Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Woolrich Outlet

Woolrich

hogan

hogan

hogan

Hogan Sito Ufficiale Hogan Scarpe Hogan Outlet Hogan Scarpe Hogan Hogan Scarpe Hogan Interactive Hogan Donna Scarpe 2013 Hogan Scarpe Outlet Hogan Vendita Hogan Hogan Scarpe 2013 Hogan Scarpe Hogan Scarpe Hogan Hogan Outlet Hogan Scarpe Outlet Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Hogan Outlet Scarpe Hogan Hogan Sito Ufficiale Scarpe Hogan2013 Hogan Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Donna Hogan Interactive Hogan 2013 Hogan Online Hogan Italia Hogan Scarpe
woolrich ASK Hollister Hollister abercrombie abercrombie abercrombie abercrombie woolrich parka Hollister Holliter France Hollister Hollister France Magasin Vetement Hollister Hollister Soldes Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Vente Hollister En ligne Hollister 2013 Hollister France Hollister France 2013 Hollister Hollister Hollister Magasin Hollister Vente Hollister Homme Hollister Pas Cher Hollister T Shirts Hollister Paris Boutique Hollister Vetements Boutique Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Hommes Hollister France Vente Hollister Hollister sortie 2013 Pas Cher Hollister Hollister Pas Cher

บทสัมภาษณ์ - นภดล มีสมสิบ
วันที่ 19 เมษายน 2552 เวลา 15.30 น.
สถานที่ จ.อยุธยา
ระยะเวลา : 2 .20 ชม.
ผู้สัมภาษณ์ : โชติศักดิ์ อ่อนสูง
ตามโครงการของมูลนิธิ 14 ตุลา ในการรวบรวมปากคำของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อไป


ผู้สัมภาษณ์ : เริ่มจากความเป็นมาของพี่แล้วกันครับ หมายถึงว่าวัยเด็ก ครอบครัวอะไรประมาณนี้
คุณนภดล :
ผมก็น่าจะสืบทอดบรรพชนคนอยุธยา เรียกว่า หลายชั่วโคตรมาแล้ว ผมก็เรียนหนังสืออยู่ในเมืองนี้แหละ ตั้งแต่เด็กๆ คุณพ่อก็รับราชการ เป็นเจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอ ซึ่งจะต้องดำรงตำแหน่งอยู่ในอยุธยาไปอำเภอต่างๆ แล้วคุณพ่อก็จะย้ายไปบ่อย คุณแม่ผมก็เป็นแม่บ้าน มีลูก 4 คน ผู้ชาย 2 คน ผู้หญิง 2 คน แล้วก็เติบโตอย่างงดงาม ชีวิตได้รับความรัก ความผูกพันจากพ่อแม่อย่างดี ฐานะก็ไม่ได้มีอะไรมากมาย ก็เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย เป็นตำแหน่งข้าราชการเล็กๆคนหนึ่ง แต่ก็ได้รับการศึกษา ทุกคนที่บ้านได้รับการศึกษา เพราะว่าลูกข้าราชการได้รับการหนุนช่วยจากรัฐ ไปเรียนตรงไหนก็เบิกได้ ก็ทำให้มีการศึกษาพอสมควร เริ่มเรียนจากโรงเรียนจิรศาสตร์วิทยา ทีแรกเข้าเรียนโรงเรียนประจำอำเภอบางไทร แล้วย้ายตามคุณพ่อมา เข้ามาเมืองนี้ ก็สอบประจำจังหวัด ประถม มัธยมที่นี่

ผู้สัมภาษณ์ : พี่เกิดปีอะไรครับ?
คุณนภดล :
ผมเกิดปีมะโรง 2495

ผู้สัมภาษณ์ : เริ่มเรียนประถมก็ 2500 กว่า?
คุณนภดล :
2501 ยังจำได้ยุคนั้นก็จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ผมจำได้เพราะว่าร้องเพลงต้นตระกูลไทย โตมาก็เป็นเด็กที่มีความสุข ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร จะมีก็ประสบอุบัติเหตุเสียตาข้างขวา มันก็ยังมองเห็น เหลืออีกข้างหนึ่งมันก็ยังรู้สึกว่าเราปกตินะ ไม่ได้มีความน้อยใจอะไร เพราะว่ามันอยู่กับเพื่อน กับครอบครัว เขาก็เอ็นดูเรา เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีปมด้อยอะไรมากมาย

ผู้สัมภาษณ์ : ตั้งแต่เด็กเลยเหรอครับ?
ผู้สัมภาษณ์ :
อุบัติเหตุก็ประมาณ ป.1 รักษาไม่หาย ไม่เหมือนสมัยนี้ มันอาจจะไปติดเชื้อ ติดอะไรที่แก้วตา แล้วก็ใช้ชีวิตมาอย่างนี้ตลอด ก็เรียนหนังสือที่โรงเรียนประจำจังหวัด โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย มีเพื่อนเยอะ มีเพื่อนมากมาย เพราะทุกคนต่างไปเรียนที่นี่ส่วนใหญ่ เรียนชั้นประถมประจำจังหวัดโรงเรียนประตูชัยก็มีเพื่อน มีความสุข อย่างในเมืองนี้ ก็เหมือนกับว่าไม่กลัวคนน่ะ เพราะว่าเป็นถิ่นจิ๊กโก๋ จิ๊กโก๋ก็รู้จักกันหมด เราก็จะมีเพื่อนไม่ว่าบางโน้น บางนี้ ส่วนใหญ่ก็เรียนมาด้วยกัน เล่นๆไป เตะฟุตบอลบ้าง มันทำให้ชีวิตมันแน่น มันเต็มรูปแบบ มันมีที่เที่ยวเยอะ ที่เที่ยวบานเลย จิตใจมันมีเสรีภาพสูง ไม่อยากเรียนวิชาไหนก็มุดรั้วออกมา ไม่อยากเรียนวาดเขียนก็ออก ตกก็ไม่เป็นไร เป็นอย่างนี้จนกระทั่งสุดท้ายไปเรียนที่วิทยาลัยครู แต่ก็เรียนถึง ม.3 ผมก็หยุดพัก เพราะว่าพ่อผมออกจากราชการ ลาออกไปประกอบธุรกิจ เพราะว่าเขาคงคิดว่าคงอยู่ไม่ไหว เพราะลูกโต ต้องเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว เขาก็ประกอบธุรกิจ

ผู้สัมภาษณ์ : พี่เป็นคนที่เท่าไรครับ?
คุณนภดล :
ผมเป็นคนที่ 2 พี่ชายคนนึง พี่ชายก็ไม่เอาถ่าน ชอบขับรถ รถทัวร์ รถประจำทางอะไรอย่างนี้ น้อง 2 คนเรียนจบปริญญาตรี พอถึงตรงนั้นปุ๊บ ผมก็เริ่มมีปัญหาทางการเงิน เพราะว่าพ่อผมได้บำเหน็จไปซื้อรถ มารับจ้างฝรั่งขนสินสงคราม อุปกรณ์ยุทโธปกรณ์ไปรบกับเวียดนาม

ผู้สัมภาษณ์ : สงครามเย็น
คุณนภดล :
ก็ติดรถไปตามค่ายต่างๆ เพราะว่าเขาจะขนสินค้าไป รอตั้งนานผมถึงได้มาสอบที่วิทยาลัยครูภาคค่ำ ทิ้งเวลาไป 3 ปี มันเจ็บปวดนะ เพื่อนเขาไปไกลลิบแล้ว เรายังเตาะแตะอยู่ สัญญากับตัวเองว่าตั้งใจเรียนแน่ เพราะมันหมดโอกาส ถ้าเรียนครั้งนี้จะตั้งใจเรียนให้มาก เพราะว่าเวลาไม่ได้เรียนคุณจะโหยหาสังคมในโรงเรียน เครื่องแบบนักศึกษานี่รู้สึกมันมีเกียรติเลยนะ

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นปีอะไรเข้าเรียนที่นี่?
คุณนภดล :
ผมเข้าเรียน 2515

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนจบ ม.3?
คุณนภดล :
ม.3 นี่ 2511 ว่างไป 3 ปี - 4 ปี

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้น ม.3 แล้วต่อวิทยาลัยครูเลย
คุณนภดล :
ยังๆ ม.3 ผมไปต่อการช่างนครนายก เพื่อนผมพาไปเรียน ผมไปที่นั่นแล้วมันสุดขีด เป็นโรงเรียนกินนอน เหมือนอุเทนถวายเลย ไปก็ไม่ประสบความสำเร็จ โดนไล่ออกมา เราเกเกินเหตุ โดนทั้งชุด 10 กว่าคน ไล่ออกมาทั้งเมืองเลย ไม่ให้อยู่ เพราะอยู่พาเขาเก เราที่จริงไม่ได้เกหรอก มันก็เกทั้งหมดแหละ ใครๆเขาก็เก แต่เราอย่างว่า คนไม่ค่อยยอมคนน่ะ เป็นสัญชาตญาณไม่ค่อยอยากให้ใครมาเหยียบย่ำน้ำใจ มันก็มีปัญหากับทางโรงเรียน ก็เลยออก ออกไปก็อย่างที่เล่าให้ฟัง ไปทำงานกับพ่อ ติดรถไปทั่วหมดแหละ ไปทั่วฐานทัพทั้งหมดในประเทศไทย ก็คิดจะเรียน ก็มาเรียนที่วิทยาลัยครู ป.กศ.ต้น แต่พื้นฐานโรงเรียนเก่าผมยังดี อยุธยาวิทยาลัยเรียนที่ไหนไม่ค่อยมีปัญหาหรอก คือถ้าสอบก็ต้องติด เพราะว่าพื้นฐานมันแน่น ก็สอบได้ ไม่ยากหรอก บางคนก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง เขาจำกัดโควตาเรียนน่ะ สอบได้ ก็เรียนภาคค่ำ ตั้งใจเรียนมากเลย คะแนนเกรด 3 ประมาณนั้น 2.8 ก็ถือว่าเก่งแล้วสมัยก่อน มันก็มีช่วงหนึ่งประมาณน่าจะ 2516 ที่ชีวิตผมเปลี่ยนแบบ change ขั้วเลย ไอ้ความตั้งใจที่จะเรียนมันหมดไปเลย

