Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Woolrich Outlet

Woolrich

hogan

hogan

hogan

Hogan Sito Ufficiale Hogan Scarpe Hogan Outlet Hogan Scarpe Hogan Hogan Scarpe Hogan Interactive Hogan Donna Scarpe 2013 Hogan Scarpe Outlet Hogan Vendita Hogan Hogan Scarpe 2013 Hogan Scarpe Hogan Scarpe Hogan Hogan Outlet Hogan Scarpe Outlet Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Hogan Outlet Scarpe Hogan Hogan Sito Ufficiale Scarpe Hogan2013 Hogan Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Donna Hogan Interactive Hogan 2013 Hogan Online Hogan Italia Hogan Scarpe
woolrich ASK Hollister Hollister abercrombie abercrombie abercrombie abercrombie woolrich parka Hollister Holliter France Hollister Hollister France Magasin Vetement Hollister Hollister Soldes Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Vente Hollister En ligne Hollister 2013 Hollister France Hollister France 2013 Hollister Hollister Hollister Magasin Hollister Vente Hollister Homme Hollister Pas Cher Hollister T Shirts Hollister Paris Boutique Hollister Vetements Boutique Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Hommes Hollister France Vente Hollister Hollister sortie 2013 Pas Cher Hollister Hollister Pas Cher

บทสัมภาษณ์ - บุญชัย วสุนธรา
วันที่ 29 เมษายน 2552 เวลา 23.10 น.
สถานที่ จ. ฉะเชิงเทรา
ผู้สัมภาษณ์ : โชติศักดิ์ อ่อนสูง
ตามโครงการของมูลนิธิ 14 ตุลา ในการรวบรวมปากคำของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อไป


ผู้สัมภาษณ์ : ก่อนอื่นอยากให้พี่เล่าเกี่ยวกับชีวิตวัยเด็กนะครับ เติบโตที่ไหน ยังไงนะครับ
คุณบุญชัย :
โอ้โห จะเริ่มยังไงดีล่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : มีพี่น้องกี่คน?
คุณบุญชัย :
อ๋อ พี่น้องก็ 8 คน

ผู้สัมภาษณ์ : เป็นลูกคนที่...
คุณบุญชัย :
เราเป็นคนที่ 5 คนโตๆ เขาก็เป็นหมอก็มี รับราชการก็มี

ผู้สัมภาษณ์ : พี่น้องก็คือเรียนกันหมดทุกคน?
คุณบุญชัย :
เรียนหนังสือ ส่วนใหญ่เรียนหนังสือครับ

ผู้สัมภาษณ์ : อยู่ในตัวจังหวัด หรือว่าอยู่ใน...?
คุณบุญชัย :
เรียนมหาวิทยาลัยไง

ผู้สัมภาษณ์ : ไม่ครับ ตอนเด็กๆ...
คุณบุญชัย :
อ๋อ ตอนเด็กๆ เรียนอยู่ในจังหวัดหมด

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึง บ้านก็อยู่ในตัวจังหวัด?
คุณบุญชัย :
อยู่ในตัวเมือง อยู่ในตัวจังหวัด เป็นตลาด

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม เป็นพ่อแม่หรืออะไร?
คุณบุญชัย :
พ่อแม่อยู่ในตลาด เป็นคนพื้นเพเดิมอยู่ที่นี่ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วทำอาชีพอะไรครับ?
คุณบุญชัย :
พ่อแม่เหรอ ค้าขาย ค้าขายพวกเครื่องเหล็กครับ

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบุญชัย :
ไอ้เราก็เด็กๆ ก็ซนน่ะ เขาเรียกว่าอะไรล่ะ เป็นหัวโจกน่ะนะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ค้าขายด้วย หัวโจกด้วย แล้วก็ชอบนำคน ว่าอย่างนั้นดีกว่า อย่างอื่นก็คงไม่มีอะไรหรอก ก็เกเรน่ะ ตามประสาเด็กๆ เล่นพวกอะไรต่ออะไร

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นในตัวฉะเชิงเทรานี่ บรรยากาศหรือว่าสภาพบ้านเมืองตอนนั้นเป็นยังไง?
คุณบุญชัย :
บรรยากาศเกี่ยวกับเรื่องอะไร?

ผู้สัมภาษณ์ : ก็เรื่องทั่วๆ ไป
คุณบุญชัย :
ก็ทั่วๆ ไป น่ะนะ บรรยากาศถ้าพูดถึงเรื่องทางการเมืองก็มันมี... การเมืองเลยไหม? เพราะว่าอย่างอื่นมันก็คงจะไม่มีอะไร มันก็ธรรมดาน่ะนะ เพราะว่าทั่วๆ ไป บ้านนี้ส่วนใหญ่แล้วก็คนธรรมะธัมโม ค้าขาย

ผู้สัมภาษณ์ : บ้านนี้หมายถึงบ้านพี่หรือว่าเมืองนี้?
คุณบุญชัย :
คนแปดริ้ว

ผู้สัมภาษณ์ : โอเค
คุณบุญชัย :
ค้าขาย ธรรมะธัมโม แล้วมันก็จะมีกลุ่มนักการเมืองเก่าอยู่สัก 2-3 กลุ่ม บางกลุ่มก็เป็นนักเลงหัวไม้นะ แล้วส่วนใหญ่ก็ติดมาแล้วนี่คือเป็นผู้บริหารแล้วนี่ก็จะเกาะติดมานาน ผู้บริหารหมายความว่าผู้บริหารท้องถิ่นน่ะนะก็จะเกาะติดนานเลย คนหนึ่งก็ 5 ปี 10 ปี เลย รุ่นยาวๆ ก็มี รู้สึกจะคุณอะไร... แต่ตายไปแล้ว เก่าๆ นี่ถึง 20 ปี

ผู้สัมภาษณ์ : พี่เกิดปีอะไรครับ?
คุณบุญชัย :
เราเกิดประมาณปี 2500

ผู้สัมภาษณ์ : งั้นก็...
คุณบุญชัย :
50

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นก็คือประมาณปี... ช่วงที่เด็กๆ
คุณบุญชัย :
2510-2512-2513

ผู้สัมภาษณ์ : ช่วงนั้นเขาได้มีการเลือกตั้งมีอะไรอย่างนี้ไหมครับ?
คุณบุญชัย
: ก็มีแล้ว แต่ว่าช่วงนี้มันรู้สึกจอมพลถนอมจะเกาะไว้ยาวเลยน่ะ ที่จำความได้คือ
จอมพลสฤษดิ์ตายปี ’06

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นรู้ข่าวแล้ว รู้เรื่องแล้ว
คุณบุญชัย :
พอรู้เรื่องแล้ว อันนี้เขาตายปี ’06 ปุ๊บ จอมพลถนอมเกาะมายาวเลย เกาะมาอีก 7-8 ปี ถูกไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
จนมามีเรื่อง ตอน 14 ตุลา ใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : คือตอนเด็กก็คือเรียนที่นี่?
คุณบุญชัย :
เรียนอยู่ที่นี่ เขาเรียกว่า ม.7 ม.8

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ก่อนผมนี่ ม.7 ม.8 แล้วพอมารุ่นเรานี่มันก็เรียกว่า ม.ศ.4 ม.ศ.5 ผมเรียนสายวิทยาศาสตร์ โรงเรียนชาย

ผู้สัมภาษณ์ : พี่เข้า ม.1 ปีอะไรครับ
คุณบุญชัย :
ปีอะไรนะ... ปีที่อพอลโล่เหยียบ...

ผู้สัมภาษณ์ : ’12 มั้งครับ ถ้าจำไม่ผิด
คุณบุญชัย :
ประมาณนั้นแหละ ’11 ’12 น่ะ ที่ นีล อาร์มสตรองไปเหยียบพระจันทร์น่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ ตอนนั้น ม.7 ม.8 ก็คือนับตั้งแต่ 1 ถึง 6-7-8 อ๋อ ม.1 ก็คือเทียบเท่ากับ ป.5
คุณบุญชัย :
ม.ศ.1 ก็เท่ากับ ป.7 แล้วมา ม.ศ.1 ใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
แล้วก็มันก็ต่อ ม.ศ.3 ม.ศ.4 ม.ศ.5 ก็อยู่ในราวปี ’12

ผู้สัมภาษณ์ : เดี๋ยวนะครับ พี่เรียนยังไงครับ เรียน...
คุณบุญชัย :
เรียน ม.ศ....

ผู้สัมภาษณ์ : เดี๋ยวนะ เรียนประถมมา 4 ปี หรือ 7 ปี
คุณบุญชัย :
เรียนประถมมาถึง ป.7

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
เมื่อสมัยก่อนผมอยู่ ป.7 เสร็จแล้วก็ต่อด้วย ม.1 แล้ว ม.ศ.1 ปี ’12

ผู้สัมภาษณ์ : ม.ศ.1 ก็เทียบเท่าประมาณ ม.3 อะไรประมาณนี้
คุณบุญชัย :
ไม่ใช่สิ

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือ ม.1 ปัจจุบัน?
คุณบุญชัย :
แต่มันงงน่ะ ม.1 ปัจจุบันนี่มัน ป.6 ก่อนมาขึ้น ม.1 ใช่ไหม แต่ที่ผมเรียนนี่ ป.7 เกินมาปีหนึ่ง แล้วมาเรียน ม.ศ.1

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ก็เทียบเท่ากับ ม.1 เทียบเท่าได้ไหม?
คุณบุญชัย :
ไม่เท่านะ ถ้านับปีแล้ว ป.7 มันก็เกินไปปีหนึ่ง เดี๋ยวนี้มันแค่ ม.6 กับ ป.6 ใช่ไหม ป.6 แล้วขึ้น ม.1 เออ มันก็กลับไปกลับมาไง

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วมัธยมตอนนั้นเขาเรียนกันกี่ปีครับ
คุณบุญชัย :
มัธยม 3-4-5-6 เรียน 6 ปี

ผู้สัมภาษณ์ : 6 ปี เหมือนกัน
คุณบุญชัย :
6 ปี เหมือนกัน เรียน 7 แล้วก็เรียน 6 – 7 ถึง ป. ไง ป.7 แล้วก็มาอีก 6 ปี

ผู้สัมภาษณ์ : งั้นคือช่วง 14 ตุลา นี่ก็คือยังเรียนอยู่ที่นี่
คุณบุญชัย :
เรียนอยู่ที่นี่ ม.ศ.5 มันไม่เป็น ม. แล้วนะ มันเป็น ม.ศ. นะ มัธยมศึกษา

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม แล้วเข้าไปร่วมเหตุการณ์ได้ยังไง? เราอยู่ตรงนี้
คุณบุญชัย :
ตอนนั้นมันประมาณปี ’16 ก็จบ ’17... ตอนต้นๆ กลางปี ’16 น่ะ แถวสิงหากันยา มันมีการเรียกร้องนักศึกษาที่ไปแจกใบปลิวแล้วถูกจับประมาณสัก 13 คนใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ถ้าจำไม่ผิดมาจากเหตุการณ์เรื่องของอาจารย์ศักดิ์ ผาสุกนิรันดร์ ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงน่ะ ลบชื่อนักศึกษากี่คนก็จำไม่ได้ แต่ว่าเข้าใจว่าน่าจะเป็นเรื่องของการลบชื่อนักศึกษา เพราะว่านักศึกษาเหล่านั้นต่อต้านรัฐบาลถนอม กิตติขจร แล้วก็มันจะลาม เข้าใจว่าน่าจะลามมาถึงในมหาวิทยาลัยมั้ง แล้วก็เลยมีการลบชื่อพวกนี้ออกไป

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นพี่รู้ข่าวได้ยังไง? อยู่ที่นี่
คุณบุญชัย :
ก็ดูข่าวหนังสือพิมพ์บ้าง ฟังข่าว ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวหนังสือพิมพ์นะ เพราะข่าววิทยุนี่มันใช่ไม่ได้เลยล่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ทำไมครับ?
คุณบุญชัย :
มันบิดเบือนน่ะ แล้วมันมีข่าวนี่ เท่าที่ฟังอยู่มันมีข่าว “คลื่นสั้น” น่ะ สมัยนี้มันคงไม่มีใช่ไหม “คลื่น S.W.” เขาเรียกว่า “คลื่นสั้น” – “คลื่นสั้น” นี่มันจะส่งมาจากไหนก็ไม่รู้ แต่มันเหมือนกับว่าจะส่งมาจากเมืองจีนหรือยังไงนี่นะ มันเป็นคลื่นของพวก... เขาเรียกว่าพวกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยไง แล้วมันก็มีการหมุนหาคลื่นกัน (หัวเราะ) แล้วก็ต้องค่อยๆ แอบฟังนะ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่ไปรู้จักคลื่นนี้ได้ยังไง?
คุณบุญชัย :
ถ้าถามว่าไปรู้จักได้ไง จำไม่ได้ว่ารู้จักได้ยังไง แต่ว่ามันไปเปิด ในวิทยุรุ่นก่อนน่ะมันจะเป็นวิทยุมีเลขวิ่ง เขาเรียกว่าอะไรล่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : เข็ม
คุณบุญชัย :
มีเข็มวิ่งใช่ไหม แล้วหน้าปัดมันจะมี 3 แบนด์ มีแบนด์ S.W. - Shot Wave, F.M. แล้วก็ A.M. ส่วนใหญ่เราก็จะฟัง เต็มที่ก็บ้านนอกก็ฟัง A.M., F.M. นี่ก็อย่างหรูแล้ว ก็คือมันต้องติดเสาสูงเลย S.W. นี่ต้องอย่างนี้ ต้องสัก 4-5 ทุ่ม นี่ก็ค่อยๆ หมุน แล้วเสียงมันเหมือนกับว่า โอ้โห มาไกลมากเลย “คลื่นสั้น” นะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ อันนี้คือตั้งแต่ก่อน 14 ตุลา แล้ว? ก็คือได้ฟังกัน...
คุณบุญชัย :
ก็ฟังกัน แต่ว่าไม่กล้าฟังกันแรง ไม่กล้าฟังกันดัง

