Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Woolrich Outlet

Woolrich

hogan

hogan

hogan

Hogan Sito Ufficiale Hogan Scarpe Hogan Outlet Hogan Scarpe Hogan Hogan Scarpe Hogan Interactive Hogan Donna Scarpe 2013 Hogan Scarpe Outlet Hogan Vendita Hogan Hogan Scarpe 2013 Hogan Scarpe Hogan Scarpe Hogan Hogan Outlet Hogan Scarpe Outlet Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Hogan Outlet Scarpe Hogan Hogan Sito Ufficiale Scarpe Hogan2013 Hogan Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Donna Hogan Interactive Hogan 2013 Hogan Online Hogan Italia Hogan Scarpe
woolrich ASK Hollister Hollister abercrombie abercrombie abercrombie abercrombie woolrich parka Hollister Holliter France Hollister Hollister France Magasin Vetement Hollister Hollister Soldes Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Vente Hollister En ligne Hollister 2013 Hollister France Hollister France 2013 Hollister Hollister Hollister Magasin Hollister Vente Hollister Homme Hollister Pas Cher Hollister T Shirts Hollister Paris Boutique Hollister Vetements Boutique Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Hommes Hollister France Vente Hollister Hollister sortie 2013 Pas Cher Hollister Hollister Pas Cher
บทสัมภาษณ์ - สันติ อิศโรวุธกุล
วันที่ 1 มิถุนายน 2552 เวลา 13.50 น.
สถานที่
สำนักงานกฎหมายกิจธนา ซอยรามคำแหง26/2
ผู้สัมภาษณ์ : โชติศักดิ์ อ่อนสูง   
ตามโครงการของมูลนิธิ 14 ตุลา ในการรวบรวมปากคำของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อไป


ผู้สัมภาษณ์ : เดี๋ยวก่อนอื่นถามก่อน พี่เกิด พ.ศ.อะไรครับ?
คุณสันติ : อ๋อ ผมนี่เกิด 2488

ผู้สัมภาษณ์ : 2488
คุณสันติ : เกิดอยู่คลองแสนแสบ

ผู้สัมภาษณ์ : แถวๆนี้?
คุณสันติ : คลองแสนแสบก็ค่อนมาทางบางกะปิ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วเป็น มีพี่น้องกี่คน?
คุณสันติ : พี่น้องผมมีแค่สาม สองสามคนเท่านั้นเอง

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วเป็นคนที่?
คุณสันติ : ผมเป็นคนกลาง

ผู้สัมภาษณ์ : คุณสันติมีพ่อแม่เป็นคนจีนใช่ไหมครับ?
คุณสันติ : ผมมีเชื้อสายจีน 100% เพียงแต่ว่าผมเกิดที่เมืองไทย


ผู้สัมภาษณ์ : อพยพมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่หรือเปล่าครับ?

คุณสันติ : อพยพมาตั้งแต่รุ่นนั่นน่ะ รุ่นก๋งรุ่นยายอะไร

ผู้สัมภาษณ์ : แต่พ่อ พ่อพี่ก็เกิดที่เมืองไทย?
คุณสันติ : พ่อผมเกิดที่เมืองจีน ก็รุ่นผมเท่านั้นที่เกิดที่เมืองไทย ผมเรียนทั้งโรงเรียนจีนและโรงเรียนไทยในกรุงเทพ ก็เหมือนเด็กทั่วไปพอโตขึ้นมาหน่อยก็เรียนโรงเรียนไทยเสร็จแล้วก็ไปเรียนอเมริกา

ผู้สัมภาษณ์ : เรียนจริงๆเรียนก่อนเกณฑ์หรือว่ายังไง?
คุณสันติ : เรียนตามเกณฑ์นะปกติ ก่อนที่จอมพลสฤษดิ์จะประกาศยกเลิกยกเลิกโรงเรียนจีน

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงประกาศ?
คุณสันติ : อย่างเป็นทางการนี่ ตอนหลังโรงเรียนจีนก็ถูกสั่งปิดไปหมด

ผู้สัมภาษณ์ : เข้าใจว่าสมัยจอมพลสฤษดิ์?
คุณสันติ : เข้าใจว่าสมัยจอมพลสฤษดิ์ ก็เลยโรงเรียนจีนถูกสั่งปิดทั่วประเทศ ก็เลย…

ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้คือเหตุการณ์หลังจากเข้าโรงเรียนจีนไปแล้ว?
คุณสันติ : ใช่ คือๆผมจบออกมาก็พอดีเขาสั่งยกเลิกหมด ไม่ใช่ถูกสั่งยกเลิกกลางคัน ก็เหมือนกับลูกจีนเป็นล้านคนละมั้งที่เรียนโรงเรียนจีนหลังจากนั้นโรงเรียนก็สั่งปิด ก็ไม่ได้เรียนอีกก็เข้าโรงเรียนใหม่

ผู้สัมภาษณ์ : โรงเรียนจีนนี่คือเข้าไปเรียนป.1 ?
คุณสันติ : ป.1

ผู้สัมภาษณ์ : หลักสูตรก็คล้ายๆของไทย
คุณสันติ : เรียนโรงเรียนจีนก็เรียนทั้งภาษาจีนและภาษาไทยควบคู่กันไปเรียนโรงเรียนจีนก็หลักสูตรเดิม หลังจากนั้นก็มาเข้าโรงเรียนไทย…

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ
คุณสันติ : ก็มาเรียนภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแทนที่จะเป็นภาษาจีนก็เหมือนคนไทยทั่วไป เด็กไทยก็เหมือนๆกัน

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ ตอนเข้าโรงเรียนแรกๆเนี่ยประมาณ พ.ศ. อะไรครับ?