ผู้สัมภาษณ์ : เกิดอะไรขึ้นครับพี่?
คุณนภดล :
ผมไปฝึกสอน ผมก็ไม่ค่อยมีเงิน ก็ไป ไปกับความตั้งใจ อดๆบ้าง มันรู้สึกว่าตัวเองมันข้นแค้น เรียนหนังสือต้องเดินมานะ ไม่มีตังค์ค่ารถ ความรู้สึกว่าบีบคั้นทางเศรษฐกิจมันเยอะ แต่ไอ้ความเสรีภาพ Freedom มันก็มาก มันทะเลาะกันอยู่ภายในว่า เราทำไมต้องทนเพื่ออยากตะไต่เต้าไปสู่สิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่ผมก็เรียนไม่ตก เรียนบ้าง ไม่เรียนบ้างแหละ แต่ก็ดี จนกระทั่งผมได้คะแนนการฝึกสอนยอดเยี่ยมที่สุดเลยนะ ยอดเยี่ยม คือว่า สมมุติว่าเขาให้ 4 ผมจะได้เกิน 4 เขาเรียก A+ แล้วก็ยอดเยี่ยม ซึ่งมีอยู่ไม่กี่คนในการสอนหนังสือเด็ก แสดงว่าผมมีความเอาใจใส่ แล้วก็จะมีอาจารย์พาคนมาดูผมสอน ว่าผมมีเทคนิคอะไร เพราะว่าผมสอนภาษาไทยให้เด็กชั้น ป.1 ซึ่ง ป.1 ไม่มีใครเลือกไปสอน เพราะสอนยาก เด็กมันวุ่นวาย พอผมไปสอน ผมก็มีความที่จะเข้าใจว่าการศึกษา การอ่านหนังสือภาษาไทยมันยากขนาดไหน ผมก็ค้นคว้า ครูก็ให้อุปกรณ์มากล่องนึง ผมก็ไปสอนที่วัดรัตนชัย วัดจีนน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ฝึกสอนที่นั่นที่เดียว?
คุณนภดล :
ฝึกสอนอยู่ 3 เดือน ที่เดียว 3 เดือน ปีที่ 2 จวนจะจบแล้ว ใครฝึกสอนนี่ ผ่านไปก็เป็นครูได้ อย่างน้อยก็เงินเดือนไม่กี่ตังค์ ก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นครู ผมไปสอน ธรรมดาภาษาไทยเนี่ย มานี มานะ 3 เดือนเด็กยังอ่านไม่ออก แต่ผมอ่านหมดเล่มเลย ทั้งห้องอ่านได้ ส่วนใหญ่ 100% เนี่ย 80% จะอ่านออกหมด นอกจากไม่ไหวจริงๆ ถึงอ่านไม่ได้ เขาก็สงสัยว่าผมสอนยังไง ทำไมเอาเด็กตั้ง 40 คนอยู่ ไอ้ความที่เรามันไม่เหมือนชาวบ้านเขา เขาจะมีรูปแบบ จารีต ประเพณีอะไรอย่างนี้ ไอ้เราไม่อย่างนี้ ผมก็หามิติออกมา เริ่มต้นเด็กก็นับพอจะเป็นแล้ว 1 2 3 ผมก็ตั้งกติกานับ 1 หนูอยู่ตรงไหน เตรียมตัวนะ สอนนิ้ววิเศษ สมมุติเอา เราก็แต่งนิทานหลอกมัน ชี้โน่น ชี้นี่ ชี้ให้คนตายได้ พอนับ 2 ต้องมานั่งที่ เด็กมันกลัวนิ้ววิเศษเรา ก็ต้องมานั่งที่ พอนับ 3 ปุ๊บ บอกว่าต้องกอดอก เขาก็ตกใจ ทำได้ไง นี่คือเทคนิคพิเศษ เราตั้งใจเวลาทำงาน ทำได้ B+ A+ ขึ้นไป เหมือนบางสิ่งที่เราตั้งใจเราอยากจะสร้างสรรค์ อยากจะทำ จบออกมาได้คะแนนดีมาก

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นพี่จบปีอะไรครับ?
คุณนภดล :
ปี 2 ผมฝึกสอน มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม 3 เดือนมาเรียนอีก 3 เดือน มาซ่อมวิชาที่ผมไม่ค่อยได้ไปเรียนบ้าง ดรอปไว้บ้าง ผมเรียน 3 ปี ถึงจบ มันก็เกิด 14 ตุลา จะเล่าให้ฟังว่าทำไมผมถึงเข้าไป มันไม่ได้มีอะไรมากมาย ไม่มีใครมาปลุกระดม ความที่บ้านผมอยู่ใกล้รถไฟ แล้วผมก็ขึ้นรถไฟไม่เคยเสียสตางค์ ขึ้นฟรีมากรุงเทพฯ อยากไปก็ไป อยากกลับก็กลับบางทีตื่นเช้ามาหาข้าวกินผมก็เข้ากรุงเทพฯ แล้วก็กลับมาตอน 3 โมง ผมก็มาเรียนทันเป็นอย่างนี้ประจำ คือผมไม่มีงานทำช่วงนั้น ถ้ามีอะไรในกรุงเทพฯผมก็ไปเที่ยวแล้ว มีตังค์ 5 บาทก็เที่ยวได้แล้ว ค่ารถเมล์ 75 สตางค์ รึบาทหนึ่ง ก็ได้ความคิดอะไรมาบ้าง ก็ยังไม่ถึงขนาดรู้เรื่องรู้ราวเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือพิมพ์ที่สุด ผมจะอ่านหนังสือพิมพ์ฟรี เนื่องจากที่ร้านหนังสือสถานีรถไฟเขาจะมีสโตเค้าเตอร์สำหรับขายหนังสือพิมพ์ เขาก็จะไม่ค่อยหวงเวลาผมไปอ่าน ผมก็อ่านเป็นประจำ หยิบมาอ่านแล้วก็คืนเขา ด้วยความที่อ่านเยอะ รุ้ข่าวสารมากกว่าเขา ถ้าเพื่อนรุ่นเดียวกันนี้ไม่รู้หรอก ว่ามันเกิดอะไรขึ้น จะฟังเพลงฝรั่ง ดีดกีตาร์ แต่ผมมันชอบอ่านหนังสือ อาจจะมีปมด้อยที่หยุดไปวะ 3 ปี ไม่ได้เรียน ก็ไปได้ข่าว 13 กบฏ ก็เริ่มมาครุ่นคิดแล้วว่า มันอะไรรัฐธรรมนูญ รู้ รู้บ้าง แต่ว่ามันไม่ need ไม่ get ไม่ want ไม่อะไรทั้งสิ้นน่ะ ไม่รู้จักว่าเสรีภาพคืออะไร เพราะว่ามันมีตลอดอยู่แล้ว พ่อไม่เคยบังคับ วันนี้ต้องทำอะไรอย่างนี้ ไม่เคยถูกบังคับอะไรเลย ชีวิตเกิดมาไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีใครบังคับผม ผมก็ไม่รู้สึกว่าเสรีภาพคือสิ่งที่ผมต้องการเท่าไรหรอก เพราะผมคิดว่าผมมีพอแล้ว แต่ตอนนี้เป็นเรื่องกฎเกณฑ์ของสังคมแล้ว ทำไมคนถึงปรารถนารัฐธรรมนูญ เป็นกบฏเป็นอะไร ผมก็เริ่มจะคิด จนกระทั่งมันมีการชุมนุมคัดค้านกันที่วิทยาลัย มีม็อบใหญ่ๆ คัดค้านผมก็เข้าร่วมกับเขา

ผู้สัมภาษณ์ : วันที่เท่าไรพอจะจำได้ไหม?
คุณนภดล :
ประมาณก่อนหน้า 14 ตุลา มีการเคลื่อนไหวที่วิทยาลัย ผมว่าน่าจะมีองค์กรนักศึกษา เพราะว่ามีรุ่นพี่ที่เป็นองค์กรนั่นแหละ อยู่ที่ศูนย์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เขาทำงานที่นั่นมาก่อนแล้ว เขาคงมาเคลื่อนไหว ก็มารวมกันสักคืนหนึ่ง แต่รวมกันมานาน น่าจะคืนเดียว แต่สิ่งที่ผมไปรับรู้มาน่ะ ผมไปก่อนแล้ว ผมนั่งรถไฟไป อยากรู้ก็ไป

ผู้สัมภาษณ์ : ไปที่ธรรมศาสตร์?
คุณนภดล :
ไปที่ธรรมศาสตร์ แต่คนอื่นเขาไม่ไปหรอก เพราะเขาเดินทางกันยาก ผมขึ้นรถเนี่ย ผมมีเทคนิคในการแอบขึ้นรถฟรี แอบทำโน่นทำนี่ ขึ้นฟรีตลอด

ผู้สัมภาษณ์ : ผมขอถามย้อนนิดนึง เอาก่อนที่จะถึง 14 ตุลา บรรยากาศสังคมแถวนี้เป็นยังไงบ้าง?
คุณนภดล :
ช่วงที่ผมเรียนมัธยม ไม่มี มันก็เป็นความปกติสุขของเมือง ไม่มีเจ้าพ่อ ไม่มีนักเลง ไม่มีสิ่งบันเทิงเริงคดี นอกจากโรงหนังสัก 2 โรง มีตลาดเล็กๆ ทุกคนก็จะเจอกัน เดินสวนกัน มีสถานีรถไฟ แค่นี้ ไม่มีอะไรมาก แล้วก็จะมีแก๊ง ก็จะมีพวกยาเสพติด สมัยก่อนกัญชานี่เยอะ หาซื้อได้ทั่วไป ห่อละบาท ตำรวจก็ไม่ได้ว่าอะไร ก็มานั่งหั่นสูบกันบ้าง ไม่มีบ้านโน้นไปตีบ้านนี้ เหล้าก็ไม่ค่อยได้กินกันหรอก จะสูบกัญชาส่วนใหญ่ ยุคนั้นมันก็เป็นแบบนี้ คือว่า ใครสูบเขาก็ไม่ได้ว่าอะไร สูบเป็นกระบั้งใหญ่ๆ สูบเสร็จก็ไปฟังเพลงตามตู้ สังคมเป็นแบบนี้ ผมไม่เคยเห็นที่นี่มีปัญหา

ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้หมายถึง ตัวจังหวัดอยุธยา?
คุณนภดล :
ตัวจังหวัด ที่อื่นผมก็ไม่ได้สังเกตอะไรนะ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วเรื่องการเมืองอะไรอย่างนี้ล่ะ ตอนนั้นยังไม่มีการเลือกตั้ง?
คุณนภดล :
มี ช่วงนั้นไม่มี แต่มันเคยมี ส.ส.ก็หน้าเก่าเดิมๆ เลือกทีไรก็เป็น ส.ส. ช่วงที่ผมมัธยมก็มี ส.ส.

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนก่อนที่ถนอมรัฐประหารตัวเองนี่ ตอนนั้นก็ยังมี?
คุณนภดล :
น่าจะมี ส.ส. พรรคพลังประชาไทย มี ส.ส.ประมวล สภาวะสุ เป็นนายกสมาคมศิษย์เก่าอยุธยาวิทยาลัย

ผู้สัมภาษณ์ : พอมีการจับ 13 กบฏแล้ว ด้วยความอยากรู้ ทำไมพี่ถึงไป?
คุณนภดล :
ผมอ่านหนังสือพิมพ์เป็นปกติอยู่แล้ว วิทยุ โทรทัศน์ก็มี แต่จะไม่ค่อยได้ดู ได้ฟังมัน อาจจะว่าผมไม่ได้อยู่กับโทรทัศน์ด้วย ไม่ได้เฝ้าจอ วิทยุก็จะอยู่บางครั้งบางคราว

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วอารมณ์ของหนังสือพิมพ์ไปทางไหน ทางรัฐบาล?
คุณนภดล :
หนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้เชียร์นะ ผมรู้สึกว่ามันออกมาเป็นข่าวทั่วไป ไม่ได้เป็นข่าวซ้าย ข่าวขวา ไม่ได้มีค่าย เขาก็นำเสนออกมาเป็นความจริง เป็นข่าวนึง จับนายธีรยุทธ บุญมี ข่าวก็ไม่ได้ว่าน่ากลัวอะไรกับเรา แล้วคนก็ไปเดินราชประสงค์บ้าง ไปเดินกล้าที่จะคัดค้านรัฐบาล ไม่ได้คิดอะไรมากมาย แต่รัฐธรรมนูญชักจะรู้สึกว่ามันเป็นกฎหมายสูงสุด จอมพลถนอมไม่ได้ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ใช้แต่กฎอัยการศึก อะไรทำนองนั้นน่ะ ช่วงนั้นไม่ได้คิดอะไรละเอียด ปัญหามันอยู่ที่ว่าพอมันมีการต่อสู้ มีการใส่ร้ายป้ายสีถึงขนาดว่า ปกครองด้วยโคตรเหง้าเหล่ากอเดียว ตระกูลเดียว มันก็ทำให้ผู้คนมีปัญหากับความรู้สึกนึกคิดในการเป็นกบฏ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นพี่นึกยังไงถึงไปที่ธรรมศาสตร์?
คุณนภดล :
ผมชอบไป มันจะมีคนที่เรียนหนังสือ ผมชอบคน ผมไปปกติของผม ชุดนักศึกษามันก็คล้ายๆกันแหละ

ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้หมายถึง ตอน 14 ตุลารึทั่วไป?
คุณนภดล :
14 ตุลา ทั่วๆไปผมจะไม่ได้เข้าหรอก ผมเข้าไปเพราะผมเป็นนักศึกษาแล้ว เป็นนักศึกษาวิทยาลัยครู ผมก็แต่งกางเกงขายาว เสื้อสุภาพ ไม่น่าเกลียด ถือหนังสือสักเล่ม ใครแจกก็หยิบมา ไอ้ความเป็นนักศึกษาทำให้ผมอยากรู้ อยากกระตือรือร้น

ผู้สัมภาษณ์ : พอมีข่าวจับ 13 กบฎแล้วพี่ไปรวมที่ธรรมศาสตร์รึเปล่า?
คุณนภดล :
ไป

ผู้สัมภาษณ์ : ไปตอนที่เขามีชุมนุม?
คุณนภดล :
ไป มีใบปลิวกลับมาด้ว

ผู้สัมภาษณ์ : คิดยังไงถึงไป?
คุณนภดล :
ไม่ต้องคิด มันเป็นธรรมชาติผมอยู่แล้ว ถึงไม่มีธรรมศาสตร์ผมก็ไป อยากไปดูหนังที่โรงหนังเมโทรผมก็ไป ผมไปก่อนที่จะมีเหตุการณ์นี้ ผมไปเป็นปกติของผมอยู่แล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : มันเป็นการชุมนุมทางการเมือง มันไม่เหมือนกับการไปเที่ยวยังไง?
คุณนภดล :
ไม่เหมือน สมมุติว่าเราอ่านหนังสือ พอเราอ่านก็อยากรู้อยากเห็น ผมเป็นคนหนึ่งนะที่ชอบดูเหตุการณ์ บางอย่าง

ผู้สัมภาษณ์ : ด้วยตัวเอง?
คุณนภดล :
อือ! เขาปล้นกันนี่ เขาวิ่งหนี ผมจะวิ่งเข้า พ่อผมย้ายมาท่าเรือตอนนั้น มีเสือปล้น ปล้นตลาด ปล้นกัน ยิงกัน ปังๆๆๆๆ คนก็หนี หนีฮือออกมา ผมสวนเข้าไป สวนเข้าไปดู

ผู้สัมภาษณ์ : พอไปดูแล้ว มียังไงบ้าง?
คุณนภดล :
ไปดูก็ รู้สึกว่ามันได้เห็นกับตา ปลอกลูกปืนมันเกลื่อนเลย คนตายสดๆตรงนั้น อะไรอย่างนี้ มันเหมือนกับว่าเราได้เห็น ไม่ต้องมาเล่าให้เราฟัง เพราะผมไม่ค่อยชอบให้คนมาเล่าแล้วเราอยากดู ผมโดนหลอกบ่อย หลายๆอย่าง คุณไปดูสิ เปรตสูง 3 วา โห! หลอกเรา เราก็อยากไปดู ตอนนี้แดดร้อนยังไงก็จะไปล่ะ ไปดูให้มันเห็นกับตา มันเป็นวิสัยผม

ผู้สัมภาษณ์ : ทีนี้พอไปดูที่ชุมนุมแล้ว มีอะไรยังไงบ้าง? เท่าที่จำได้
คุณนภดล :
ผมว่ามันไม่กลัวทหารเว้ย พ่อผมนี่โคตรทหารเลย เพราะผมไม่ค่อยกลัวคน เพราะพ่อผมก็เป็นทหาร เพราะทหารมันก็คุมอำนาจอยู่ ผมก็ไม่รู้หรอกว่าพ่อผมไม่กลัว เพราะว่าเวลาพ่อผมมีเรื่อง เขาจะไปขึ้นศาลทหาร ไอ้เราก็ไม่คิดว่าการปกครองโดยระบอบทหารเนี่ยมันจะมีปัญหากับประชาชน เพราะจริงๆแล้วประชาชนทั่วไปเขาก็ไม่มี จะมีก็ไอ้คนที่มันปรารถนาอิสรภาพ เสรีภาพไม่อยากเป็นทหาร อะไรอย่างนี้ เช่น ไอ้พวกเสือปล้นเนี่ย พ่อผมก็เรียกขึ้นทะเบียนทุกปี มันก็ไม่มาสักที จนในที่สุดมันก็ชวนกันมาปล้นตลาด เคยได้ยินไหม เสือปล้นตลาด?

ผู้สัมภาษณ์ : ผมเกิดไม่ทัน
คุณนภดล :
ปล้นอย่างแรงเลย 20 คนปล้นตลาดน่ะ เป็นตำนานของมันไปเลย บางคนเขาว่าเขาปฏิเสธอำนาจรัฐ ปฏิเสธระบบแล้วก็ชวนกันมาปล้น เป็นกองทัพ 20 กว่าคน ไม่ใช่น้อย ซึ่งมันก็เป็นประเด็นที่บอกว่า ทำไมถึงอยากรู้ ทำไมถึงอยากเห็น เมื่อไปแล้วมันเห็นอะไรบางอย่าง เห็นแล้วก็รู้สึกว่าได้เห็นก่อนใคร มีความรู้สึกว่า เห็นแล้ว หนึ่ง อ่านหนังสือพิมพ์ สอง ไปเห็นกับตา

ผู้สัมภาษณ์ : พี่พอจะจำได้ไหม ไปวันที่เท่าไร?
คุณนภดล :
น่าจะสัก 10-10 อะไรประมาณนั้น คนเยอะๆน่ะ เยอะในธรรมศาสตร์นะ ไม่ใช่สนามฟุตบอลนะ ข้างหลังน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ตรงลานโพ?
คุณนภดล :
ตรงนั้นน่ะ เยอะแล้ว มีละคร มีไฮปาร์ค ผมชอบดูเขาพูด ฟังเขาพูด แต่ผมจำไม่ได้หรอกว่าใครบ้าง ไปแป๊บเดียว ต้องรีบกลับ

ผู้สัมภาษณ์ : ไปกลางวัน?
คุณนภดล :
ไปกลางวัน ไปแล้วต้องรีบกลับมา เพราะว่ามันต้องเรียนหนังสือ ไม่เคยค้าง ไปแล้วก็กลับ

ผู้สัมภาษณ์ : ไปครั้งเดียวรึเปล่าพี่ ที่ชุมนุมน่ะ?
คุณนภดล :
น่าจะไปสักครั้งหรือสองครั้ง ไม่น่าจะไปครั้งเดียวหรอก เพราะว่าไปแล้ว เมื่อไปแล้วก็อยากไปอีก มันไปได้ง่ายๆ เพราะว่าบ้านผมอยู่ตรงรถไฟ ขึ้นรถไฟปุ๊บการ์ดมาเราก็หลบ หลบตรงกระได ไม่เห็นหรอก ไปแล้วเราก็มานั่งต่อ พอเขาหนีบแล้วเขาจะไม่กลับมาหนีบต่อ จนกระทั่งถึงกรุงเทพฯ เขาก็จะมาหนีบอีกทีนึง เราคุมกฎเกณฑ์นี้ได้ แล้วเวลาเขาไปเราก็ไปนั่ง การ์ดเขาจะจำได้ทุกคนเหรอ เขาต้องลืมๆบ้างล่ะ แล้วเป็นอย่างนี้จนคุมกฎเกณฑ์ของพนักงานคีบตั๋วได้ ไม่ต้องเสียตังค์ไปหลายปี

ผู้สัมภาษณ์ : ครั้งแรกที่ไปกลับมา ที่นี่ยังไม่มีอะไร?
คุณนภดล :
ยังๆ ตอนหลังมี พอมีแล้วมีใหญ่เลย เหมือนกับว่าจะเป็นวันที่ 12 คืนวันที่ 12 เพราะว่าไปกันที่นู่นคืนหนึ่ง

ผู้สัมภาษณ์ : ที่ไหน?
คุณนภดล :
เข้าไปในธรรมศาสตร์ วันที่ 13 ไปถึงธรรมศาสตร์น่าจะคืนวันที่ 12 ไม่แน่ใจนะ แต่เป็นวันออกพรรษาพอดี เพราะผมจำได้ว่าหิวมากเลยที่ชุมนุมแล้วผมก็เข้าไปที่วัด ไปขอข้าวต้มพระมาเลี้ยงเพื่อน เป็นกะละมังเลย บูดไม่บูดไม่รู้

ผู้สัมภาษณ์ : ชุมนุมวันแรกที่นี่?
คุณนภดล :
ที่นี่ชุมนุมกันไม่เป็นวันแรกหรอก วันแรกมันชุมนุมกันวันที่ 14-15 ยันอีกหลายวัน มันชุมนุมกัน ตีกันแล้วก็ยังชุมนุมต่อนะ แต่ผมก็ไปตั้งแต่วันนั้นน่ะ ก็ไม่ได้กลับเลย

ผู้สัมภาษณ์ : ไปไหนพี่?
คุณนภดล :
ไปกรุงเทพฯ คือคืนวันนั้นที่มีการชุมนุมกันที่นี่ ผมไฟแรงแล้ว ผมบอกว่าผมไฟแรงแล้ว ผมรู้ ผมไปมาแล้ว ตอนนี้เมื่อคนขบวนมากๆ ไปจะทำยังไง ก็เสนอว่านั่งรถไฟไป เพราะเราเนี่ยเซียนรถไฟ ถ้าเทียบกับคนทั้งหมด ผมขึ้นรถไฟเก่งกว่าเขาหมด ก็ไปที่สถานีรถไฟ ประมาณสัก น่าจะถึง 400-500 คน