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นคือฟังในบ้านหรือยังไง? หมายถึงว่าพ่อแม่เปิดให้ฟัง...
คุณบุญชัย :
ไม่ๆ ส่วนใหญ่ก็ฟังในบ้าน แล้วก็พรรคพวกที่ชอบฟังกันเรื่องนี้น่ะนะ ที่ชอบไปฟังผู้ใหญ่บางคนที่เขาชอบคุยเรื่องของการเมืองบ้านเรา แล้วก็ไปฟังวิทยุ “คลื่นสั้น” นี่วิพากษ์วิจารณ์ เราก็รู้ว่า เอ้อ พวกนี้นี่ก็เป็นพวกที่ต่อต้านพวกรัฐบาล แล้วเขาใช้ชื่อว่าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
มันมีหลายคนนะ เดี๋ยวนี้เข้ามาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย อายุมากๆ แล้วนะ หลายคน จำได้คนหนึ่งคือ ไม่รู้ออกชื่อไปดีไหม อาจารย์อะไรนะ... ผู้หญิง เคยได้ยินเขาออกอากาศ ชลธิรา สัตยาวัฒนา เขาก็เคยเป็นโฆษกนะ ถามเขาดูสิ แต่คนอื่นก็ต้องฟังคุ้นๆ นะ

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงเป็นโฆษก...
คุณบุญชัย :
เป็นคอลัมนิสต์หรือเป็นอะไรที่ออกอากาศน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : อ่า ดีเจ?
คุณบุญชัย :
ประมาณนั้น (หัวเราะ) ถ้าพูดสมัยนี้ก็เป็นเดจี แต่สมัยนั้นเป็นพวกปลุกให้สู้น่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นที่อาจารย์ชลธิราเป็นนี่คือก่อน 14 ตุลาแล้ว?
คุณบุญชัย :
ไม่แน่ใจ ประมาณแถวๆ นี้น่ะนะ แล้วก็เขาก็ฮือกันใหญ่ คิดว่าต้องก่อน 6 ตุลา 19 แน่นอน

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
มันถึงมีแรงพวกนี้ แล้วก็แรง... คลับคล้ายคลับคลาว่าจะอยู่ในช่วงนี้แหละ อยู่ในช่วงก่อน 14 ตุลา ถ้าเจออาจารย์ชลธิราถามดูว่าอาจารย์เคยเข้าไปแรกๆ ที่อยู่ในช่วงนี้หรือเปล่า ผมไม่แน่ใจครับ ระยะเวลาไม่ได้จดจำ

ผู้สัมภาษณ์ : แต่ว่าเรื่องฟังอันนี้นี่ ฟังมาก่อน 14 ตุลา แน่นอน?
คุณบุญชัย :
“คลื่นสั้น” นี่มันมีมาก่อนแน่นอน เพราะเมื่อสมัยนั้นนี่ผมคิดว่าสื่อสารแบบนี้มันไม่มีหรอก มันมีด้านเดียว มันมีด้านของกระบอกเสียงรัฐบาล ซึ่งอะไรมันดีหมดทุกอย่าง ไอ้ของเสียมันก็หมกเอาไว้ใช่ไหม ทีนี้เราก็ เฮ้ย มันจะดีหมดไปได้ยังไงทุกเรื่องน่ะ มันก็ต้องหาของที่อีกมุมหนึ่งเขามอง อีกมุมหนึ่งที่เขามองก็ไม่มีใครเคยพูดนี่ เพราะพูดที่ไรก็โดนดักหมดถูกไหม มันก็มี “คลื่นสั้น” นั่นแหละที่มีอีกมุมหนึ่ง ก็เหมือนกับโฆษณาชวนเชื่อ ถ้าเทียบถึงตรงนี้นะก็เหมือนกับทักษิณโฟนอินมาจากเมืองนอก ไอ้คนที่อยู่นี่ก็อยากจะฟังอีกด้านหนึ่ง ก็คือไปฟังทักษิณ นี่ถ้าเปรียบเทียบนะ อะไรอย่างนี้

ผู้สัมภาษณ์ : คือตอนนั้นภาพลักษณ์ของคอมมิวนิสต์หรืออะไรอย่างนี้ เราก็ไม่ได้สนใจว่า...?
คุณบุญชัย :
ไม่ถึงขนาดที่นะมาอะไร แต่ว่าสนใจว่ามันเป็นความจริงหรือไม่ เพราะว่ามันเป็นการต่อสู้ระหว่างชั้นผู้ปกครองของกลุ่มทหารใช่ไหม กับอีกชั้นหนึ่งเขาเรียกว่าผู้ถูกกดขี่น่ะใช่ไหม แล้วก็พอใช้ชื่อคอมมิวนิสต์ปั๊บ ภาพมันก็ติดมาจากสมัยจอมพลสฤษดิ์ ว่าถ้าคอมมิวนิสต์นี่... ภาพมันน่ากลัว (หัวเราะ) ไม่รู้ล่ะ พอบอกว่าคอมมิวนิสต์นี่มันก็น่ากลัว

ผู้สัมภาษณ์ : ทำไมพี่ถึงรู้สึกน่ากลัว?
คุณบุญชัย :
ภาพ ภาพมันน่ากลัว

ผู้สัมภาษณ์ : จากอะไร?
คุณบุญชัย :
ในสายตาทหารน่ะ ในสายตาทหารที่มองว่าคอมมิวนิสต์น่ากลัวแล้วก็ถ่ายทอดมา เราก็รู้สึกว่า เฮ้ย มันน่ากลัวมั้ง

ผู้สัมภาษณ์ : อืม หมายถึงถ่ายทอดมาถึงเรา?
คุณบุญชัย :
ครับ เรานี่ เออเฮ้ย พูดถึงคอมมิวนิสต์ไม่ได้นะ พวกนี้ไม่ได้นะ ถ้าพูดถึงคอมมิวนิสต์ปั๊บนี่ ไอ้พวกนี่หัวเอียงซ้าย อะไรแบบนี้ใช่ไหม มันก็จะมองว่าภาพมันน่ากลัว ทั้งที่จริงๆ คอมมิวนิสต์มันก็ไม่ใช่... มันไม่ใช่เรื่องคนน่ากลัว แต่คอมมิวนิสต์มันอาจจะเป็นเรื่องของระบบการปกครองอย่างที่ว่าน่ะนะ ระบบคอมมูนใช่ไหม ซึ่งในสมัยนั้นนี่มันก็มี 2 ซีก คือซีกขวากับซีกซ้าย จะมองว่าที่เรียกร้องประชาธิปไตยอย่างคุณเสกสรรค์ คุณเสาวนีย์ คุณ... อะไรแฟนคุณเสกสรรค์น่ะ ที่เขาเป็นดาวจุฬาฯ จำได้ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : สหายใบไม้ ผมจำชื่อจริงไม่ได้แล้ว
คุณบุญชัย :
นี่น่ะ อะไร...

ผู้สัมภาษณ์ : จิระนันท์ พิตรปรีชา
คุณบุญชัย :
จิระนันท์ พิตรปรีชา อืม พวกนี้

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพอพี่ตามข่าวมาจากหนังสือพิมพ์แล้วก็จาก...
คุณบุญชัย :
หนังสือพิมพ์ได้ไม่ค่อยมากนะ บังเอิญว่ามันมีหนังสือพิมพ์ที่แรงๆ ที่สู้กันอยู่ก็คือพวก “อธิปัตย์” อะไรพวกนี้ เท่าที่หลุดออกมาได้ เพราะว่าถ้าพวก “เดลินิวส์” “ไทยรัฐ” อะไรนะ... “พิมพ์ไทย” อะไรพวกนี้ไม่เท่าไหร่นะ แต่ว่าเท่าที่มีหนังสือพิมพ์นักศึกษาคือ “อธิปัตย์” – หนังสือพิมพ์ “อธิปัตย์”

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนี้มีมาก่อน 14 ตุลา แล้ว หรือยังไงครับ?
คุณบุญชัย :
ช่วงนั้นก่อนสิ ก่อนจะถึงแล้วล่ะ เพราะช่วงนั้นมันมีศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาน่ะ เกิดขึ้นมาแล้วยัง น่าจะเกิดขึ้นแล้วนะ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาน่าจะเกิดขึ้นแล้ว แต่บังเอิญผู้นำนักศึกษาที่นำเดินขบวนกลายเป็นเสกสรรค์ เราก็งงๆ เหมือนกัน

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงพี่ก็ตามข่าวอยู่ตลอดอยู่แล้ว?
คุณบุญชัย :
ก็เท่าที่... มันก็ต้องรู้สถานการณ์ว่ามันจะไปทิศทางไหนน่ะใช่ไหม ว่าเขาจะมีอะไรยังไงใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วหนังสือนักศึกษานี่คือมีการวางแผงทั่วไปไหมครับ?
คุณบุญชัย :
ไม่มีน่ะ คือเข้าใจว่าน่าจะมีคนเอามาให้อะไรอย่างนี้ มีกระจายมา แล้วยิ่งมันไม่มีสายส่ง มันไม่มีเหมือนเดี๋ยวนี้นะ เราก็ไม่ใช่หาอ่านกันง่ายๆ แต่มีคนส่งให้น่ะ มีคนส่งให้ เวลาคุยกันอะไรอย่างนี้ก็มีคนส่งให้

ผู้สัมภาษณ์ : อืม แล้วทีนี้พออยู่ที่นี่แล้วก็รู้ข่าวว่ามีการจับคนที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญ...
คุณบุญชัย :
อ๋อ มีการจับน่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ใหญ่ มันเป็นเรื่องปกติใช่ไหม รู้สึกว่าถ้าไม่ผิดก็คือจับที่แถวประตูน้ำแถวนี้ใช่ไหม ก็ยืนแจก

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม
คุณบุญชัย :
ไปเดินแจกเอกสารเรียกร้อง เรียกร้องรัฐธรรมนูญใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นพอรู้ข่าวนี้แล้วพี่รู้สึกยังไง หรือมีปฏิกิริยายังไง?
คุณบุญชัย :
คือเขาจับโดยที่มีการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แล้วก็โดนจับ เราก็ เฮ้ย มันแค่เรียกร้องรัฐธรรมนูญแค่นี้ถึงขนาดต้องโดนจับนี่ มันก็เกิดความไม่เป็นธรรมกับคนถูกจับ เพราะว่าไปเดินแจกเอกสารเพื่อจะเรียกร้องอย่างนี้มันไม่ใช่เรื่อง... ในลักษณะของสิทธิแล้วนี่มันถูกกระทบกระเทือน ถูกบล็อกเอาไว้ว่า “ห้าม” อย่างนี้ เราก็ว่า เฮ้ย มันไม่แฟร์นะ ใช่ไหมครับ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม
คุณบุญชัย :
คือให้-ไม่ให้ น่ะคืออีกเรื่องหนึ่ง แต่ถึงขนาดเป็นความผิดที่ต้องโดนจับ เสียอิสรภาพนี่ เฮ้ย มันไม่ได้ อันนี้ไม่ถูก แต่ถ้าคุณไม่ให้ก็เป็นเรื่องของฝ่ายรัฐที่จะไม่พร้อมที่จะให้ นั่นก็อย่างหนึ่ง

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ทีนี้พอโดนจับ ทางฝ่ายนักศึกษาเขาก็เรียกร้องให้ปล่อย

ผู้สัมภาษณ์ : นิดหนึ่งครับ แล้วพอมีข่าวนี้ ในบรรดาเพื่อนๆ หรือว่าครอบครัวที่บ้านเขารู้ข่าวนี้ด้วย เขารู้สึกยังไงบ้าง?
คุณบุญชัย :
ครอบครัวไม่ได้สนใจ ครอบครัวที่บ้านน่ะนะไม่ได้สนใจอะไรมากมาย แต่เราน่ะเป็นคนที่คล้ายๆ กับว่าถ้าเห็นที่มันไม่ค่อยจะถูกต้องแล้วนี่นะ เรามักจะ... พูดง่ายๆ ถ้าพูดถึงหยาบๆ ก็คือแบบเข้าไปยุ่ง อย่างนี้ เข้าไปยุ่ง เราก็ได้ข่าวว่า เฮ้ยนี่ เขาจะชุมนุมใหญ่ที่ธรรมศาสตร์ ฟังวิทยุว่ามีการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ ดูหนังสือพิมพ์ที่ออกข่าวว่ามีการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ เราเป็นเด็กน่ะ เราไม่เคยเข้ากรุงเทพฯ ไม่เคยเข้ากรุงเทพฯ แบบประเภทที่ไปค้างคืนหรือไปยาวๆ เลยนี่นะ ก็จะลองไปดู

ผู้สัมภาษณ์ : อืม ตัดสินใจเลย
คุณบุญชัย :
ตั้งใจไปเป็น... คล้ายๆ ไปดูน่ะ ไปดูด้วย ไปดูแล้วก็ไป... เขาเรียกว่าอะไรล่ะ ไปดูแล้วก็ไป...

ผู้สัมภาษณ์ : มีส่วนร่วม
คุณบุญชัย :
มีส่วนร่วม คืออย่างน้อยที่สุดเราไปคนหนึ่งนี่นะ จะทำอะไรได้ทำอะไรไม่ได้ แต่จำนวนมันเยอะขึ้นๆ ใจมันคิดอย่างนั้นนะ ใจมันคิดอย่างนั้น รู้สึกว่าตอนนั้นนี่ วันนั้นที่ไปนี่มันจะเป็นเสาร์-อาทิตย์ไง ถ้าต้องไล่ปฏิทินดูนะ มันมีนี่อยู่เลย เขาเรียกว่าอะไรล่ะ มันมีตลาดนัดน่ะ ตลาดนัดสนามหลวง ก็กลับรถเมล์ไม่ค่อยจะถูกเหมือนกันตอนนั้น

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นไปกับใครครับ?
คุณบุญชัย :
ผมนั่งรถ บขส. นี่แหละ นั่งรถขนส่งนี่แหละ ไปลง...

