Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Woolrich Outlet

Woolrich

hogan

hogan

hogan

Hogan Sito Ufficiale Hogan Scarpe Hogan Outlet Hogan Scarpe Hogan Hogan Scarpe Hogan Interactive Hogan Donna Scarpe 2013 Hogan Scarpe Outlet Hogan Vendita Hogan Hogan Scarpe 2013 Hogan Scarpe Hogan Scarpe Hogan Hogan Outlet Hogan Scarpe Outlet Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Hogan Outlet Scarpe Hogan Hogan Sito Ufficiale Scarpe Hogan2013 Hogan Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Donna Hogan Interactive Hogan 2013 Hogan Online Hogan Italia Hogan Scarpe
woolrich ASK Hollister Hollister abercrombie abercrombie abercrombie abercrombie woolrich parka Hollister Holliter France Hollister Hollister France Magasin Vetement Hollister Hollister Soldes Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Vente Hollister En ligne Hollister 2013 Hollister France Hollister France 2013 Hollister Hollister Hollister Magasin Hollister Vente Hollister Homme Hollister Pas Cher Hollister T Shirts Hollister Paris Boutique Hollister Vetements Boutique Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Hommes Hollister France Vente Hollister Hollister sortie 2013 Pas Cher Hollister Hollister Pas Cher

บทสัมภาษณ์ - ประยุทธ อุดมจรรยา
วันที่ 22 พฤษภาคม 2552 เวลา 13.00 น.
สถานที่ ที่ทำงาน บริเวณใกล้วัดสามปลื้ม
ผู้สัมภาษณ์ : นายชัยวัฒน์ ตรีวิทยา

ตามโครงการของมูลนิธิ 14 ตุลา ในการรวบรวมปากคำของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อไป


ผู้สัมภาษณ์  : อยากให้พี่เล่าประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว เกิดพ.ศ.อะไร ทำนองนี้นะครับ
คุณประยุทธ  : ผมเกิดปี พ.ศ. 2497 ครับ เป็นคนจีนอยู่แถวเยาวราช เดิมเรียนที่โรงเรียนเซนต์คาเบียล ตั้งแต่ ป. 1 จนถึง มศ.5 เรียนที่เดียวเลยครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : ตอน ป. 1 นี่ซักประมาณ ปีไหนได้ครับ
คุณประยุทธ  : จำไม่ได้ครับ คือเข้าตามเกณฑ์นะครับ อายุ 7 ขวบ สมัยนั้นยังมีรถราง ผมยังจำได้ว่าขึ้นรถรางเที่ยวสุดท้ายมันวิ่งไปทางแม้นศรี ไปทางเซนต์คาเบียล ไปเรียนก็ขึ้นรถรางไป เคยขึ้นรถรางได้อยู่สองครั้งแล้วมันด็เลิกไป

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนนั้นรถรางราคาเท่าไหร่ครับ
คุณประยุทธ  : ไม่ทราบครับ ผมไปกับพี่ชาย เป็นเด็กเขาไม่คิดเงินครับ สมัยก่อนยังมีร่องรอยรางเหลืออยู่เลย และก็เรียนมา สำหรับความคิดทางการเมืองผมก็ไม่ได้มีอะไรมาก ช่วงนั้นมันจะมีแผงหนังสือขายตรงแถวถนนเยาวราชนี่ครับ มีหนังสือ นิตยสาร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ฉบับนักศึกษา เราก็ไปยืนอ่านแล้วก็เลยซื้อมา ความคิดมันก็แปลกดี

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนนั้นนี่ซักประมาณ ม. ไหนได้ครับ
คุณประยุทธ  : มศ.4 ครับ เมื่อก่อนในโรงเรียนก็จะอ่านของคึกฤทธิ์ ปราโมทย์อะไรอย่างนี้นะครับ มันก็แปลกๆ แต่พอมาอ่านสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ก็รู้สึกว่าไอเดียมันแปลกดี

ผู้สัมภาษณ์  : โดยพื้นฐานแล้ว ครอบครัวเป็นครอบครัวค้าขายใช่ไหมครับ
คุณประยุทธ  : ครับ ก็ค้าขาย เป็นครอบครัวธรรมดา

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนประถมนี่ได้เงินไปโรงเรียนหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : ได้ครับ ก็นิดๆหน่อยๆ ผมก็จำไม่ได้ครับ อย่างมากก็ห้าบาทสิบบาทครับ สมัยก่อนนี่ ถ้าพูดถึงในโรงเรียน มันจะไม่มีความต่างเท่าไหร่ เป็นลูกคนรวยมีรถมารับ ตอนสมัยเรียนจำได้ว่ามีรถเบนซ์อยู่คันหนึ่ง นอกนั้นก็คือเฮฮากันวิ่งขึ้นรถเมล์ คือเขาก็มีฐานะจริง แต่เขาก็ไม่ได้เอารถมา แล้วบางคนก็ยังรู้ว่าในห้องเรียนกันก็มี มีคนฐานะทัดเทียมกันก็มี

ผู้สัมภาษณ์  : ในตอนนั้นคือนั่งรถเมล์มาโรงเรียน ค่ารถเมล์ประมาณเท่าไหร่ครับ
คุณประยุทธ  : นั่งสาย 49 วิ่งไปเซนต์คาเบียล ผมจำไม่ได้นะว่าเท่าไหร่ แต่เมื่อก่อนลูกชิ้นไม้ละบาทครับ ลูกชิ้นหน้าโรงเรียน แต่เราไม่มีเงินซื้อ

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนนั้นที่บ้านมีทีวีหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : ไม่มีครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : แล้วรับข้อมูลข่าวสารอย่างไร จากทางไหนครับ
คุณประยุทธ  : ทีวีนี่จำได้ประมาณปี 13 เดินมาดูบ้านน้าแถวเยาวราช ส่วนมากผมอาศัยไปยืนอ่านที่แผงหนังสือ เจอนั่นเจอนี่แปลกๆก็อ่าน 

ผู้สัมภาษณ์  : แล้ววิทยุละครับ ได้ฟังบ้างหรือเปล่า
คุณประยุทธ  : ไม่ได้ฟังครับ สื่อส่วนใหญ่ที่ได้รับ คือตามแผงหนังสือครับ สมัยก่อนอาจจะปี มศ.3 ผมจะเคยฟังวิทยุของจุฬา และก็มันมีช่องเพลงคลาสสิก มันแปลกๆเราก็จะเปิดฟังทำการบ้านตอนกลางคืน สมัยก่อนเวลาเรียนเซนต์คาเบียล ผมเรียนสายวิทย์ครับ การบ้านมโหฬารเลย เราก็ฟังวิทยุไป มันเพลินๆ จุฬาสมัยนั้นเขาไม่ค่อยมีข่าวสารอะไรเลย ได้ยินอยู่ครั้งหนึ่งก็คือ ตอนที่ถนอมสั่งรัฐประหารตัวเอง ปีอะไรผมจำไม่ได้ครับ แต่ก่อนจะปี 2516 ครับ

ผู้สัมภาษณ์  : ปี 14 ?

คุณประยุทธ  :   ทำนองนั้นครับ

ผู้สัมภาษณ์  : แล้วสมัยเด็กๆตั้งแต่เกิดจนถึงปี 2510 นี่ได้รับข่าวสารบ้านเมืองอะไรบ้างไหมครับ เช่น แขวนคออะไรอย่างนี้ได้รับรู้บ้างหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : ไม่ค่อยได้สนใจ เราเรียนและก็ไม่ค่อยได้สนใจ แต่เราก็มาได้ข่าวตอนประกาศรัฐประหารเลย สมัยก่อนไม่ค่อยมีข่าวนะครับ ที่มีข่าวที่เราเคยฟังก็เป็นตอนที่ช่างกลมาตีวิศวะ จุฬา ประมาณนี้ครับ ไม่มีอะไร ไม่ค่อยได้สนใจด้วย เพียงแต่อ่านหนังสือ เมื่อก่อนอ่านหนังสือของคึกฤทธ์ อ่านแล้วตลกดี แค่นิยาย เขาเขียนเรื่องพม่าเสียเมืองบ้าง เรื่องอะไรบ้าง เรายังไปบอกให้บรรณารักษ์ เขาซื้อคึกฤทธ์มา

ผู้สัมภาษณ์  : อันนี้คือก่อนที่จะอ่านสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ คือเราอ่านคึกฤทธ์ มาก่อนหน้าแล้วหรือครับ
คุณประยุทธ  : นอกจากนั้นก็จะเรียนในชั่วโมงเรียนเต็มไปหมดเลย เพราะว่าสายวิทย์มันจะเรียนหนักครับ

ผู้สัมภาษณ์  : แล้วอย่างเสาร์ อาทิตย์ละครับ
คุณประยุทธ  : ปกติไม่ได้ออกไปไหน เพราะว่าช่วยงานบ้าน งานบ้านมีเยอะ สมัยก่อนทำทุกอย่างเลย ขัดพื้น ล้างห้องน้ำ จิปถะหมด

ผู้สัมภาษณ์  : มีพี่น้องกี่คนครับ
คุณประยุทธ  : รวมผมด้วยก็เป็น 7 คนครับ ผมเป็นคนสุดท้อง มีพี่ชาย 3 สาว 3

ผู้สัมภาษณ์  : พออยู่ มศ. 4 ได้เจอหนังสือสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ หลังจากได้อ่านแล้วเป็นอย่างไรต่อครับ
คุณประยุทธ  : เริ่มสนใจการเมืองขึ้นบ้าง มันก็แปลกๆดีครับ