ผู้สัมภาษณ์ : ครับโรงเรียนจีน
คุณสันติ: ผมก็ลืมผมจำได้ว่า 6 ขวบมั้ง 6-7 ขวบ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ แล้วก็เรียนจนจบป.4
คุณสันติ : ป.4 เรียนจนจบป.4 แล้วก็มาเข้าโรงเรียนไทย ม.1

ผู้สัมภาษณ์ : คือพี่จบป.4 แล้วเข้าม.1 เลยใช่ไหม?
คส ก็ธรรมดา จบป.4 แล้วก็ไปเข้าโรงเรียนม.1

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นโรงเรียนไทยโรงเรียนจีนอยู่ใกล้บ้านหรือว่ายังไงครับ?
คุณสันติ : มันก็ค่อนข้างใกล้เพราะว่าตอนนั้นผมอยู่ประตูน้ำก็คลองแสนแสบก็เลยไปหน่อยหนึ่ง โรงเรียนจีนมันก็อยู่แถวๆโรงแรมอะไรเขาเรียกที่อยู่ใกล้ๆมักกะสันน่ะ ตรงประตูน้ำแล้วเลี้ยวไปทางมักกะสันอ่ะมันมีโรงเรียนจีน

ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อแถวๆโรงแรมอินทรา
คุณสันติ : อ่า แถวๆโรงแรมอินทรานึกออกไหมแถวนั้นมันเป็นสวนผักไง แถวๆนั้นมันมีโรงเรียนอยู่แล้วตอนนี้เขายกเลิกหมดแล้วไง ผมเดินไปเรียน เดินไปเรียนนะไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นนี่เรื่องในโรงเรียนมันมีเรื่องชาตินิยมหรือเรื่องอะไรงี้บ้างไหมครับ?
คุณสันติ : ชาตินิยม

ผู้สัมภาษณ์ : ชาตินิยมมันตอนพ.ศ.2504-2505
คุณสันติ : ก็ไม่รู้สึกอะไรเพียงแต่ว่าเราเป็นเด็กเราก็เรียนตามระบบเขาอ่ะ ก็โรงเรียนไม่ได้เสริมการเรียนไม่ได้เสริมอะไร แต่ก็มีโรงเรียนจีนที่มีทั้งเด็กไทยเด็กจีนเรียนปนกันหมดอ่ะ ก็คือมีเด็กไทยก็คือมีทั้งภาษาไทยภาษาจีนมันปนกันอ่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : ทำไมคนไทยคนไทย…
คุณสันติ : คนไทย..

ผู้สัมภาษณ์ : ไปเรียนโรงเรียนจีน?
คุณสันติ : ผมก็ไม่รู้จะตอบแทนคนอื่นไม่ได้แต่มันมีเชื้อไทยแท้เชื่อจีนบ้างเรียนปนกัน มันมีเป็นหลักสูตรปกติของกระทรวงคือเปิดให้โรงเรียนจีนสอนภาคภาษาไทยปนอังกฤษ ให้ปนๆกับจีน

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงก็มีวิชาสังคม วิชาอื่นปนกันไป
คุณสันติ : ก็ปกติ ปกติเพียงแต่มันมีเพิ่มปนกันไปแทนที่ จะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาจีนเท่านั้นเอง

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือพอจบป.4 แล้วก็ไปเรียนต่อม.1?
คุณสันติ : ก็ไปเรียนต่อม.1 ที่โรงเรียนไทยโรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง

ผู้สัมภาษณ์ : สันติราษฏร์แถว?
คุณสันติ : แถวนี้ แถวพญาไทตอนนี้ก็เป็นอย่างงี้

ผู้สัมภาษณ์ : แถวถนนพญาไท
คุณสันติ : แถวถนนพญาไทแถวนั้นแหละ

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นเดินทางยังไงครับไปเรียน?
คุณสันติ : ตอนนั้นรู้สึกว่าจะมีรถเมล์ ผมจำได้ว่าขึ้นรถเมล์ตรงประตูน้ำแล้วมันก็วิ่งผ่านโรงเรียนง่ายสะดวก เที่ยวเดียวก็ถึง

ผู้สัมภาษณ์ : ช่วงที่พี่เปลี่ยนโรงเรียนที่ย้ายโรงเรียนนี้เข้าใจว่าจอมพลสฤษดิ์ก็น่าจะเสียแล้ว ช่วงไหน?
คุณสันติ : ผมก็จำไม่ได้ว่าช่วงไหน แต่ผมรู้ว่าช่วงที่เขาตายนี่มันเป็นเรื่องใหญ่มากของประเทศ จอมพลคาดขาวม้าแดงอะไรนี้ผมพอจำได้ อะไรทำนองนั้นแหละ และผมจำได้ว่ามันมีบางคนชอบใจที่ตายบางคนเสียใจอะไรทำนองนั้น เราเป็นเด็กเราไม่ค่อยได้สนใจตรงนั้น แต่รู้อย่างหนึ่งว่ามันเป็นเหตุการณ์ที่หนังสือพิมพ์ต่างก็ตีข่าวใหญ่แค่นั้นเอง

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วสมัยนั้นพี่…
คุณสันติ : จำได้ว่าสมัยจอมพลสฤษดิ์มีการยิงเป้าคนที่แถวๆสนามหลวง อะไรงี้ยังจำได้ตรงนั้นแล้วมีข่าวมีข่าว

ผู้สัมภาษณ์ : …6:23
คุณสันติ : ผมไม่เคยไปดูคนที่ถูกยิงเป้า แต่รู้ว่าเอาไปยิงเป้าสนามหลวงแถวๆนั้นอะไรอย่างงี้ พอจำได้จำได้
จำได้ว่าพอมีไฟไหม้ทีไรก็หาคนที่ถูกนำมายิงเป้าหาว่าเป็นคนต้นเพลิงคนไรอย่างงี้ ชาวบ้านก็โดนยิงเป้าไปหลายคนเรื่องไฟไหม้เรื่องไรทำนองนี้ จำได้ว่ามันมีเหตุการณ์อย่างงี้หลายครั้ง หาว่าเป็นต้นเพลิงยิงเป้าโดยไม่ได้ผ่านกระบวนการยุติธรรมขึ้นศาลอะไร ผมไม่ได้จำอะไรแต่จำได้อย่างเดียวคือมันเร็วมากจำได้ไม่กี่วันก็เอาไปยิง ยิงเป้า กลางเมือง อะไรทำนองนั้น