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือแบ่ง ที่นี่ยังมีการชุมนุมต่อ?
คุณนภดล :
มีๆ ส่วนหนึ่งก็ไป ไอ้ที่อยู่ที่นี่ก็พลาดบรรยากาศเหมือนกัน ผมก็ไปกับเขา ก็เดินกับไปสถานีรถไฟ ประมาณสัก ตี2 ตี3 ตี4 รถจะเข้ามาประจำ ทุกคันไปกรุงเทพฯ ตอนนั้นรู้สึกถูกต่อต้าน นายสถานีโกหก วันนี้รถตกราง รถไม่มา พอบอกไม่มา บางคนก็เหมือนกับว่าอยากไปแล้วไม่ได้ไปน่ะ ทั้งผู้หญิงทั้งผู้ชายแต่ก็ไปรอกัน บางทีเขาก็บอกว่า ก็ลวงให้เราเดินไปอีก 2 กิโลฯ เดี๋ยวรถจะไปจอดรับที่นั่น แบบหลอกเรา แต่ผมรู้ว่ามันหลอก เพราะว่าผม...ผมคิดว่าผมเป็นคนฉลาดคนหนึ่ง ผมรู้ว่ามันหลอกแน่ ผมก็ไม่ไป ผมบอกว่าอย่าไปเดิน บางคนก็บอกว่าจะตีตั๋วไป 4 บาท 50 สตางค์ เสียดาย เก็บไว้ใช้อย่างอื่นดีกว่า ผมก็ไม่ตี แต่ผมก็ดูว่าผู้นำผมน่ะ ขี้ขลาด ตีตั๋วอยู่คนเดียว ตีอยู่ 4-5 คนไง ไม่ตีทั้งหมดไง ตีเฉพาะเขา ผมก็มองว่า โห!ผู้นำเราเนี่ยแย่ แย่มากๆ ผู้นำนักศึกษา คือ มันไม่มีสปิริตน่ะ ผมไม่ได้กล่าวร้ายเขานะ แต่เขาน่าจะลืมความเป็นผู้นำน่ะ ผมก็แอบๆเขม่นเขาอยู่ในใจ ไปก็ไป คุณไปประท้วงรัฐบาลใช่ไหม คุณก็ยึดรถไปสิ ในที่สุดก็ยึดรถไฟไปจริงๆ ขึ้นไปรถไฟมันมาจอด คือมันก็รอไว้นะ รอให้คนสลายตัว แต่ในที่สุดรถไฟมันก็ต้องเดินทาง ถ้าไม่เดินทาง ไอ้คันต่อมาก็เดินไม่ได้ มันก็ตันๆกันอยู่ตรงนั้น ในที่สุดมันก็มาๆ ก็ขึ้นไฟ ขึ้นไปก็ไปลงที่สถานีสามเสน ตอนนั้นเดินจากสามเสนเข้าไปธรรมศาสตร์ ไกลนะ ผ่านสวนจิตรลดา

ผู้สัมภาษณ์ : เป็น 10 กิโลฯ เลยนะ
คุณนภดล :
ไปถึงโน่นก็ประมาณสัก 2-3 โมง

ผู้สัมภาษณ์ : 2-3 โมงเช้า?
คุณนภดล :
เช้า ประมาณ 8 โมง

ผู้สัมภาษณ์ : ออกจากนี่ประมาณกี่โมง?
คุณนภดล :
ตี3 ตี4 แล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : ก็นั่งรถไฟชั่วโมงเดียว ที่เหลือคือเดิน?
คุณนภดล : เ
ดินไป ก็ไปอยู่ที่นั่นแหละ ผมน่าจะไปค้างที่นั่นคืนหนึ่ง มีการแสดงละครล้อการเมือง ที่ไปเนี่ยมันทะลักแล้ว มันก็ไม่ถึงกับเต็มสนามฟุตบอลหรอก ก็เยอะแล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : แต่ตอนนั้นคือตอนที่นั่งรถไฟไปกับหลายร้อยคนนี่ ตอนนั้นมาอยู่ที่สนามฟุตบอลแล้ว?
คุณนภดล :
สนามฟุตบอล มันทะลักแล้วลานโพธิ์มันไม่อยู่แล้ว มีเต็นท์ มีค่ายของช่างกล มีกลุ่มมีอะไร รอบสนามบอล แต่ไม่ถึงกับแน่นหรอก แต่ละที่จะมีซุ้มการแสดงของเขาเอง ล้อการเมือง มีการ์ตูนวาดเอง พวกนักศึกษาเพาะช่าง พวกศิลปินเขาจะออกไอเดียล้อเลียนรัฐบาล อันนี้ผมชอบ ผมอ่านหนังสือประจำ ผมดูตั้งแต่เขาประท้วงสงครามเวียตนาม ผมรู้สึกชื่นชมเขา John Lennon นี่ผมก็ชอบเขาว่าเขาช่างกล้าหาญ เป็นฮีโร่ของผมนะ เขากล้าประท้วงกับสิ่งที่มันเป็นอำนาจ ภาพขนระเบิด ภาพอะไรมันเยอะ สงครามเวียตนามนี่ ทำให้ผมรู้จักสงครามดี ทั้งๆที่ความเป็นวัยรุ่นสมัยนั้นมันอินเตอร์มากเลย ฟังเพลงของ Elvis Presley อะไรอย่างนี้ รู้มั่ง ไม่รู้มั่ง มานั่งแกะนั่งแปลกันบ้าง เป็นบุปผาชนด้วย รู้สึกเข้าใจด้วย เข้าใจคำว่า บุปผาชน เสรีภาพ สงคราม สันติภาพ อะไรอย่างนี้

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่ได้เข้าไปร่วม หรือไปดูเฉยๆที่เต็นท์ช่างกล?
คุณนภดล :
ความร่วมมืออย่างเดียวคือไปชุมนุมให้มีคนเยอะๆ

ผู้สัมภาษณ์ : ระหว่างนั้นคือเดินดู หรือว่าอะไร?
คุณนภดล :
ก็เดินดู นั่งดู ไปถึงเพื่อนก็แยกๆ แตกๆ กันแล้ว เป็นกลุ่มกันแล้ว จาก 200-300 ไปไหนหมดไม่รู้ ที่จริงเหลือสักแค่เกาะกลุ่มกันได้ไม่ถึง 20 คน โดยประมาณ บางคนกลับบ้านไปแล้วก็มี เพราะโรงเรียนมันปิดแล้ว จนกระทั่งมีเส้นตาย เส้นตายประมาณเที่ยงวันหรืออะไร จำไม่ได้

ผู้สัมภาษณ์ : ใช่ น่าจะเที่ยง
คุณนภดล :
เส้นตายว่า รัฐบาลไม่ยอมอะไรอย่างงี้ เงื่อนไขของมันคือว่า ปล่อยกบฏรึเปล่า?

ผู้สัมภาษณ์ : ใช่ครับ
คุณนภดล :
ปล่อยกบฏ 13 คน แล้วก็รัฐธรรมนูญด้วย ที่จำได้ที่สุดตอนนั้น ผมจำเสกสรรค์ ประเสริฐกุลได้ ชอบเขามาก นั่งดูหมอนั่นพูด ชอบ ผมชอบคนนำทัพแบบนี้ มันมันเวลาพูด คนอื่นพูดก็มัน แต่คนนี้ผมชอบ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วไปค้างคืนที่นั่น คืนนั้น?
คุณนภดล :
ก็อยู่ตรงนั้นแหละ อยู่จนรู้สึกว่ากางเกงจะกัดแล้ว คืนนั้นแค่ 2 คืน เริ่มจะมีปัญหากับต้นขาแล้ว เพราะว่า ไม่อาบน้ำน่ะ กางเกงมันกัด เหนียวๆ เราก็ทนเอา ห้องน้ำก็ลำบาก ก็อยู่กันไปไม่รู้ว่าเพราะอะไร มันเพราะว่าเขาอยู่กัน รึว่าต้องการสู้ก็นึกไม่ออกเหมือนกัน หาข้อสรุปไม่ได้ แต่สัญชาตญาณคือมันจะอยู่ มันก็อยู่ไปถึงเที่ยง ร้อนก็ร้อน เขาก็พับหมวกกระดาษมาแจก แต่มันก็ไม่ได้กันอยู่หรอก กระดาษหนังสือพิมพ์พับแล้วเอามาคลุม มันไม่ได้แก้ร้อนหรอกแต่ว่ามันทำให้รู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่หลายๆอย่าง คือมันหลากหลาย ไอ้ที่มันคิดอะไรมากมายมันก็ดูดี มันก็จะไม่มีสีอื่นแปลกปลอม มีแต่ชุดนักศึกษาซะส่วนใหญ่ กางเกงขาสั้น ขายาวก็แล้วแต่ ส่วนมากทุกคนจะเป็นวัยเดียวกันหมด เป็นอะไรที่เรารู้สึกว่าอบอุ่น รู้สึกว่ามีพลัง แล้วก็ได้ร่วมเดินทางไปกับเขา

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นที่เคลื่อนออกจากมหาวิทยาลัยพี่ก็อยู่ด้วย
คุณนภดล :
ไปๆ ไปอยู่ด้วยกัน คนเยอะมาก เยอะมากๆ ผมก็มาเจอเพื่อน ก็เดินไปด้วยกัน อยู่กันทั้งคืนน่ะ ไปอยู่ไปพักที่เฉลิมไทยก็มาอาหารมาให้กิน ผมก็เหมือนไปแย่งชิงนะ

ผู้สัมภาษณ์ : เฉลิมไทยคือตรงผ่านฟ้า?
คุณนภดล :
ลานเจษฎาบดินทร์น่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ
คุณนภดล :
พักอยู่ตรงระหว่างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก็พักอยู่ตรงนั้น นานแสนนาน จนกระทั่งมีข้าวมีอะไรมากิน ก็ไม่ได้อิ่มนักหรอก ก็แบ่งกันกิน ผมก็บุกตะลุยไปหาข้าวมากิน แบ่งๆกันกิน ไม่เหมือนประท้วงสมัยนี้ มีสปอนเซอร์ แต่ก่อนมันยาก มีน้อย ไม่ง่ายๆอย่างนี้ ข้าวก็ไม่ใช่กล่องโฟม เป็นอะไรที่เป็นห่อๆ น่าจะเป็นถุงพลาสติกหรือใบตองด้วยซ้ำ ก็อยู่จนกระทั่งมันคืบไปเรื่อยๆ จนไปถึงสวนจิตรก็ใช้เวลาเป็นคืน หลายชั่วโมงนะ จนกระทั่งไปถึงสวนจิตรเนี่ย ขบวนไปถึงลานพระบรมรูปทรงม้า มันขยับไปเรื่อยๆ ค่อยๆไป มันเยอะมาก มาเห็นภาพตอนหลังมันเยอะจริงๆ เพราะเราเป็นจุดเล็กๆอยู่ท่ามกลาง ไม่ได้อยู่ที่สูงที่มองมุมกว้าง คืนหนึ่งก็ไปนอนหน้าสวนจิตร เขาตีกัน ตอนนั้นกลางคืนไม่แน่นหรอก มันก็ยังวิ่งไปวิ่งมา เดินไปเดินมาได้ ผมก็เดินดูเขาปราศรัยตรงลานพระบรมรูปทรงม้า ใกล้ๆกันน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นขบวนเป็นไง รถหลายคันรึเปล่า?
คุณนภดล :
น่าจะมีรถคันเดียวนะ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วคุมคนทั้งหมดเหรอ?
คุณนภดล :
มันน่าจะคันเดียวที่เห็น

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพูดอะไรอย่างนี้ ได้ยินไหม?
คุณนภดล :
ได้ยินๆ เราได้ยิน ส่วนใหญ่มันก็จะตามกันไป มีรถบัญชาการอยู่คันหนึ่ง ประมาณรถ 6 ล้อน่ะ ผมจะจำเสกสรรค์ คนอื่นผมจำไม่ได้