ผู้สัมภาษณ์  : นอกจากสังคมศาสตร์ปริทรรศน์แล้วยังไดรับข้อมูลทางไหนอีกบ้างครับ
คุณประยุทธ  : ก็ไม่ได้สนใจอะไรมากมายครับ มันแปลกกว่าหนังสืออื่นๆ ความเข้าใจของผมอาจจะมาจากการปูพื้นฐานจากคึกฤทธ์หน่อยๆ 

ผู้สัมภาษณ์  : ยกตัวอย่างได้ไหมครับ
คุณประยุทธ  : อย่างเรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องนั้นเรื่องนี้ 

ผู้สัมภาษณ์  : พอจบ มศ. 5 ไปเอ็นซ์ทรานใช่ไหมครับ แล้วหลังจากนั้นเป็นอย่างไรบ้างครับ
คุณประยุทธ  : ปีแรกผมไม่ติด ปีที่สองผมก็ไปติดวิทยาศาสตร์เชียงใหม่ แต่ที่เชียงใหม่ ผมไม่ชอบระบบโซตัส 

ผู้สัมภาษณ์  : ปีที่ติดที่เชียงใหม่นี่ปีไหนครับ
คุณประยุทธ  : ปี 16 ครับ แล้วผมก็ลงมาเจอเพื่อนที่วิศวะจุฬาในตอนนั้น

ผู้สัมภาษณ์  : ลงมานี่หมายถึงว่าลงมาเพราะเหตุการณ์หรือลงมาเพราะเรียนไม่ไหวครับ
คุณประยุทธ  : ลงมาเพราะเรียนไม่ไหวครับ เพียงแต่ว่าเราเบื่อ เราไม่ชอบระบบโซตัส ไม่ชอบระบบอะไรอย่างนี้ครับ ลักษณะเหมือนกับเราเริ่มไม่ชินกับระบบนี้

ผู้สัมภาษณ์  : ระบบโซตัสที่เชียงใหม่เป็นอย่างไรบ้างครับ
คุณประยุทธ  : เขาก็ปลุกขึ้นมากลางดึกอะไรอย่างนี้นะครับ เพียงแต่ผมเป็นคนต่อต้าน ผมบอกว่าผมไม่ร่วม คุณจะบอยคอตผมก็เชิญ ผมไม่แคร์ ผมไม่สนใจ เขาก็บอยคอต ผมก็ตั้งธงไว้ว่าผมจะลงมาสมัครเรียนที่อื่นก็ได้ เพราผมไม่ชอบระบบนี้

ผู้สัมภาษณ์  : โดนเข้าว้ากไหมครับ
คุณประยุทธ  : ผมไม่เข้าเลย ผมไม่สนใจ เพราะผมไม่ชอบ 

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนไปอยู่เชียงใหม่ ไปอยู่หอพักหรือว่าอย่างไรครับ
คุณประยุทธ  : อยู่หอพักของมหาวิทยาลัยครับ มีเพื่อนอยู่กลุ่มหนึ่งแล้วเราก็เรียนหนังสือของเราไป ไม่สนใจระบบรุ่นพี่หรือระบบอะไร เรื่องของเขาแต่เขาก็ไม่ถึงกับว่าบอยคอตอะไรรุนแรงนะครับ เพียงแต่ว่าเขาเห็นเราเป็นคนประหลาด ไม่ร่วมอะไรด้วย ที่นี่นิ่มกว่าที่อื่นๆ เขาคิดว่าทำไมเราเป็นคนหัวแข็ง ถ้าเขาเข้ามาคุยกับเราดีๆ เราก็อาจจะคุยด้วยดีเพียงแต่เราไม่ค่อยจะมีเวลา ผมก็ลงมาสมัคร

ผู้สัมภาษณ์  : เรียนได้กี่เทอมครับ
คุณประยุทธ  : สองเทอม

ผู้สัมภาษณ์  : เรียนทั้งสองเทอม เข้าตอนปี 16 ใช่ไหมครับ แต่ว่าเหตุการณ์มันเกิดกลางปี
คุณประยุทธ  : ก็ไม่ถึงกับสองเทอมครับ ผมเรียนเทอมแรก พอลงตอนตุลานี่ผมก็เรียนแบบไม่ได้ตั้งใจแล้ว เพราะคิดว่าจะสอบใหม่ ผมก็เรียนให้มันผ่านไปเฉยๆ คือไม่ได้ตั้งใจ อย่างน้อยเราก็มาสอบเข้าที่อื่น 

ผู้สัมภาษณ์  : พอจะจำได้ไหมครับว่าเทอมหนึ่งนี่คือสอบเสร็จแล้วลงมาหรือว่าอย่างไรครับ
คุณประยุทธ  : สอบเสร็จแล้วลงมาครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนนั้นสอบเสร็จเทอมหนึ่งก็น่าจะซักประมาณเดือนกันยายน ใช่ไหมครับ
คุณประยุทธ  : ผมก็นัดกับเพื่อนนะครับ เพื่อนอยู่วิศวะจุฬา ก็บอกว่าไปดูซิเกิดอะไรขึ้น เพราะตอนนั้นผมเริ่มย้ายบ้านมาอยู่เซนต์หลุยส์ซอย 3 แล้วก็มาหาเพื่อนที่ตรงสีลม เพื่อนก็ถามว่ากลัวไหม สุดท้ายก็เลยไปกันสองคนไปที่ธรรมศาสตร์ 

ผู้สัมภาษณ์  : ก็คือสอบเสร็จแล้วก็ลงมาจากเชียงใหม่เพื่อที่จะรอเอ็นซ์ใหม่ปีหน้า ที่นี้เพื่อนก็เลยมาชวนไปหรือครับ
คุณประยุทธ  : ไม่ครับก็สนใจอยู่แล้ว แล้วก็เดินไปหาเพื่อน เพื่อนก็บอกว่าไปดูซิเกิดอะไรขึ้นก็เลยไปกัน

ผู้สัมภาษณ์  : แสดงว่าตอนที่อยู่เชียงใหม่นี่ ก็ได้รับข่าวสารจากกรุงเทพ ใช่ไหมครับ
คุณประยุทธ  : พอได้รับบ้าง ตอนนี้ก็ลืมไปหมดแล้วครับ ไม่ได้รับอะไรก็ลืมหมด แต่เพียงว่ามีพื้นฐานว่าสนใจไงครับ สนใจในเรื่องของสิทธิเสรีภาพ สื่อสังคมศาสตร์อย่างนี้นะครับ

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนที่อยู่เชียงใหม่ได้รับข่าวสารทางไหนครับ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ หรืออะไรครับ
คุณประยุทธ  : หนังสือพิมพ์ครับ มีหนังสือ ก็ได้ข่าวจากวิทยุด้วย

ผู้สัมภาษณ์  : ข่าวในตอนนั้นเขาบอกว่าอย่างไรบ้างครับ
คุณประยุทธ  : ผมรู้ว่ามีประท้วงเฉยๆ บอกว่ามีเหตุการณ์ประท้วง 

ผู้สัมภาษณ์  : ได้บอกไหมครับว่านักศึกษากระด้างกระเดื่องอะไรทำนองนี้
คุณประยุทธ  : ไม่ค่อยสนใจครับ พอถึงตอนที่นัดกับเพื่อนมาที่ธรรมศาสตร์ก็เดินเข้าไปฟังที่สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์นะครับ ฟังเขาพูดนั่นพูดนี่ จนกว่าเขาเดินขบวนไป เราก็ยังไม่ได้เดินไป ติดอยู่ข้างหลังสุดๆเลย ก็เลยไม่ได้ออกไป

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนเริ่มเดินครั้งแรก ประมาณวันที่เท่าไหร่ครับ
คุณประยุทธ  : ผมจำไม่ได้ครับ แต่รู้ว่าเราติดอยู่ในนี้ หัวขบวนเขาเริ่มเดินออกไปแล้ว เริ่มมีการปะทะกันแล้ว ยิงแก๊สน้ำตากันแล้ว คนมันเยอะ ผมออกไปไม่ได้

ผู้สัมภาษณ์  : แสดงว่าตอนนั้นต้องเป็นคืนวันที่ 13 ต่อเช้า 14 ใช่ไหมครับ เพราะว่าเขาเริ่มมีอะไรกันตอนเช้า
คุณประยุทธ  : น่าจะประมาณนั้นครับ 13-14

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนนั้นหัวขบวนออกไปแล้ว เหลือท้ายที่เริ่มจะทยอยออกทีหลัง มีการประกาศอะไรหรือเปล่าครับ อย่างเช่นท้ายต้องอยู่นี่
คุณประยุทธ  : ไม่ทราบครับ ไม่ทราบเลยว่าเขาปะทะอะไรกัน นักศึกษาและประชาชนจะไปสู้เขาได้อย่างไร จนสุดท้ายเราเห็นเฮลิคอปเตอร์บินมา แล้วเราก็เดินออกมาตรงกลางขบวน ตอนนั้นได้กลิ่นแก็สน้ำตาแล้วครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : แล้วมีคนคอยบอกหรือเปล่าครับว่า ยิงแล้วอะไรอย่างนี้
คุณประยุทธ  : ไม่มีเลยครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : รู้แต่ว่าคนเดิน เราก็เดินออกไปเรื่อยๆ หรือครับ
คุณประยุทธ  : ครับ คือตอนนั้นคนค่อนข้างจะแน่นนะครับ

