไม่เข้าป่า เพราะผมบอกว่าผมเข้าป่าแล้วผมก็ต้องคืนเมือง คืออย่างไรเราสู้ด้วยมือเปล่า สู้รัฐบาลไม่ได้หรอก ไปก็ไปตายอย่างเดียว

ผู้สัมภาษณ์ : แม้แต่ตอนนั้นคือยังไม่คิดจะสู้ด้วยอาวุธ
คุณบรรจง :
ไม่ ไม่ ยังไม่มีความคิด แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ผมก็ยังไม่คิดเรื่องอาวุธเลย พลังนักศึกษาสมัยนั้น มันเป็นพลังที่ ไม่รู้นะคนอื่น แต่ผมคิดว่าผมนี่ใจบริสุทธิ์ มากระทั่งปัจจุบัน ทั้งๆที่ผมก็เรียนทหารมา เรียนถึงว่าที่ร้อยตรี ก็เรียนมาห้าปี ครบทุกอย่าง ทางพระก็เรียนมา ทางทหารก็เรียนมา วิธีการฆ่าคนให้ถูกวิธีฆ่ายังไง เรียนมาหมด ทางธรรมะก็เรียนมา

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นเพื่อนๆ ก็ไปกัน
คุณบรรจง :
ไป ใช่ๆ ไปหัวลำโพง ผมก็ไปเหมือนกันแต่ผมบอกว่าผมจะกลับบ้าน บ้านผมก็อยู่สุราษฎร์ ก็เป็นป่าเหมือนกัน เรื่องเข้าป่านี่มันไม่ต้องเข้าหรอกก็ที่บ้านมันเป็นป่าอยู่แล้ว (หัวเราะ) พวกนี้พอผมพูดอย่างนี้ พวกนี้ก็ตลก บอกผมพูดตลก ผมพูดเรื่องจริงนะ ที่บ้านเป็นชนบท ชนบทที่ว่าไม่มีทางรถ กลับบ้านต้องข้ามน้ำข้ามทะเล กว่าจะมาขึ้นรถไฟได้นี่ใช้เวลาประมาณสองวัน จึงจะมาถึงรถไฟ บ้านผมไม่มีถนน

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ อันนี้บ้านนี้เลยใช่ไหมครับ
คุณบรรจง :
ครับ มันไม่มีถนนนะ ถนนเพิ่งมีหลังปี 2519 ช่วงเหตุการณ์สงบแล้ว ถนนถึงได้มี ตอนนั้นใกล้จะจบแล้ว พอปี22 ทุกอย่างก็เจริญขึ้น

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นกลับไปเรียนต่อหรือเปล่าครับ
คุณบรรจง :
เรียนต่อ เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ให้พวกเราคืนป่า มันตรงกับผมเป๊ะเลย ถ้าเข้าไปอยู่ป่าก็ต้องคืนเมือง พวกเสกสรรค์ พวกเสาวนีย์พวกนี้ก็ต้องกลับมาเรียนต่อ ปกติ ถึงจะได้จบ บางคนก็เป็นดอกเตอร์ ตอนนี้เป็นนักวิชาการ ผู้พิพากษา เป็นข้าราชการ ฯลฯ กันไปเกือบหมดแล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วหลัง 6 ตุลานี่ บรรยากาศทางการเมืองในเมืองนี่เป็นยังไงบ้างครับ
คุณบรรจง :
ก็ดีขึ้นนะผมว่า เรื่องกฎหมาย พ.ร.บ. หลายฉบับได้รับการแก้ไข แต่ในลึกๆแล้วมันอาจจะเป็นประชาธิปไตยแค่ครึ่งใบที่เราพูดกัน มันมีบางอย่างที่ว่าชนชั้นสูงยังหวงอำนาจอยู่ เพราะฉะนั้นแก้กฎหมายนี่ แก้ได้ไม่หมด ยังไม่ให้สิทธิเสรีภาพ แต่มีปี17 รัฐธรรมนูญปี17 พี่ก็มีส่วนร่วมในการแก้ไข ก็ทำลักษณะทำประชาพิจารณ์เหมือนกัน เหมือนกับปี 40 ปี 17 นี่ ก็ให้พวกเราช่วยกันร่าง ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยช่วยกันร่าง ทุกคนค่อนข้างจะมีส่วนร่วมแต่ว่าอาจจะเป็นแค่ครึ่งใบ แต่ปี ’40 นี่ค่อนข้างจะเต็มใบ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วหลัง 6 ตุลา สมัยของนายกฯ ธานินทร์นี่ บรรยากาศเป็นยังไงบ้างครับ
คุณบรรจง :
ก็หนัก ยังเป็นซ้ายขวาที่ค่อนข้างจะชัดเจน คือเขาก็ไม่ปล่อยอำนาจเต็มที่ ทุกอย่าง เสรีภาพด้านหนังสือพิมพ์ก็ยังถูกควบคุมอยู่