ผู้สัมภาษณ์ : ไปคนเดียวเหรอครับ?
คุณบุญชัย :
ไปคนเดียว เอากล้องเอาอะไรต่ออะไรไป กะจะเก็บรูปไปอวดเพื่อนๆ ไม่ได้อวดหรอกแบบว่า

ผู้สัมภาษณ์ : ไม่ได้ชวนเพื่อนหรือยังไง?
คุณบุญชัย :
พวกมันไม่ค่อยเท่าไหร่ ไม่ค่อยเท่าไหร่หมายความว่ามันอาจจะไม่ค่อยมีความคิดอะไรกันมากมาย เรียนสูงจริง ม.8 แต่ไม่ค่อยมีความคิดในส่วนนี้มากเท่าไรนัก ก็ไม่ได้ชวนใคร ก็ไป

ผู้สัมภาษณ์ : เสาร์-อาทิตย์
คุณบุญชัย :
ใช่ไหม 13

ผู้สัมภาษณ์ : น่าจะ 13 หรือ 14 เสาร์ 13 - อาทิตย์ 14
คุณบุญชัย :
เออ วันตำรวจพอดีเลย จำได้ วันตำรวจ

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนพี่ไปนี่...
คุณบุญชัย :
รถเมล์ไป แล้วก็ไปทางมีนบุรี ไปทางนี้จะไปทางสมุทรปราการ พอดีเตี่ยนี่เขาเอาของไปขายที่สมุทรปราการ พอดีมีงาน ถ้าโดยปกติเขาเรียกว่างานประจำปี งานพระสมุทรเจดีย์ เอาของไปขาย แล้วก็อาศัยว่าเราไปถึงปั๊บ เราก็มีที่หลับที่นอนแล้วที่สมุทรปราการ ต่อรถสายหนึ่งที่เป็นสายประจำที่สุดคือสาย 25 เมื่อสมัยก่อนนะ สมัยนี้เขาน่าจะไม่เปลี่ยนนะ สาย 25 ท่าช้าง-ปากน้ำ ถ้าสาย 60 คลองตัน-ปากคลอง

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนี้ไปถึงบางกะปิแล้วมั้งครับ ไปถึงแฮปปี้แลนด์หรืออะไรประมาณนี้
คุณบุญชัย :
สาย 60 ใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ เลยคลองตันไปแล้ว
คุณบุญชัย :
สาย 60 มันบางกะปินั่นแหละ แต่มันวิ่งผ่านคลองตัน แล้วก็ไปปากคลอง วิ่งอย่างนั้นใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ เหมือนเดิม
คุณบุญชัย :
เหมือนเดิมนะ 30 กว่าปี สาย 25 ก็คือสายสมุทรปราการไปขนส่งสายใต้ ไปท่าช้าง ไอ้ตรงวังหลัง ตรงแถวๆ ปากคลองตลาด แถวๆ นั้นล่ะ วังหลังน่ะ แล้วก็มีอีกสายหนึ่ง สาย 40 วิ่งข้ามไปฝั่งโน้น ฝั่งแยกไฟฉาย แล้วก็ไป เราไปอยู่ที่สมุทรปราการแล้วก็ตีรถเข้าไปที่สนามหลวง

ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้คือวันเดียว เดินทางเช้า
คุณบุญชัย :
น่าจะเป็นวันศุกร์มั้ง หยุดเรียนน่ะ ใช่ ตกบ่ายตกเย็นก็เข้าเลย

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือไปค้างที่สมุทรปราการก่อนคืนหนึ่ง
คุณบุญชัย :
ค้างหรือเปล่าเลย ผมไม่แน่ใจ น่าจะไม่ได้ค้างหรอก คือไปแวะ เสร็จแล้วก็เข้าไปที่สนามหลวงเลย ไปที่สนามหลวงเสร็จแล้ว ก็ไม่รู้นี่เขาชุมนุมอะไรกันตรงไหน ได้ยินแต่เขาชุมนุมกัน ตั้งหลักอยู่ที่ลานโพธิ์ ก็แทรกเข้าไปแล้วก็ไปร่วมด้วย อย่างนั้นแหละ ถ้าถามอะไรลึกไปกว่านั้นก็คงจะไม่ได้มีเจตนาเป้าหมายอะไรลึกไปกว่านั้น ไม่ได้ไปตีอะไรกับใครหรอก

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นไปอยู่ยังไง? ไปนั่งหรือเดินไปเดินมาอะไรยังไง?
คุณบุญชัย :
ก็เหมือนกับม็อบธรรมดานี่แหละ ไปนั่งๆ นอนๆ อยู่ตามซอกตามมุมอะไร เดินไปนู่นมานี่

ผู้สัมภาษณ์ : ได้รู้จักใครที่ยังติดต่อกันมาถึงทุกวันนี้ไหมครับ?
คุณบุญชัย :
ไม่มี ไม่มีเลย เพราะว่าเราไม่ได้เป็นแนวร่วมแบบที่ไปแล้วไปก๊อกแก๊ก แล้วก็อยู่ทำงานกับ staff หรือทีมงานเลย ก็เหมือนกับไปอิสระ

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นไปอยู่ตรงลานโพธิ์หรืออยู่ตรงสนามบอลหรือยังไง?
คุณบุญชัย :
ถ้าถามว่าไปอยู่ตรงไหน ก็วนอยู่อย่างนั้นน่ะ วนอยู่ในธรรมศาสตร์นั่นแหละ ตรงไหนสะดวกก็ลุกเดินไปเดินมาแถวนั้น ในธรรมศาสตร์นั่นแหละ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วได้ค้างหรืออะไรยังไง? พอเย็น...
คุณบุญชัย :
ก็ค้างอยู่อย่างนั้นแหละ

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือนอนในธรรมศาสตร์?
คุณบุญชัย :
นั่นแหละ หลับนอนอยู่ในนั้นแหละ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วอาหารการกิน?
คุณบุญชัย :
จำไม่ได้แล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : เสื้อผ้าอะไรอย่างนี้?
คุณบุญชัย :
น่าจะเป็นชุดเดียว ผมมีเสื้อเปลี่ยนอะไรมั่ง จำไม่ได้จริงๆ แต่มีกระเป๋าน่ะมี จำได้ มีกระเป๋าไป แล้วกล้องไป กล้องผมยังหล่น โดนตำรวจตี ถ่ายรูปแล้วโดนตำรวจตีแล้วหล่น ก็เดินหากล้อง ก็เจอ อะไรอย่างนี้

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนที่อยู่ในธรรมศาสตร์นี่มันมีกิจกรรมอะไรยังไงบ้าง?
คุณบุญชัย :
ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีปราศรัย มีไฮด์ปาร์กนะ แล้วก็มีดนตรี สองอย่างแค่นี้ อย่างอื่นมันไม่มีอะไรนะ มีไฮด์ปาร์กนี่ค่อนข้างจะแรงนะ จะคุยกันรุนแรงมาก แล้วก็ดนตรีก็จะเป็นดนตรีเพื่อชีวิต เข้าใจว่าช่วงนั้นวง “คาราวาน” น่ะ วง “คาราวาน” น่าจะเกิดแล้ว แล้วก็มีอีกวงหนึ่งไม่รู้ว่าวงอะไร น่าจะส่งมาจากทางมหา’ลัยมหิดล พวกนี้นะ มีวงโน้นวงนี้ เป็นครั้งแรกที่ได้พบมันเวลาเกิดม็อบพวกนี้ มันจะมีปัญญาชนที่มีความคิดหลากหลายแล้วก็ร่วมด้วยช่วยกัน ใครมีอะไรก็เอามาแสดง คือเอามานำเสนอไม่ให้คนที่มาร่วมชุมนุมมันเซ็ง มันเบื่อ แล้วก็ไป เพราะไม่ฉะนั้นมันอยู่ได้ยังไงตั้งหลายๆ คืนหลายๆ วัน มันไม่ใช่แบบม็อบสมัยนี้มันอยู่ 190 กว่าวันน่ะ 100 กว่าวันน่ะ ม็อบสนธิน่ะ ใช่ไหม มันมีทั้งกินมีทั้งอะไรต่ออะไรเยอะแยะแล้วก็เป้าหมายก็เรื่องทักษิณเรื่องอะไร แต่อันนี้มันไม่ใช่ มันรบกับทหารน่ะ เฮ้ยมันเอาจริงนะ มันเอาตาย

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นรู้สึกยังไงบ้าง?
คุณบุญชัย :
ไม่ได้กลัวหรอก แต่ไม่รู้ว่ามันจะเอากันถึงขนาดนั้น ก็นึกว่าอย่างเก่งก็แค่ อะไรล่ะ มันไม่เคยปรากฏนี่ เรียกว่าชาวบ้านลุกขึ้นมาอย่างนี้ เฮ้ยไล่คุณออกไปนะ ไล่ถนอม ประภาส แล้วก็ณรงค์

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นจำได้ไหมพี่ ตั้งใจมาค้างจากบ้านเลยหรือว่า...?
คุณบุญชัย :
ตั้งใจ ตั้งใจไปร่วมเลย คือพูดง่ายๆ ว่าโรงเรียนไม่หยุด แต่ตอนนี้มันหยุดวันศุกร์ คือวันอาทิตย์ตอนเย็นก็ต้องกลับ วันจันทร์ก็ไปเรียนหนังสือ เพราะเราอยู่บ้านนอก เราไม่ใช่บอกมีอะไรโครมครามแล้วเขาสั่งปิดทั่วประเทศ ไม่ใช่ เช้าขึ้นมาก็ต้องไปเรียนหนังสือใช่ไหม

เออ ผมลืมเล่าไปช็อตหนึ่ง คือ ก่อนที่มันจะมีเรื่องวุ่นวายอะไรกันมากๆ นี่ มันมีไม่รู้คุณเคยได้ยินหรือเปล่า เมตตา รุ่งรัตน์ น่ะ ไม่เคยได้ยินเหรอ ไอ้นี้เริ่มต้นเลยล่ะ มาก่อนเพื่อนเลยก่อนที่จะเกิดเหตุ มันมีการนำเฮลิคอปเตอร์ไปล่าสัตว์ในเขาใหญ่ ล่าสัตว์ในเมืองกาญจน์ แล้วเฮลิคอปเตอร์ตกหรือไง น่าจะไม่ใช่ตกตาย ตกแบบเครื่องมันไปไม่ไหวแล้วร่วงลงมาเฉยๆ แล้วปรากฏว่ามีคนไปเจอ โอย มีซากสัตว์ป่าเยอะ ก็เลยโวยวายขึ้นมาว่าเอาสมบัติของชาติไปบำรุงความสุขตัวเอง คือเอาไปหาประโยชน์ ไปเข้าป่าล่าสัตว์โดยใช้เครื่องมือเครื่องไม้ของรัฐ ก็เลยมีการโจมตีเกิดขึ้น มันก็เริ่มต้นมาจากเรื่องนี้ด้วย ว่าเฮ้ย ทำไมทหารทำแบบนี้ แล้วก็เผอิญมันมีดาราที่เข้าไปเกี่ยวข้องคือ เมตตา รุ่งรัตน์ ไปในเที่ยวนี้ด้วย มันก็เริ่มต้นมาจากตรงนี้ด้วยส่วนหนึ่ง เฮ้ย มันไม่ถูก

ผู้สัมภาษณ์ : เครื่องบินตกนี่คนตาย?
คุณบุญชัย :
ไม่มีคนตาย เครื่องบินไม่ได้ตกพัง ตกแบบ...

ผู้สัมภาษณ์ : ที่มันเป็นข่าวคือมีดารา
คุณบุญชัย :
แล้วก็มีซากสัตว์ แสดงว่าไปเที่ยวยิงสัตว์ป่าโดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือทางราชการ มันงบหลวง เขาพูดว่ายังไงล่ะ นี่ก็คอรัปชั่นอีกรูปแบบหนึ่งใช่ไหม มันก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างนี้ มันเป็นการผสมๆ กัน เรื่องของอำนาจทหารว่าทำไมใช้อำนาจแบบไม่เกรงใจชาวบ้านอะไรแบบนี้ นี่จะพูดถึงว่าจะย้อนกลับไปที่ธรรมศาสตร์ก็คุกรุ่นอยู่เรื่อยแหละ มีการยื่นคำขาดมีอะไรต่ออะไร สุดท้ายนี่มีการเดินขบวนออกมาจากธรรมศาสตร์ ตอนนั้นไม่ได้เดินออกมาจากธรรมศาสตร์ ก็คนมันเยอะ ในธรรมศาสตร์น่ะเต็ม แต่ไม่รู้ว่าสนามหลวงมีอะไร เพราะสนามหลวงมีแต่เต็นท์ผ้าใบ คนมาซื้อของตลาดนัด

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วมีทั้งเสาร์-อาทิตย์?
คุณบุญชัย :
มีเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ ตลาดนัดนั้นก่อนที่จะย้ายมาจตุจักร จตุจักรนี่ย้ายมาทีหลัง ตอนนั้นมันอยู่ที่สนามหลวงก่อน รอบเลยนะ เสาร์-อาทิตย์น่ะ พอวันศุกร์เย็นปั๊บ โอ้โห เพียบเลย รอบเลยนะ เมื่อสมัยก่อนก่อนที่จะมานี่ก็เคยไปเดิน รู้แต่ว่าในสนามหลวง ก็ไปเดินดูของอะไรต่ออะไร

ผู้สัมภาษณ์ : ก่อน 14 ตุลา ก็เคยไปแล้ว?
คุณบุญชัย :
ก่อน 14 ตุลา ก็เคยไป ก็เท่ากับเด็กกว่าที่ 14 ตุลานะ ก็ยังไปเที่ยวแล้ว ก็รู้กันแค่ง่ายๆแค่นี้ว่าจากนี่นั่งสาย 25 แล้วก็ต้องกลับสายเดิม ที่เคยไปก็ไปแบบนี้ แต่ไม่ได้ออกนอกเส้นทางไปไหน ไม่รู้จัก ไปไม่ถูก

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนอยู่ธรรมศาสตร์นี่ก็คือถ่ายรูปอะไรไปตลอด?
คุณบุญชัย :
ถ่ายรูปตลอด ถ่ายรูปที่ธรรมศาสตร์ ถ่ายรูปเวทีอะไรพวกนี้ แล้วก็บรรยากาศตึกบัญชี ตึกรังผึ้ง เออสวย ตอนนั้นตึกมันใหม่ เดี๋ยวนี้มันซ่อมแล้วนะ ทนจริงๆ เลย 30 กว่าปี

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพอมีการเดินขบวนพี่ก็ออกมาด้วย?
คุณบุญชัย :
คืออย่างนี้ เดินขบวนนี่เท่าที่ผมจำได้ พอผมออกมานะ ผมออกมาทางประตูท่าพระอาทิตย์ ผมออกมาทางด้านนี้ ผมก็ไม่รู้จะไปไหน เขาก็บอกว่าจะไป...