ผู้สัมภาษณ์ : พอไปนอนแถวๆหน้าสวนจิตรแล้ว...
คุณนภดล :
นอนผมก็ไม่ได้นอนหรอก ผมก็จะเดิน นิสัยมันอยากรู้อยากเห็น ตี3 ตี4 แล้ว ตอนนั้นมีวัยรุ่นเกๆเยอะ นักศึกษาเกก็เยอะ กรุงเทพฯมันไม่เหมือนบ้านเรา เมากันก็มี จิ๊กโก๋กรุงเทพฯน่ะ ตบตำรวจ คนมันห้าว เห็นกับตา แทงตำรวจ คุมกันไม่ได้หรอก ผมนี่ชักเสียว เสียวมากๆ คนคุมไม่ได้แล้วตอนนั้น เห็นแล้วก็ตำรวจก็เอาออกไป ห้ามๆกันไป เหมือนกับว่าตำรวจเขาก็ไม่กล้าหรอก เพราะว่าตำรวจส่วนน้อย เสร็จแล้วช่วงเช้าผมก็จะกลับบ้าน พาพวกสักประมาณ 40 คนกลับ น่าจะตอนเช้ามืด ออกจากกรุงเทพฯมาช่วงตี 5 กว่าๆ ถึง 6 โมง มันเหนื่อย ผมไปแล้ว ตอนที่เขาตีกัน ยิงกัน ผมไม่อยู่

ผู้สัมภาษณ์ : น่าจะหลังพี่ออกไปไม่กี่ชั่วโมง
คุณนภดล :
แป๊บเดียว ผมขึ้นรถไฟไปแล้วนะ ก็มีคนวิ่งตามมา บอกพี่อย่าเพิ่งไป กลับมา ตำรวจตีเละหมดแล้ว ผมก็ออกมา ผมก็ลงดิ ไอ้ความที่เป็นวัยรุ่นก็กระโดดลงกันมา ลงมา 20 คน ส่วนหนึ่งน่ะไปแล้ว ผมจับกลุ่มกับเพื่อนได้ ก็พากันไปพาไปที่สวนจิตรน่ะแหละ มันวุ่นวาย มีการยิงแก๊สน้ำตากันบ้าง ตีกันบ้าง วุ่นวาย จลาจล แล้วผมก็กลับไป เห็นซาก เห็นอะไร เห็นคนร้องไห้ นักศึกษาโวยวาย ซึ่งตำรวจก็ไม่ได้รุนแรงอะไรมากมายนะ เขาก็ตั้งแถวของเขาอยู่ แต่น่าจะโดนไล่ตีกระเจิงลงไปในน้ำเยอะ วุ่นวาย แต่เขาก็คุมสถานการณ์ ผมก็เดินทางไปในธรรมศาสตร์ นับจำนวนแล้วเหลือ 10 กว่าคน

ผู้สัมภาษณ์ : ไปยังไงพี่ เดิน?
คุณนภดล :
เดิน ไกลเหมือนกัน เดินไปในธรรมศาสตร์มันก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มีการปราบปรามขึ้นเรื่อยๆ

ผู้สัมภาษณ์ : ในธรรมศาสตร์ตอนนั้นเป็นไงบ้าง?
คุณนภดล :
เตรียมแจกผ้าคลุมพลาสติก คลุมกันแก๊สน้ำตา แจกแป๊บเหล็ก เขาจะตัดเหล็กประมาณ 3 หุน ไว้เยอะ เอาไว้ป้องกันตัว แล้วก็มีผ้าชุบน้ำหนึ่งผืน สรุปแล้วมี 3 อันประจำตัว เป็นนักรบแล้ว มันก็วุ่นวาย ผมไม่รู้ว่าทหารเขาก็ยกกำลังกันมาแล้ว เขาก็บีบ เขาก็ไล่มาจากทางราชดำเนินน่ะ ไล่มารวมกันในธรรมศาสตร์ ตอนนั้นผมกับพวกก็คิดออกไป ออกไปปุ๊บ เขาก็ยิงแก๊สน้ำตามา เราก็หายใจเอาออกซิเจนในถุง ช่วงที่ผมอยู่ตรงนั้นก็มีคนบริจาคตังค์ บริจาคเยอะ เยอะมากๆ เยอะจนคิดไม่ถูกว่าขนาดไหน ให้ส้มเป็นเข่งๆ สิบกว่าคนก็เอาส้มเข้าธรรมศาสตร์ อะไรที่เขาให้เอาหมดแหละ ส่วนใหญ่เป็นอาหาร เขาบอกน้องๆเอาไปเลน ขนไปเลย ไม่ขายแล้ว ให้ตังค์มาอีก เต็มถุงเลย แบงค์ 20 แบงค์ 100 เต็ม เหรียญก็เต็มถุง ผมก็เอาถุงนั่นไปให้เขา ซึ่งเหมือนกับว่าเขาก็ไม่ได้เห็นความสำคัญอะไรมากมาย แต่ผมคิดในใจ ผมให้ไปแล้ว ใจผมอยากให้ ให้เขาต่อสู้ เสร็จแล้วก็ออกมา เฮลิคอปเตอร์มา เจอรถถัง เจอคนยิงกันอีกที่โรงแรมรอแยล มีบังเกอร์ มันยิงมา เราก็หมอบ จนในที่สุดก็ต้องสู้ ผมเห็นคนนึงใช้ปืนยิงตำรวจ ชักปืนสั้นยิง ตำรวจล้มเลย โดนที่ขา ยิงเขาไป ตำรวจก็ยิงมา สุดท้ายตำรวจขาหัก ตามข่าวนะ แล้วสักพักหนึ่งรถถังก็มากันเต็ม ก็มีคนสู้นะ ขับรถเมล์ไปชน ผมก็เหมือน กับใจจะขาด 2 วันแล้วเราไม่ได้นอน ชุดนี่เป็นผ้าขี้ริ้วเลย ดูไม่ได้เลย ผมก็เดินเลี่ยงแล้ว ผมปะทะกับตำรวจแล้ว ทหารก็แต่งชุดกันแก๊สน้ำตามา ผมก็โดนแก๊สน้ำตาไปหลายอึก โดนจนรู้ว่ารสชาติมันเป็นยังไง เดินไปที่วัดชนะสงคราม พอดีมีเพื่อนคนหนึ่ง เพื่อนผู้หญิง เคยเรียนที่นครนายกด้วยกัน รู้จักบ้านเขา ก็เข้าไป เขาก็ตกใจ เอาเสื้อให้เปลี่ยนตัวหนึ่ง เสื้อเราเขาก็ถอดไปซักให้ ผมก็ใส่เสื้อเขากลับมาบ้าน

ผู้สัมภาษณ์ : กลับมายังไง?
คุณนภดล :
ก็รถไฟ

ผู้สัมภาษณ์ : ขึ้นที่ไหน?
คุณนภดล :
ขึ้นที่สามเสน กลับบ้านเพื่อจะไปนอนสักคืนหนึ่ง แต่ผมก็ไม่ได้อยู่บ้านนะ ผมเช่าบ้านอยู่กันสักประมาณ 20-30 คน แก๊งใหญ่ๆ

ผู้สัมภาษณ์ : ที่เรียนที่วิทยาลัยครูด้วยกัน?
คุณนภดล :
ใช่ๆ ใครจะมาก็มา มันอยู่ในสวนน่ะ มันไม่รบกวนใคร เช่าบ้านในสวนเขาอยู่ ไฟก็ไม่มี จุดเทียนเอา มีน้ำก็ตักในบ่อ เราก็มีประสบการณ์ รู้หมดเลย อย่างสาเหตุอะไรก็เล่าให้เพื่อนเขาฟัง เพื่อนก็มานั่งฟังว่าเหตุการณ์อะไร แต่เพื่อนเราสันดานประชาธิปไตยไม่มีมันหรอก เพราะว่ามันไม่รู้จัก มันมีเสรีภาพอยู่แล้ว ผมน่ะกรุ่นแล้ว คิดแล้วว่าแม่งยิงเรา ไอ้ความเป็นวัยรุ่นก็แค้นอยู่ในใจ หลังจากคืนนั้นก็ไม่ได้ไปที่วิทยาลัยครูนะ เพราะว่าระยะทางมันไกล ผมเหนื่อย เช้าผมก็จะไปอีก ไปกรุงเทพฯ ผมก็คิดแล้ว มือเปล่าสู้ไม่ได้ หาปืนแม่งสักกระบอก คิดในใจปืนก็ไม่มี ป้อมตำรวจมีปืน คิดเล่นๆนะ พอดีเดินไปเดินมา ก็เจอเพื่อนที่เรียนอยู่ที่ช่างกลพระนครเหนือ เทคนิคไทย-เยอรมัน เดินสวนมาร้องไห้มา เพื่อนกูตายหลายคนเลย มันจะจริงเท็จผมไม่รู้ แต่ผมเชื่อปั๊บเลย พูดจบปุ๊บก็ ไป! สู้! มันก็ไปด้วย เพราะความเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เด็ก มันเรียนกรุงเทพฯ วิ่งเล่นกันมาตั้งแต่เด็ก ถามมันจะไปมือเปล่าเหรอ เดี๋ยวหาปืนก่อน มันก็ไม่ได้คิดอะไร ไปถึงก็ลงรถตุ๊กตุ๊ก พ่อเพื่อนขับรถตุ๊กตุ๊ก มึงอย่าไปนะ เขายิงกันตาย เราก็สัญญาแบบวัยรุ่นแล้วว่าจะไป พอลงรถปุ๊บ เหลือบไปเห็นตำรวจกลับบ้านพอดีเลย ออกเวรน่ะ ชักจากซองตำรวจได้ เรื่องมันใหญ่เลย เราก็เอาปืนจี้หัว เขาก็ยกมือให้ปืนไป ขณะเดียวกันเขาก็วิทยุไปแจ้งโรงพัก โรงพักเขาก็ล่าเรา ผมก็วิ่งข้ามสถานีรถไฟ ผมทำไปได้ไง ผมนึกไม่ออก ถือมาคนตบมือลั่นเลยนะ

ผู้สัมภาษณ์ : ถือไปที่ไหน?
คุณนภดล :
วิ่งผ่าสถานีรถไฟไปเลย เดินไปอีกฟากหนึ่ง ชาวบ้านแถวนั้นเขาก็รู้จักผม ผมก็เล่าให้ฟัง เขาก็ช่วยกันตำรวจในขณะที่ผมหนี เขาก็ตามล่า เขาก็ออกรถตามจุดต่างๆในเมือง รถฉลามบกน่ะ ไฟแว้บๆ ลำโพงดังๆ เราอยู่ในทุ่งก็ได้ยิน ออกมา ยอมจำนนเสีย ผมก็หนีไปจนได้ น่าจะเป็นวันที่ 15? นะตอนนั้น ผมก็เข้าไปโรงเรียนที่ผมเคยสอน โรงเรียนวัดจีนน่ะ เข้าไปก็ประกาศ ปืนนี้แย่งมาเนี่ย บอกว่าจะไปต่อสู้ เด็กก็ตบมือ ครูก็ตบมือให้ เหมือนกับว่าเห็นเราเป็นคนต่อสู้ ก็ช่วยกันให้ตังค์ได้มา 400 กว่าบาท ผมก็ไปกับเพื่อน ไปที่ท่าเรือ ผมก็เหมาเรือไปบางปะอิน ตอนนั้นสัก 2 โมงเช้า เหมาเรือหางยาวเลย พอเห็นปืน คนขับก็กลัว เลี้ยวกลับ ผมบอกเลี้ยวกลับทำไม ผมไม่ยิงคุณหรอก ให้ตังค์ไปเลย ไม่ต้องบอกราคา 200 บาท แล้วนั่งรถเมล์จากบางปะอินเข้ากรุงเทพฯ เจอทหารอากาศบุกขึ้นมาบนรถ ค้น ปิดไม่ให้นักศึกษาเข้ากรุงเทพฯ วันนั้นผมไม่น่าจะแต่งชุดนักศึกษา ชุดปกติ น่าจะมีย่ามสักใบ ปืนอยู่ในนั้น ทหารก็ขึ้นมา ผมฉีกเบาะฟองน้ำ เอาปืนยัดเข้าไป เขาก็มาค้นย่าม รอดไป ก่อนถึงกรุงเทพฯก็ไปหาพ่อ หิวข้าวมาก พ่อทำงานอยู่โรงพิมพ์ แถวเพชรบุรีตัดใหม่ เล่าให้พ่อฟัง เอาปืนมาเนี่ย จะไปสู้เขา พ่อก็บอก ขอปืนให้พ่อเถอะลูก เราก็ไม่ได้ปืนไป พ่อก็เอาปืนไว้ เอาไปคืนให้ตำรวจ ตำรวจเขาก็ดีใจ เพราะว่าปืนของหลวง ทำหายเขาก็ซวยไป ในที่สุดก็ไปไม่มีปืน ขึ้นรถเมล์ไป บังเอิญรถเมล์คันนั้นถูกนักศึกษายึด แล้วมันก็ไม่เข้าธรรมศาสตร์ แล่นทั่วเมืองเลย เราก็นึกโมโห เราจะไปธรรมศาสตร์ ที่สุดก็ไม่ได้ไป จนกระทั่งไปจอดอีกทีที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เฮ้ย! เราชนะแล้ว ไปถึงกี่โมงผมก็นึกไม่ออก จบสิ้นแล้ว รัฐบาลยอมออก ผมก็ไม่ได้ต่อสู้อะไร ไม่ได้อะไรเลย ถือว่าบทบาทวันนั้นอยู่กับรถเมล์กับเรือ ความตั้งใจที่จะยิงทหารมันก็ไม่เกิด ในที่สุดเขาก็ฉลองชัยชนะกัน