ผู้สัมภาษณ์  : เท่าไหร่ได้ครับ เท่าที่พี่สามารถจะประเมินกับสายตาได้
คุณประยุทธ  : ไม่ทราบจริงๆครับ เต็มไปหมดเลย เต็มอัดจนแบบว่าจะไปหาห้องน้ำ หาอะไรยังไม่ได้ เพราะมันอัดจนไปถึงเฉลิมไทย ผมได้กลิ่นแก็สย้ำตาและก็เดินถอยกับเพื่อน เดินถอยหนีกลับบ้าน คือเราก็ไม่รู้ว่าจะไปไหนต่อเราก็ไม่แน่ใจ เพราะเราก็ไม่มีข้อมูล ข้างหน้าเขาปะทะกันที่ไหนเราก็ไม่รู้ เราก็ยังไม่รู้เราเพิ่งจะมารู้ทีหลังว่าเขาปะทะกันแถวหน้ากองสลาก 

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนที่เขายิงกันเท่าที่พี่เห็น เช่นตอนที่มีเฮลิคอปเตอร์ ยิงมานี่นานไหมครับ
คุณประยุทธ  : ไม่นาน เราก็ไม่รู้ ไม่มีใครมาบอกเลยว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มีคนขี่มอเตอร์ไซด์แล้วคนซ้อนท้ายถือปืน เราก็สงสัย แค่นั้นเอง

ผู้สัมภาษณ์  : อันนี้น่าจะไม่ใช่ตำรวจแต่เป็นฝ่ายพวกเราใช่ไหมครับ
คุณประยุทธ  : เป็นฝ่ายประชาชน คนถือปืนยาวครับ

ผู้สัมภาษณ์  : แล้วตอนนั้นในธรรมศาสตร์ที่อยู่กันเยอะๆ คิดว่าเป็นนักศึกษา เป็นประชาชน เด็ก หรือว่าเป็นอะไรเป็นส่วนใหญ่ครับ
คุณประยุทธ  : คิดว่าเป็นนักศึกษาครับ

ผู้สัมภาษณ์  : แล้วพอจะรู้ไหมครับว่ามาจากที่ไหนกันบ้าง
คุณประยุทธ  : คือเราไปกับเพื่อน ก็จะรู้จักแต่เพื่อนที่ไปจากเซนต์คาเบียลด้วยกัน  ผู้สัมภาษณ์  : กับเพื่อนที่เรียนวิศวะจุฬาหรือครับ แล้วตอนนั้นไปกันเป็นกลุ่มใหญ่หรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : สองคนครับ คือใกล้ที่สุดไงแล้วก็เดินไปตามเพื่อนให้ออกมาที่สาธร แล้วก็ไปด้วยกัน

ผู้สัมภาษณ์  : แล้วทีนี้พอเดินมาเจอกลิ่นแก็สน้ำตาก็เลยชวนกันกลับบ้านหรือครับ
คุณประยุทธ  : ครับ ก็ยังงงๆ ไม่รู้ว่าจะไปไหนกัน ก็เลยถอย

ผู้สัมภาษณ์  : กี่โมงได้ครับตอนนั้น
คุณประยุทธ  : เป็นช่วงเช้าก่อนเที่ยงครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : กลับบ้านอย่างไรครับ
คุณประยุทธ  : เดินกลับครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : แล้วระหว่างทางได้ยินได้เห็นอะไรบ้างหรือเปล่าครับ 
คุณประยุทธ  : ไม่มีครับ ไม่เห็นอะไรเลย ผมสงสัยว่าแนวปะทะจะอยู่แถวราชดำเนิน เพราะว่าตั้งแต่อยู่เฉลิมไทย เราก็เริ่มถอยกลับแล้ว 

ผู้สัมภาษณ์  :ส้นที่เดินนี่เป็นเส้นไหนครับ
คุณประยุทธ  : เส้นที่เดินผ่านวัดราชนัดดา มาจนถึงแถวเฉลิมกรุงแล้วก็เลี้ยวซ้ายมาเจริญกรุงครับ

ผู้สัมภาษณ์  : ทางนี้ก็ไม่มีคน หรือครับ
คุณประยุทธ  : ไม่มีครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : คนที่มาชุมนุมก็ไม่มีหรือครับ คนโล่งสบาย
คุณประยุทธ  : ครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : แล้วกลับถึงบ้านแล้วทำอย่างไรครับ   มีดูทีวีหรืออะไรบ้างหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : ก็จำไม่ได้แล้วครับ นานแล้วลืมไปแล้ว

ผู้สัมภาษณ์  : คือตอนนั้นกลับบ้านแล้วก็ไม่รู้เรื่องอะไรแล้ว ข่าวก็ไม่ได้ดูหรือครับ
คุณประยุทธ  : จำไม่ได้ครับ มันคงดูนะสมัยนั้น 

ผู้สัมภาษณ์  : เหตุการณ์ตอนนั้นเขาบอกว่าตอนเช้าปะทะ จนถึงตอนบ่ายก็ยังมีการปะทะกันเป็นจุดๆ และก็เย็นๆ ในหลวงท่านก็ออก แล้วประชาชนก็ประกาศชัยชนะกันใหญ่เลย ตอนเช้าก็มีแห่ดีใจกันใหญ่ เช้าวันรุ่งขึ้น ได้ไปไหนหรือเปล่าครับ ได้ออกมาสัมผัสบรรยากาศกับเขาไหมครับ
คุณประยุทธ  : ก็อยู่บ้านครับ ตอนเหตุการณ์เลิกแล้ว เขาบอกให้ออกมาเป็นอาสาสมัคร ผมก็มาช่วยเขาที่โรงพยาบาลจุฬา ผมก็จำไม่ค่อยได้แล้วครับ

ผู้สัมภาษณ์  : เขาบอกให้มาช่วยนี่คือใครบอกอย่างไรครับ
คุณประยุทธ  : จำไม่ได้เหมือนกัน คือเขามีประกาศครับ ทางวิทยุขออาสาสมัคร เพราะตอนนั้นเหตุการณ์มันวุ่นวายนะครับ เขาก็ขอนักศึกษา มาช่วย ก็ยังเห็นลูกเสือมาโบกรถ เราก็มาช่วย ช่วยอะไรที่โรงพยาบาลจุฬาผมก็จำไม่ได้ครับ เขาก็ให้ผมไปทำหน้าที่คอยรับความช่วยเหลือ สมมุติว่ามีคนมามอบเราก็รับส่งต่ออีกทีหนึ่ง

ผู้สัมภาษณ์  : นั่นคือหลังวันที่ 14 แล้วก็คือมีคนมาประกาศขอความช่วยเหลือ หรือครับ
คุณประยุทธ  : ใช่ครับ เพราะตำรวจนี่หายหมด ในตอนนั้นเหลือแต่ประชาชน

ผู้สัมภาษณ์  : แล้วตอนนั้นนึกอย่างไร ไปกับเพื่อนหรือว่าอย่างไรครับ
คุณประยุทธ  : ไปกับเพื่อนครับ 2-3 คน ก็ไปทำอะไรก็จำไม่ได้แล้ว จำได้ว่ามีตัวแทนมามอบเงิน แล้วเราก็ไปรับมาและก็นำมาส่งต่อ

ผู้สัมภาษณ์  : แล้วเขาเอาอะไรมามอบบ้าง พอจะจำได้หรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : เป็นเงินเป็นอะไร ผมจำไม่ค่อยได้นะครับ ตอนนั้นได้ถ่ายรูปไว้ด้วยนะ

ผู้สัมภาษณ์  : มีรูปถ่ายหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : ลืม ทิ้งไปหมดแล้วนะครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : เพราะว่าโครงการนี้ส่วนหนึ่งเขาจะรวบรวมทั้งคำสัมภาษณ์ด้วย และก็วัตถุทางประวัติศาสตร์อย่างนี้นะครับ
คุณประยุทธ  : อย่างนี้คงต้องไปค้น อยู่ในเดลินิวส์หรืออะไรผมก็จำไม่ได้ครับ มันก็ไม่มีใครมาเก็บเลย นานมากแล้ว

ผู้สัมภาษณ์  : พอจะจำได้หรือเปล่าครับ ว่าเงินนี่เข้ามาเยอะหรือเปล่า มากแค่ไหนที่พี่มีส่วนในการรับ
คุณประยุทธ  : เยอะครับ เมื่อก่อนเป็นหมื่นเลย สมัยสามสิบกว่าปีก่อนเป็นหมื่นนี่เยอะนะครับ ทองบาทหนึ่งประมาณสี่ร้อย หลายเท่าเลยครับ

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนนั้นคือไปกับเพื่อนแล้วคนอื่นๆได้ร่วมเป็นอาสาสมัครกันเยอะไหมครับ
คุณประยุทธ  : เยอะครับ ก็มีเด็กนักเรียน นักศึกษา

ผู้สัมภาษณ์  : ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้นหรือครับ ประชาชนทั่วไปมีหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : จำไม่ได้ครับ ประชาชนเราอาจจะดูไม่ออกครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : เขาตั้งจุดตั้งอะไรกันตรงไหนครับ
คุณประยุทธ  : สมัยก่อนนั้นผมจำไม่ได้นะครับ ผมไปช่วยที่โรงพยาบาลเลย แต่ผมจำได้ว่านั่งรถมาและก็มีลูกเสือมาโบกธงอยู่ เป็นลูกเสือเด็ก

ผู้สัมภาษณ์  : ลูกเสือชาวบ้านหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : สมัยก่อนยังไม่มีลูกเสือชาวบ้านนะครับ มันเป็นปี 16