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงพอออกมาก็มีคนอื่นๆ มาเป็นอีกขบวนหนึ่ง
คุณบุญชัย :
ไม่ เขาออกมาทางไหนผมไม่แน่ใจ แต่ผมออกมาทางท่าพระอาทิตย์

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วมีคนอื่นมาด้วยไหม?
คุณบุญชัย :
ก็เดินแล้วไง ขบวนเริ่มออกแล้ว แล้วก็ตั้งกันที่หัวแถว ตั้งกันตรงไหนผมไม่แน่ใจ แต่ผมออกมาทางท่าพระอาทิตย์ เขาน่าจะออกมาทางสนามหลวงหรือว่ายังไง แล้วก็มีบางส่วนกระจายออกมาทางกฤษฎีกาตรงหน้าพระอาทิตย์ เท่าที่จำได้เพราะผมขึ้นไปบนพระปิ่นเกล้า พระปิ่นเกล้าเพิ่งเสร็จ แล้วก็รถวิ่งน้อย แล้วเราก็ขึ้นไปยืนอยู่บนพระปิ่นเกล้า แล้วก็มองลงมา เดินตามลงมา คือเดินจากข้างล่างขึ้นไป เพื่อที่จะไปดูบรรยากาศข้างบนว่าข้างล่างคนมันเยอะขนาดไหน เดินขึ้นไปข้างบน

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วเขาเดิน พอออกจากทางพระอาทิตย์แล้วตรงไปหรือเปล่า?
คุณบุญชัย :
ไม่ต้อง

ผู้สัมภาษณ์ : เลี้ยวขวาเข้ามาราชดำเนินไปรวม...?
คุณบุญชัย :
เข้ามานี่เลย เข้ามาที่ราชดำเนินเลย เข้ามาที่กองสลากอะไรตรงนี้

ผู้สัมภาษณ์ : ตรงหอศิลป์
คุณบุญชัย :
ตรงแยกคอกวัวนั่นแหละ เดินมาทางอนุสาวรีย์ไง ออกมาทางหน้าโรงแรมรอยัลน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : พกแผนที่ด้วย... ถ้าเราออกจากพระอาทิตย์ใช่ไหมครับ ก็จะไปทางนี้
คุณบุญชัย :
ของผมออกทางท่าพระอาทิตย์ แต่คนอื่นเขาอาจจะทางสนามหลวง ตรงไหนก็ไม่รู้

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ นี่พระอาทิตย์ พอมันออกมาแล้วเลี้ยวขวาเข้านี่ได้เลยหรือไม่ก็ตรงไปทางนี้
คุณบุญชัย :
ไม่ออกมาทางบางลำพู มันก็จะเลี้ยวขวามาทางนี้เลย มาอนุสาวรีย์ แต่ผมเดินย้อนขึ้นไปบนสะพานที่สูงเพื่อที่จะมองว่าคนมันเยอะขนาดไหน ก็เลยมองลงมาข้างล่าง แต่ว่าเขามีบางส่วนที่เขาคงจะออกมาจากธรรมศาสตร์ด้านหน้า

ผู้สัมภาษณ์ : ทางประตูหอใหญ่
คุณบุญชัย :
อือ แล้วของเรามีคนคล้ายๆมันแตก วิ่งออกมาใช่ไหม แล้วผมก็ออกมาทางด้านนี้

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วก็มารวมกัน
คุณบุญชัย :
เพราะน่าจะเห็นว่ามันเดินออกมาลำบาก เลยเดินทะลุมาทางด้านนี้แล้วก็มาดู โอ๊ย คนมันเยอะ ก็เดินเยอะ ไหลมาถึงอนุสาวรีย์ใช่ไหม เราก็ เออ คนมันเยอะ เดินไล่ๆ กันมา แล้วก็ขึ้นไปถ่ายรูปบนไอ้...

ผู้สัมภาษณ์ : เมธาวลัย?
คุณบุญชัย :
เออ ไอ้ศรแดง

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม แล้วขบวนหยุดอยู่ตรงอนุสาวรีย์นานไหมครับ?
คุณบุญชัย :
ผมว่ามันไม่ได้หยุดนะ มันเดินไปเรื่อยๆ มันคล้ายๆ กับมันค่อยๆ เคลื่อน คือการส่งน้ำส่งท่ามันไม่เหมือนกับม็อบสมัยนี้ มันไปหากินกันเอง มันไม่ใช่มีม็อบออกมาในถนน หากินกันลำบาก ผมไม่แน่ใจว่าเดินกินข้าวแกงอะไรแถวนั้น แล้วมันก็เดินๆ ไป จนไปหยุดอยู่ที่หนึ่งซึ่งผมไม่รู้จัก แต่มารู้ทีหลังว่าเป็นพระราชวัง เป็นวังสวนจิตรฯ

ผู้สัมภาษณ์ : แสดงว่าพี่อยู่ส่วนหน้าของขบวน ส่วนหัว
คุณบุญชัย :
ก็เดินไปเดินมานั่นแหละ ผมไม่ได้อยู่หน้าขบวน ผมก็คล้ายๆกับว่าเดินถ่ายรูปเดินอะไรต่ออะไร เกาะกลุ่มแล้วเราก็อิสระ ขึ้นก็ได้ลงก็ได้ใช่ไหม เจอตรงไอ้ร้านอาหารศรแดง ก็ไปถ่ายรูปอะไรก็ได้ ก็เดินไปทางผ่านฟ้า เดินไปโน่น เดินไปจนถึงสหกรณ์ทหารน่ะ เขาเรียกอะไรน่ะ ตรงข้ามวัดเบญฯ น่ะ วัดเบญจมบพิตรใช่ไหม แล้วอยู่ตรงข้าม สหกรณ์ทหารน่ะ ตรงใกล้อนุสาวรีย์ ลานพระรูป มันมีค่ายทหาร

ผู้สัมภาษณ์ : กองทัพภาค 1
คุณบุญชัย :
ถูกไหม อือ ไหนลานพระรูป

ผู้สัมภาษณ์ : ลานพระรูป ตรงนี้ครับ
คุณบุญชัย :
วงกลมนี่หรือ

ผู้สัมภาษณ์ : นี่ภาค 1 อยู่ตรงนี้
คุณบุญชัย :
ทหารใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ นี่ น่าจะวัดนี้
คุณบุญชัย :
วัดเบญฯ ใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ใช่ครับ
คุณบุญชัย :
วัดเบญฯ ตรงข้ามก็คือค่ายทหาร

ผู้สัมภาษณ์ : ใช่ครับ
คุณบุญชัย :
ตรงกองทัพภาค 1 อยู่ตรงนี้สิ

ผู้สัมภาษณ์ : ใช่ครับ
คุณบุญชัย :
ตรงนี้มันก็เรียกอะไร กรป.กลาง หรืออะไร แล้วนี้ก็เป็นสหกรณ์ สวัสดิการของทหาร แล้วตรงนี้เป็นวัดเบญฯ ถูกไหม แล้วตรงนี้คือวังในหลวงใช่ไหม เราก็เดินไปเดินมาอยู่แถวนี้ เขาเรียกอะไรไม่รู้ ผมก็เท่าที่จำได้คือคืนวันนั้นผมมาอยู่แถวๆ นี้ ใกล้ทางเข้าวังสวนจิตรฯ อ้อมไปทางนี้ใกล้ๆ กับวังสวนจิตรฯ

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คืออยู่อย่างนั้นทั้งคืน
คุณบุญชัย :
เดินไปเดินมาอยู่แถวนี้ รู้สึกจะหลับอยู่แถวนี้ด้วยซ้ำไป

ผู้สัมภาษณ์ : แถวแยก...
คุณบุญชัย :
วัดเบญฯ ใช่ไหม วัดเบญฯ แล้วข้ามฝั่งมาเขาเรียกว่าอะไรก็ไม่รู้ ตรงใกล้ๆ กับเดินมาอีกหน่อยจะถึงประตูเข้าวัง ก็อยู่แถวนี้

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คงนอนๆ อยู่แถวนั้น
คุณบุญชัย :
นอนอยู่แถวนี้ สัก 6 โมงเช้า กำลังโพล้เพล้ ไอ้พวกปราศรัยก็ปราศรัย คนมันก็บางๆ ก็ไม่บาง แค่ไม่แน่นมาก มันอยู่กระจัดกระจาย มันก็มีเสียงปืนเสียงอะไรต่ออะไรขึ้นมา แต่ว่าอยู่ข้างๆ นี่มันก็มีแก๊สน้ำตามาตกอยู่ไม่เกินเมตรอยู่ข้างๆ ตัว ครั้งแรกเลยที่ไม่เคยเจอ

ผู้สัมภาษณ์ : แก๊สน้ำตามาตกอยู่ข้างๆ
คุณบุญชัย :
ไม่เคยประสบแก๊สน้ำตา เล่ายังไงก็ไม่รู้เรื่อง ต้องคนเคยเจอ ลงมาบึ้ม มันก็เป็นควันขาวใช่ไหม เราไม่รู้จัก โอย น้ำหูน้ำตาไหล หายใจไม่ออกนะ มันมีคนตะโกนว่าเอาผ้าเช็ดหน้าโปะจมูกอะไรอย่างนี้ใช่ไหม เราก็หาน้ำหาผ้าโปะจมูกแล้วก็มุดๆ ออกมา

ผู้สัมภาษณ์ : มาทางไหน? มาทางวัดเบญฯ?
คุณบุญชัย :
ย้อนกลับมาทางอนุสาวรีย์ มาทางวัดเบญฯ ใช่ไหม กลับมาทางวัดเบญฯ ก็อ้อมมาทาง กรป.กลาง ทีนี้มันมีโยนระเบิด มีเสียงปืนเสียงอะไรนี่ มันก็เหมือนกับจลาจลล่ะ มันควบคุมไม่ได้แล้ว ไม่รู้เวทีอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้ หาเวทีไม่เจอ แต่เท่าที่รู้ว่าเวทีกำลังจะเข้าไปหาในหลวง ข้างหน้าน่ะกำลังจะข้ามสะพานไป แล้วบังเอิญตรงช่วงนี้ที่มียิงอะไรต่ออะไร มันก็มีคนตกลงไปในน้ำข้างวัง หลายคนเหมือนกัน เข้าใจว่าจะว่ายข้ามไปฝั่งวังหรือยังไง คือมันไม่มีที่ไป คนมันแน่นใช่ไหม

ส่วนของผมที่นอนอยู่นี่ก็มีเสียงแก๊สน้ำตา เสียงระเบิดอย่างที่ว่านี่ใช่ไหม พอตู้มขึ้นมาคนก็กระจายออก ก็คงจะมีหลายดอกนะ มันชุลมุน คงจะมีหลายลูก มีบางส่วนที่ลงไปในคูน้ำข้างวังแล้วคงจะข้ามไปฝั่งนู้น ข้ามรั้ววังน่ะ ใช่ไหม

พอเราเคลียร์สถานการณ์ได้เรียบร้อยปั๊บ เราตั้งสติได้ มันมีแก๊สน้ำตาเราก็เดินกลับ เดินย้อนกลับมาทางไอ้ กรป.กลาง มันก็เช้า โอย หิว ทุกคนหิวหมด ก็ถล่มเลย ถล่ม กรป.กลาง นี่ ก็มันเป็นคล้ายๆ อะไร สมัยนี้ก็ต้องบอกว่าเป็นสะดวกซื้อน่ะ พังหมดน่ะสิ ประตูกระจกน่ะแตก เข้าไปมีไอติมมีขนมนมเนย ขนมปัง หมด โดนปล้นหมด (หัวเราะ)

ผู้สัมภาษณ์ : พี่เข้าไปด้วยหรือเปล่า?
คุณบุญชัย :
กินไอติม (หัวเราะ) ไม่มีอะไรกิน เอาซะหน่อย แล้วผ่านมานี่บอก ไอ้ห่า กูมากินไอติม ไม่ได้จ่ายตังค์ว่ะ (หัวเราะ) ก็เอาเหมือนกัน เช้านั้นก็ถนนไม่มีรถเลย มีแต่คนเดินนิดๆ หน่อยๆ เพราะยังเช้าอยู่ก็ไม่มีอะไร เพราะเราไม่รู้เหตุการณ์ว่ามันเกิดอะไรขึ้น มันเหมือนม็อบมันแตก ไร้ทิศทาง ไร้การควบคุม เสียงก็ไม่มี ไม่มีผู้ควบคุม ไม่รู้จะเอายังไงกัน ไปไหนไม่ถูกแล้ว เจ็ดโมงแปดโมงช่วงนั้น มาตรงอนุสาวรีย์-ประชาธิปไตย หันหน้าไปทางเขาเรียกว่าอะไรล่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : คือพี่ก็เดินเลาะราชดำเนินมาเรื่อยๆ
คุณบุญชัย :
เลาะมาแล้วออกมาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อยู่แถวนี้มั้ง ตรงไหน โอ ไกลนะ พอมาถึงตรงนี้ปั๊บนี่ ไอ้ทางนี้นี่จะไปไหน

ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้ไป กทม.
คุณบุญชัย :
เออ เข้าไป กทม. หันหน้าไปทางนี้ ตรงนี้มันจะมีน้ำพุอยู่สี่หรือห้ามุม มุมนี้ ผมจำได้เลย มุมที่หันไปทางกทม.นี่ มันมีน้ำพุ น้ำพุมันเปิดอยู่แล้วก็น้ำประมาณสักครึ่งเอว แก้ผ้าลงอาบน้ำเลย เช้าๆ น่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : เกิดอะไรขึ้น?
คุณบุญชัย :
มันร้อน ไม่ได้อาบน้ำมาทั้งคืนเลย แล้วก็อยู่อย่างนี้ อยู่ในกลุ่มตรงนี้มันก็ร้อน ก็ไม่ได้อาบน้ำอาบท่า ไปเจอน้ำใช่ไหม ก็ลงไปอาบน้ำในนี้ ในพญานาค เรามองมันไม่มีคนเลยนี่ เราก็ลงไปอาบน้ำในนี้ อาบจนสบายใจ