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วกลุ่มที่ติดอยู่ในคุกนี่ เพื่อนคุณบรรจงบ้างไหมครับ
คุณบรรจง :
ก็มี ก็เหมือนสุธรรม แสงประทุม และกลุ่มอื่นๆ ที่ผมชวนเข้าร่วม ใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : คือรู้จักกันอยู่
คุณบรรจง :
รู้จัก สุธรรม แสงประทุม ก็เป็นคนนครฯเหมือนกัน ซึ่งเขาเมื่อก่อน วิทยา ชำนิ สุธรรม ตอนนั้นก็เป็นคนๆเดียวกันเมื่อก่อน แนวคิดเดียวกันหมด แต่ตอนหลังก็มาแตก คือว่าผมไม่อยากให้มีเสื้อแดงเสื้อเหลืองไง คือมาพูดวันนี้ส่วนหนึ่ง คือพวกเรานี่มาด้วยกัน เหมือนอดิศร เพียงเกษ อะไรพวกนี้ พวกนี้มาด้วยกัน โตมาด้วยกันทางการเมือง แนวคิดดั้งเดิมเดียวกัน

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนี้แตกกันหมดแล้ว
คุณบรรจง :
ใช่ คือ มันไม่มีอะไรเป็นตัวยึดน่ะ เรื่องจรรยาบรรณ เรื่องปรัชญา เรื่องพวกนี้ คือว่ามาเชื่อมใหม่ ถึงเราคิดตอนนี้ไม่ได้ก็บอกให้ลูกหลาน ดีกว่าเราทะเลาะกันเรื่องจริยธรรมเนี่ย เรื่องปรัชญาเนี่ย ถ้าคุณศึกษากฎหมาย คุณต้องศึกษานิติปรัชญา ไม่ใช่ว่าคุณจะศึกษานิติเฉยๆ เพราะว่าปรัชญามันมาถึงศีลธรรม เรื่องจรรยาบรรณ เรื่องอะไรต่างๆมันควบคู่ด้วย เหมือนอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์สอนนี่ ท่านสอนดีมาก เป็นแนวคิดที่ดีมาก

ผู้สัมภาษณ์ : เรียนจบแล้วนี่คุณบรรจงทำงานสายกฎหมายหรือ...
คุณบรรจง :
ก็มาช่วงหลัง ช่วงหลังจะ early นี่ ตอนนี้พี่ early ไปแล้ว ก็มาทำเรื่องกฎหมายโดยตลอด

ผู้สัมภาษณ์ : ก่อนหน้านั้นทำงานอะไรครับ
คุณบรรจง :
ทำด้านวิทยาศาสตร์ ทางห้องแล็ป ผมมีวุฒิสองวุฒินี่ มีวิทยาศาสตร์กับวุฒิกฎหมาย

ผู้สัมภาษณ์ : ก็ทำงานห้องแล็ปมาตลอด
คุณบรรจง :
ใช่ ทำห้องแล็ปตอนแรก ตอนแรก พอมาช่วงหลังก็มาบริหารบุคคล เป็นเลขา staff ช่วยอธิบดีฝ่ายบุคลากร ฝ่ายบุคคลน่ะ แล้วก็มาวิเคราะห์นโยบายและแผน