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่กลับไปยังไง?
คุณนภดล :
ก็อยู่ดูเขา เพื่อนผมก็ไปเจอพวกช่างกล ก็กลับแยกกัน เหลือคนเดียว ตังค์มีอีกหลายร้อย หิวก็กินได้แล้ว พ่อก็เลี้ยงข้าวมาแล้ว ตอนนั้นพ่อขอร้องว่า ถ้าจะสู้ ก็สู้ด้วยมือเปล่า เขาก็ภูมิใจ เราจะไปให้ได้ พ่อก็ไม่ห้ามนะ แล้วผมก็กลับมาบ้าน กลับมาตอนนี้ความคิดเปลี่ยนไปเลยนะ เห็นความตายต่อหน้า เห็นคนยิงกัน เห็นความอดอยาก มันก็มารวมกันในสมองเรา ไม่ได้เรียนอีก 1 เทอม ตอนนั้นเสรีภาพอาบร่างเลย วันนั้นเปลี่ยนชีวิตเลย จากความแค้นจนมาได้รับชัยชนะ เพี้ยนไปพักหนึ่งเลย จนกระทั่ง พ่อก็สงสัย พ่อก็เข้าใจว่าเราเด็กไม่เหมือนคนอื่นเขา คนอื่นเขาไม่ได้ทำอย่างเรา ครูก็เริ่มจะเตือนแล้วว่าพฤติกรรมไม่ค่อยดี

ผู้สัมภาษณ์ : พฤติกรรมที่เพี้ยนนี่ยังไง?
คุณนภดล :
ไม่ค่อยไปโรงเรียน ไม่กลัวใคร จิ๊กโก๋อย่ามาแหยมเลย เหมือนกับว่ามีพลังอยู่ภายในกลับมา เตะเพื่อนกู กูชก กูตี อย่างนั้นเลย กลายเป็นนักเลงใหญ่เลย แต่ไม่ได้เกเรใครนะ กลับมาวิทยาลับครูสักพักก็โดนจิ๊กโก๋ตีในวิทยาลัย จิ๊กโก๋เข้าใจผิด จะมาตีอีกคนหนึ่ง ตีผมเข้า ซวยเลย ก็ไปแจ้งฝ่ายปกครอง บอกอาจารย์ทำไมปล่อยให้บุคคลภายนอกเข้ามาทำร้ายร่างกายถึงกับชีวิตและทรัพย์สิน ครูก็บอกจะให้ครูทำไง ผมก็เรียกเด็กมาเลยเพราะผมเป็นหัวหน้าห้อง เรียกมาห้องประชุม เชิญฝ่ายปกครองมา คุยกับฝ่ายปกครอง จนกระทั่งเริ่มเป็นที่รู้จักของครูอาจารย์ เขาก็จะมองสะท้อนความคิดว่าไอ้นี่แปลกๆ ความคิดเปลี่ยนไป เป็นผู้พิทักษ์สิทธิมากขึ้น จากที่ไม่ค่อยสนใจอะไร ก็กลายเป็นกระบวนการทางความคิด

ผู้สัมภาษณ์ : โดยที่ไม่มีการจัดตั้ง?
คุณนภดล :
ไม่มี ไม่มีใครมาจัดตั้ง กลายเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าห้อง โตกว่าเพื่อน 3 ปี ผมบอกโดนตีอาจารย์แก้ไขอะไรไม่ได้ พรุ่งนี้ผมจัดการเอง เขาก็คิดว่าพูดไปงั้น เช้ามาผมเอาปืนลูกซองใส่ย่ามไป เดินไปตามล่ามัน มัน 10 กว่าคน ผมคนเดียว เข้าไปถาม ไอ้ที่มาเมื่อวาน เป็นใคร ชื่ออะไร ตีผมเนี่ย เพราะมันแต่งชุดโรงเรียนนี้ไป ไปบอกมันด้วยเย็นนี้ต้องมามอบตัวกับผม ถ้าไม่ไปผมไม่รับผิดชอบ ตอนกลับมานี่หลังจากไปร่วมชุมนุมที่วิทยาลัยครูเวทีใหญ่กว่าเดิม คนแน่นเลย ผมหายไป 4-5 วันก็ยังมีอยู่นะ

ผู้สัมภาษณ์ : ที่ไหน ที่วิทยาลัยครู?
คุณนภดล :
เวทีตั้งแต่วันแรกน่ะ มันก็ยังใหญ่ขึ้น คนก็มาฉลองชัยกัน ผมกลับมาเหมือนวีรบุรุษเลย เพราะมีคนลือว่าผมถือปืนไป รองผู้อำนวยการ รองอาจารย์ใหญ่เข้ามากอด คนเขาก็ไปบวชกัน อุทิศให้วีรชน ผมก็สวนทาง บวชไป กูจะไว้ผมยาว

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วเรื่องคดีปืนนี่เป็นไง?
คุณนภดล :
นิรโทษกรรม สวยหรู คือชนะแล้วจบเลย ไม่มีเรื่อง ออกนิรโทษกรรมทันที ปืนเขาก็ได้คืนไป

ผู้สัมภาษณ์ : กลับมาต่อ กลับมามีเรื่อง
คุณนภดล :
ผมก็ไม่ค่อยได้เรียน เดินเตร่อยู่ นานๆมาสักวิชาหนึ่ง เรียนเพื่อจะสอบใบประกาศนียบัตรให้ได้ จนกระทั่งสอบจบ จบแล้วก็ไปเรื่อยๆ ตอนนั้นธรรมศาสตร์เกิดกิจกรรมมาเรื่อยๆ มีหนังสือวิชาการ หนังสือก้าวหน้า ชีวทัศน์ บางทีเขาก็แจกฟรี

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นก็ยังไป?
คุณนภดล :
ไปเหมือนเดิม

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วหลังจบนี่ เป็นครูหรือเปล่า
คุณนภดล :
ไม่ดิ มันไม่จบ ก็ไปสอบต่อ 2518 ตอนนั้นมีปัญหาเข่นฆ่าในสังคมเยอะ มีพรรคสังคมนิยม มีการต่อต้าน มีซ้าย-ขวา ผมก็ยังไม่เป็นอะไร ไม่มีสังกัด ไม่มีจัดตั้ง ไม่มีซ้าย-ขวา สอบเข้าชั้นระดับต่อมา เอกภาษาอังกฤษได้ ได้เป็นประธานด้วย ด้วยความที่เข้ากรุงเทพฯประจำ มีจุดเปลี่ยนอีกจุดหนึ่ง ที่นั่งในสภานักศึกษามี 13 ที่ มาจากชมรมต่างๆ ผมก็ชมรมสื่อมวลชน ผมตั้งของผมเอง มีสิทธิในการเบิกเงินกิจกรรม ผมมีสมาชิกมากกว่าใครเลย เพราะว่าเอาจากคนที่เรียนไม่จบ พวกผมทั้งนั้น ผมทำหนังสือขาย เล่มละบาท ทำเล่นๆ เพราะมีตังค์ให้ทำ รับบริจาคเสื้อผ้า ไปอีสานบ้าง ไอ้ความสำนึกตอนหลังนี่ มันนึกว่าทำไมคนถึงฆ่ากันตายง่ายๆ ชาวนาก็โดนด้วย บ่อยเลย จนกระทั่งเลขาธิการพรรคสังคมนิยม ดร.บุญสนอง โดนยิงตาย ชอบเขานะ เข้าข้างประชาชน ก่อนหน้านั้นผู้นำชาวนาตายหลายคน สหพันธ์ชาวนา-ชาวไร่เป็นเจ้าภาพ ผมก็ไปกรุงเทพฯ ไปได้ข่าวสารมา ถึงบ้านก็รวมเพื่อน มีการเคลื่อนไหวในกรุงเทพฯ ผมก็เรียกเพื่อนมา 5 คน ไว้อาลัยให้กับชาวนาหน่อย เพื่อนก็เอาด้วย ชมรมมีโทรโข่ง พอดีกระทรวงศึกษาธิการเรียกอาจารย์คุยกันไม่ให้มีการเคลื่อนไหว อาจารย์ก็ประชุมกัน เขาก็ไม่ได้ยินหรอก เราเคลื่อนไหวอะไรกัน ผมก็แหกปาก เพื่อนนักศึกษา ดูนะอีกไม่เกินครึ่งชั่วโมง เสาธงจะเปลี่ยนไป ไม่เหมือนเสาธงในทุกๆวัน ถ้าคุณอยากรู้ว่ามันจะเกิดอะไรก็ดู พอได้เวลาปุ๊บ อาจารย์ลงมาดู เราก็ยืนสงบนิ่งหน้าเสาธง ยืนประท้วง 5 คน ยืนอยู่เฉยๆ เราก็ประกาศขอไว้อาลัยให้กับชาวนาที่สูญเสียชีวิตจากการกระทำของรัฐ ลดธงครึ่งเสา เรื่องใหญ่เลย เวลาประธานาธิบดีสหรัฐฯตายทำไมคุณชักธงไว้อาลัยเขา ชาวนาบ้านเราทำไมเสียสละให้ไม่ได้ เราก็เถียง เราก็บอกจะยืนอยู่อย่างนี้ทั้งคืน คนเขาก็สนใจ ในที่สุดพวกเราก็เยอะแล้ว เราก็แจกใบปลิวบ้าง พรุ่งนี้เราน่าจะทำกิจกรรมต่อต้านรัฐ น่าจะมีการเข้าร่วม ผู้อำนวยการไม่ยอม ผมบอกว่ายุคประชาธิปไตยนี่ต้องมาวัดใจกัน ผมบอกไม่รู้ล่ะยังไงพรุ่งนี้ต้องปิดวิทยาลัย ผู้อำนวยการบอกปิดไม่ได้ ฉันไม่ยอมให้ปิด ไม่ยอมได้ไงพวกผมจะปิด ก็เลยตกลงกัน ตั้งกล่องละกัน พรุ่งนี้เป็นวันที่ต้องสอบเทอมต้น อาจารย์ก็ลงคะแนน สอบกับไม่สอบ วัดกันเลย ถ้าไม่สอบก็ปิดไปเลย ถ้าสอบผมก็ยอมไปสอบ เสร็จแล้วปิดมากกว่า ปิดก็คือปิด โรงเรียนก็ต้องสั่งปิด สภาอาจารย์ก็สั่งปิดไม่มีกำหนด รอกระทรวงศึกษาธิการสั่งเปิด ก็ประท้วงอยู่ที่นั่น ขนเครื่องเสียงกันมา บางคนเป็นแนวร่วมคอมมิวนิสต์ ก็เอาเพลงคอมมิวนิสต์มาเปิด ผมได้รับความสนใจจากคอมมิวนิสต์อยุธยา อาจารย์ท่านหนึ่งจัดตั้งเยาวชน เป็นคนก้าวหน้า ท่านจะไปทางลัทธิมาร์คซ์-เลนิน ก็มาคุยกับผมในวันที่ผมปิดวิทยาลัย