ผู้สัมภาษณ์ : ช่วงพี่โตคือช่วงที่อยู่ในยุคทหารมาตลอดอะไรงี้
คุณสันติ : ผมจำได้ว่าอยู่ในช่วงนั้นมาตลอดทหารเป็นใหญ่ทหารคลองเมืองอะไรงี้

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วในชีวิตประจำวันเราเจอทหารเจออะไรงี้
คุณสันติ : เราก็ไม่ได้สนไม่ได้อะไรเขา 10:15

ผู้สัมภาษณ์ : แต่ก็มีทหาร
คุณสันติ : เราก็เห็นว่าทหารวางตัวเป็นใหญ่ ลากไปไหนทหารเบ่งอย่างงี้ผมรู้สึกอย่างนั้นก็มีสองอย่างตำรวจเด่นทหารเด่นอะไรอย่างงี้ ซึ่งเราก็คนธรรมดาชาวบ้าน นี่ไม่ใช่ผมคนเดียวคนในยุคผมก็รู้สึกอย่างนั้นรู้สึกอย่างนั้นจริงๆแม้กระทั่งการเมือง การเมืองก็รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วโอเค พอไปเรียน ไปเรียนสันติราษฎร์เรียนจนถึงม.ไหน?
คุณสันติ : ถึงม.6 จบธรรมดาแต่ว่าผมค่อนข้างเสียเปรียบเขาอยู่เพราะว่าเป็นเด็กมาจากโรงเรียนจีนอ่ะนะภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องเลย แล้วผมก็ไปเข้าม.1 คนอื่นเขาเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่อนุบาลแล้วผมก็ไล่มาไล่มาเหนื่อยแต่ผมก็พยายามหาความรู้ใส่ตัว ตอนม.3 ผมเริ่มพูดภาษาอังกฤษได้ อาจจะไม่ดีแต่พอรู้เรื่อง เริ่มคุยกับฝรั่งรู้เรื่อง ผมก็ไม่รู้ยังไงแต่ผมรู้สึกว่าสนใจเรื่องการศึกษาเราก็ต้องให้ทันเขาอ่ะ เพราะคนอื่นมันเรียนมาตั้งแต่ป.1 อนุบาล1 ทำนองนั้น

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วทีนี้หลังจากจบจบจากสันติราษฎร์แล้วไปต่อที่ไหนอีก?
คุณสันติ : จบจากสันติราษฎร์ก็หาทางไปเมืองนอกอย่างเดียวแต่ว่าผมก็ได้ไปทำงานให้จัสแม็ก
(Jasmag)ก่อน ภาษาอังกฤษผมพูดรู้เรื่องอยู่บ้างก็เลยไปทำงานให้จัสแม็กอยู่ประมาณปีสองปีจากนั้นก็ไปเมืองนอก ไปอเมริกา ตอนนั้นผมรู้เรื่องของทหารเพราะว่าทหารของอเมริกามาแล้วมามีฐานทัพอยู่นั่นอยู่นี่ทำให้ผมรับรู้เรื่องการเมืองมากขึ้น ทำไมต้องให้ทหารฝรั่งมา ตั๊งฐานทัพในเมืองไทยเขาเรียกว่าการ ที่ หน่วยทหารอเมริกันมาตั้งฐานในประเทศไทย เป็นการร่วมมือกันระหว่างทหารไทยกับทหารอเมริกัน ตอนนั้นเริ่มสงครามเวียดนามแล้ว ฝ่ายไทยก็เข้าเป็นพันธมิตรกับอเมริกาเพื่อไปทำสงคราม เราไปเป็นพันธมิตรอเมริกาทำสงครามกับเกาหลีแล้วก็มาเวียดนาม

ผู้สัมภาษณ์ : เดี๋ยวนะพี่น่าจะจบ น่าจะจบ พ.ศ.ไรอ่ะ?
คุณสันติ : 5 6 7 8 9 10 น่าจะ พ.ศ.2510 ได้มั้ง

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วก็ไปทำงานปีสองปี
คุณสันติ : อ่าไปทำงานปีสองปีติดต่อที่เรียนได้ พอติดต่อที่เรียนได้ก็เลยลาออกจากนั้นก็ไปเมืองนอก

ผู้สัมภาษณ์ : ไปเมืองนอกก็คือไปเรียน?
คุณสันติ :  ไปเรียน

ผู้สัมภาษณ์ : ไปเรียนต่อปริญญาตรี
คุณสันติ :  ใช่

ผู้สัมภาษณ์ : ไปเรียนศิลปะหรือว่าอะไร?
คุณสันติ :  ผมก็ไปเรียนศิลปะ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ เรียนนั่นเรียนนี่อะไรที่อยากเรียน พอดีผมได้ทุนศิลปะผมก็เลยเรียน คือตอนอยู่เมืองไทยนี่ผมก็ชอบภาษาอังกฤษคือผมก็พูดภาษาอังกฤษได้บ้างตอนเด็กๆแต่ก็ชอบศิลปะก็เลยไป แล้วมีพรรคพวกหลายคนที่หากินด้วยการเขียนรูปขาย  หากินอยู่ในวัดโพธิ์ เขียนรูปสโตนรับบิ้ง STONE  RUBBING คือการลอกรูปภาพออกมาในกระดาษลอกแล้วก็ขายเป็นชิ้นๆก็เขียนไปเรื่อยรู้ว่าศิลปะไทยเป็นไงอย่างงี้ โดยไม่มีใครมาสอนโดยที่เราเรียนรู้ แล้วก็เขียน