ผู้สัมภาษณ์  : ก็ไปช่วยที่โรงพยาบาลจุฬา ใช่ไหมครับ
คุณประยุทธ  : ครับ

ผู้สัมภาษณ์  : ทำอยู่กี่วันครับ
คุณประยุทธ  : ก็แค่สองวันเอง

ผู้สัมภาษณ์  : เขาเลิกหรือเราเลิกเองครับ
คุณประยุทธ  : ก็ดูแล้วไม่มีอะไร เราก็เลิกครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : หลังจากนั้น ชีวิตเป็นอย่างไรบ้างครับ
คุณประยุทธ  : มันก็ไม่มีอะไร เพราเราคิดว่าเราสอบเข้าธรรมศาสตร์ เข้ามาธรรมศาสตร์เหตุการณ์ก็เลี่ยนไปแล้ว มันจะวุ่นวายไปอีกแบบหนึ่งเลย มันก็วุ่นวายหลังจาก 16 หลังมีเสรีภาพใหม่ๆ มันก็วุ่นวายไปหมดเลย

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนมาเข้าที่ธรรมศาสตร์นี่เข้าคณะอะไรครับ
คุณประยุทธ  : ปีแรกก็ยังเรียนรวมอยู่ พอปีสองถึงจะเข้าเรียนเศรษฐศาสตร์

ผู้สัมภาษณ์  : หมายถึงว่าตอนเข้ามาแรกๆ ก็ยังไม่ได้แยกคณะหรือครับ
คุณประยุทธ  : ก็ยังไม่ได้แยกครับ เรียนรวมอยู่ 

ผู้สัมภาษณ์  : เรารู้ไหมครับว่าเราจะได้เรียนเศรษฐศาสตร์
คุณประยุทธ  : ไม่รู้ครับตอนนั้นไม่รู้ หมายถึงว่าถ้าชอบคณะไหนเราก็ไปเรียน แต่เศรษฐศาสตร์เรียนบัญชีมันก็ยาก ก็คือว่าผมอยู่กลุ่มพวกอนุรักษ์ธรรมชาตินะ มันจะวุ่นวายไปหมดนะ มันต้องแปลนั่นแปลนี่ แปลบทความ เมื่อก่อนชาวบ้านมาประท้วงนี่เป็นเรื่องปกติมาก มาร้องเรียนที่ธรรมศาสตร์ อย่างกับธรรมศาสตร์เป็นอำเภอ อย่างนี้นะครับ

ผู้สัมภาษณ์  : ก็คือปี 17 เข้าไปนี่เราได้ทำกิจกรรมอะไรหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : เราก็เข้าไป เข้าไปดูเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร มันก็มีชมรมรับสมัครอะไร เราก็เลยลองเข้าไปเล่นๆ

ผู้สัมภาษณ์  : ชมรมอนุรักษ์หรือครับ ที่เดียวหรือครับ
คุณประยุทธ  : ครับ

ผู้สัมภาษณ์  : ทำอะไรบ้างครับ
คุณประยุทธ  : สมัยก่อนหรือครับ ก็อนุรักษ์มันก็มีงานแรกก็คือเกี่ยวกับโรคมินามาตะ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาของสมัยญี่ปุ่น เกิดจากการพัฒนาของสมัยเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทุกอย่างที่มันทิ้งลงในอ่าวญี่ปุ่น เข้าสู่ปลาแล้วก็เกิดเป็นวงจร ชาวบ้านก็ลุกขึ้นมาต่อสู้ แล้วพอดีเราต้องแปลบความ พอดีมีคนญี่ปุ่นมา เราก็มาคุยกับเขามาแปลบทความ

ผู้สัมภาษณ์  : จากญี่ปุ่นมาเป็นไทยหรือว่าอย่างไรครับ
คุณประยุทธ  : ไม่ใช่ครับ จากอังกฤษมาเป็นไทย ทำนิทรรศการและก็มีนักศึกษาแพทย์จากศิริราชมาช่วยแปลด้วย ว่าอาการอย่างนี่มันเป็นอย่างไร ทำเป็นข้อมูล

ผู้สัมภาษณ์  : แสดงว่าทำร่วมกันหลายมหาวิทยาลัยหรือครับ
คุณประยุทธ  : ครับ ทำร่วมกัน เราก็ต้องแปลนั่นแปลนี่แล้วอีกคนก็มานั่งเขียนอธิบาย 

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนนั้นทำในนามของอะไรครับ
คุณประยุทธ  : ก็มันเป็นเหมือนคล้ายๆกับ เป็นชมรมอนุรักษ์ที่ทำร่วมกันหลายๆมหาวิทยาลัย

ผู้สัมภาษณ์  : เขามีชื่ออะไรหรือเปล่าครับ เพราะอย่างศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเขาก็จะมีชื่อการเคลื่อนไหวการเมือง
คุณประยุทธ  : อันนี้ก็จำไม่ได้ครับ เพราะว่าสมัยก่อนมันมีหลายกลุ่ม ต่างมหาวิทยาลัย

ผู้สัมภาษณ์  : พี่มีบทบาทในการแปลหรือครับ
คุณประยุทธ  : ครับ แปล

ผู้สัมภาษณ์  : ในชมรมอนุรักษ์คนเยอะไหมครับ
คุณประยุทธ  : อนุรักษ์นี่จริงๆก็มีคนทำงานอยู่ 10-20 คนนะครับ จริงๆคือจะไปเที่ยวบ่อย เพราะกลุ่มอนุรักษ์จะพาไปเที่ยว เที่ยวจัดหาเงินเข้าชมรม

ผู้สัมภาษณ์  : ส่วนใหญ่จะไปที่ไหนบ้างครับ
คุณประยุทธ  : ไปตามป่า ไปเขา อะไรเยอะแยะ  ก็เป็นกลุ่มทัวร์ธรรมดานะครับ ส่วนใหญ่กลุ่มอนุรักษ์ เขาก็จะ socialize ให้คนอนุรักษ์และก็ดูแลธรรมชาติอะไรอย่างนี้นะครับ   พาไปเดินป่า ส่วนมากจะอิงและก็สนิทกับป่าไม้  ป่าไม้ก็จะพาไปดูที่ๆโดนทำลายอะไรอย่างนี้นะครับ  แต่เราก็ไม่รู้ว่า ที่ชาวบ้านบุกรุกนี่เป็นเพราะเหตุอะไรเราก็ตอบไม่ได้ เราเพิ่งมาคิดตอนที่เราโตขึ้นนี่ละครับ  บางทีชาวบ้านอาจจะต้องมาแผ้วถางอะไรตรงนี้เพื่อเป็นที่ดินทำกินอะไรอย่างนี้นะ  ป่าไม้ก็จะคล้ายๆว่าให้ข้อหาบุกรุก  เราคิดอีกด้านหนึ่งคือเขาก็ไม่มีกินนะ  แล้วเรื่องที่มาร้องเรียนที่ธรรมศาสตร์ทุกเรื่องเลยนี่จะเป็นเรื่องสับเพเหระที่ไม่ถูกกับราชการ  ถูกราชการกลั่นแกล้ง 

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนนั้นนี่คือพี่อยู่ชมรมอนุรักษ์ แล้วได้รับรู้บ้างหรือเปล่าครับว่าเขามาร้องเรื่องอะไรบ้าง แล้วมาร้องที่เราหรือที่อมธ. อย่างไรครับ
คุณประยุทธ  : บางทีเขาก็ไปร้องที่ อมธ. ตรงไหนที่เกี่ยวกับอนุรักษ์ก็โยนให้อนุรักษ์เข้ามาช่วยจัดการ 

ผู้สัมภาษณ์  : เช่นอะไรบ้างครับที่อนุรักษ์ต้องเข้ามาช่วยจัดการ
คุณประยุทธ  : เหมือนกับเรื่องสภาพแวดล้อม ผมก็จำไม่ค่อยได้นะครับ ก็จะเกี่ยวกับป่าไม้หรือสภาพแวดล้อมเป็นพิษ อะไรอย่างนี้ 

ผู้สัมภาษณ์  : พวกอ่างเก็บน้ำหรือการทำเขื่อนอะไรอย่างนี้มีไหมครับ
คุณประยุทธ  : สมัยก่อนนี่อันนั้นจะเป็นปี 18 แล้วครับ เพราะผมมีเรื่องที่เขาทิ้งสารปรอทหรือว่าพวกตะกั่วแถวๆพระประแดง คล้ายๆเป็นกรณีตัวอย่าง ก็คือชาวบ้านนี่เอาตะกั่วมาผ่า แบตเตอรี่นะครับแล้วตัวเองก็ได้รับสารพิษ ตรงนี้เราก็ต้องไปทำ ก็ไป survey ข้อมูลว่าเกิดอะไรขึ้นและก็มาคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษา ในคณะของธรรมศาสตร์และก็จะไปถ่ายรูปว่ามันเกิดปัญหาสภาพแวดล้อมแบบนี้นะ 

ผู้สัมภาษณ์  : ต้องลงไปเองหรือครับ เพราะเดี๋ยวนี้นักศึกษามักจะหาข้อมูลตามอินเตอร์เน็ต ตามหนังสือพิมพ์แล้วมาตัดแปะทำนิทรรศการ
คุณประยุทธ  : ครับ ต้องลงไปเอง ลงไปดูจริงๆเลยว่าเกิดอะไร ก็คือกลุ่มอาจารย์จะพาไปดูสถานที่ดูอะไรนี่ละครับ กลุ่มอนุรักษ์มีอาจารย์เขาก็ลงไปด้วย