ผู้สัมภาษณ์ : ก็ทำงานหลากหลาย
คุณบรรจง :
ใช่ หลากหลาย เพราะผมชอบลักษณะหลากหลาย ไม่จำเจ กับอีกอันหนึ่งก็ทำสวนในตอนนี้

ผู้สัมภาษณ์ : ที่สุราษฎร์
คุณบรรจง :
ครับ

ผู้สัมภาษณ์ : แต่ช่วงเหตุการณ์พฤษภานี่คุณบรรจงก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวแล้ว
คุณบรรจง :
ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวแล้ว น่าจะเป็นคนรุ่นหลัง เพราะฉะนั้นจำลองนี่ถือว่าเป็นคนรุ่นหลัง แต่แนวคิดนี่คล้ายกัน เพราะว่าเอาแนวคิดของพลเอกเปรมมาใช้ จำลอง คือผมชอบวิธีแกเรื่องเดียว คือเรื่องประนีประนอม แต่แกตัดสินใจผิดเรื่องลงจากผู้ว่าฯ แกเป็นผู้ว่าฯนี่ดีๆอยู่แล้ว ผมว่าคนชอบแกตอนเป็นผู้ว่าฯ มิสเตอร์คลีนน่ะ พอหลังจากนั้นแล้ว รู้สึกว่ายังไงอยู่ คือแกทำงานตรงนั้นดีอยู่แล้วไง ทีนี้แกอยากจะเป็นนายกฯอย่างเดียวหรือเปล่า เอาตัวอย่างเปรม ความคิดตรงนี้คือว่าศักยภาพคนม่ถึง เหมือนผมนี่ ไม่เคยคิดจะมาเป็นนายกฯหรือว่าเป็นอะไรต่างๆ ทำงานตรงไหนผมก็ขอให้เป็นแค่เป็นเลขาฯก็พอแล้ว ผมสนใจอยู่แค่นี้ ประธานไม่จำเป็นต้องเป็น

ผู้สัมภาษณ์ : เหมือนที่เป็นเลขาฯ สหกรณ์อยู่นี่ใช่ไหมครับ
คุณบรรจง :
ใช่ คือผมจะทำงานส่วนมากจะเป็นเลขาฯตลอด ผมชอบตรงนี้ เพราะว่าบทบาทของผมมันน่าจะแค่นั้นพอ ไม่ต้องเป็นประธานหรอก

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนี้กิจการสหกรณ์ก็...
คุณบรรจง :
ก็ดีขึ้น อาจจะมีการทุจริตกันบ้าง ตอนนี้ก็ตั้งกรรมการสอบอีก ยักยอกเงินกัน ก็ว่ากันไป

ผู้สัมภาษณ์ : แต่ว่าคิดว่าโดยรวมน่าจะไปได้ในสังคมนี้ใช่ไหมครับ
คุณบรรจง :
ไปได้ สังคมตอนนี้น่ะ ผมว่าขัดแย้งน่ะดีนะ เป็นทฤษฎีของวิทยาศาสตร์ action มันต้องเท่ากับ reaction มันก็แค่นั้น มันเป็นพลังของธรรมชาติ การขัดแย้งนี่ แต่ต้องขัดแย้งเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เหมือน นปช. พันธมิตรฯ พวกนี้ ผมถือว่าเป็นเรื่องปกติ สมัยก่อนมีการตายทุกวัน อันนี้ชุมนุม ไม่มีการตายนี่ ผมภูมิใจนะ

ผู้สัมภาษณ์ : ถือว่าดีขึ้น
คุณบรรจง :
มันดีขึ้นน่ะ การชุมนุมดีขึ้น ถึงไปชุมนุมเท่าไหร่ก็ไม่ตายมากเหมือนสมัยผม สมัยผมแค่ติดโปสเตอร์เอง ก็ตายแล้ว มันรุนแรงขนาดนั้น ต้องเสี่ยง ตอนนั้นติดกลางวันนี่ไม่ได้ โปสเตอร์ ต้องลักลอบติด