ผู้สัมภาษณ์ : อาจารย์นี่คืออาจารย์ในวิทยาลัย?
คุณนภดล :
ไม่ใช่ๆ อาจารย์ที่วิทยาลัยอีกที่หนึ่ง เป็นคนจัดตั้ง แนวร่วมอยุธยาประชาชน แกมีลูกศิษย์สนใจเยอะ แกก็คุยกับผม คืนนั้นเป็นคืนสุดท้ายในชีวิตที่ผมเห็นแก จากนั้นก็ไม่เห็นอีกเลย

ผู้สัมภาษณ์ : ทำไม? เกิดอะไรขึ้น?
คุณนภดล :
เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง ปิดโรงเรียน คนกลับบ้านกันหมดแล้ว กลับไปอ่านหนังสือมาสอบ อยู่ประมาณสัก 10 วัน รัฐบาลก็สั่งเปิด ผมก็มาสอบ บังเอิญวันที่มาสอบผมถูกคุกคามอย่างแรง ผมก็ไม่ได้สอบ โดนวัยรุ่นกลุ่มใหญ่ๆ ท้าชก ผมก็ชกกัน เขาก็บอกกับผมคืนนี้มึงตาย เขาไปที่บ้านกลางสวน เอาปืนอาร์ก้ามายิงผม ไม่โดน ยิงพลาด เราก็ชวนเพื่อนในบ้านออกมาสู้ มาไล่ฟัน หลังจากนั้นผมก็อยู่ไม่ได้ ไม่ได้มาโรงเรียนอีกเลย มาแจ้งความ ตำรวจก็ไม่รับแจ้งความ เพราะเป็นวันที่ตำรวจประท้วง

ผู้สัมภาษณ์ : ตำรวจประท้วง?
คุณนภดล :
ประท้วงเพราะว่า ประท้วงคนที่ไปลุยบ้านคึกฤทธิ์ ผมจำไม่ได้ ผมก็ไปแจ้งความว่าผมโดนยิง ตำรวจก็บอกวันนี้ไม่รับแจ้งความ ผมก็ไปหาผู้ใหญ่บ้าน เขาบอกไม่ใช่หน้าที่ ผมก็รู้สึกเดือดร้อน ตอนหลังผมตามล่าเลยนะ มันยกพวกตีกัน ผมก็ไปแจ้งความคนตีกัน จิ๊กโก๋ก็เหม็นขี้หน้าผม ตำรวจไปตามจับเต็มห้องขังเลย 10 กว่าคน โดนตำรวจตั้งข้อหาภัยสังคม ขังอยู่ 3-4 วัน ผมจึงไปถอนแจ้งความ ตำรวจถึงได้ปล่อย ผมก็มีโจทก์เยอะขึ้นๆ ผมก็หนีไปเลย

ผู้สัมภาษณ์ : ไปอยู่ไหน?
คุณนภดล :
ผมไปอยู่ลำปางก่อน เพราะพี่ชายผมเขาไปได้เมียที่นั่น อยู่นั่นก็ประกาศรถขายยาว่า ถ้าพ่อแม่พี่น้องจะฝากลูกละอ่อนมาเรียนกับครูอู๊ดก็ได้เด้อ

ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้คือที่ลำปาง?
คุณนภดล :
ที่ลำปาง เปิดสอนก่อนวัยเรียน ก็มีคนฝากไว้ 20 กว่าคน เราเลี้ยงเป็นอยู่แล้ว มันเป็นโรงเรียนชนบทจริงๆ

ผู้สัมภาษณ์ : ไปอยู่ในโรงเรียน หรือเปิดของตัวเอง?
คุณนภดล :
อาศัยโรงเรียนน่ะแหละ ตอนอยู่ที่ลำปางเนี่ย ผมอ่านหนังสือพิมพ์ ได้ข่าวอาจารย์ที่คุยกับผมเสียชีวิต โดนยิง

ผู้สัมภาษณ์ : อาจารย์เขามาคุยเรื่องอะไรบ้าง?
คุณนภดล :
คุยว่าเราสมควรแล้วที่จะเป็นนักสู้ ประเทศเรายังมีผู้ด้อยโอกาสเยอะ ผมไปสู้เพื่อชาวนา เขาภูมิใจ ลูกศิษย์เขาก็เพื่อนผมทั้งนั้น นักศึกษาหัวเอียงซ้าย ผมก็ไม่เป็น ถ้าไปต่อสู้จักรวรรดินิยมผมก็เข้าไปร่วมกับเขา อาจารย์เขาโดนยิงตายที่วิทยาลัยอาชีวะของเขา เขามีปัญหาอะไรผมก็ไม่รู้ คนที่ยิงอาจารย์ก็ยิงตัวเองตายด้วยนะ ผมก็ไม่ได้ใส่ใจ ผมรู้จักแกแค่วันเดียว ก็กลับมาบ้าน กลับมาทำงานปักเสาไฟฟ้า ได้ค่าแรงวันละประมาณ 25 บาท

ผู้สัมภาษณ์ : ปักยังไง? แรงคน?
คุณนภดล :
ใช้แรงคน ยกเสาต้นใหญ่ๆน่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : เสาปูนเนี่ยนะ?
คุณนภดล :
เสาปูนนี่แหละ ไม่ได้ปักคนเดียวนะ มีทีมงาน ผมก็มีรายได้ตรงนั้น เริ่มกินเหล้าเป็น ทำงานกรรมกร เราเหมือนผู้ใช้แรงงาน แต่ว่าเป็นปัญญาชนที่ใช้แรงงาน หลังจากนั้นมันน่าจะเกิด 6 ตุลา ตอนนั้นที่บ้านมีโทรทัศน์ ก่อนไปทำงานก็ดู ตอนนั้นจะมีข่าวแรงมาก ข่าวการล้อมปราบในมหาวิทยาลัยธรรมสาสตร์ แต่ก่อนหน้านั้นผมได้เคลื่อนไหวกับเพื่อนๆที่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ ไปแปะโปสเตอร์ คัดค้านการคุกคาม เช่น การแขวนคอของช่างไฟฟ้าเป็นค้น มีการอ่านหนังสือก้าวหน้าร่วมกัน แลกเปลี่ยนกันบ้างในบางประเด็น แต่ไม่สนใจเท่าไร ผมจะเป็นคนที่รับลัทธิมาร์คซ์-เลนินไม่ค่อยจะได้

ผู้สัมภาษณ์ : ทำไม?
คุณนภดล :
ผมไม่มีสมองพอที่จะไปอยู่กับปรัชญาความคิดแบบนี้ พวกวิวัฒนาการทางสังคม ปรัชญาต่างๆ ผมไม่ค่อยสนใจวิชานี้ จนกระทั่งถึงวันที่เขาจับแขวนคอนักศึกษา มีละครล้อเลียนในธรรมศาสตร์ ก็ทำให้เกิดเหตุการณ์ล้อมปราบในธรรมศาสตร์ ผมก็ไปอีก ไปแต่เช้ามืด ภาพต่างๆ ผมเห็นหมด ตอนนั้นก็ช๊อค ไม่เหมือน 14 ตุลา นกสีเหลืองกางปีกโบยบิน ไอ้นี่รู้สึกเหมือนถูกเด็ดปีก เห็นอะไรที่โหดร้ายจนรับไม่ได้

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่ไปยังไงต่อวันนั้น?
คุณนภดล :
ก็กลับบ้าน เลิกทำงานที่ไฟฟ้า ไม่มีแรงทำอะไรเลย ถ้าทำอีกหน่อย คงได้บรรจุเป็นลูกจ้างประจำ นอนอยู่บ้าน พ่อแม่ก็ไม่ว่า ก็เข้าใจผม เหมือนคนลอยๆ ไม่ไปไหนทั้งสิ้น ช่วงที่ว่างๆ มีนักศึกษาธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์เข้ามาในวิทยาลัย มาขอความร่วมมือว่าจะไปออกค่าย ผมว่าง ก็เป็นกรรมการของสภาก็มีสิทธิเบิกงบ พาเขาไป 10 วัน ไปทั่วเลย

ผู้สัมภาษณ์ : นี่คือหลัง 6 ตุลา หรือตอนไหน?
คุณนภดล :
ก่อน 6 ตุลา หลัง 6 ตุลาผมเลิกเรียนไปแล้ว แล้วก็มาเจอเพื่อนที่รถไฟความที่มันว้าเหว่ ไม่รู้จะไปไหน เพื่อนก็บอกไปกับผมเขาสอนอยู่ชนบท เราก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศ เขาก็บอกไปต่อสู้ต่อ เข้าป่าล่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : เขาสอนอยู่ที่ไหน?
คุณนภดล :
แถวๆ ชัยบาดาลนู่น

ผู้สัมภาษณ์ : จังหวัด?
คุณนภดล :
ลพบุรี ชนบทเลย เขาหัวก้าวหน้า ไปอยู่กับเขา 6 เดือน จนกระทั่งผมบอกว่า ผมไม่เข้าป่าแล้ว ผมกลับดีกว่า ผมไม่ไหว ผมคงอยู่ไม่ได้ ไม่มีรายได้อะไร ผมจะไปรับจ้างต้มเหล้า ชักติดเหล้าแล้วตอนนั้น

ผู้สัมภาษณ์ : นี่คือที่ไหน? ลพบุรี?
คุณนภดล :
ลพบุรี

ผู้สัมภาษณ์ : นี่คือยังไง หมายถึงรอเข้าป่า?
คุณนภดล :
รอเข้าป่า 6 เดือนแล้ว ยังไม่ขึ้นเลย

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วเขาจะให้เข้าที่ไหนตอนนั้น?
คุณนภดล :
ผมไม่รู้ เขาปิดลับ เขาเป็นคอมมิวนิสต์พูดต้องกระซิบกันนะ เขาไม่บอกหรอก เขาไม่ไว้ใจผมซะมากกว่าดูท่าแล้ว ผมบอกถ้าไม่ไป ผมจะได้ไป ในที่สุดก็ไป เหมือนกับมันรอให้ปิดเทอมอะไรนี่แหละ สายจัดตั้งพาไป ไอ้คนที่พาไปก็ลาออก อยู่ไม่ได้ มันโดนคุกคาม ก็ส่งผมไป วันนั้นเดือนพฤษภาคา 2520 เข้าป่า