ผู้สัมภาษณ์  : ไปกันเยอะไหมครับ
คุณประยุทธ  : ก็ไม่เยอะนะ บางทีก็สิบคน บางทีก็สี่ห้าคน ไปว่ามันเกิดอะไรขึ้น และก็ถ่ายรูปมาด้วย

ผู้สัมภาษณ์  : แสดงว่านอกจากไปเดินป่าและการปลูกฝังเรื่องการอนุรักษ์แล้วนี่ก็ยังมีงานทางสังคมที่ถือเป็นการเคลื่อนไหวอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นประเด็นร้อน ใช่ไหมครับ
คุณประยุทธ  : เวลา อมธ. เคลื่อนไหว เขาก็จะระดมทุกกลุ่มไปช่วย  เหมือนกับไปทอดผ้าป่าอะไรอย่างนี้นะ  เวลาชาวนามีปัญหาอะไรแล้วผ้าป่าไม่พอ  ผ้าป่าอะไรอย่างนี้นะ  เวลาชาวนามีปัญหาอะไรแล้วผ้าป่าไม่พอ  เคลื่อนไหว การขอเสบียง เดินมาเรี่ยไรแถวตามคลองตลาดนี่ละครับ  เขาก็โยนผักโยนอะไรมา

ผู้สัมภาษณ์  : พี่มาร่วมทำด้วยหรือครับ
คุณประยุทธ  : ก็ทำทุกอย่างนะครับ แม้กระทั่งเวลาชุมนุมเสร็จ ในธรรมศาสตร์ต้องเก็บขยะให้หมด ช่วยกันล้างห้องน้ำ ตรงตึกศิลปศาสตร์ไปยกเก้าอี้เขาแล้วก็หุงข้าวกัน ก็โดนตำหนิบางที หม้อข้าวใหญ่ เลอะเทอะ ก็ต้องไปช่วยเขาล้างให้หมด เพราะว่ามันเป็นหน้าที่ของเรา ช่วยทำความสะอาด คือเราจะปล่อยเป็นดูดายเป็นธุระของเขาไม่ได้ ช่วยกัน

ผู้สัมภาษณ์  : ในธรรมศาสตร์มีชุมนุมบ่อยไหมครับ
คุณประยุทธ  : มันก็บ่อยนะ ชุมนุมเป็นเรื่องปกติ 

ผู้สัมภาษณ์  : เป็นปัญหาอะไรบ้างครับ ชาวบ้านมาหรือว่าอย่างไรครับ
คุณประยุทธ  : ทำนองนั้นครับ วุ่นวายไปหมด เหมือนกับรัฐบาลเลย

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนนั้นในมุมมองของพี่ พี่คิดว่าอย่างไรบ้างครับ ภูมิใจหรือว่าอย่างไรบ้างครับ
คุณประยุทธ  : ไม่ๆ ครับ ผมว่าเมาหมัดมากกว่า พอมามากเราก็ต้องช่วยเหลือ ไม่ได้ภูมิใจนะก็ช่วยไปตามที่เราจะช่วยได้ เพราะว่ามันคล้ายๆว่าเป็นหน้าที่

ผู้สัมภาษณ์  : อันนี้ถือว่าเป็นผลพวงของเหตุการณ์ 14 ตุลาหรือเปล่าครับ คล้ายๆว่านักศึกษาเป็นแนวหน้า
คุณประยุทธ  : อาจจะเป็นอย่างนั้น  อาจจะมีส่วน คล้ายว่าเป็นหัวหอก  พอมีบทบาทอะไรเราก็ต้องทำต้องช่วย  แต่ว่าอย่างไหนเป็นหลักเป็นรองมันก็พูดลำบาก  เพราะว่าผลกระทบจาก 14 ตุลาทำให้เราต้องทำถึงขนาดนั้นหรือเปล่าเราก็ไม่แน่ใจ  การจัดการผมว่าเป็นการอบรมบ่มเพาะของในครอบครัวหรือในสังคมของนักศึกษา ในโรงเรียนไม่ถึงขนาดนั้นเพราะว่าโรงเรียนสอนแค่ว่าให้คุณเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้  เพราะว่าถ้าคุณเข้ามหาวิทยาลัยได้  โรงเรียนก็จะมีชื่อ  คือโรงเรียนจะไม่พูดถึงสังคมเท่าไหร่  แต่ว่าผมว่าผลสะเทือนมาจากการอ่านหนังสืออะไรอย่างนี้มากกว่า  ศึกษาเอง  พอเข้ามาอยู่ในธรรมศาสตร์นั้นเหตุการณ์ต่างๆมันบีบ  ให้เราตั้งตัวไม่ติดทั้งเหตุการณ์อะไรก็ไม่รู้  แล้วแต่คุณคิดไม่ออกหรอกครับ  อันนั้นก็ต้องทำอันนี้ก็ต้องทำเป็นอัตโนมัติไปเลย  เดี๋ยวก็มา เดี๋ยวก็มาอย่างนี้นะครับ

ผู้สัมภาษณ์  : มีเวลาเรียนหรือเปล่าครับตอนนั้น
คุณประยุทธ  : ก็พอมีครับ ยังมีเวลา

ผู้สัมภาษณ์  : ใช้คำว่าพอมี   แสดงว่ากิจกรรมเป็นส่วนใหญ่แล้วเวลาเรียนน้อยหรือครับ 
คุณประยุทธ  : ก็มีกิจกรรมแล้วเวลาเรียนน้อย แต่ก็ยังมีเวลาไปเข้าห้องสมุด สมมุติเราจะเขียนบทความเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม เกี่ยวกับอะไรนี่เราก็จะไปคุยกับคนนั้นคนนี้ อาจารย์เศรษฐศาสตร์คุยประเด็นนี้ เขียนอย่างไร ก็เหมือนเป็นการเรียนไปทางอ้อมนะครับ อาจารย์ก็จะวิเคราะห์วิจารณ์ว่าเขียนอย่างนี้คนอ่านไม่รู้เรื่อง ทำนองนั้นนะครับ

ผู้สัมภาษณ์  : เกรดเป็นอย่างไรบ้างครับ
คุณประยุทธ  : เกรดผมไม่ค่อยดีครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนนั้นจากการเรียนรู้จริงที่ชาวบ้านเข้ามาขอความช่วยเหลือนี่กับหนังสือหรือสื่อในตอนนั้นเป็นอย่างไรบ้างครับ ได้รับข้อมูลมากขึ้นหรือเปล่าครับ หมายถึงว่าข้อมูลจากสื่อแหล่งอื่นมีอิทธิพลบ้างหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : ไม่มีครับ ผมว่าหนังสือก็น้อยนะ ในความรู้สึกของผมคนเดียวนะ ผมรู้สึกเหมือนกับมันเมาหมัดเพราะว่างานมันเยอะ อย่างอื่นก็ไม่ได้ดูไม่ได้ฟังซักเท่าไหร่ แต่ทางทีวีเมื่อก่อนตอนครบรอบสิบสี่ตุลาหรืออะไรนี่นะครับ มันเป็นวันครบรอบแล้วต้องเดินขบวน ตอนนั้นบังเอิญผมไปถือธงนำหน้า เขาไม่มีใครไงครับ เขาก็มาลากผมไปเพราะผมนั่งทำงานอยู่ รู้จากทีวีก็คือน้าเขาโทรไปฟ้องแม่ว่า ผมไปเดินขบวนอีกแล้ว 

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนนั้นอยู่ปีหนึ่งใช่ไหมครับ
คุณประยุทธ  : ปีสองครับ ปี 18 อะไรอย่างนี้ครับ ไม่ค่อยได้ดูทีวี มีเวลาว่างก็มาเรียน นอกนั้นก็ไปช่วยกิจกรรมเขา

ผู้สัมภาษณ์  : หนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้อ่านหรือครับ
คุณประยุทธ  : ก็อ่านหนังสือพิมพ์ แต่ก็เรื่อยๆ

ผู้สัมภาษณ์  : รู้สึกอย่างไรบ้างครับ เพราะว่าช่วงนั้นจะมีการโจมตีนักศึกษาทางหนังสือพิมพ์ 
คุณประยุทธ  : อ่านแล้วก็เฉย ๆ   เพราะว่าเราอยู่ธรรมศาสตร์เราก็รู้ว่าเวลาชุมนุมหรือทำอะไรทำนองนี้ มันก็มี
เขวี้ยงระเบิด  แรกๆมันก็เป็นระเบิดขวดธรรมดา  แต่หลังๆมันก็เป็นระเบิดบ้าๆบอๆแล้วครับ  เราก็เลยชาชิน เพราะว่าปะทะกันแบบนี้เป็นปกติอยู่แล้ว

ผู้สัมภาษณ์  : หมายความว่าพอชาวบ้านมาขอความช่วยเหลือจากเรา แล้วก็มีกิจกรรมพิเศษ ชุมนุมกันมากในธรรมศาสตร์ ก็มีปะทะกันบ้างหรือครับ
คุณประยุทธ  : มันก็มีการปะทะกันบ้าง เขวี้ยงระเบิดกันบ้าง อย่างเช่นการปะทะของพวกกระทิงแดง

ผู้สัมภาษณ์  : พี่รู้สึกอย่างไรครับที่มีเหตุการณ์แบบนี้
คุณประยุทธ  : ตอนแรกเราก็กลัว แต่ตอนหลังเราก็เริ่มรู้สึกชาชินกับมันมากขึ้น