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือตอนเรียนมัธยมคือเรียนปกติ?
คุณสันติ :  เรียนปกติ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วได้เรียนไรฝ่ายศิลปะหรือเปล่า?
คุณสันติ :  ไม่ไม่ ไม่ได้เรียนไรพิเศษเลย เพียงแต่ว่าทีแรกเพื่อนผมไง พูดภาษาอังกฤษได้ก็ช่วยกันขายของนี่แหละ พอมีคนเราก็ไปทำกับเขาบ้าง ก็เลยหัดเขียนเอาเองโดยที่ไม่มีครูมาสอน พวกเราเรียนรู้กันเอง สอนกันเอง
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วที่บ้านเขาว่าไงบ้างที่พี่เรียนศิลปะ?
คุณสันติ :  ที่บ้านเขาไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว เขาว่าจะเลี้ยงตัวเองได้ไง แต่มันก็มีเงินนะตอนนั้นเขาขายของได้ดี มีเงินเช่าบ้านก็มีแต่วัยรุ่นอ่ะ 6-7 คนเช่าบ้านหลังหนึ่งหลายพันบาทในซอยอ่ะ สะพานควายเข้าซอยอินทมระอะไรแถวนั้นอ่ะ อายุสิบกว่าขวบ วัยรุ่น4-5 คนเช่าบ้านหลังหนึ่งสี่ห้าพัน คือใหญ่มากนะหลังเบ้อเร่อเลย แล้วก็ขายรูปได้ขายให้ฝรั่งแล้วยังส่งตามร้านอีก ตอนหลังนี่มาทำบล็อกเลย เราทำบล็อกเป็นของเราเลยแล้วเราก็ไม่ต้องไปทำงานที่วัดแล้วเรารูดของเราได้เองเลย ทำนองนั้นแหละก็อปปี้มา อย่างงี้แหละก็เลยเริ่มต้นก็เลยสนใจศิลปะ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วที่บ้านเสียค่าเช่าทำไม
คุณสันติ :  ก็อยู่ด้วยกันนี่ก็เป็นโรงงานผลิต เป็นลักษณะโรงงานผลิตเมื่อเทียบกับโรงงาน ก็มีเงินมีทองก็อยู่กัน

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นปี อยู่ประมาณม.ไหนครับ?
คุณสันติ :  ราวๆม.5 มั้ง ม.4 ม.5ก็เลิกแล้วเด็กซนอ่ะ ไม่ได้เกเรนะซนอ่ะอยากได้ของใหม่พอขายของได้

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วอย่างงี้พอไปพอไป ที่ไปเรียนต่างประเทศนี่คือที่บ้านส่ง
คุณสันติ :  ที่บ้านส่งก็ส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งผมก็เก็บเงินของผมไว้ก้อนหนึ่งงี้ แล้วก็เริ่มต้นไปแล้วก็มาทำงานให้ Jusmag เงินเดือนมันก็ดี แล้วพอเก็บเงินได้หลายหมื่นไปแล้วก็ไปเอง มีเงินค่าตั๋วเครื่องบินไปเอง ค่ากินยังไม่ได้ไปหาเอาข้างนอกก็โอเค

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วไปอยู่ที่นู่นมีงานหรือว่ายังไง?
คุณสันติ :  ไม่มีงานหรอกครับไปใหม่ๆก็ไม่มีงาน แต่เราไปอยู่กับคนไทยอยู่บ้านเราก็ไปอยู่กับเขา ไปอาศัยอยู่กับเขา แต่ว่าพอ ภาษาอังกฤษของเราดีกว่าพวกเขาบ้าง ดีแต่ไม่ได้ดีมากนะ เขาก็เห็นใจเรา เราก็ช่วยเขาทำงานบ้าน ทำอะไร ก็พอมีกินมีอยู่มีใช้แล้วก็ระหว่างนั้นเราก็แสดงงฝีมือศิลปะเป็นผลงานให้สถาบัน พิจารณาให้เขาเห็น เขายอมรับ เขาก็พิจารณาให้ทุนการศึกษาในปีถัดไป ตอนนั้นเขาให้เราเข้าไปก่อนเขาทดสอบเรา ให้เราปั้นให้ดู ให้เราเขียนรูปให้ดู อะไรอะไรให้ดูแล้วก็ทดสอบภาษาอังกฤษเราแล้วก็เข้าไปเรียน

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นคือพี่ไปอยู่อเมริกา
คุณสันติ :  ไปอยู่อเมริกา เรียนที่ Chicago Institute เป็นทั้งโรงเรียน เป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ ที่มีชื่อเสียงที่โลกรู้จัก

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นได้ตามข่าวที่ไทยบ้างหรือเปล่า
คุณสันติ :  ก็ตามอยู่

ผู้สัมภาษณ์ : เพราะตอนนั้นมันน่าจะมีประกาศรัฐธรรมนูญใหม่ การเลือกตั้ง
คุณสันติ :  ตอนนั้นรู้สึกมันเริ่มจะมีกระบวนการนักศึกษาแต่ว่ามันยังไม่ชัดเจนตอนนั้น แล้วจู่มันก็มีการเดินขบวน มีคนตาย มีอะไรที่น่าสนใจมากขึ้นเกี่ยวกับรัฐบาล

ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้หมายถึง 14 ตุลา?
คุณสันติ :  14 ตุลา

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือตอน 14 ตุลานี่พี่ยังอยู่ต่างประเทศ
คุณสันติ :  ใช่ ยังอยู่ที่นู่น ก็ได้ฟังข่าวตลอดรับรู้ รับรู้เนื่องจากเมือง Chicago ที่ผมอยู่นี้มันเป็นเมืองการเมืองแท้ๆ ขบวนนักศึกษาอเมริกันมีการต่อต้านสงครามเวียดนาม แล้วโรงเรียนผม โรงเรียนศิลปะของผมมันอยู่ใกล้ๆกันอ่ะมันก็ต้องรับรู้ อยู่ใกล้ๆสวนสาธารณะมันก็มีคนไปชุมนุมกันเป็นแสนเลยอ่ะก็แค่นั้น เราก็ได้เรียนรู้เรื่องการเมืองด้วยไง เป็นเรื่องธรรมดาการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพปกติ ใครก็แสดงออกได้