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วช่วงหลัง พี่ได้เข้าชุมนุมทางการเมืองอะไรบ้างหรือเปล่าครับ
คุณบรรจง :
ก็หลังจากปี19 มี ’21 ’22 ก็ชุมนุมลักษณะการพูดคุย ให้ความคิดกับน้องๆ ก็ไปที่สถาบันเก่า ส่วนมากจะไปที่สถาบันเก่า เพื่อนก็ไปเป็นอาจารย์กันบางคน พวกเพื่อนเห็นผม ผมหัวเราะก๊ากเลย บางคนเป็นดอกเตอร์ บางคนเป็นศาสตราจารย์เราก็พูดกันได้ใช่ไหม เพราะว่าตอนนั้นเราก็เป็นอย่างนั้น ตอนนี้เราก็เป็นอย่างนี้อยู่ เราไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรไปมาก เป็นอาจารย์ก็เป็น ก็คุยกันได้

ผู้สัมภาษณ์ : เดี๋ยวนี้ยังติดต่อกันอยู่หรือเปล่าครับ
คุณบรรจง :
ติดต่อกัน ตั้งแต่ ม.4 ม.5 แล้วก็มา มหา’ลัย แต่พอมาตอนนี้ก็สามรุ่นแล้ว กลายเป็นคนเกษียณ สามรุ่น ตั้งแต่มัธยมก็มีกลุ่มมัธยมอยู่ กลุ่มมหา’ลัยก็มีกลุ่มอยู่ แล้วก็กลุ่มเกษียณก็มีกลุ่ม สามกลุ่มนี่ ผมต้องไปสามกลุ่ม

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนี้ออกงานเยอะหน่อย
คุณบรรจง :
ตอนนี้งานมันเข้ามา แล้วถึงภูมิใจไง ได้พูดคุยกับคนรุ่นหลังบ้าง เพราะว่าให้แนวความคิด บอกว่าการเรียนหนังสือนี่เรียนให้รู้จริงแล้วปฏิบัติให้ได้ แล้วอย่าลืมคุณธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณ ไม่ต้องใช้ปืนหรอก ไม่ต้องพก พี่ไม่เคยพกปืนเลย ไม่เคยมีใบอนุญาตพกปืนสักกระบอกเลย เพราะพี่ว่าไม่จำเป็น การติดอาวุธนี่ต้องติดอาวุธทางปัญญา อยู่ที่ไหนก็ได้ เข้าใครก็ได้ ไม่ต้องระแวง นอนหลับ สุขภาพดี

ผู้สัมภาษณ์ : คนอื่นก็ไม่ระแวงเราด้วย
คุณบรรจง :
ใช่ มีอะไรก็พูดกันเลย พูดตรงๆ ไม่ต้องมีชั้นเชิงอะไรทั้งหลาย ไม่ต้องหมกเม็ด พูดตรงๆ ไม่ชอบก็บอกว่าไม่ชอบ ให้ปรับปรุงเท่านั้นเอง เดี๋ยวก็เราเป็นเพื่อนกันได้ มองว่าเหมือนเสื้อแดงเสื้อเหลือง เดิมมันก็เป็นคนกลุ่มเดียวกัน มองลักษณะของตรงนั้น เดิมก็มาจากที่เดียวกัน คุณเข้าป่า คุณก็ต้องคืนเมือง เข้าไปทำไมเพราะบ้านผมก็อยู่ป่าอยู่แล้ว ไม่จำเป็น ตัวอย่างของอดิศร ได้ข่าวว่าตายไปเกือบหมดเลย ครอบครัวของอดิศร เพียงเกษ นี่ยังเหลือไม่กี่คน เพราะเข้าป่า ทั้งปู่ ทั้งพ่อ ทั้งพี่ ทั้งน้อง ได้ข่าว คือการสู่ป่าตอนหลังก็คืนเมือง