ผู้สัมภาษณ์ 
: รู้สึกว่าทำไมทำดีแล้วต้องมาทำอย่างนี้กับเราหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : ผมก็รู้สึกว่าความคิดมันต่างกันนะครับ แล้วเขาก็คงจะรู้สึกหมั่นไส้เรา 

ผู้สัมภาษณ์  : มีแบบเล่นนอกเหตุการณ์บ้างหรือเปล่าครับ เช่นไม่ได้ชุมนมแต่เขาเห็นเราเป็นเด็ดธรรมศาสตร์ อะไรอย่างนี้ครับ
คุณประยุทธ  : ไม่มีครับ นอกจากกลุ่มที่ไปติดโปสเตอร์ตอนกลางคืน อาจจะเป็นปี 18-19 ถ้าเขารู้ว่ามาติดโปสเตอร์ ก็อาจจะโดนตีหัวโดนอะไร ก็ต้องไปให้กลุ่มใหญ่เพื่อป้องกันตัวเองบ้างครับ

ผู้สัมภาษณ์  : พี่เคยไปติดโปสเตอร์หรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : เวลาไปติดโปสเตอร์เขาก็จะระดมคน เพราะเวลามีการขอเคลื่อนไหวเรื่องอะไรนี่ คนทำงานมีกี่คน นับๆรวมๆแล้วอาจจะประมาณซักร้อยสองร้อยคน

ผู้สัมภาษณ์  : เยอะนะครับ สมัยนี้น้อยมาก ก็คือมาร่วมกัน แล้วใช้ฐานหลักที่ธรรมศาสตร์หรือครับ บรรยากาศเป็นอย่างไรบ้างครับ
คุณประยุทธ  : ก็ไม่มีอะไรครับ แต่ว่ามีการกวนแป้งเปียก กวนอะไรแล้วก็ไปติด รุ่นพี่เขาบอกว่ามันจะมีเทคนิค เขาก็ว่าไปนะ

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนที่ไปติดนี่เคยโดนแบบนั้นบ้างหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : คนอื่นเขาโดนแต่เราไม่โดน คนอื่นอาจจะซวยหน่อยโดนไล่ตีโดนอะไร แต่เราไม่โดนอะไรเลย

ผู้สัมภาษณ์  : พอปีสาม ก็ยังอยู่ชมรมอนุรักษ์อยู่ใช่ไหมครับ
คุณประยุทธ  : ยังอยู่ครับ  พอขึ้นปี 18 ผมก็เริ่มหนักขึ้น  ส่วนมากเวลาเขาคุยกันเขาก็เริ่มมีการคาดการณ์ว่าจะมีการล้อมปราบ  ก็คิดกันว่าจะตั้งรับอย่างไร ประมาณนี้แต่ผมก็ไม่ค่อยได้เข้า  การประชุมก็ไม่มีข้อสรุปครับ ยังไงเราก็รู้ว่าเราต้องโดนล้อมปราบแน่นอนแต่จะรุนแรงขนาดไหนนั้นไม่มีใครรู้  กลัวก็กลัวนะแต่มันก็เป็นเรื่องธรรมดา  เพราะว่า ตอนที่เดินขบวนต่อต้านฐานทัพอเมริกัน  เดินจากธรรมศาสตร์ไปถึงสถานทูตอเมริกา  ก็เดินไปถึงสยาม สแควร์สมัยก่อนนะ  ก็ถูกเขวี้ยงระเบิดห่างจากผมไม่กี่เมตรเอง  ผมตายกันเยอะมาก  มีการล้อมปราบตอนปี 18 ใช่ไหมครับ  มันเริ่มการปะทะกันแบบรุนแรงมากขึ้น เราก็รู้สึกว่าอะไรต่างๆมันก็เริ่มสลายไปเรื่อยๆ

ผู้สัมภาษณ์  : มีสองกลุ่มใช่ไหมครับที่มาก่อกวน คือกลุ่มกระทิงแดงกับกลุ่มนวพล
คุณประยุทธ  : ผมว่าชื่อ มันก็เป็นพวกเดียวกันนะครับ แต่ใช้ชื่อต่างๆกัน ก็พวกทหารรับจ้าง พวกนักเลงอันธพาลรับจ้าง ก็ธรรมดา

ผู้สัมภาษณ์  : ช่วงนี้มีหนังสือเกี่ยวกับซ้ายๆมาอ่านบ้างไหมครับ เป็นกระแสอย่างนี้นะครับ
คุณประยุทธ  : ช่วงนั้นเยอะมากครับ แต่เราก็ไม่ค่อยได้อ่าน หนังสือฝ่ายซ้ายออกเต็มไปหมดเลยครับ

ผู้สัมภาษณ์  : พี่ได้อ่านหรือว่ามีเก็บไว้บ้างไหมครับ
คุณประยุทธ  : เก็บไว้หลัง 6 ตุลา แล้วยกให้เพื่อนไป ตอนหลังก็ไม่รู้หายไปไหนหมดครับ ไม่ได้เก็บไว้อีกเลย

ผู้สัมภาษณ์ 
: พอผ่าน 6 ตุลาแล้วต้องรีบเอาไปเผา
คุณประยุทธ  : ครับ แต่ส่วนมากจะไม่ค่อนเหลือคือจะยกไปบ้านเพื่อนนะครับ ให้เพื่อนไปเผาต่อ ก็เลยไม่ต้องเป็นห่วง 

ผู้สัมภาษณ์  : พี่ก็เป็นมดงานในการร่วมขบวนในครั้งนั้น รู้สึกตื่นเต้นไหมครับ
คุณประยุทธ  : ก็บทบาทผมมันเป็นบทบาทธรรมดา 

ผู้สัมภาษณ์  : มีใครมาตามหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : ไม่มีครับ สมัยก่อนมันจะมีตัวเปิดตัวปิดนะครับ แต่เราไม่ใช่ตัวเปิดเราไม่ได้สำคัญ ทั่วๆไปเป็นคนธรรมดาร่วมงานร่วมอะไรเฉยๆ เป็นแค่คนช่วยงาน

ผู้สัมภาษณ์  : เขาประชุมวางแผนกันได้เข้าร่วมบ้างไหมครับ แล้วรูสึกว่าเราโดนใช้หรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : ก็ไม่ได้เข้าครับ เขาบอกไหว้วานอะไรมาก็จะไปคุมสถานการณ์ไม่ให้มันแย่ลง ระมัดระวัง เขาเคลื่อนไหวเราก็รู้นะครับ คือจะส่งตัวแทนเข้าไปประชุมแล้วก็มาถ่ายทอด เราก็จะช่วย ตรงไหนว่างก็เข้าไปช่วย

ผู้สัมภาษณ์  : สมัยก่อนมีที่กลัวแล้วออกไปบ้างไหมครับ
คุณประยุทธ  : สมัยก่อนไม่มีนะครับ แล้วแต่บทบาทใครที่ทางบ้านมีปัญหามาก ก็จะออกไปพักช่วงหนึ่ง แต่ถ้าใครไม่มีปัญหา ทำได้ก็ทำครับ ช่วยเหลือทุกอย่างในทุกสถานการณ์ ว่างก็ไปเรียนหนังสือ ว่างก็ไปติวให้เพื่อน เข้าเรียนแล้วก็มาติวๆ ไม่ค่อยได้เยนอะไร ว่างถนัดอันไหนก็ไปทำอันนั้นครับ

ผู้สัมภาษณ์  : เป็นอย่างไรต่อบ้างครับตอนที่มีคนที่เขาให้การณ์ว่าจะมีการล้อมปราบ ตอนนั้นสถานการณ์เป็นอย่างไรบ้างครับ
คุณประยุทธ  : ประมาณ สิงหา-กันยา ปี 19 เขาก็เริ่มเตือนว่าเหตุการณ์ไม่ค่อยดีไปเรื่อยๆ 

ผู้สัมภาษณ์  : ทำอะไรบ้างครับ
คุณประยุทธ  : ก็เวลาเขาประท้วงก็ประท้วง คือเราจะไปสู้อะไรเขาตอนนั้น ไม่มีทางเลย

ผู้สัมภาษณ์  : มีแบบไปแล้วพกปืนไป มีหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : สมัยก่อนมี มันก็มีนะ เพราะผมก็ยังต้องพกมีดด้วยนะ มีดที่บ้าน ตอนปี 19 แต่เป็นปืนสั้นเท่านั้นเอง เอาออกมาไม่ได้ครับ ก็คือเตรียมยิงกันนั่นแหละ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะว้าขายิงมาเป็นชุดครับ เราจะไปยิงอะไรเขา 

ผู้สัมภาษณ์  : คือมีเตรียมไว้เหมือนกัน หรือครับ
คุณประยุทธ  : ก็มีนะครับ ตอนที่เดินขบวนไปที่หน้าสถานทูตอเมริกันนะ พวกเราก็มีปืน ปืนลูกซองด้วยนะ ใส่ไว้ในรถ แต่คุณจะไปทำอะไรได้ คุณจะไปยิงกับใคร อีกฝ่ายหนึ่งเขาก็เขวี้ยงระเบิด เราก็มองไม่เห็น พกมาก็ไม่ได้ยิงกับใคร ก็ถูกเขายิงตายและก็ล้มไปเรื่อยๆ 