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วคนไทยที่อเมริกา ใกล้ๆกับที่เกิด 14ตุลาหรือหลังจากที่เกิด 14ตุลาไปแล้วเนี่ยคนไทยที่อเมริกามีการรวมตัวกันทำกิจกรรม…
คุณสันติ : ก็มีแต่ยังค่อนข้างอยู่ในระดับจำกัดอยู่ เพราะคนไทยส่วนใหญ่นี้ในรุ่นผมนี้ส่วนใหญ่จะเป็นลูกท่านหลานเธอหรือลูกเสี่ย ลูกชาวนาไม่ค่อยได้มีโอกาสหรือลูกคนธรรมดาไม่ค่อยได้มีโอกาสไปเรียนหรอก พวกนี้ก็จะมีความคิดทางการเมืองค่อนข้างอนุรักษ์นิยม หรือไม่ถ้าทันสมัยก็เป็นแบบอเมริกันไปเลยก็เป็นแบบเสรีนิยมไปเลย แต่ในเชิงเพื่อสังคมจริงๆมันมีน้อยอ่ะ แต่มันก็มีการรวมตัวคนไทยในอเมริการมันก็มีการรวมตัวกันจัดงาน แล้วก็ระดมทุนแล้วก็ส่งเงินมาช่วย 14 ตุลาเราก็ทำก็มีคนทำ ก็มีคนไทยในอเมริกาที่มีสำนึกทางการเมืองที่ยังเป็นห่วงบ้านห่วงเมืองห่วงบ้านก็มี ที่แต่งงานกันแล้วก็เก็บเงินที่ส่งมาก็มี

ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้น่าจะหลัง 14 ตุลาแล้ว
คุณสันติ :  อ่า หลัง 14 ตุลาใหม่ๆมันก็มี แล้วก็เป็นเรื่องต่อเนื่องจน 6 ตุลามีการรวบรวมเงินด้วยก็คือมันก็มีการเริ่มต้น มีการปลุกขึ้นมาก็ทำให้บทบาทของคนอเม คนไทยในอเมริกาต่างประเทศมีบทบาทสูงขึ้น คนในญี่ปุ่นหรือที่ไหนไม่รู้ คนไทยในอังกฤษ คนไทยในอเมริกา คนไทยในฝรั่งเศส ในในฮอลแลนด์หรืออะไรหลายประเทศ เขามีการรวมตัวติดต่อกันสร้างเครือข่าย

ผู้สัมภาษณ์ : พี่อยู่อเมริกาถึงปีไหน
คุณสันติ :  ผมอยู่แปดปี ผมเรียนปริญญาตรี ปริญญาโทที่นั่นได้ทุนตลอดทุกปี

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือน่าจะประมาณก่อน 6 ตุลากลับเมืองไทย?
คุณสันติ : คือผมกลับมาก่อน 6 ตุลา 1ปีกลับมาทัน 6 ตุลา

ผู้สัมภาษณ์ : เอ้อแล้วตอนกลับมาทัน เอ้อตอนพี่มาทำงานอะไรยังไง?
คุณสันติ :   กลับมาผมก็มาสอนเป็นอาจารย์พิเศษบ้างตามมหาลัยก็แค่นั้น

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นที่กลับมา ตอนกลับมาไทยเห็นความเปลี่ยนแปลงมากไหมครับ?
คุณสันติ :  ผมรู้สึกว่าการเมืองไทยมัยก้าวหน้าขึ้น แล้วก็มีคนแสดงออกทางการเมืองมีคนกล้าแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเพิ่มขึ้น แต่ภายในมหาวิทยาลัยกลับไม่ค่อยก้าวหน้า ในหมู่คณาจารย์ยังไม่ก้าวหน้าทันนักศึกษา นักศึกษามีความคิดทางการเมืองที่ก้าวหน้ายิ่งกว่าอาจารย์บางคนด้วยซ้ำไป ผมรู้สึกอย่างนั้น

ผู้สัมภาษณ์ : คือตอนที่พี่กลับมาตอนแรกคือปี 18?
คุณสันติ : อ่า 18 ก่อนมีเรื่อง 19

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่เข้าไปร่วมกับแนวร่วมศิลปินยังไง?
คุณสันติ : ก็อย่างหนึ่งผมสนใจเรื่องศิลปะอยู่แล้วใช่ม๊ะ แล้วผมก็สนใจการเมืองแล้วบังเอิญตอนนั้นรู้สึกว่ามันมีหลายเหตุการณ์ ผมก็คือเขาเรียกอะไรศิลปะ ครุศิลป์ คุรุศาสตร์ คือวิชาศิลปะศึกษา2 ผมก็มาเป็นอาจารย์พิเศษช่วยสอนอยู่ที่จุฬาก็เลยได้รู้จักกับอาจารย์กำจร สุนพงษ์ศรี ท่านเป็นประธานแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทยซึ่งอยู่แนวหน้า ก็เลยผมก็อยู่คณะเดียวกับอาจารย์ก็เลยแนะนำให้รู้จักคนอื่นๆด้วย แล้วก็อาจารย์กำจร ก็เป็นอาจารย์ช่วงนั้นที่เป็นอาจารย์ที่สอนศิลปะที่มีแนวคิดทางการเมืองค่อนข้างก้าวหน้า ก็เลยทำให้ผมได้ไปรู้จักอีกหลายๆคน ก็ไปดูว่าแนวร่วมศิลปินร่วมกันยังไงหัวเราะไป ก็เนื่องจากผมศึกษาศิลปะของทางแม็กซิโก ของศิลปะโลกประเทศตะวันออกด้วย ผมกลับมาผมก็มีหนังสือดีๆเอามาให้พวกแนวร่วมศิลปินได้ดู มีสไลด์ดีๆมาฉายให้ดูอะไรอย่างงี้ ก็ทำให้ได้รู้จักกลุ่มพวกนี้มากขึ้น รู้จักคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนที่กลับมานี่ก็คือตอนนั้นมีแนวร่วมศิลปินตั้งอยู่ก่อนแล้ว
คุณสันติ : มีอยู่ก่อนแล้ว แนวร่วมศิลปินมีตั้งแต่ 14 ตุลามีอาจารย์จ่าง แซ่ตั้ง มีอาจารย์หลายๆคน คืออาจารย์จ่าง แซ่ตั้งนี่ดังอยู่แล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงการตั้งเป็นแนวร่วมมีอยู่ก่อน?
คุณสันติ : ผมเข้าใจว่าก็จะมีถวัลย์ ดัชนี มีอาจารย์จ่าง แซ่ตั้ง มีพวกนั้นนะ ก่อนที่ผมกลับมาผมพอรู้เขาเป็นศิลปินรุ่นใหม่ที่กล้าแสดงออกแล้วมีฝีไม้ลายมือ มีชื่อเสียงทั่วประเทศแล้วก็มีความคิดแนวใหม่หลายๆอย่าง แล้วก็เป็นที่ยอมรับของนักศึกษาศิลปะทั้งนั้น แบบว่าเป็นผู้นำทางความคิดในเรื่องศิลปะสมัยใหม่นะ ไม่ใช่เรื่องการเมือง พอมีนักศึกษาเพาะช่าง นักศึกษามันมีตั้งแต่อะไรนะช่างศิลป์เพาะช่างนะ ไม่ใช่ช่างศิลป์บางคนก็เริ่มสนใจเรื่องการเมือง ช่างศิลป์ เพาะช่าง แล้วเนื่องจากเพาะช่างมันก็แยกเป็นสองสาย เพาะช่างก็แยกมาเรียนวิทลัยครู ก็จบมาเป็นครูศิลปะก็ไปทางประสานมิตร อีกพวกหนึ่งก็ไปทางศิลปินจากเพาะช่างก็เข้าศิลปากรเลย คือมันมีทางเรียนคือช่างศิลป์ เพาะช่าง พอเพาะช่างเสร็จก็แยกแยกทางนี้ก็ไปทางศิลปศึกษาคือสายครู ถ้าสายศิลปินก็มาอีกทาง คือถ้าเห็นอย่างนี้จะเห็นที่มา แต่พอเข้าปั๊บสถาบันมันก็เฮ้ย เราเรียนศิลปะเราต้องการเป็นศิลปินนี่เขาเรียนเราเรียนศิลปศึกษาเราต้องมาเป็นครูสอนศิลปะ ซึ่งตรงนี้มันก็กลายเป็นสองแนวทางที่ไม่ค่อยเข้าและไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน บอกเฮ้ยนี่ฝีมือมึงไม่ถึงฝีมือมึงไม่ถึง ต้องศิลปากรฝีมือถึงระดับหนึ่ง ดังนั้นก็ไปบอกพวกประสานมิตรอะไรเฮ้ยศิลปะ ต้องพวกศิลปะไปยุ่งการเมืองไม่ได้ คือศิลปะเพื่อศิลปะนั่นแนวทางศิลปะเพื่อประชาชน เพื่อสังคม เพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อชีวิตนี่มันเริ่มแยกกัน คนละแนวทาง