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นก็ยังไม่มีเหตุการณ์อะไร นอกจากตรงโน้น?
คุณบุญชัย :
นอกจากตรงโน้นแล้วก็เงียบเลย ไม่มีอะไร เราก็ เอ๊ะ จะทำยังไงดี เพราะว่ามันไม่มีทิศทาง แล้วจะไปไหนกันดี ก็ไม่รู้ไปไหนกัน คนมันก็ต่างคนต่างไป ไปถามใครก็ไม่รู้ ไอ้หัวอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้ด้วย

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วระหว่างทางมีคนมีอะไร นักศึกษา
คุณบุญชัย :
มี ก็มีคนเดินขวักไขว่ ก็คนมันเยอะ มันกระจัดกระจายหมด แต่ใครเป็นหัว แล้วจะเอายังไง จะไปไหนต่อ เข้าใจว่าอย่างนี้ เข้าใจว่าตอนที่บอกว่าไปในหลวงนี่ ไปวังสวนจิตรฯ นี่ก็คือจะไปถวายฎีกา น่าจะเป็นอย่างนั้นนะ ขบวนเขาถึงมีธงชาติ มีพระบรมฉายาลักษณ์ แล้วก็นักศึกษาเดินเยอะ แล้วก็เป็นการ์ดล็อกมือเดินนำไปใช่ไหม กลัวทหารนั่นแหละ เขาไม่มีอะไรหรอก พวกนี้ก็เดินไป เดินไปหยุดอยู่ประตูทางเข้าวังอะไรอย่างนี้ แต่ระบบเสียงสมัยก่อนกับสมัยนี้มันไม่เหมือนกัน สมัยก่อนถ้าหัวไปถึงแล้ว ข้างหลังบอกไม่รู้แล้วอะไร ไม่ได้ยินน่ะ มันก็ไม่รู้ว่าข้างหลังมันคืออะไร แต่ว่าข้างหน้ารู้ มันก็ไปของมันเรื่อยใช่ไหม ม็อบแตกยังไม่รู้เลยมันเกิดอะไรขึ้น แต่รู้แต่ว่ามีคนชูศพ รู้แต่ว่ามีคนตาย

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนพี่เจอนี่ หลังจากที่อนุสาวรีย์นี่ที่มีคนแบกศพนี่ ตรงไหนตอนไหน?
คุณบุญชัย :
ช่วงเช้าน่ะ ตั้งแต่ข้างหน้าเขาบอกมีคนตาย แล้วมีคนแบกศพ ข้างหน้าคือคล้ายๆ มันมั่วตอนตีห้าหกโมงนี่ โพล้เพล้นี่มันมั่ว แล้วมันมีเสียงปืน ม็อบมันก็แตก พอมันแตกปั๊บแล้วก็บอกมีตาย โดนยิงอะไรต่ออะไรก็ว่ากันไปใช่ไหม แล้วก็มีเสียงพูดกันแต่ว่าไม่เห็นนะ พูดกันว่ามีแบกศพอะไรต่ออะไร สักพักใหญ่ๆ ก็มีระเบิดมาลงข้างๆ เรา เป็นแก๊สน้ำตา

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่ก็เดินกลับที่...
คุณบุญชัย :
แล้วเราก็ล้างๆ ตา แล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปไหนกันดี ไม่รู้เรื่องเลยเพราะไร้ทิศทาง ไอ้จะไปสู้ต่อ บอกจะไปสู้อะไรกับใครยังไงก็ไม่รู้อีก เพราะหัวมันไม่อยู่ ไม่รู้จะไปฟังใครว่าจะไปไหนยังไง ก็ไปไม่ถูกสิอย่างนี้ก็เราไม่ใช่คนพื้นที่ ไม่ใช่คนกรุงเทพฯ น่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ ก็เดินย้อน?
คุณบุญชัย :
ก็เดินย้อนกลับทิศเก่า ไปไหนดีๆ ก็ย้อนกลับมาที่อนุสาวรีย์เสร็จ อาบน้ำอาบท่าเสร็จเรียบร้อย เออ ที่สนามหลวงค่อยยังชั่วหน่อย คนเริ่มมากันแล้ว คือมันก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่องน่ะแหละ ก็มาซื้อของนั่นแหละ

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบุญชัย :
(หัวเราะ) คนขายมันก็ขายไป คนที่ไหนมาก็ไม่รู้นี่ว่ามันเกิดอะไรขึ้น

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
คืออาจจะรู้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์น่ะ ก็รู้ว่ามันมีเรื่องแหละ ทีนี้คนก็หลั่งไหลกันมาสิ ก็แยกไม่ออกแล้วว่าตกลงมาม็อบหรือมา...

ผู้สัมภาษณ์ : ซื้อของ
คุณบุญชัย :
มาซื้อ เพราะปกติมันซื้ออยู่เสาร์-อาทิตย์

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ ก็คือพี่เดินก็มาถึงสนามหลวง?
คุณบุญชัย :
ก็มาไม่มีทิศทาง ไม่รู้จะไปไหนก็ เฮ้ย สนามหลวงดีกว่า เพราะว่าอย่างน้อยที่สุดก็ยังมีของขาย

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ ก็คือตอนนั้นตลาดก็ยังปกติ
คุณบุญชัย :
มันเหมือนกับปกติแหละ เพราะว่ามัน... คุณก็คิดดูว่า ที่มันมีเรื่องอยู่ที่หน้าวังนี่ แล้วก็มีแต่คนพูดกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น แล้วก็พี่ถึงสนามหลวงนี่มันไม่มีอะไรสื่อสารล่ะ เราก็ไม่มีวิทยุฟังนะ ไม่รู้ว่ามัน...

ผู้สัมภาษณ์ : พูดว่ายังไงบ้าง
คุณบุญชัย :
มันพูดว่ายังไงบ้าง ผมก็ เอ๊ะ ไม่เห็นมีอะไร ไม่รู้ จะไปไหนดีล่ะ ก็กลับไปตั้งหลักที่ฐานใหญ่ ก็คือเหมือนกับว่ากลับไปตั้งหลักที่ธรรมศาสตร์ดูว่ามันจะเอายังไงกัน ที่ๆ จะไปก็คือสนามหลวงน่ะแหละ คนเยอะดีใช่ไหม เป้าหมายมันก็อย่างนั้นแหละ เพราะว่าไม่รู้จะไปไหนน่ะ แล้วมันจะเอาไงต่อก็ยังไม่รู้เวลานั้น

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ แล้วพอมาถึงสนามหลวงแล้ว...
คุณบุญชัย :
พอไปถึงสนามหลวง คือแปลกนะผม... พี่ชายผมนี่เป็นหมอ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ ตอนนั้นเป็นหมอแล้ว?
คุณบุญชัย :
ไม่เป็น เป็นหมอฝึกหัด

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
เฮ้ย มาเดินแจกไอ้นี่ แจกยาดมน่ะ เฮ้ย แจกไอ้...

ผู้สัมภาษณ์ : แอมโมเนีย
คุณบุญชัย :
แอมโมเนีย (หัวเราะ) คนตั้งเยอะแยะ ดันผ่านไปเจอกัน ก็เจอเราก็คุยกันไป มันก็ไล่กลับบ้าน

ผู้สัมภาษณ์ : เดี๋ยวนะ มาแจกให้สนามหลวงหรือมาแจกที่ม็อบ?
คุณบุญชัย :
แจกที่สนามหลวง ก็คงจะแจกอยู่แถวนั้นแหละ คือแจกหมดแหละ แต่ว่าก็มันไม่รู้ ก็เดิน คือเป็นอาสาสมัครเป็นเดิมทีน่ะนะ

ผู้สัมภาษณ์ : คืออาสาสมัครของม็อบหรือเปล่า?
คุณบุญชัย :
อาสาสมัครของมหิดลน่ะ ก็คือมหิดลก็ใครมีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรก็เอาลงมาช่วยกันใช่ไหม ในเวลาอย่างนั้นน่ะ ก็คือเข้าใจว่าน่าจะเป็นอาสาสมัครของนักศึกษาแพทย์ บอกไปช่วยกันหน่อย ก็คือใครมีเครื่องไม้เครื่องมือจะช่วยอะไรได้ก็ไปช่วย เขาก็คงจะเอาไอ้นี่มาแจก ก็คงจะแจกม็อบแจกอะไรต่ออะไรไปเรื่อย แต่ว่าก็ไม่มีทิศทางน่ะ เชื่อไหมว่ามันเจอกันน่ะ แปลกจริงๆ คนเยอะก็มาเจอกัน ถามไปๆ เขาก็ไล่ให้เรากลับบ้าน เราก็ไม่รู้คุยกันอีท่าไหนก็ต่างคนต่างแยกย้ายกันไป

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
พักใหญ่ๆ ตอนนั้นก็พักเที่ยงๆ บ่ายๆ โหย มีเฮลิคอปเตอร์บิน มีเสียงลูกปืนลงมาที่สนามหลวงน่ะ ใกล้ๆ เราอีก ใกล้ๆ อีกหมายความว่ายังไง มันมีกระทะ กระทะที่ร้านค้าเขาทำข้าวผัด แล้วแขวนไว้ที่ต้นมะขามน่ะ ก็ตีตะปูเสร็จแล้วเอากระทะแขวนไว้ กระทะโดนยิงน่ะ กระทะโดนยิง โป้ง ร่วงลงมาน่ะ เรา เฮ้ย ไอ้ห่า มันมีลูกปืนลงมาจากเฮลิคอปเตอร์

ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้หมายความว่าตอนที่พี่ชายของพี่บอกว่าให้กลับบ้าน ก็คือเราก็ไม่กลับ?
คุณบุญชัย :
อันนั้นก็เจอกันก็ธรรมดาไม่มีอะไร ก็คือมันมั่วกันอยู่ตรงนั้นน่ะ เราก็ยังไม่กลับ ก็เดินไปเดินมาอยู่อย่างนั้นน่ะใช่ไหม จนสักราวๆ เที่ยงหรือยังไงนี่ เที่ยงๆ บ่ายๆ อะไรแถวๆ นี้ ก็คือไม่รู้จะไปไหนแล้ว เพราะยังไม่รู้ทิศทางว่ามันจะเอากันยังไงน่ะใช่ไหม ก็ไม่รู้ว่ามัน... หลังจากเกิดเหตุที่หน้าวังสวนจิตรฯ แล้วนี่มันจะมีอะไร มันจะเกิดอะไรอีก

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
เราไม่รู้เรื่องเลย เจอพี่บอกกลับ เราก็ยัง เอ้อ อ้าๆ โอเค ก็ต่างคนต่างไป แล้วเราก็ยังอยู่อยู่นั่นแหละ ก็เห็นเฮลิคอปเตอร์ใช่ไหม ก็มีเสียงปืนลงมาก็โดนไอ้กระทะที่ว่านี่ เฮ้ย โอ้โห สงสัยมันลงมาแบบนี้ มันเหมือนกับว่าห่าฝนน่ะ เดี๋ยวก็มีตายซะบ้างน่ะใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
แล้วเฮลิคอปเตอร์ก็ไป รู้สึกลำสองลำอะไรนี่ ไม่แน่ใจนะ ก็บินวนอยู่อย่างนั้นน่ะ เฮ้ เราจะกลับยังไงน่ะนี่ (หัวเราะ) พอดีว่ารถก็ไม่มีแล้ว ตอนนี้รถ... คือรถมันคงจะรู้แล้ว เพราะมันสายมากแล้ว มันคงจะรู้ว่ามีเรื่องแล้ว รถไม่... อยู่แถวๆ บริเวณที่เกิดเหตุนี่รถก็จะไม่ค่อยมี รถก็จะมีอยู่แถวที่มันนอกๆ ชานๆ ที่ไม่มีที่เกิดเหตุ ไกลๆ ออกไปน่ะนะ เอ๊ะ จะกลับยังไงนี่ ก็เข้าไปที่ธรรมศาสตร์

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
โหย อลหม่านมากน่ะ ชุลมุนชุลเกมากเลยน่ะ ก็มีคนไล่บอก ข้ามไปๆ ศิริราช เพราะตอนนั้นมีเสียงปืนออกมาเรื่อยๆ น่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ข้ามไปๆ เฮ้ย ไอ้ห่า ข้ามไปก็ทหารเรือมันเอาเรือมาวิ่งไป (หัวเราะ) เฮ้ย ทหารเรือไม่ใช่พวกเรา ตอนนั้นคือเราไม่รู้ล่ะ ไม่รู้ล่ะถ้าใส่สีกากีก็ไม่ใช่พวกกันล่ะ (หัวเราะ) ก็บอก เฮ้ย พวกเราๆ ทหารเรือมาช่วยเรา ผมก็ ยังไงนี่ ตกลงมันมาช่วยหรือมันไม่ช่วยวะนี่ เราก็ไม่รู้ว่าทหารมันยิงเราน่ะใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
โหย แยกไม่ออก อะไรก็ไม่รู้เรื่องเลย สับสนไปหมด

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ ตอนนั้นที่ข้ามก็คือข้าม...
คุณบุญชัย :
ข้ามเรือเมล์น่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ข้ามฟาก
คุณบุญชัย :
ข้ามเรือเมล์ก็ข้ามไปฝั่งศิริราช ก็มีคนบอก ข้ามไปๆ ก็คือไล่เด็กธรรมศาสตร์ข้ามไป ถ้าไม่ข้ามไปนี่ไม่รู้ว่า ถ้าไม่ข้ามจะมีอันตรายหรือยังไงใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่ทำยังไง?
คุณบุญชัย :
แต่เรารู้อยู่แล้วว่ามันมีอันตรายแน่นอน เพราะมันมีปืนลงมาแล้ว โอ้โห เช้าขึ้นก็โดนระเบิดแล้ว สายหน่อย บ่ายๆ หน่อยก็มีปืนลงมาอีกเต็มเลยน่ะ แต่เรายังไม่ทันเห็นทหารที่ลงมากลางถนนนะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
เพราะจากที่เราข้ามไปฝั่งศิริราชแล้วนี่ เขาก็พูดกันว่ามีคนเจ็บมีคนตาย