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนเหตุการณ์ฐานทัพอเมริกันนี่ตายไปกี่คนครับ
คุณประยุทธ  : จำไม่ได้ หลายคนครับ เขวี้ยงน้อยหน่ามาหลายลูก แต่ก่อนนี่คือถ้าว่างก็คือไปงานศพครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : เขาเรียกเป็นวีรชนหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : แล้วแต่ว่าจะเรียกอะไร หรือว่าไปเยี่ยมคนที่บาดเจ็บ จากสะเก็ดระเบิดหรือถูกยิงอย่างนี้นะครับ ไปให้กำลังใจหลังจากที่ว่างจากงานชมรม งานเรียนหนังสือ ก็ต้องไปเป็นกิจวัตรเลย เราะว่ามันมีการล้อมปราบกันมากขึ้น เป็นเรื่องปกติครับสมัยก่อน ชาชิน เขาจะเอาอย่างไรกับเรา

ผู้สัมภาษณ์  : มาถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาพี่อยู่ในเหตุการณ์ส่วนไหน อย่างไรบ้างครับ
คุณประยุทธ  : ตอนนั้นผมนอนค้าง ก็ยังอยู่ชมรมอนุรักษ์ แต่ก็ไปอยู่ส่วนของ อมธ. ฝั่งที่เขาวิเคราะห์ข่าว หน่วยวิเคราะห์ข่าว  ผมหนีออกมาได้หกตุลาในตอนเช้า

ผู้สัมภาษณ์  : บทบาทของพี่เป็นอะไรครับ
คุณประยุทธ  : เหมือนเดิมครับ ไม่ได้อยู่ในแกนนำ ก็คือช่วยเหลือกันนี่แหละครับ คล้ายว่าเขาประท้วงกันเราก็ดู ช่วยอะไรได้ก็ช่วย เราฟังเขาวิเคราะห์เราก็คิดว่าเสร็จแน่ๆ และก็ฟังเขาอ่านข่าว วันที่ห้าตุลาที่มีภาพการแขวนคอ เราก็คิดว่าลำบากแล้วแหละ เพราะเราก็ไม่ยอมสลายการชุมนุมเลย 

ผู้สัมภาษณ์  : เช้ามืดพี่ออกมาอย่างไรครับ แล้วเหตุการณ์เป็นอย่างไรบ้าง
คุณประยุทธ  : มันโชคดีอย่างหนึ่งครับ ตรงที่ว่าผมออกมาตอนคนเจ็บข้ามเรือมาฝั่งศิริราช คนเจ็บมีอยู่ 2-3 คนครับ ผมออกมาก็เลยขึ้นเรือ ขึ้นเรือตำรวจน้ำด้วยนะครับ

ผู้สัมภาษณ์  : หมายถึงว่าเขายิงเข้ามาก่อนแล้วเขาก็เอาคนเจ็บไปส่งหรือครับ
คุณประยุทธ  : ครับ หนีมาจนถึงริมน้ำแล้วออกมาตรงท่าพระจัน  คนที่ช่วยหอบหิ้วคนเจ็บมามันก็ขึ้น  พอดีผมขึ้นเรือไป แล้วพอเงยหน้ามาก็อ้าว  คนขับนี่เป็นตำรวจน้ำ แต่เป็นตำรวจแก่ๆนะ เขาก็ไม่สนใจ เขาพาเราข้ามไปส่ง เราก็เลยรอด  ผมก็ยังยืนงงๆอยู่ครับ แล้วก็พอหลังๆก็มีเรือลำหนึ่งมา  โดนจับไปหมดแล้ว ผมว่าน่าจะมีคำสั่งให้จับ  ผมขึ้นโป๊ะได้ ผมยังยืนอยู่ตรงนั้นนะและก็โบกมือให้คนเจ็บ คนหนึ่งโดนทะลุ อีกคนหนึ่งโดนสะเก็ด  ผมหนีมาถึงท่าน้ำตรงแถวๆปิ่นเกล้า มีรุ่นน้องคนหนึ่งโดนสะเก็ด  เลือดโชกหน้าเลย  สลบไปและก็มีคนหามออกมา 2-3 คน  แล้วก็ส่งขึ้น  ผมยังยืนงงอยู่ที่โป๊ะ  แต่ก็เป็นห่วงว่าจะเป็นอย่างไร ก็มีเรืออีกลำหนึ่งมีนักศึกษา มีคนเจ็บ ผมไม่โดนอะไรครับ ผมเอะใจว่าชักจะไม่ดีแล้ว ผมก็ไปครับ 



ผู้สัมภาษณ์ 
: ตอนนั้นใส่ชุดอะไรครับ ไม่ได้ใส่ชุดนักศึกษาใช่ไหมครับ
คุณประยุทธ  : บังเอิญผมใส่เสื้อขาวครับ ก็เป็นเสื้อขาวธรรมดา ผมรอดโดยบังเอิญครับ ไม่ต้องโดนจับ เหมือนคนที่ไม่หนีข้ามมานี้ก็โดนหมดเลย อย่างผมได้นั่งเรือตำรวจน้ำมาด้วย

ผู้สัมภาษณ์  : หลังจากนั้นเป็นอย่างไรต่อครับ
คุณประยุทธ  : หลังจากนั้นก็กลับมาบ้าน กลับมามาดูข่าว รู้สึกแย่ไปหลายวัน ผมก็ไปพักต่างจังหวัดอยู่ 2-3 วันครับ ผมไปเมืองกาญฯ ไปบ้านญาติ แล้วก็กลับมา

ผู้สัมภาษณ์  : เพื่อนส่วนใหญ่ก็โดนจับไป ได้ไปเยี่ยมบ้างหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : ไม่ได้เยี่ยมครับ ก็พอตอนนั้นก็เลิกเรียนไป ธรรมศาสตร์ก็มีพวกที่เข้าป่า เขาก็เข้าป่าไป ตอนแรกผมก็มีความคิดที่จะเข้าป่าเหมือนกัน แต่ว่าคนที่อยู่กรุงเทพเขาบอกว่าอย่าเพิ่งเข้า ให้อยู่ในกรุงเทพ เพราะว่าเขาให้เราช่วยติดต่อประสานงานครับ คล้ายๆมันไม่มีตัวเปิดตัวปิดหายไปหมด 

ผู้สัมภาษณ์  : ถือว่าเป็นคนทำงานเมือง ใช่ไหมครับ
คุณประยุทธ  : ครับ สมัยก่อนไปเยี่ยมเพื่อนยังตลกโปกฮาเลย ทางอะไรอย่างไรอย่างนี้ตอนเย็นๆก็มานั่งริมถนน พวกตำรวจทหารมันไม่มาหรอก เลย 4-5 โมงเย็นมาแล้ว มานั่งคุยกับเพื่อน นอนดูดาว

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนนั้นรู้ตั้งแต่แรกหรือเปล่าครับว่าทำงานให้พรรค
คุณประยุทธ  : ก็รู้ครับ คือหลัง 6 ตุลา ก็รู้ว่าเพื่อนไปอยู่คอมมิวนิสต์แล้วความที่เป็นเพื่อน มันต้องช่วยกันไงครับ ก็ไม่ได้ซีเรียสว่าต้องเป็นคอมมิวนิสต์เป็นอะไร

ผู้สัมภาษณ์  : เขากันเราเป็นแนวร่วม ใช่ไหมครับ ไม่ได้เป็นคนที่ปฏิบัติงานจริงๆจังๆ
คุณประยุทธ  : ไม่ๆครับ เราไม่ได้ซีเรียสขนาดนั้น เราเป็นแค่แนวร่วมเฉยๆ ช่วยพรรคพวก

ผู้สัมภาษณ์  : ประมาณปีไหนครับ ที่เขาเลิกติดต่อเรามา
คุณประยุทธ  : ประมาณ 21-22 ครับ นานเหมือนกันครับ นักศึกษาเข้าไปอยู่มโหฬาร ครั้งหนึ่งเข้ามาซื้อท่อน้ำ เพราะว่าพรรคพวกนักศึกษาที่เขาไปอยู่พัทลุงฝั่งสตูลเขาเข้ามาซื้อท่อน้ำเพื่อไปทำไฟฟ้าพลังน้ำ

ผู้สัมภาษณ์  : มาซื้อถึงกรุงเทพเลยหรือครับ
คุณประยุทธ  : ครับ มีรุ่นพี่คนหนึ่งที่เขาเป็นวิศวะ แล้วพี่ชายเขาเป็นหมออยู่อเมริกา เขาก็ต้องคำนวณว่าต้องใช้เท่าไหร่ แบบไหน อะไรเท่าไหร่ เราก็ซื้อให้รถบรรทุกไป สนุกสนานกันตลกโปกฮาครับ เป็นเรื่องสนุกมากกว่าสมัยก่อน ซื้อท่อนี่ขนาดนี้ ต้องใช้กี่เส้นอย่างไรบ้าง 
แล้วก็ไม่ได้มีอะไรมากครับ  ไม่ได้เป็นงานซีเรียสเป็นงานตลกมากกว่า

ผู้สัมภาษณ์  : เพราะมีหลายคนเขาบอกว่ามีปิดลับอะไรอย่างนี้นะครับ
คุณประยุทธ  : ไม่มีๆปิดลับครับ ถ้าตำรวจมันจับมันจับไปหมดแล้วครับ