ผู้สัมภาษณ์ : โดยสายไหนเป้ฯสายไหนหมายถึงว่า…
คุณสันติ : สายคือสายที่ไม่ใช่ในสายทางศิลปากรนี่นะ สายนี้จะชูเรื่องศิลปะเพื่อศิลปะ โดยไม่อยากยุ่งการเมือง และสายที่มาจากเพาะช่างเหมือนกันแหละก็ฉีกแนวออกมา อีกแนวหนึ่งอาจจะมาจากที่ไม่ใช่ศิลปากร เพาะช่างออกมาก็ไปอยู่ประสานมิตรบ้าง ไปอยู่จุฬาบ้าง อยู่อะไรหลายๆที่ พวกนี้จะเป็นสายศิลปะเพื่อสังคม เพื่ออะไรอย่างงี้แต่ว่าทางศิลปากรรับไม่ได้ ศิลปากรรับไม่ได้จะเอาศิลปะมายุ่งกับการเมืองไม่ได้รับไม่ได้ เขาไม่มีแนวคิดที่จะรองรับตรงนี้ได้เลย เพราะว่าตอนที่เขาเรียนเพาะช่างเขาอุตส่าห์สอบเข้าศิลปากรก็เพื่อจะเป็นศิลปิน ชีวิตเขาต้องการเป็นศิลปิน เขาไม่ต้องการยุ่งกับการเมืองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นพื้นฐานทางความคิดเขารองรับตรงนี้ไม่ได้ แม้กระทั่งเอ่อ แม้กระทั่งทางศิลปากรเขาก็ไม่ใช่แนวคิดทางเอกภาพทุกอย่าง อย่างถวัลย์ ดัชนี ผมไม่ได้ยกย่องเขานะไม่ได้โจมตีใครแต่ว่าถวัลย์ ดัชนี เคยแสดงงานของเขาที่สำนักงานกลาง นักเรียน คริสเตียนที่เตรียมตรงราชเทวี ก็ถือว่าภาพเขียนก็ยังโดนไฟเผา โดนกรีดเสียหาย อะไรทำนองนั้น โดนไฟเผา ซึ่งตอนนั้นก็ยังไม่มีใครพูดได้ว่ามันเป็นเพราะความขัดแย้งทางความคิดอะไรทำนองนั้น มันอาจจะมีความขัดแย้งหลายอย่างอะไรลึกกว่า นั้นผมไม่รู้ แต่รู้ว่ามันมีกรณีเกิดขึ้นว่า ศิลปะถูกเผาถูกทำลายในที่สาธารณะ เป็นครั้งแรกที่ทำกัน เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าอีกฝั่งหนึ่งเขาไม่ชอบศิลปะเพื่อชีวิต เพื่อประชาชน เพื่อการเมืองมันมาเผา ผลงานของแนวร่วมศิลปินที่กลางถนนราชดำเนิน  กระทิงแดงมาเผา หรือพวกไหนมาเผาเราคงรู้สึกว่าพวกเขาทำถูก ถ้าไม่ถูกมันก็คงไม่ทำอะไร แล้วเราก็ คิดของเราอย่างนั้น แล้วเราก็ไม่ได้เดือดร้อนหรือว่าไปหาเรื่องแต่มี แนวร่วมประชาชนเท่านั้นที่มาช่วยดับไฟให้ แล้วแนวร่วมประชาชนเขาก็รู้อยู่ว่าเราอยู่แถวไหน แนวร่วมประชาชน เขาก็ไปเอากระดานใหม่มาให้เราเอาสี ผมไม่รู้ว่ารับบริจาคสีมาจากไหน เป็นสีทาบ้านนี่แหละแล้วก็เอาแม่สีมาด้วย มาผสมสีสำหรับเขียนได้ก่อน ถ้าอคลีลิคอย่างเดียวมันแพงไง เราไม่มีเงิน รับบริจาคมาเป็นสีทาบ้านนี่แหละ มันมีหลงเหลือให้ผสมก็นับว่าดีแระ สีพลาสติกธรรมดานี่แหละแล้วก็มาเขียน