ผู้สัมภาษณ์ : ตกลงก็คือพี่ก็ข้ามเรือ
คุณบุญชัย :
ข้ามไปศิริราช อืม ข้ามเรือไปศิริราช เสร็จแล้วก็... ผมก็มีเหตุการณ์อยู่แค่นี้แหละ ผมก็จับรถโดยสารว่าจะกลับ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ คือศิริราช... ก็คือไปถึงก็คือไปเลย ขึ้นรถเลย?
คุณบุญชัย :
ศิริราชเสร็จแล้วก็เดินๆ ฝั่งโน้นไม่รู้เรื่องอะไรเลยน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบุญชัย :
แล้วคนขึ้นรถก็ไม่รู้เรื่องอะไรเลยน่ะ คนอยู่บนรถโดยสารก็ไม่มีใครรู้เรื่องเลย รถโดยสารก็ไปของมันเรื่อยปกติ เราก็ขึ้นรถโดยสารสายหนึ่ง เราก็บอกว่าเราจะมาแถวหมอชิต หมอชิตนี่ หมอชิตทางลาดพร้าวน่ะ เพื่อที่จะเปลี่ยนเส้นทาง มาลงตรงนี้เพื่อที่จะกลับ กลับทางสายมีนบุรี กลับบ้านว่าอย่างนั้นเถอะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
เพราะเราไม่รู้แล้วมัน... สงสัยจะแย่ สงสัยจะมีเหตุไม่ดี เราก็จะกลับ
ขึ้นรถมาถึงก็ เอ๊ะ คนไม่รู้เรื่องเลยนี่ เราก็... ไอ้ความที่เราเป็นแบบ... เราดูซ้ายดูขวาแล้วมันเป็นชาวบ้านที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย เราก็ตะโกนให้เขารู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบุญชัย :
เขาตกอกตกใจกันใหญ่ นึกว่าเราบ้า เหมือนกับว่า เฮ้ย มันรุมกันเรื่องอะไร มาถามไถ่เราใช่ไหม เราบอกว่าฝั่งโน้นมันยิงกันอย่างนั้นอย่างนี้ใช่ไหม ผมจะกลับนี่ ผมจะไปนี่ผมขึ้นรถสายไหน เขาบอกว่า เฮ้ย คุณต้องไปขึ้นรถสายโน่นๆ (หัวเราะ) ก็เราไปไม่ถูก เราก็นั่งรถมั่วไปเลย เขาก็บอกเส้นทางเรา แทนที่เราจะมาลงหมอชิต เรากลับไปลงโน่นเลย ไปลง... ไม่รู้นั่งอีท่าไหนออกไปที่เอกมัยอย่างเก่า พอเอกมัยอย่างเก่า ผมก็กลับมานี่ กลับมาสมุทรปราการ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
พอกลับมาสมุทรปราการเสร็จ เฮ้ย ตำรวจจับแหงเลย เดี๋ยวตำรวจดัก เดี๋ยวทหารดัก อะไรก็คิดไปเรื่อยเปื่อยน่ะนะ ไม่รู้ตอนนั้นมันคิดได้ยังไง เขาบอกว่า เฮ้ย ตรงนั้นมีตำรวจ ตรงนี้มีตำรวจ ไอ้คนไหนอยู่ในกรุงเทพฯ ออกมานี่โดนจับหมดอะไรต่ออะไร บอกเฮ้ย อะไรนี่ ไอ้เราก็โดยสารเขา โดยสารรถหกล้อออกมา รถหกล้อแบบรถหกล้อส่งน้ำแข็งน่ะ หนี... ไม่ใช่หนีสิ ผ่านด่านตำรวจออกมา พอเวลารถหกล้อออกมาปั๊บ มันก็เจอด่านแถวสมุทรปราการนี่แหละ

ผู้สัมภาษณ์ : เดี๋ยว พี่ขึ้นรถหกล้อตรงไหน?
คุณบุญชัย :
ตรงแถวสมุทรปราการ คือนั่งรถเมล์ออกมาที่สมุทรปราการ แล้วเลยออกไปจากสมุทรปราการไปถึงคลองด่านนิดหน่อยนี่มันมีรถหกล้อวิ่งออกไปต่างจังหวัดน่ะ อาจจะวิ่งออกไปแถวคลองด่านหรือว่าแถวบางปะกงอะไรเราก็ไม่รู้ล่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : อันนั้นคือ...
คุณบุญชัย :
ตอนนั้นเส้นบางนา-ตราดไม่มี มันก็มีวิ่งจากพระโขนงวิ่งตรงมานี่เลย ตรงมาที่สมุทรปราการเลย

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
แล้วมันก็มามีด่าน

ผู้สัมภาษณ์ : คือตอนนั้นก็คือพี่ตั้งใจไปหลบในรถน้ำแข็งเลย? รู้ข่าวแล้ว
คุณบุญชัย :
รู้ข่าวแล้ว เพราะว่าเขาพูดกัน ตรงโน้นก็ตำรวจดัก ตรงนี้ก็ตำรวจดัก กูไปไม่รอดแน่ บอกว่ามันต้องเล่นงาน ความที่เราเป็นเด็กก็กลัวว่ามันก็จะเล่นงานใช่ไหม ก็โดยสารรถเมล์ เอ้ย ไม่ใช่รถเมล์ รถอันนี้บอกมึงเป็นลูกกูหรือไง ผ่านออกมา รถมันจะไปชลบุรีมั้ง ไปทิ้งเราที่บางปะกงแล้วเราก็โบกรถกลับมาที่แปดริ้วอีก

ผู้สัมภาษณ์ : พอมาถึงบ้านนี่ที่บ้านว่ายังไงบ้าง?
คุณบุญชัย :
ที่บ้านไม่รู้เรื่องว่าไปไหน

ผู้สัมภาษณ์ : พี่บอกที่บ้านว่าไงครับ?
คุณบุญชัย :
ก็บอกว่าไปมา แล้วไม่มีอะไร เพราะเราไม่ได้เป็นอะไรใช่ไหม ไม่มีปัญหาอะไร คือเขาไม่รู้เรื่อง แล้วเราก็ไม่ได้บอก เช้าขึ้นเราไประดมพลที่โรงเรียน คือรุ่งขึ้นเช้ารู้สึกว่าจะไม่ได้ปิดเรียน รุ่งขึ้นเช้าวันจันทร์น่ะ ก็ไปที่โรงเรียน ก็ไปเกณฑ์สมัครพรรคพวก ว่ามันเกิดเหตุอะไร ก็พิมพ์ใบปลิวแจก ไม่ได้พาไปนะ เพราะมันไม่เคยไปกัน ต่างคนต่างไม่เคยเข้ากรุงเทพฯ กัน

ผู้สัมภาษณ์ : ใบปลิวนี่ ไปพิมพ์ที่ไหนยังไง?
คุณบุญชัย :
เมื่อก่อนมันใช้โรเนียวน่ะ ไอ้โรเนียวแบบพิมพ์ดีดกระดาษไข เป็นแถลงการณ์พูดถึงเหตุการณ์ แล้วก็โรเนียว

ผู้สัมภาษณ์ : พิมพ์ที่โรงเรียน?
คุณบุญชัย :
น่าจะไปโรเนียวที่โรงเรียนสอนพิมพ์ดีด สมัยก่อนมันมีโรงเรียนสอนพิมพ์ดีด แล้วมันมีเครื่องโรเนียว โรเนียวแล้วก็ให้เพื่อนๆ ไปแจกจ่าย ก็ต่อสู้กันอย่างนี้ ต่อสู้เท่าที่เราสามารถทำได้

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วการแจกการอะไรเรามีอะไรไหม? มีอุปสรรคอะไรหรือเปล่า?
คุณบุญชัย :
มีสิ เพราะตำรวจเอย ทหารเอย ทหารไม่มี มีแต่ตำรวจ ทหารน่ะมันมี แต่ทหารคงไม่ได้ยุงอะไรหรอกในบ้านนอกแบบนี้นะ มีแต่ตำรวจ เพราะตำรวจมันแน่นอนอยู่แล้ว ทางมหาดไทยเขาสั่งได้อยู่แล้ว ตรงๆแล้ว แต่ทหารไม่มีปัญหาอะไร มีแต่ตำรวจ ตอนนั้นนะ

ผู้สัมภาษณ์ : มียังไงบ้างครับ?
คุณบุญชัย :
ไล่จับไง ไล่จับทีนี้ทุกคนมันก็เด็กๆ น่ะ ก็คือแจกๆ แจกเสร็จรีบกลับบ้าน อย่างอื่นก็ไม่มีอะไร มีอุปสรรคแค่นี้นิดเดียว หลังจากนั้นก็มีการพิมพ์โปสเตอร์ไปปิด

ผู้สัมภาษณ์ : เอาเงินมาจากที่ไหนกันครับ?
คุณบุญชัย :
ออกกันเอง ออกกันเองแล้วก็เขียนโปสเตอร์แล้วไปปิด

ผู้สัมภาษณ์ : หมายความว่าหลังจากกลับมาจาก 14 ตุลา แล้วมีการรวมกลุ่ม?
คุณบุญชัย :
ทุกวันเลย มีพวกเรา พวกที่เรียนจุฬาฯ ปี 1 เรียนธรรมศาสตร์ปี 1 อะไรอย่างนี้ ซึ่งเป็นเด็กแปดริ้วนี่กลับมาแล้วก็มารวมกัน ไอ้เรามันแค่ ม.ศ.5 คือรุ่นพี่น่ะ พูดง่ายๆ เรียนรามฯ ก็มี อะไรก็มี กลับมาก็มีบ้านเพื่อนอยู่หลังหนึ่ง มันเป็นที่ซ่องสุม ไม่ใช่ซ่องสุม เขาเรียกว่าอะไร มาเจอกันน่ะ

พวกประเภทเล่นพ่งเล่นไพ่อะไรก็มาเจอกันบ่อย ก็เปลี่ยนเอาพวกโปสเตอร์ปลุกระดม แล้วก็ซื้อกาว เขียนเองมั่ง ซื้อกาวมั่ง แล้วก็ไปปิดไว้ตามตลาด เมื่อสมัยนั้นไม่มีสติ๊กเกอร์ ก็ต้องใช้กระดาษอย่างนี้ กระดาษขาวๆ กระดาษห่อโรตีน่ะ กระดาษขาวๆ สองหน้า แล้วก็เขียน เขียนมือมั่ง แล้วก็ใช้พู่กันเขียน พู่กันสีน้ำเขียน แล้วก็กวนกาวแล้วไปปิด ขี่จักรยานไปปิดๆ ทั่วเมือง ก็ต่อสู้กันอย่างนั้น แต่ตอนหลังนี้มันก็เป็นสติ๊กเกอร์ใช่ไหม แล้วก็มาเป็นสกรีนใช่ไหม เขียนข้อความสั้นๆ สักห้าหกข้อความ สามสี่บรรทัด แต่ตัวใหญ่หน่อย ทำสกรีนแล้วก็รีดสกรีน โอ้โห ทีหนึ่งหลายๆ ร้อยใบแล้วก็ปิดๆ ก็ค่อยพัฒนามาเรื่อย

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วระหว่างนั้นพี่เรียนจบปีอะไรยังไง จบมัธยม?
คุณบุญชัย :
โอย ก็จบมัธยมห้า ม.ศ.5 ปี ’16 เอง ก็มาจบปี ’17 แล้วก็มาเรียนรามฯ ปี1 ทีนี้สถานการณ์มันก็ซาลงไปแล้ว ไม่มีอะไร ก็มีแต่ตรงโน้นก็เดินขบวนตรงนี้ก็เดินขบวน

ผู้สัมภาษณ์ : กลางปี ’17 ก็คือเข้าปี 1 ใช่ไหมครับ? ประมาณมิถุนาตอนนั้น
คุณบุญชัย :
ใช่ๆ เพราะปีการศึกษา ’16

ผู้สัมภาษณ์ : ก็จะไปสิ้นกลางปี ’17
คุณบุญชัย :
ประมาณพฤษภา ’17 เริ่มต้นถูกไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม
คุณบุญชัย :
ซึ่งตรงนี้นี่ หลังจากนั้นสัก 3-4 วัน อยู่ไม่ได้แล้ว ในหลวงให้ออกไปหรือยังไง บอกให้ถนอม-ประภาส-ณรงค์ ออกไปก่อนดีกว่า (หัวเราะ) ใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
เขาก็ออกไป ออกไปเสร็จก็ให้อาจารย์สัญญาเข้ามาเป็นนายก

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ก็มันก็ซาลง สงบลงระดับหนึ่ง ก็เริ่มเคลียร์ พอหลังที่สงบจากอำนาจเดิมถนอม-ประภาส-ณรงค์

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ทีนี้มันเหมือนกับมันร้อนรุ่มยังไงก็ไม่รู้นะ ตอนเกิดเรื่องนี่ก็คือสี่แยกไฟแดงทุกไฟแดงพังพินาศหมด (หัวเราะ) โดนไม้ตีพังหมดใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ผมรู้สึกว่ามันเผาไอ้นี่ก่อนหรือเปล่า ผมเลยกลับ เผาตรงกองสลากน่ะ ตรงไอ้... เขาเรียกว่าอะไรนะ อะไรปราบปรามคอรัปชั่นน่ะ ปปป.หรือยังไงน่ะ ตรงข้ามสี่แยกคอกวัวน่ะ หรือตรงสี่แยกคอกวัว?