ผู้สัมภาษณ์  : แล้วมีคนมาสังเกตหรือเปล่าครับ ว่าคนนี้เป็นคอมมิวนิสต์หรือเปล่า
คุณประยุทธ  : ไม่มีครับ  เพราะผมว่าทางหน่วยราชการเขาคงจะไม่เอาเรื่องเอาราวนักศึกษาหรอก  ขนากเพื่อนที่โดนที่ลงมาจกป่าถูกจับไปอยู่ค่ายทหารที่จังหวัดไหนไม่รู้  เขายังหนีออกมาได้ระ  เพราะว่าเขาไม่ได้ขังไว้  แค่กักบริเวณ  มันหนีมาขึ้นรถทัวร์อะไรอย่างนี้ ก็เล่าเป็นเรื่องตลกกันไป  เพราะพอเจ้าหน้าที่รู้ว่าคนนี้มันหนีก็ตามมาขึ้นรถทัวร์แล้วบังเอิญมาขึ้นที่เดียวกัน  ก็พอเห็นก็ทักทายกันแล้วก็โดนจับอีก  จับก็จับ กลายเป็นเรื่องตลก  คือเขาไม่ซีเรียสไม่ได้เอาตาย  เจ้าหน้าที่สมัยก่อนเขาอาจจะจับนักศึกษาไปขั้นหนึ่งทำเป็นแนวร่วม  เป็นอะไรอย่างนี้นะครับ ผมก็ไม่รู้ครับ  ฟังเขาเล่าก็เป็นเรื่องตลก  ก็มีคนเล่าว่าเรียกไปคุยไว้เฉยๆ  ไม่ได้ตบตีอะไร  คงจะไม่เหมือน 4-5 ปีที่เขาทำกับปักใต้ที่เอาไปซ้อมกันเลย  สมัยก่อนมันไม่ขนาดนั้น  อยู่กันฉันท์มิตรมากกว่า

ผู้สัมภาษณ์  : ถ้าให้ลองนึกย้อนกลับไปในช่วงเวลานั้น ในเหตุการณ์สิบสี่ตุลาพี่พอจะนึกถึงอะไรครับ เหมือนกับเป็นภาพตราตรึงใจที่มีใครพูดถึงเหตุการณ์นี้ แล้วเรานึกถึงเป็นแว็บแรกนี่คืออะไรครับ
คุณประยุทธ  : คนมันเยอะ คนมาเดินขบวนเยอะมากที่ธรรมศาสตร์นะครับ มันแน่นไปหมด มองไปทางไหนก็เหมือนกับมด 

ผู้สัมภาษณ์  : ตอนที่เขาประชุมกันในช่วงหลังๆนี่เทียบได้หรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : เทียบไม่ได้ครับ สมัยก่อนเยอะกว่า คิดดูว่าขบวนเขาเดินออกไปตั้งกี่ชั่วโมงแล้ว แต่เรายังอัดอยู่ในนี้ ยังออกไปไม่ได้ 

ผู้สัมภาษณ์  : เอาข้าวเอาน้ำที่ไหนกินครับ มีคนมาบริจาคเหมือนสมัยนี้หรือเปล่า
คุณประยุทธ  : สมัยก่อนจำไม่ค่อยได้ครับ มันก็มีนะ มีเยอะแยะ ผมก็ไม่รู้ว่าใครเอามาให้ ไม่ได้สนใจ เพียงแต่สนใจว่าทำไมเขายิงกันอะไรอย่างนี้ครับ 

ผู้สัมภาษณ์  : ถ้านึกย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์หลังสิบสี่ตุลาจนถึงหกตุลาละครับ
คุณประยุทธ  : เหมือนมีความรู้สึกว่าต่างฝ่ายต่างไม่ได้คุยกัน  ก็ไม่เข้าใจกัน  ฝ่ายบ้านเมืองก็กลัวคอมมิวนิสต์มาก  ฝ่ายนักศึกษาก็คิดว่าแนวคิดสังคมนิยม  เป็นทางออกที่ดีที่สุด  ซึ่งอาจจะไม่ใช่ก็ได้  เพราะว่าสมัยก่อนนักศึกษาก็ซ่านะ  ถ้าพูดจริงๆ อย่างคุยกับเพื่อนสนิท  เขาก็บอกว่าสมัยก่อนเราก็บ้าเหมือนกันนะ  เล่นกันเหมือนเขายึดบ้านยึดเมืองอย่างนั้น  เป็นภารกิจที่สูงส่งเหลือเกิน  อีกฝ่ายเขาก็คิดว่าพวกบ้าๆนี่ฆ่ามันซะเลย  ซ่ามากเลย  คือเขาก็มองกัน ตอนนี้มองกลับมันก็ขัดแย้งนะ  ถ้ามีโอกาสคุยก็คุย  คือมันก็ไม่มีอะไรมากเท่าไหร่  คือเข้าใจได้แต่พวกศักดินาอะไรนี่ ปี 18 ลาวล้ม  เขมรล้ม  เวียดนามล้ม อะไรอย่างนี้นะครับ  พวกนี้เขาก็ต้องกลัว เราคิดในมุมของเรา  ซึ่งสมัยก่อนนักศึกษาก็อาจจะมองมุมเดียว  ไม่มีตัวเลือกอื่นเลย  เหมือนกับสมัยนี้คนก็มองว่าไม่เหลืองก็แดง  ซึ่งมันก็ไม่ใช่ทั้งสองฝ่ายที่ดี  มันก็เหมือนภาพมายานะครับ  ตอนนี้ถ้าคุณดูหนังญี่ปุ่น  มันก็จริงๆเพราะว่าญี่ปุ่นเขาก็คอรัปชั่นแบบนี้  รุนแรงมาก  แต่ว่าพอโดนจับได้  เขาก็รีบลาออก  ของเรานี่ไม่ยอม ทำผิดให้เป็นถูก คนละเรื่อง  เพราะขนาดผมกลับมาเรียนปีสองที่ธรรมศาสตร์นี่ อาจารย์ที่คณะเศรษฐศาสตร์  ท่านยังบอกเลยว่าท่านนายกประเทศญี่ปุ่น ทานากะ ต้องลาออก  เพราะว่าท่านมาเซ็นต์รับเมล็ดถั่วเขียว  รับสินบนเป็นเมล็ดถั่วเขียว  เขาก็บอกว่าไอ้นี่เป็นนายกบ้านนอก รถไฟนี่ตามจริงมันไม่ควรผ่าน มันก็มาผ่านได้  มันต้องมีอิทธิพลใช่ไหม  เหมือน สส.บ้านเราไง  การเมืองมันก็ไม่ได้สูงส่งมากกว่าบ้านเรานะครับ  แต่ว่าเขาหน้าบางกว่า  จนกระทั่งล่าสุด  อาทิตย์สองอาทิตย์ที่ผ่านมานี่  ฟังรายการของอาจารย์รัฐศาสตร์จุฬาบอกว่า  ญี่ปุ่นนี่งบในการหาเสียงของ สส.แต่ละคน 80 กว่าล้าน สูงมากๆ  คุณก็มีค่าใช้จ่ายที่ต้องโกง  จะโกงวิธีไหนก็ได้  หนังเรื่องของญี่ปุ่นมันสะท้อนเรื่องความเป็นจริง  มันก็โกงนะแต่อาจจะไม่โฉ่งฉ่างเหมือนบ้านเรา  โกงกันแบบทุกรูปแบบ  ทหาร ตำรวจ นักการเมือง สนุกสนานหมด 

ผู้สัมภาษณ์  : พี่บอกว่ากลับมาเรียนตอนปีสอง แล้วหลังเหตุการณ์นี่ไปทำอะไรอยู่ครับ
คุณประยุทธ  : ก็ช่วยงานพรรคพวก

ผู้สัมภาษณ์  : ทำธุรกิจส่วนตัวด้วยหรือเปล่าครับ
คุณประยุทธ  : ไม่ได้ทำเลย ก็คือทำงานในป่าตลอดเลย ก็ไม่รู้ครับ เพราะว่างานมันเยอะ คนมันหนีเข้าป่ากันหมด

ผู้สัมภาษณ์  : คือเขาเปิดให้เข้ามาเรียนตอน ปี 22 หรือครับ
คุณประยุทธ  : ครับ  คือปีไหนที่เขาเปิดเป็นนโยบาย  22/23 อะไรนี่ละครับ  ผมจำไม่ได้ เพราะตอนนั้นความขัดแย้งในป่ามันเริ่มสูงขึ้น  หลายๆคนก็ลงมาเล่าให้ฟังว่ามันมีปัญหา  วุ่นวายกัน  คล้ายๆทุกคนก็พยายามหาทางออก  บางคนที่กลับมาเรียนต่อนี่  บางทีมีลูกอยู่ข้างบน  เอาลูกมาฝากพ่อแม่ข้างล่าง  พ่อแม่ไม่รับเลี้ยง  ก็เลยต้องออกจากป่ามา  เพราะฉะนั้นคนที่ออกจากป่ามานี่จะหลายแบบ  อย่างเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นหมออยู่ปี 5 บอกว่าความรู้แค่นี้รักษาอะไรไม่ได้  ก็เลยกลับมาเรียน  ความรู้ตัวเองไม่พอ  คนที่ลงมามีหลายปัจจัย  อาจจะมีความขัดแย้งข้างบนด้วยนะครับ  นั้นคือส่วนหนึ่ง  แต่ผมว่าส่วนลึกของคนเรานี่  พอไปถึงจุดหนึ่ง  ถ้าอนาคตไม่แน่นอนตัวเองก็จะคิดถึงตัวเองเลย  ผมว่านั่นเป็นหลักเลย  สถานการณ์ต่างประเทศนี่แค่มีส่วน แต่ว่าลึกๆจริงๆมันจะเป็นอย่างไร  เพราะว่าปัญญาชนเป็นคนคิดมาก  มีคนบอกว่าฟังปัญญาชนเถียงกันแล้วปวดหัว  ไม่รู้คุยอะไรกันบ้าง



จบการสัมภาษณ์