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นนี่ในแนวร่วมศิลปินนี่ส่วนมากเป็นอาจารย์เป็น…
คุณสันติ : คือมันมีทั้งอาจารย์ทั้งนักศึกษาแล้วศิลปินอาชีพก็มี ศิลปิน แบบพานิชศิลป์ก็มี  แล้วก็แนวร่วมประชาชนบางส่วนก็มาช่วยเรา

ผู้สัมภาษณ์ : แนวร่วมประชาชนเป็นกลุ่มไหนยังไง
คุณสันติ : เป็นกลุ่มชาวบ้าน กลุ่มคนธรรมดาที่เขา คือในยุคสมัยนั้นนี้มันมีแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย แต่แนวร่วมประชาชนถือเป็นแนวร่วมที่กว้างขวางที่สุด มีทุกอาชีพ ใครจะเป็นแนวร่วมประชาชนก็ได้ ไม่ได้ถือ คุณจะเป็นอาจารย์นักศึกษา คุณก็มาอยู่แนวร่วมประชาชนได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วเนี่ยคนที่เป็นแนวร่วมประชาชนคือคนที่ชอบมาม๊อบบ่อยๆ ซึ่งเขามาจากหลายอาชีพจริงๆ อย่างกรรมกร เป็นครูเฉยๆก็มี ครูมัธยมก็มี คนทำงานธนาคารก็มีที่เขาก้าวหน้า เขาก็มาเป็นแนวร่วมประชาชน เขาก็มาเป็นสมาชิกแนวร่วมประชาชน

ผู้สัมภาษณ์ : มันมีการแบ่งเป็นกรรมการมีแบบจัดตั้งอะไรงี้?
คุณสันติ : เขาจะมี เขาจะมีการจัดตั้งของเขาเอง เราก็จัดตั้งของเราเอง เขาก็จัดตั้งเขาเอง เขาก็เห็นเราโดน กลั่นแกล้ง เขาก็มาช่วยเรา พอเช้ามาก็เฮ้ยสีมาตั้งสิบกว่ากระป๋องมาได้ไง เขาเอามาให้โดยไม่แสดงตัวด้วยนะแต่เรารู้ เพราะว่าเขามาดูเขาเห็นว่าคืองี้เขาเห็นว่าเราเสียหายเท่าไหร่ เช้ามาก็เอามาให้อะไรอย่างเงี้ย คือน้ำใจ แปรงทาสีไม่มีมีแต่แปรงทาสีบ้านแต่เราก็ใช้นะแปรงทาสีบ้านเขียนรูปได้ผู้สัมภาษณ์ : เดี๋ยวถ้าผมย้อน…
คุณสันติ : เดี๋ยวๆถามอะไรตรงนี้แป๊บหนึ่ง เพราะว่าทางศิลปากรเขามาโจมตีเรา เฮ้ยมึงนี่เอาการเมืองมายุ่งนะ เอาศิลปะไปรับใช้การเมืองเขาหาว่าเราอย่างงั้นนะ แล้วเราก็ไม่สนใจเราไม่ได้คิดตรงนั้นเราคิดอย่างเดียวว่านี่คือปากเสียงของประชาชน ปากเสียงของประชาชน เราต้องการเป็นสื่อ

ผู้สัมภาษณ์ : มันที่เคยเคยมีเป็นรูปอะไรที่เคยจัดบนถนนราชดำเนินนี่เป็นสี่ด้าน ที่เป็นกล่องนี่วางอยู่นี่ก็คืองานของแนวร่วม?

ผู้สัมภาษณ์ : คือผมเคยเจอรูปถ่าย เป็นรูปที่ถ่ายบนถนนราชดำเนินนี่อยู่บนเกาะกลางถนน…
คุณสันติ : ที่มันเป็นภาพใหญ่ๆเป็นช่วงๆๆๆ

ผู้สัมภาษณ์ : แต่ว่าเป็น คือเป็นกล่องสี่มุมอ่ะ
คุณสันติ : อ๋อไอ้กล่องสี่มุมนั่นรู้สึกจะเป็น เราไม่ได้ทำเองโดยตรง แต่ว่ามันจะมีคล้ายๆเป็นแบบรูปโปสเตอร์

ผู้สัมภาษณ์ : ไม่แน่ใจ
คุณสันติ : มันมีทั้งภาพทั้งตัวหนังสือไง บางตัวเราก็ช่วยเขา บางตัวเขาก็ทำของเขาเองได้ ก็มันมีนักศึกษาที่มีฝีมือจากจุฬาก็มี จากธรรมศาสตร์ก็มี ก็โปสเตอร์มันเขียนได้อยู่แล้ว ใช่ม๊ะ บางทีถ้าเขียนรูปไม่ได้ก็ให้เราไปช่วยเขียนอันนี้เป็นเรื่องธรรมดา เขาก็จะมีเนื้อหาของเขาเอง แต่ของเรานี่เราก็จะกำหนดของเราเอง เราบอกว่ารูปหนึ่งต้องเขียนคนเดียวงี้ เราก็ได้ สี่คนหนึ่งคือ เพราะว่านี่เป็นความคิดรวมยอด เราช่วยกันคิด เราช่วยกันกำหนดว่าเฮ้ยจะมีเรื่องไรบ้างงี้ มันเป็นขบวนการ เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องธรรมดาที่ป้ายขนาดตัดสี่ตัดแปดอ่ะใหญ่มากสี่แผ่นเขียนคนเดียว เขียนคนเดียว 5 วันก็ไม่จบแต่ว่าถ้ามีสามสี่คนคืนเดียวก็เสร็จ พรุ่งนี้เสร็จเลยคือว่ามีแนวคิดที่ว่าตัวใครตัวมัน ก็ไม่เหมาะที่จะทำงาน แบบพี่ว่า