ผู้สัมภาษณ์ : สี่แยกคอกวัวมันมี กตป.
คุณบุญชัย :
(หัวเราะ) อะไรตรงนี้แหละ ตรงที่โดนเผา แล้วก็กรมประชาสัมพันธ์เผาไป น่าจะเผา ผมว่าเผาก่อนนะ ผมถึงข้ามไปฝั่งโน้นน่ะ ผมไม่แน่ใจน่าจะใช่แหละ มันมีการเผาเกิดขึ้น เราก็ประเมินว่ามันสงสัยจะ... เรามันเด็กน่ะ เราก็คิดว่ามันจะอันตรายหรือยังไงนี่นะ เข้าใจว่ามันแรงมากน่ะ รู้สึกจะมีการเผาล่ะ เออ เราก็ข้ามไปฝั่งศิริราช เข้าใจว่าอย่างนั้นนะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม แล้วตอนไปเรียนปี 1 แล้ว ทีนี้เป็นยังไงบ้างครับ?
คุณบุญชัย :
มันไม่มี... คือหลังจากนั้นมามันก็เกิดเหตุประท้วงๆ เยอะแยะเลย ประท้วงไปทั่วเลยน่ะนะ ในหลายจุด ตอนเข้าไปเรียนที่รามคำแหง เหตุการณ์ก็ไม่มีอะไรที่รุนแรง ก็มีแต่ว่าประท้วงๆ ประท้วงแต่มันก็ไม่มีอะไรรุนแรงน่ะนะ เพราะช่วงนั้นรู้สึกว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่มันจะเรียกว่ายังไง... ปอดนักศึกษาไงล่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นครับ?
คุณบุญชัย :
ปอดๆ ไอ้พวกนี้มันเดินขบวน มันอะไรก็... เอ้าก็ ยอมมันไป (หัวเราะ) เดี๋ยวม็อบโผล่ที่โน่น เดี๋ยวม็อบโผล่ที่นี่ใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
พูดง่ายๆ ว่าตั้งแต่อาชีวะจนอนุบาล มันเดินขบวนกันหมด (หัวเราะ) เข้าใจไหม ก็ถ้าให้เปรียบเทียบ เด็กอนุบาลก็มีเดินขบวน (หัวเราะ) ก็แก้ไปเป็นเปลาะๆ จน... ถ้าถามว่ามันมีเหตุการณ์อะไรรุนแรงไหม มันก็อย่างนี้แหละ มันก็ก๊อกแก๊กๆ มาเรื่อยจนถึงก่อนปี ’19 เท่าที่จำได้นะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ ตอนพี่ไปเรียนตอนอยู่ที่รามฯ ได้เข้าไปอยู่ชมรมอยู่ในอะไร...
คุณบุญชัย :
ก็อยู่ในพรรค ทำงานอยู่ในพรรคสัจธรรม แต่ว่ามันไม่มีกิจกรรมที่แรงๆ เกิดขึ้นน่ะ มันเป็นกิจกรรมแบบ... ถ้าพูดถึงมันก็ไม่รู้ว่าจะ... ไม่มีทิศทางที่จะไปต่อสู้อะไรกับใครน่ะ เพราะตอนนั้นนี่ฝ่ายจอมพลถนอม-ประภาส-ณรงค์ นี่ออกไปแล้ว แล้วคุณจะไปรบกับใครล่ะที่เป็นคู่ปรปักษ์ แล้วตอนนั้นก็ โอ้โห นักศึกษาฝ่ายซ้ายนี่อย่างแรงน่ะ ตกลงฝ่ายขวาหลบหมด ไอ้ฝ่ายซ้ายก็ร้องแรกแหกกระเชอ ก็ไม่รู้จะไปสู้อะไรกับใครยังไง

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ถ้าถามว่ามันมีอะไรไหม ก็มีกิจกรรมในการเผยแพร่ประชาธิปไตยแนวทางสังคมนิยม

ผู้สัมภาษณ์ : อืม อันนี้หมายถึงตัวพี่เองเลย หรือภาพรวม?
คุณบุญชัย :
ภาพรวมสิ แต่ตัวเรามองดูแล้วมันเหมือนกับคล้ายๆ กับว่ามันโดนกดน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงยังไงครับ?
คุณบุญชัย :
มันเหมือนกับสังคมมันโดนกด พอมันปุ้งออกมาปั๊บ จากหนังสือที่บอกว่าใครมีไม่ได้นะ ค้อนเคียวที่เป็นสัญลักษณ์ของสังคมนิยม ของคอมมิวนิสต์ มีไอ้นี่เป็นคอมมิวนิสต์ไว้ก่อนเลย หนังสือแนวทางเศรษฐกิจของคาร์ล มาร์กซ์ ของเหมา เจ๋อ ตุง ของอาจารย์ปรีดี พวกหนังสือแนวทางซ้ายของกุหลาบ สายประดิษฐ์ อะไรพวกนี้ จากที่เคยอยู่ใต้โต๊ะน่ะ มันก็ขึ้นไปวางอยู่บนโต๊ะหมดเลยใช่ไหม แต่ถ้าเมื่อก่อนนี่ คือก่อนนั้นน่ะ ไม่ได้ๆ (หัวเราะ) ถูกไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม
คุณบุญชัย :
พอมันหลุดจากตรงนี้ไปมันเหมือนโดนกด พอโป๊ะปั๊บ พอฝาหม้อเปิดปั๊บ เฮ้ย มันขึ้นวางบนโต๊ะหมดเลยใช่ไหม ลูกเด็กเล็กแดงหยิบรื้อได้ แล้วก็มีเพลงเพื่อชีวิตออกมาเยอะแยะเลยใช่ไหม ซึ่งออกไปในแนวทางสังคมนิยม เช่น เพลงวัวกับควาย

ผู้สัมภาษณ์ : คนกับควาย?
คุณบุญชัย :
อืม คนกับควายน่ะ คนกับคนทำนาบนหลังคน คนกับควายทำนาบนหลังควาย คนกับควายความหมายมันลึกลับ อะไรพวกนี้ใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
แล้วมันก็มีนักสู้เก่าๆ ตายไปแล้ว ถูกเอาขึ้นมาเป็นโมเดล เป็นต้นแบบ เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ อะไรประเภทนี้ ก็ถูกนำขึ้นมาวางๆ ให้สังคม... ถ้าจะพูดก็เหมือนว่าสังคมรุ่นใหม่นะ ได้เห็นใช่ไหม ได้เห็น

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม
คุณบุญชัย :
ก็ยืนระยะอยู่ได้ประมาณสัก 2 ปี 3 ปีน่ะ ก็เหมือนกับว่าไม่ได้ต่างกับทักษิณตอนนี้เลย พอยืนระยะอยู่พักหนึ่ง เอาแล้ว แกก็จะเข้ามาแล้ว ก็จะเข้ามาก็เข้าไม่ได้สิ เข้ามาก็ปัญหาเพราะทำคนตายไว้เยอะ จอมพลถนอมนี่ทำคนตายไว้เยอะนี่ ก็จะเข้ามา ก็เลยต้องบวชเณรน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : บวชเณรแล้วก็เข้ามา
คุณบุญชัย :
บวชเณรแล้วเข้ามา ทีนี้ไอ้บวชเณรแล้วเข้ามานี่ เท่าที่จะได้บวชเณรแล้วเข้ามานี่... แหมถ้าพูดไปมันก็อีกล่ะ ประชาธิปไตยมันบานมากเลยน่ะ มันบานจน โอ้โห ไม่รู้ว่ากรอบมันอยู่ตรงไหนนะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ถ้าพูดไปแล้ว อันนี้ลงไม่ได้นะ

ผู้สัมภาษณ์ : จะปิดไหมครับ?
คุณบุญชัย :
อืม ชะลอหน่อยก็ดีเหมือนกันนะ พูดเล่นๆ แล้วกันน่ะ ข้อมูลก็ไม่ได้ลึกขนาดนั้นหรอก แต่วิเคราะห์เอาจากสถานการณ์ที่มันเกิดน่ะ

(ปิดเทปสัมภาษณ์ชั่วคราว)

(เปิดเทปสัมภาษณ์อีกครั้ง)


ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
คือตอนที่จอมพลถนอมเขาบวชเป็นเณรเข้ามานี่ เริ่มมีการต่อต้าน เฮ้ย ไม่ได้นะ ต้องเอาตัวมาลงโทษ ไม่ให้เข้า ต้องไล่ต้องอะไรก็สุดแท้แต่นะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ก็เกิดม็อบกันทุกวันแหละ ปรากฏว่ามันมีการปิดประกาศเชิญชวนให้มาชุมนุมกันที่ธรรมศาสตร์หรือยังไง ประมาณนี้นะ ประมาณว่าเป็นคนทำงานไฟฟ้าที่นครปฐมน่ะ ได้ยินไหม เคยได้ยินไหม?

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ใช่ไหม รู้สึกว่าจะออกใบปิดประกาศหรือยังไงน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
นั่นน่ะ ปิดประกาศสองคน ถูกแขวนคอ ถูกฆ่าจากที่ไหนก็ไม่รู้ แขวนคอไว้ที่รั้วนครปฐม อ้าว ก็เป็นเรื่องสิทีนี้ (หัวเราะ) งานเข้าทันทีเลยใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ในขณะที่โดนฆ่าแล้วแขวนคอ แล้วไปทำงานให้... ทำงานปิดโปสเตอร์เพื่อที่จะเรียกร้องให้คนมาชุมนุมกันที่ธรรมศาสตร์

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ธรรมศาสตร์เขาจะมีการชุมนุมไปเรื่อยๆ ไอ้นี่น่ะสำคัญ ไอ้หนังสือพิมพ์ “บางกอกโพสต์”
เอ้อ ที่ธรรมศาสตร์ก่อน นักศึกษาคนหนึ่ง น่าจะเป็นอะไรนามสกุล เรืองสุวรรณ หรือบุญสุวรรณอะไรนี่ วีระพงศ์หรืออะไรนี่... เขาเล่นละครเลียนแบบ...

ผู้สัมภาษณ์ : ช่างไฟฟ้า
คุณบุญชัย :
ช่างไฟฟ้าที่ถูกผูกคอตาย

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
แล้วการแต่งหน้านี่ เราก็ไม่แน่ใจว่ามันเกิดจากการทำภาพเหมือนของ “บางกอกโพสต์” หรืออย่างไรน่ะนะ เท่าที่ดูแล้ว อืม เขาไม่น่าไปล้อเลียนขนาดนั้น

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
แต่คิดว่า “บางกอกโพสต์” น่ะเป็นตัวจุดชนวน คือแต่งเองน่ะ แล้วก็บิดเบือนไปว่า เฮ้ย อย่างนี้ดูหมิ่น

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นคือพี่อยู่ในธรรมศาสตร์?
คุณบุญชัย :
ผมไม่ได้อยู่น่ะ เราฟังข่าวอยู่ข้างนอก เราก็รู้ว่านี่มันจะมีปัญหาแล้ว ผมไม่ได้เข้าไป ผมรู้เหมือนกับว่ามันเป็นสัญชาตญาณน่ะ ว่าเฮ้ย อย่างนี้น่ะมันยุ่งแน่เลย พูดง่ายๆ ว่าถ้าอุดไอ้ตรงนี้ไม่อยู่น่ะ อุดไอ้ตรงรูปภาพนี่ไม่ได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นนะ ไม่รู้ล่ะ มันก็เหมือนกับโยนน้ำมันทั้งกระแป๋งเลยสาดเข้าไปในไฟ ถูกไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม
คุณบุญชัย :
ตอนนั้นน่ะมันก็ชุมนุมแค่ประเด็นเดียว คือเอาถนอมออกไป หรือจับมาลงโทษอะไรก็แล้วแต่ แค่ประเด็นแค่นั้นแหละ แต่กลายเป็นเรื่องอะไร กลายเป็นเรื่องไปหมิ่นใช่ไหม กลายเป็นเรื่องไปหมิ่น

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
แล้วก็ถูกระดมคนโดย “นวพล” ถูกระดมพลโดย อุทาร สนิทวงศ์, สมัคร สุนทรเวช ใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม
คุณบุญชัย :
แล้วก็ใครอีกล่ะ “กระทิงแดง” นี่ก็รักชาติบ้าเลือด (หัวเราะ) เฮ้ย ไอ้พวกนี้นี่มันญวน มันแกวอยู่ในธรรมศาสตร์ มันญวน มันแกว ก็คือจากไอ้รูปภาพที่มีการแขวนคอ พวกกระทิงแดงนี่ผู้นำคือ พล.อ.สุดสาย เทพหัสดิน ณ อยุธยา, คุณเฉลิมชัย มัจฉากร่ำ หรือผู้พันตึ๋งไง

ผู้สัมภาษณ์ : จุดชนวน
คุณบุญชัย :
เออ ที่พูดถึงน่ะ มันเป็นชนวน เป็นตัวหลักตัวหนึ่งเลยถูกไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม
คุณบุญชัย :
เลยทีนี้ “ลูกเสือชาวบ้าน” มากันใหญ่ (หัวเราะ) “ลูกเสือชาวบ้าน” มากันใหญ่เลย “กระทิงแดง” “ลูกเสือชาวบ้าน” และไอ้พวก “นวพล” นี่ใช่ไหม ก็รุมกระทืบพวกอยู่ในธรรมศาสตร์

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นพี่ยังเป็นนักศึกษาอยู่?
คุณบุญชัย :
ปี 2 ที่รามคำแหง แต่ไม่ได้เข้าไป ดูอยู่ที่บ้าน ก็แปลก...