ผู้สัมภาษณ์ : พี่คิดเห็นยังไงกับความขัดแย้งปัจจุบันบ้างครับ
คุณบรรจง :
ดีที่มีความขัดแย้ง พี่ชอบนะเรื่องขัดแย้งนี่ดีเพราะมันไม่ตาย เดี๋ยวนี้มันไม่มีความสูญเสีย ชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธนี่ ชอบคำนี้ คุณอยากจะพูดอะไรก็พูดแต่ต้องอาจจะว่าลดเสียงหน่อย รบกวนคนข้างเคียง จะมาคุยกันอย่างนี้น่าจะดีกว่า น่าจะสอนคน ความคิดของเราใช่ ไหม ก็ไปสอนคนรุ่นหลังว่าน่าจะทำอย่างนี้ น่าจะทำอย่างนั้น ถ้าคุณอยากจะเข้าวิถีชีวิตจริงๆคุณก็เข้าเรียนมหา’ลัย หรือว่าไปพบปะเพื่อนฝูงคุยแลกเปลี่ยนกัน อาจจะอยู่ในแบบผม ชมรมที่ว่าสมัยนักเรียนกลุ่มหนึ่ง มหา’ลัยกลุ่มหนึ่ง เกษียณกลุ่มหนึ่ง สามกลุ่มนี่ ผมพยายามทำตอนนี้ให้มันเป็น ไปดูว่าในกลุ่มเกษียณเขามีความคิดยังไง ถ้าเกษียณก็พูดเรื่องออกกำลังกาย วิ่งบ้างเดินบ้าง ตื่นแต่เช้าบ้าง อะไรพวกนี้ ผมก็พูดเรื่องพวกนี้ พอไปพูดพวกกลุ่มมหา’ลัยก็พูดแบบพวกคุณแบบนี้ บอกว่า ถ้าศึกษาในมหา’ลัยก็อย่าลืมเรื่องปรัชญา เรื่องนิติศาสตร์ เรื่องคุณธรรมนะ ไม่ใช่ได้เพียงประกาศใบเดียวเป็นแค่ใบเบิกทาง มันไม่ใช่ มันต้องมีเอกสารแนบ ไม่ใช่ใบเดี่ยว (หัวเราะ)

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วถ้าให้คุณบรรจงบรรยายถึง 14 ตุลาด้วยประโยคสักหนึ่งหรือสองประโยคคุณบรรจงอยากบรรยายว่ายังไงครับ
คุณบรรจง :
เอ่อ จากการร่วมของ 14 ตุลานี่ ผมว่าแนวความคิดของผมนี่ ตอนเด็กๆนะ มันชัดขึ้น มันชัดขึ้นๆ ปัจจุบันนี้ก็ชัดขึ้น เพราะผมได้สะสมมาจากคุณพ่อที่ผมพูดว่าครั้งแรก เพราะว่าพ่อเป็นคนนับถือในความเป็นธรรม เป็นคนใต้ 14 จังหวัด เมื่อก่อนปัญหาภาคใต้นี่มันมี 14 จังหวัดเลยนะ ไม่ใช่มีแค่ 3 จังหวัดเหมือนปัจจุบัน

ผู้สัมภาษณ์ : พ่อคุณบรรจงนี่ทำงานอะไรนะครับ
คุณบรรจง :
ทำสวน คุณพ่อผมนี่แกบอก เขาให้เป็นกำนันก็ไม่เป็น ผู้ใหญ่บ้านก็ไม่เป็น บอกว่าให้หลานๆเป็นกำนันผู้ใหญ่บ้าน แต่แกต้องให้ใหญ่กว่ากำนัน แกบอก ให้ใหญ่เท่ากับนายอำเภอ เพราะฉะนั้น พ่อผมนี่จะพูดกับนายอำเภอ พูดกับผู้ว่าฯ พูดกับกำนันก็ได้ พูดเรื่องความเป็นธรรม ไม่ใช่ว่า นายอำเภอไปนี่ไก่หมดเล้าเลย พ่อพูดอย่างนี้เลยนะเมื่อก่อน คุณมานี่ไก่บ้านผมหมดเล้านะ ผมไม่เลี้ยงนะคุณนะ เลี้ยงแต่เหล้าอย่างเดียว เหล้านี่ผมเลี้ยงไม่อั้น แต่ไก่ผมไม่เลี้ยง คือแกพูด มีลักษณะที่ต้องให้คิดด้วย คิดดูคุณพ่อผมพูดสอนนายอำเภอเลย ไม่ใช่คุณไปบ้านใครแล้วไก่ต้องหมดเล้า เลี้ยงดูปูเสื่อไง ระบบนี้เป็นระบบที่มหาดไทยยังใช้อยู่ ซึ่งพ่อไม่ชอบเลย ไม่ชอบ ซึ่งปัจจุบันก็ยังเป็นอย่างนั้นอยู่