ผู้สัมภาษณ์ : ไปยังไงครับจากลพบุรี?
คุณนภดล :
จากอยุธยาเนี่ย แล้วก็นัดกันไป ไปกัน 5 คนนั่งรถไป

ผู้สัมภาษณ์ : เป็นรถอะไร? รถโดยสาร?
คุณนภดล :
รถสองแถว

ผู้สัมภาษณ์ : เหมากันมา?
คุณนภดล :
เขาก็มา ผมไม่รู้ เขาขนมาจากกรุงเทพฯแล้ว เต็มคันรถ ก็อัดๆกันไป ไปส่งผมคืนนั้นที่แถวๆเลย เพชรบูรณ์ ขึ้นเขาค้อเลย

ผู้สัมภาษณ์ : ไปส่งแล้วเดินต่อ?
คุณนภดล :
เดินจากถนน ก็กลายไปเป็นนักรบคอมมิวนิสต์เต็มตัว

ผู้สัมภาษณ์ : ไปทำอะไรบ้าง?
คุณนภดล :
ไปรบเลย ปฏิวัติประเทศไทยเลย

ผู้สัมภาษณ์ : พี่อยู่หน่วยไหน?
คุณนภดล :
หน่วยรบ อยู่หลายแบบ ทำอะไรได้ก็ทำ ก็ขึ้นชื่อเหมือนกัน อยู่แบบไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคเป็นไม่ได้ ผมเป็นคนเสรี เสรีภาพในความคิดไม่ได้อยู่ใต้บังคับบัญชาเขา ถ้าผมไปเป็นสมาชิกพรรค แล้วไปอยู่ในอาณัติเขาผมก็ไม่เป็น ใครๆเขาก็อยากเป็นกันนะ ผมไม่เป็นอะไรเลย แต่เป็นนักรบที่ไม่เคยทิ้งเพื่อน อยู่ตลอด 4 ปีเต็ม มันมีนโยบาย 66/23 ทำให้เรามีความระส่ำระสาย มีความแตกแยก ต่างคนต่างคิดว่าทำไงดี บางคนก็อยากไปรบในเมือง จรยุทธในเมือง ในที่สุดก็กลับบ้าน ก็ลงมา

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วลงมานี่ต้องไปรายงานตัว ไปมอบตัวรึเปล่า?
คุณนภดล :
บางคนไปนะ แต่ตอนไปผมไม่ได้ประกาศ ลงมาก็ลงมาปกติ กลับบ้านมันแปลกๆ มีวิสัยป่าเยอะอยู่ กลัวไปหมด อยู่ป่านี่มันหวาดระแวงนะ กลัวคนจะมาซุ่มยิง จนกระทั่งไปทำงานมูลนิธิเด็ก ทำอยู่ 4-5 ปี

ผู้สัมภาษณ์ : ไปทำยังไง สมัครเข้าไป?
คุณนภดล :
เพื่อนน่ะแหละ เขาช่วยกันหางานให้ทำ ก็ดึงกันไป ทีแรกขับรถให้เขาก่อน ขับรถให้บ้านทานตะวัน จะเป็นบ้านรับเลี้ยงเด็กขาดอาหาร ก็มีเงินยังชีพอยู่ประมาณเดือนละ 6000 บาท ก็ไปเจอเมีย ได้แฟน ก็เจอกันทุกวัน

ผู้สัมภาษณ์ : ที่มูลนิธิเด็ก?
คุณนภดล :
ก็ชอบกัน แต่งงานกัน ชวนกันทำงาน อยู่ที่นั่น 4 ปี จนจบโครงการ ก็ไปทำงานสถานสงเคราะห์เด็ก ก็ไม่มีอะไรแล้ว ชีวิตของคนเดือนตุลาคนหนึ่ง จะดีใจมากเวลาที่เขามีการชุมนุม ดีใจสุดตอนที่คาราวานมาเล่นคอนเสิร์ต For UNICEF รู้สึกมีคุณค่า เวลามีการรวมตัวกันก็จะไป เปิดอนุสรณ์สถานก็ไป ผมก็ไปนะที่ภูหินร่องกล้า ไปทุกปี

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนี้ก็ยังมีสถูปอยู่?
คุณนภดล :
มี เขาทำเป็นวัดเลยนะ เรียกว่า วัดสามแสงธรรม สามก็หมายถึง 3 จังหวัด ก็คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย มารวมๆกัน มาเจอกัน ตอนนี้แก่กันหมดแล้ว ตอนนั้นผมอายุ 24-25 เป็นทหาร ทหารอันมีเกียรติ ทหารของประชาชน ผมเคยไปทำงาน กลับมาก็ซื้อเหล้ามา มาเลี้ยงเพื่อน ผมกินตอนที่ผมไม่ทำงาน

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงตอนเป็นทหาร?
คุณนภดล :
ตอนเป็นทหาร เขามีวินัยอยู่ข้อหนึ่ง ห้ามดื่มสุราระหว่างปฏิบัติหน้าที่ แต่เวลาพักผ่อนเขาไม่ได้ห้าม เป่าเมาท์ออร์แกน แต่งเพลง มีชีวิตที่เริ่มต้นไปจาก 14 ตุลาที่ไม่ได้ดีอะไรเลย กลายเป็นคนที่ภูมิใจในตัวเอง แม้ไม่ได้ดีในเชิงธุรกิจ

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนี้พี่ทำอะไรอยู่?
คุณนภดล :
ตอนนี้ผมก็ไม่ได้ทำอะไร ช่วงหนึ่งชวนเมียขายข้าวแกง ราคาของมันแพง ช่วงนายกฯสมัคร ช่วงน้ำมันแพงของก็แพง ขายไม่ได้กำไร เลยยุบร้าน ก็มารับจ้างเขาดูแลร้านชำ รายได้เดือนละ 10,000 บาท เวลาลูกไปโรงเรียนก็แทบไม่พอ ยายก็ช่วยบ้าง

ผู้สัมภาษณ์ : ลูกอายุเท่าไร?
คุณนภดล :
อายุ 15 ม.4

ผู้สัมภาษณ์ : มีลูกคนเดียว?
คุณนภดล :
คนเดียว

ผู้สัมภาษณ์ : พี่มองสถานการณ์การเมืองตอนนี้เป็นไง?
คุณนภดล :
ยิ่งกว่าช่วงที่ผมวิกฤติ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วมองเสื้อแดง เสื้อเหลืองยังไง?
คุณนภดล :
ผมเคารพทั้ง 2 เสื้อ ผมเข้าใจ แต่ผมเลือกที่จะอยู่แบบสันติผมก็ไปอยู่เสื้อเหลือง ผมเข้าใจหมด ไม่ใช่ว่าคุณไม่ชอบอำมาตย์ คุณไม่ชอบศักดินา มันก็เรื่องของคุณ แต่ผม ผมก็มีเหตุผลของผม ถ้าถามเหตุผล ผมจะบอกให้ก็ได้ว่า ผมมาด้วยความเป็นทหารประชาชน ผมประเมินแล้วว่า เมื่อประชาชนส่วยใหญ่ยังปรารถนาในสิ่งที่เขายังดำรงอยู่ ผมก็คิดว่าผมก็จะอยู่กับเขา เท่านั้นเอง ตราบใดที่คนละแวกผมเขายังรู้สึกอย่างนั้น ผมก็จะรู้สึกร่วมกับเขา ซึ่งต่างกับตอนที่ผมหนุ่มๆ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วการไปร่วมพันมิตรยังไงบ้าง ตั้งแต่ต้นเลยไหม?
คุณนภดล :
ผมก็ดูโทรทัศน์ เข้าไปเคลื่อนไหว ชอบดูตั้งแต่แรกมาแล้ว ติดตามมาตลอด ผมเข้าใจ การพูดโน้มน้าวทั้งแดงทั้งเหลือง คุณต้องช่วงชิง โดยเฉพาะเมื่อพฤษภาทมิฬ ผมก็ไปจลาจลมาแล้ว เพื่อนผมนี่ก็แดงเลย

ผู้สัมภาษณ์ : เช่นใครบ้าง?
คุณนภดล :
คนที่พาผมเข้าป่านี่ก็แดง ผมก็บอกเพื่อน ผมเป็นเหลือง มันก็เป็นสิทธิของผม ผมเคารพในความคิดคุณอยู่แล้ว ผมไม่เคยหักหลังคุณ ผมเป็นประชาชน ไปหักหลังประชาชนได้ไง ผมปรารถนาสังคมที่ดี ไม่รังเกียจเดียดฉัน มันก็เหมือนกอไผ่คนละหน่อ แยกกันไป แตกกอไป คุณอาจจะไปเป็นซอ คุณอาจจะไปเป็นขลุ่ย คุณอาจจะไปเป็นโปงลาง มันก็เรื่องของคุณ แต่คุณก็มีคุณค่าทั้งนั้น ในยามที่คุณทะเลาะกัน ไม่ใช่จะหมางใจกันไปเลย เพราะชาติและชีวิตคุณเป็นเผ่าพันธุ์อันงดงามมาแล้ว เพียงแต่คุณไม่ได้เข้าวงมโหรีเท่านั้น คุณไปเป็นศิลปินเดี่ยว ผมอาจจะกลายเป็นคนแก่ไปแล้ว ผมเห็นสงครามภาคใต้ ผมก็เข้าใจ ผมก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น แล้ววันนี้ผมก็ไม่เคยร้องไห้ว่า ทำไมผมถึงไม่ได้มั่งมีศรีสุขอะไรกับเขา ผมก็สอนลูกว่า เราก็ดีแล้ว มีชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข แต่เป็นวัยรุ่นก็อยากมีโลกของมันเป็นธรรมดา ผมก็พยายามเข้าใจเขา พยายามประท้วงเล็กๆ เช่น โทรศัพท์บ่อย หนุ่มโทรหาบ่อย ซึ่งผมก็ไม่ได้ก้าวก่ายอะไร ผมก็ปล่อยนิดนึง ถ้าผมเป็นเหลือง คุณเป็นแดง ผมคิดว่าเราคงคุยอย่างสมานฉันท์ได้ ผมไม่เคยคิดเลยว่าสองสีจะมีความคิดแบ่งกัน เพราะต่างฝ่ายต่างคิดดี เพียงแต่ต่างฝ่ายไม่ได้ถนอมรักกัน เราก็สอนลูกว่า ความคิดต่างมันก็คือเสรีภาพแห่งความรู้สึกของมนุษย์ ต่างได้ ถ้าคุณถูกขังไว้ในกล่อง แล้วให้คุณคิด ผมไม่เชื่อว่าคุณคิดว่าคุณอยู่ในกล่อง ผมว่าคุณคิดว่าคุณมีปีก แล้วก็บินไปที่ต่างๆ เสรีภาพและสิทธิเป็นเรื่องสำคัญ ความเสมอภาค ภราดรภาพมันจะมาทีหลัง มนุษย์นี่เริ่มมาจากความรักนะ ไม่มีความชัง ความชังมาสร้างทีหลัง เริ่มมาก็ได้รับการทะนุถนอม ใครๆก็มาจุ๊บๆ ส้นตีนก็จุ๊บ ตูดก็จุ๊บ ได้รับความรักมาแต่แรกเกิด ความชังน่ะมาทีหลัง สันดานมนุษย์จึงมีความรักมาก่อนความชัง