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นไป-กลับที่บ้าน?
คุณบุญชัย :
เรียนไป-กลับ เพราะตอนนั้นจริงๆ ถ้าช่วงปี ’16 มาเชื่อมต่อปี ’19 นี่ ถ้าถามว่ามีอะไรก็อย่างที่ว่านี่แหละ มันไม่มีอะไร มันแบ่งบานซะจนกิจกรรมที่ไหนก็แล้วแต่ก็จะต้องมีหนังสือฝ่ายซ้ายขายใช่ไหม แม้แต่ธงคอมมิวนิสต์ก็ยังเอาขึ้นมาตั้งได้ แต่ดีอย่างหนึ่งนะ ดีอย่างหนึ่งคือ ได้อานิสงส์อย่างหนึ่งจากการที่เกิดเหตุ 14 ตุลา 16 เพราะทำให้คึกฤทธิ์กล้าที่จะไปจับมือกับโจว เอิน ไหล จีนเปิด เพราะถ้าไม่มีตรงนี้นะ ให้คุณไปเปิด มันคุณเป็นคอมมิวนิสต์อย่างโน้นอย่างนี้ เดี๋ยวมันก็เปิดไม่ได้ใช่ไหม เพราะว่าอันนั้นกระแสมันแรงกว่าถูกไหม กระแสมันแรงกว่า กระแสคอมมิวนิสต์แรงกว่า

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
แต่พอ 14 ตุลา 16 อย่างที่บอกว่าพอที่ปิดหม้อไว้ พอมันระเบิดออกมาปุ๊บ ใครทำอะไรก็ถูกหมด คึกฤทธิ์มี 18 เสียง เป็นนายกรัฐมนตรีไปจับมือกับโจว เอิน ไหล ใช่ไหม เปิด... แล้วรู้สึกจะมีการให้สัญชาติ แปลงสัญชาติสำหรับผู้ที่อยู่เมืองไทยนานแล้ว แล้วก็ถือหนังสือต่างด้าวอยู่ แปลงสัญชาติ โอ้โห คนแปลงกันจมเลย จากคนจีนนี่เป็นคนไทยหมดเลย ได้สิทธิ์ในการแปลงสัญชาติ อันนี้คืออานิสงส์ที่ทำให้จีนกับไทยนี่สัมพันธ์กันมาตลอดตั้งแต่นั้นมา

พระเทพฯ ก็เลย... เมื่อก่อนไปไม่ได้ไง เมื่อก่อนไปไม่ได้เพราะว่าภาพคอมมิวนิสต์มันติดมันบังตาอยู่ใช่ไหม (หัวเราะ) เราก็เออ เราก็ว่ามันแปลกน่ะนะ คือถ้ามามองย้อนกลับดูมัน เออ เพราะมันเกิดเหตุอย่างนี้ มันถึงจะไปได้ ถ้าเราปิดอยู่... เพราะสมัยนั้นนี่อย่างที่บอก แอบฟังเสียงนี่ก็คือวิทยุ “คลื่นสั้น” มาจากไหน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

ผู้สัมภาษณ์ : ซึ่งเอามาจากในจีน
คุณบุญชัย :
ต้องน่าจะมาจากแนวร่วมคือเมืองจีน ไอ้นี่เป็นศัตรูแน่นอน

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ฉะนั้นใครพูดถึง บอก เฮ้ยมาจากไหน ก็บอกไอ้นี่น่ะจีนแดง ถ้าบอกว่าจีนแดงนี่ ไอ้นี่เป็นศัตรู แต่ถ้าบอกว่าฮ่องกง บอกไม่เป็นไร บอกเฮ้ยมันงงเว้ยเฮ้ย (หัวเราะ) แต่ตอนนั้นฮ่องกงมันยังอยู่อาณานิคมของอังกฤษ มาบอกฮ่องกงไม่เป็นไร เขาบอกจีนแดงนี่ ไอ้นี่คบกับคอมมิวนิสต์ ไม่ได้ ใช่ไหม ใครมีญาติพี่น้องจะไปเมืองจีนไม่ได้เลย ไม่มีทาง พอ 6 ตุลา 19 นักศึกษาโดนจับที่ธรรมศาสตร์ ถอดเสื้อหมดเลยนี่ มีคนตายเยอะแยะอย่างที่ว่านี่นะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ด้วยแรงที่ถูกกล่าวหาว่า ไอ้พวกที่อยู่ข้างในนี่ พวกนี้มันกินหมาบ้าง มันเป็นไอ้พวกญวน พวกแกว ก็ตอนนั้นพอบอกว่าคอมมิวนิสต์ขึ้นมาปั๊บนี่ ก็ต้องกลายเป็นว่าไอ้พวกในธรรมศาสตร์นี่ ทำไมคอมมิวนิสต์จึงเข้ามาได้ ก็คือมันก็มีแต่ทางลบนะ ไอ้เมื่อกี้นี่ก็ไปจับมือกับโจว เอิน ไหล นี่เขาก็ทางบวก แต่ในอีกมุมหนึ่งก็คือว่า เฮ้ย ก็มันเป็นคอมมิวนิสต์ไง มันถึงมาซ่องสุมกำลังอยู่ที่ธรรมศาสตร์ มันก็กลายเป็นอีกมุมหนึ่ง ในมุมที่ภาพไม่ดี ใช่ไม่ใช่ก็ไม่รู้ แต่ภาพมันไม่ดีว่า นี่สืบเนื่องมาจาก 14 ตุลา 16 แล้วประชาธิปไตยมันบานจนคุมไม่อยู่ อะไรก็ไม่รู้ จนพวกญวน พวกแกว พวกคนดีๆ ก็แต่งตัวเหมือนกับพวก... แบบเดียวกับที่ 2 วันก่อนสุรชัย แซ่ด่าน มันออกมาแต่งตัวเหมือนทหารป่าติดดาวด้วย

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
(หัวเราะ) อะไรแบบนี้ นี่มันหายไปตั้งนานแล้วนะ ไอ้ดาวแดงอะไรแบบนี้นะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม
คุณบุญชัย :
พอ 6 ตุลา พอเกิดเหตุแบบนี้ปั๊บ ไอ้หนังสือที่วางอยู่บนนี้ก็เก็บลงไปข้างใต้อีก ใครมีไม่ได้ โดนจับ ซวยเลย (หัวเราะ)

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นพี่ได้รับผลกระทบอะไรจากเหตุการณ์นี้ไหม?
คุณบุญชัย :
ไม่มี

ผู้สัมภาษณ์ : ไม่รู้สึกกังวลว่าตัวเองจะถูกเพ่งเล็งหรืออะไรอย่างนี้ไหม?
คุณบุญชัย :
กังวลๆ รู้สึกว่าผมก็มีข่ายว่า... เขารู้นี่ว่าเวลา 14 ตุลานี่มีใครทำงานบ้าง หลังจาก 14 ตุลานี่ใครทำอะไรก็ได้ใช่ไหม ก็ต้องรู้ว่า อ้อ มีไอ้นี่ๆ แต่ว่าในเวลาอย่างนั้นนี่ อย่าไปยุ่งมัน ก็คือเขาไม่มายุ่งเรา

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
เพราะอะไร เพราะว่าฝ่ายนี้แรง พอฝ่ายนี้แรงเขาก็ไม่กล้ายุ่งใช่ไหม แต่มีมึง มีมึง

ผู้สัมภาษณ์ : มีข้อมูลไว้แล้ว
คุณบุญชัย :
มีพวกมึงน่ะ โอเค อันนั้นๆ แต่ตอนนี้เขายังไม่ยุ่ง แต่พอเวลาเป็น 6 ตุลา ปั๊บนี่ เฮ้ย ไหนเอามาดูสิว่ามันมีใครบ้างวะ มันเหมือนกับเดี๋ยวนี้ถ้าเมื่อก่อนเคยใส่เสื้อแดง เดี๋ยวนี้มันถามว่ายังใส่เสื้อแดงอยู่หรือเปล่า ถ้าใส่เสื้อแดงรีบเก็บซะ

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบุญชัย :
แต่ถ้าเกิดลองเหลืองแพ้ ลองเสื้อแดงชนะสิ คุณใส่เสื้อเหลืองรึเปล่า เก็บซะ เอาเสื้อแดงมาใส่ มันก็อย่างนี้ มันก็ไม่ได้ต่าง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่กองกำลังติดอาวุธ ก็เป็นกองกำลังชาวบ้านๆ นี่ใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
ถ้าฝ่ายแดงขึ้น เราเคยเหลืองอยู่ก็ต้องถอดออกแล้วก็ใส่แดง อย่าทะลึ่งใส่เหลืองอะไรแบบนี้

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
มันก็ไม่ได้ต่างอะไรกับสองจังหวะนี้นะ จังหวะนี้ก็ฝ่ายนี้โดนกดไว้นาน เรียกร้องประชาธิปไตย แล้วก็มันเปิด เฮ้ย ไม่ได้ค่อยๆ เปิดนี่เหมือนน้ำไหล มันเปิดแบบเปิดเป๊ปซี่นี่ เขย่าก่อนแล้วเปิดป๊อก แล้วปุ้งเชียวใช่ไหม

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
พอมันขึ้นมาถึงเยอะๆ แล้วนี่ ก็อย่างที่บอกนี่มันก็ไม่มีใครขวาง ใครจะทำอะไรก็ทำ แต่กูเก็บข้อมูลไว้ก่อน ไอ้คนนี้ ไอ้คนนั้นๆ
พอเวลา 6 ตุลา มันก็ต้องเก็บไอ้ตัวที่คิดว่าสำคัญๆ ไอ้เราก็คิดว่ามันน่าจะอยู่ในข่าย แต่มันก็มีระดับของความรุนแรงว่ามันจะเอาเราขนาดไหน ถ้าเราทำตัวนิ่งๆ บอก เฮ้ย ฉันหยุดนะไม่มีประโยชน์หรอก มันก็อ้าว จะรอดู เขาก็คงจะไปยืนดูห่างๆ ว่าหยุดหรือเปล่า

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือพี่ก็...
คุณบุญชัย :
ชะลอ เราก็ต้องรู้หลบเป็นปีก

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วก็ไม่มีอะไร?
คุณบุญชัย :
ก็ไม่มีอะไร แต่รู้ว่าใครที่นั้นๆ เราก็รู้ เราก็ เฮ้ย ไม่มีประโยชน์ที่จะมาให้มันเลือดตกยางออก ไม่เห็นจะมีประโยชน์อะไรเลย มึงจะนั้น กูก็หลบ หยุด ก็เท่านั้นเองล่ะ ก็จบ แต่พอคุณแพ้ ผมก็ไม่ได้ทำอะไรคุณ แต่คุณจะมาวุ่นวายอย่างนี้ แค่นั้นเอง

ผมก็บอกว่า ไอ้ที่วันนี้เจอนี่ ผมก็บอก มันไม่อยากทะเลาะหรอก แต่ไม่ได้ทะเลาะกันนะ ไอ้ร้านนี่มันก็เพื่อนกัน แต่ไอ้คนกินนี่พวกเขา ซึ่งคุณไม่รู้จัก คุณก็อาจจะไม่รู้หรอกว่ามันดี-ไม่ดี แต่ถ้าเป็นพวกคุณ คุณก็บอก เฮ้ย พวกผมดีจะตายไป ดีกว่าพวกคุณ แต่กับผมนี่ คุณก็บังคับให้ดีด้วย ผมบอก เฮ้ย ผมไม่ดีหรอก เพราะผมรู้ว่ามันไม่ดี แต่คุณบอก คุณเดินได้ก็คุณไม่มีอะไรนี่ ก็เรื่องของคุณ คุณก็เดินไป ไม่มีอะไรใช่ไหม

ก็มันก็ไม่มีอะไรหรอก มีแต่มาด้อมๆ มองๆ เท่านั้นแหละ เราก็แสดง... ก็ไม่มีอะไรมาก แต่ว่าก็ไปชุมนุม ถ้ามีชุมนุมก็ชุมนุมบ่อย เท่าที่... ต้องดูเหตุผลในการชุมนุมน่ะ ไม่ใช่ว่าชุมนุมไปเรื่อย ไม่ใช่ ต้องดูเหตุผลในการชุมนุม เพราะว่าการไปชุมนุมแต่ละทีนี่เราเสียค่าใช้จ่ายด้วย เสียเวลาด้วย แล้วเสี่ยงอีกต่างๆ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดดูแล้วเป้าหมายไม่ชัดเจนนี่ บอกเฮ้ย อย่าไปเสียเวลามันเลย

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงสถานการณ์ปัจจุบัน?
คุณบุญชัย :
ปัจจุบันน่ะ ทั้งที่หลังจากนั้นมาก็เหมือนกันน่ะ สถานการณ์สีเหลืองนี่ก็ โอเค เห็น มองสีแดง มันแปลกๆ สีเหลืองก็ไม่ใช่ว่าประชุมทุกวัน เขาประชุมแค่จุดที่มันดูสถานการณ์แล้วมัน climax ต้องใช้กำลัง

ผู้สัมภาษณ์ : ที่กรุงเทพฯ?
คุณบุญชัย :
ที่กรุงเทพฯ

ผู้สัมภาษณ์ : อืม
คุณบุญชัย :
คือผมไม่ได้ไปประชุมทุกวัน คือสีเหลืองน่ะไม่ประชุมทุกวัน แต่ว่าดูว่า เฮ้ย มันจุดนี้น่าสนใจ ผมไป ก็บอก เฮ้ย 5 วันนี้รับประกันไม่มีอะไร เฮ้ย จะพูดไปทำไม คือเราอยู่จนเราคิดว่าเราอ่านได้น่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณบุญชัย :
มันจะบอกว่าอีก 3 วันชนะ พวกนี้ชนะ น่าเกลียด ยังไม่มีอะไร เชื่อสิไม่มีอะไร คือมันคล้ายๆ เราไม่ได้อะไร มันคล้ายๆ สัญชาตญาณน่ะครับ จากประสบการณ์ว่า เฮ้ย ถึงจุดนี้นี่ยังไม่มีหรอก แล้วเราก็ไปโดยไม่เสียเวลา เพราะว่าอาจจะเลือกวันไป แต่บางคนเขาก็อินมาก เขาก็ไปมันทุกวัน ก็บอกไม่เป็นไร ก็ไม่ได้ว่ากัน พรรคพวกก็มีไปทุกวันใช่ไหม

จากที่เรานี่ เราก็ได้ประสบการณ์ชุมนุม ประสบการณ์ม็อบ ก็รู้ว่าจุดไหนจังหวะไหนที่สถานการณ์เป็นอย่างไร การข่าวนี่สำคัญ อย่างนี้แหละ ผมไปครั้งแรก 14 ตุลานี่ ข้างหน้ามันเกิดอะไรไม่รู้เรื่องหรอก ข้างหลังกูจะไปไหนก็ไม่รู้ (หัวเราะ) ก็เฮ้ย เอาไงดีวะนี่ ใช่ไหม แล้วมันจะบริหารกันยังไงนี่ แล้วข้างบนก็เฮลิคอปเตอร์มา ตรงโน้นก็บอกว่าเผา ตรงโน้นก็บอกว่าตาย เฮ้ยแล้วผมจะอยู่ยังไงวะนี่ เกิดรถมันไม่มีออกนอกเมือง แล้วกูจะไปยังไงวะนี่ กูไม่รู้จัก (หัวเราะ) ก็ต้องรีบออกก่อน

ประสบการณ์มันก็สอนเราว่า เฮ้ย คุณไม่ออกก็ได้นะ แต่ผมไม่เอาหรอก ตกลงคุณจะได้ออกเมื่อไหร่คุณไม่รู้นี่ แล้วจะไปกันตรงไหนก็ไม่รู้นะ เพราะนี่มา...

จบการสัมภาษณ์