ผู้สัมภาษณ์ : แกเรียนรู้จากประสบการณ์หรือว่าอ่าน
คุณบรรจง :
ประสบการณ์แต่ก็อ่านหนังสือด้วย เหมือนแกจะทำเกษตร ปลูกยางอย่างนี้ แกก็นำเอาหนังสือมาอ่าน ก็ทำตามกรมวิชาการเกษตรว่า แต่ว่าพอถึงเวลานักวิชาการเกษตรเหมือนรุ่นน้องๆไปนี่ปั๊บ แกไม่เชื่อหรอก นักวิชาการเกษตรไปถึง แกไม่เชื่อ แกก็ เอ้า แกทดสอบเลยไปถึง ปลูกยางปลูกยังไง จะไปสอนพ่อ พอประเดี๋ยวแกก็ไล่ต้อนนักวิชาการจบน่ะ เพราะแกมีประสบการณ์ คุณว่าอย่างนั้น ผมว่าอย่างนี้

สมัยก่อนมันอาจจะว่าดินมันดี ปลูกตรงไหนก็ขึ้นหมด เดี๋ยวนี้ต้องใช้ปุ๋ย ที่มานี่พูดเรื่องปุ๋ยอีก เพราะปุ๋ยสมัยก่อนมันใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์ ปัจจุบันใช้เคมี มันใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วย ทีนี้ต้นทุนมันสูง ในการผลิตนี่ ต้นทุนเราสูงพอประเทศวิกฤติ ช่วงวิกฤติแบบนี้ เราทำยังไงให้เหมือนในหลวงพูดว่าเศรษฐกิจพอเพียง นั่นคือต้องกลับมาใช้เกษตรอินทรีย์เพราะต้นทุนในการผลิตสูง เหมือนคุณปลูกข้าวเองใช่ไหม เมื่อก่อนมันใช้อินทรีย์เดี๋ยวนี้มันใช้เคมี ต้นทุนมันสูง ข้าวราคาต่ำ ข้าวราคาต่ำปั๊บก็อยู่ไม่ได้ ชาวนาก็เป็นหนี้ เดิมไม่เป็นหนี้นะชาวนาเมื่อห้าสิบปีก่อน ปัจจุบันนี่เป็นหนี้ทุกคน ชาวนานี่ร้อยละแปดสิบเป็นหนี้ เพราะว่าต้องเอาที่ไปจำนอง ธกส. เพราะเขาเอาเทคโนโลยีเข้าไปใช้แล้วก็ไม่มีการปรับปรุง ไม่สามารถหาทางช่วยตัวเองได้ยังไงให้อยู่รอดในภาวะวิกฤตินี่

อาจจะเป็นเพราะเขาไม่รู้ก็ได้ ถูกนายทุนหลอก พวกขายปุ๋ย นี่มาสิบสามตัวหลังนี่อีก อาจจะมีส่วนอะไรแอบแฝงอยู่ ตะไคร้ ข่า ขิง เราใช้อยู่ดีๆ ไปถึงประกาศว่าเป็นวัตถุอันตราย เวลาพี่ศึกษานี่พี่จะศึกษาหมดเลย หลายๆรูปแบบ ประเด็นเรื่องปุ๋ยก็ปุ๋ย ว่ากันไปเลย ปุ๋ย ปุ๋ยก็ต้องกลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ คือต้องลดทุน ต้นทุนต่ำให้ได้ไม่อย่างนั้นทำการเกษตรนี่ไปไม่รอดหรอก แล้วยิ่งวิกฤติแบบนี้ น้ำมันแพง ปุ๋ยแพง น้ำมันเราต้องใช้ แต่ว่าใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น เหมือนในกรุงเทพฯนี่มันต้องไปรถเมล์ดีที่สุดใช่ไหม เหมือนเกษตรก็ต้องเกษตรอินทรีย์ดีที่สุด ถ้าคุณไปใช้เคมีไม่คุ้มหรอก ต้องวิเคราะห์ตรงนี้ให้ได้ เพื่ออยู่รอด

แม้กระทั่งพันธุ์ข้าว ไม่ใช่ขายทั้งหมด ไม่เอาไว้ทำพันธุ์เลย ถึงเวลาต้องซื้อพันธุ์ข้าวมาปลูกอีก นี่คือพวกคิดไม่เป็น แม้กระทั่งพันธุ์ข้าวก็ขายไปหมดเลย พอถึงเวลาก็ต้องไปซื้อจากโกทั้งหลายมา ทั้งที่บางทีโกนั่นแค่เปลี่ยนกระสอบเท่านั้นเอง ซื้อจากเราแล้วขายเรา คือการที่มองพวกนี้ พี่มีพื้นฐานตรงนี้อยู่ด้วยไง ถึงรู้ เพราะคุณพ่อเขาสอน คือต้องเป็นน่ะ เหมือนที่ในหลวงสอนอยู่ปัจจุบันนี้ พ่อผมก็สอน พ่อผมเคยสอนมาก่อนแล้ว เรื่องเกษตรอินทรีย์ เรื่องวิถีชีวิตแบบพอเพียงอะไรพวกนี้ สอนมาแล้วเมื่อห้าสิบปีก่อน

จากการเข้าสหกรณ์ สหกรณ์เขาก็สอนนะ ในระบบสหกรณ์นี่สอนพวกนี้ด้วย แต่ว่าพวกเรานี่ส่วนมากจะละเลย เอาเงินเป็นที่ตั้งไง พอเอาเงินเป็นที่ตั้ง ทุกอย่างก็หาเงินๆ แต่ไม่คิดว่าฐานมันจะทรุด ต้นทุนมันสูง ต้นทุนสูงฐานก็ทรุด ก็เป็นหนี้ ถ้าทำนาอยู่ยังเป็นหนี้ก็ต้องหาวิธีการอื่น อาจจะต้องเลิกทำนาไปทำสวนอะไรพวกนี้ ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิต คุณพ่อผมก็สอนวิธีนี้ด้วย ถ้าคุณทำอะไรเกินสองปีแล้วไม่เจริญ ไม่ว่ารับราชการ ขายก๋วยเตี๋ยว ถ้าคุณดันไปสองปีปรากฏว่ามันไม่เวิร์คแล้ว คุณต้องถอยแล้วหรือว่าคุณต้องเปลี่ยนกลยุทธ์แล้ว ต้องเปลี่ยน อาชีพนี่ก็ต้องเปลี่ยนนะ ถ้าเกิดครบสองปี ไม่ใช่ว่าคุณทำอยู่อย่างนี้ตลอด บางทีคุณไม่ถนัด วิเคราะห์ปัญหาไม่เป็น คนจีนที่เขาเจริญรุ่งเรืองเพราะอะไร เพราะเขาวิเคราะห์ตลอด จากหาบมาเป็นแผงลอย จากแผงลอยมาขึ้นห้าง มันต้องพัฒนาไต่เต้าอย่างนั้น ถ้าคุณอยากจะขายของอยู่ ถ้าคุณยังต้องหาบเร่อยู่ตลอดนี่มันไม่ได้ ต้องวิเคราะห์เป็น

ผู้สัมภาษณ์ : ก็ต้องขอขอบคุณคุณบรรจงมากนะครับที่ให้ความรู้ทั้งในแง่ของข้อมูลหลักฐานและเรื่องการดำรงชีวิต