ผู้สัมภาษณ์ : คือก็หมายความว่ามีรูปทางความคิดแนว...
คุณสันติ : ปกติตอนจะเริ่ม เราก็ต้องคุยกันอยู่แล้ว เราตั้งกันเองว่าเฮ้ยประเด็นตรงนี้นะประเด็นตรงนี้นะ เราจะออกความเห็นไงหรือจะเอาสัญลักษณ์ไรมีการอภิปราย มันจะได้ออกมามันจะได้มีเอกภาพไงเพราะมันเหมือนใช่ไหม แล้วก็ทหารเนี่ย ลักษณะที่มีทหารขว้างระเบิดมันมีลีลามัน...29.29...ของมันแล้วเรื่องธงชาติก็ต้องเขียนกันถูกต้องไม่ใช่เขียนผิดๆก็ต้องมีมติเหมือนกันว่าจะยังไง

ผู้สัมภาษณ์ : คือตอนแรกที่พี่เข้าไปคือไปเป็นอะไรอย่างงี้
คุณสันติ : ผมเข้าไปเป็นผู้ให้การสนับสนุนแล้วผมก็คิดวาเรามีกลุ่มศึกษาของพวกศิลปะของพวกศิลปินเนี่ย ผมมีแต่สไลด์ดีๆของศิลปะของทางยุโรปของประเทศอื่นเงี้ยก็มาฉายให้เพื่อนดู ก็พวกเราในสมัยนั้น จะมีในเชิงวิชาการมันมีตำราค่อนข้างจำกัดในแง่ของความคิด จริงๆแล้วด้วยความเคารพนะ จิตรภูมิศักดิ์เขียนหนังสือศิลปะเพื่อชีวิตเพื่อประชาชน จริงๆแล้วมันมีแค่นั้นมันไม่ค่อยมีไรนะ แต่ผมรู้ว่าในแม็กซิโกนี่เขามีเขียนภาพในที่สาธารณะ เขามีการต่อสู้เผด็จการที่ยาวนานเขามีเหตุการณ์คล้ายๆของเรา แต่ว่าเพียงแต่เราไม่รู้จัก เราไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับแม็กซิโกด้วยซ้ำไป ถ้ามีผมคงไปศึกษาแล้วแหละข้ามแดนไปแต่ไม่ได้มันไปเลยเพราะไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย แม็กซิโก  แต่ถ้ามีตำราก็เอาเผื่อกัน ก็เอามาฉายกันให้ดู จะได้กว้างขึ้นว่าเฮ้ยศิลปะเพื่อชีวิตเพื่อประชาชนมันไม่ได้มีเฉพาะตรงนี้นะอย่างงี้นะ มันมีหลายรูปแบบวิธีการมากมาย

ผู้สัมภาษณ์ :นอกจากทำงานที่แนวร่วมศิลปินนี่มีกิจกรรมมีม๊อบมีไรอย่างงี้?
คุณสันติ : เราก็ไปช่วยเขาอย่างจำได้ที่สำคัญก็คือว่าตอนที่อาจารย์ดร.บุญสนอง บุญโญทยาน ยังถูกฆ่าตายนี่คืนนั้นแหละเขียนจบเลยขึ้นเวทีเป็นฉากหลังของเวทีสนามหลวงแล้วก็ขาวดำแล้วก็รูปอาจารย์ดร.บุญสนองเกือบเต็มเวทีเลยผมยังจำได้คนที่เป็ตัวหลักที่เขียนท่านบุญเวศ สิงห์น้อยกับครูอีกคนหนึ่ง มันเป็นมือหลักเลยในการเขียนรูปดร.บุญถนอม ขาวดำ คืนนั้นรูตัวว่าถูกยิงตายก็เริ่มเตรียมเวทีเลยเราก็ต้องขึ้นป้ายให้อาจารย์เขาอ่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วเมื่อกี้ตอนหลังพี่ก็เป็นประธานต่อจากอาจารย์กัมจร?
คุณสันติ : ใช่ แล้วก็สถาพร ชัยเศรษฐ์ เนี่ยจริงๆแล้วเขาก็ทำงานต่อเนื่องด้วยกันมาแต่ว่า เพียงแต่ว่าแกอยากจะให้ผมขึ้น เพราะว่าผมก็เอาอะไรใหม่ๆของต่างประเทศเข้ามา แกเป็นคนใจกว้างมากนะ ปกติจริงๆคือเขาทำงานนานกว่าผมก็ควรจะขึ้นมาเป็นประธาน เขาก็เป็นนักสู้นะนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่สม่ำเสมอ ทุกวันนี้ก็ยังไปคราวที่แล้วก็ยังไปหาที่สถาบัน เขาก็ยังไปแล้วก็โดนจับ โดนจับวันที่ 6 แล้วมีหลายคนโดนจับ สิงห์น้อยก็โดนจับ สิงห์น้อยนี่โดนแถวท่าพระจันทร์ สถาพรก็โดนจับแต่โดนจับคนละจุดเพราะไปธรรมศาสตร์ แล้วก็อีกคนก็คือเสียชีวิต มนัส เศียรสิงห์นี่ก็คือแนวร่วมศิลปินคนหลักคนหนึ่ง หนึ่ง เขียนรูปเก่งมากก็ที่เจ้าแดงแล้ว รู้สึกจะวันที่ 6เหมือนกัน เขาก็ตอนหลังนี่เขาก็มาช่วยงานของทาง เขาเป็นนักศึกษาศิลปะอยู่เพาะช่างแต่เขาไปช่วยงานของทางรามคำแหงงี้ คนก็นึกว่ามนัสเป็นนักศึกษารามจริงๆไม่ใช่ เขาเลยคืนนั้นคืนก่อนเขาเสียชีวิตพวกเรากำลังเดินมา เขามากับพวกรามรามทักษิณอ่ะ เด็กใต้ เจขาก็เข้ามาประตูเข้าทางเข้าทางท่าพระจันทร์ก็จะมี...33.58..

ผู้สัมภาษณ์ : ผมรู้จัก พี่เล่าเกี่ยวกับ 6 ตุลานิดหนึ่งเกี่ยวกับ เอาจากเริ่มต้นก่อนพี่เข้าไปร่วมได้ยังไงในใน คือเข้าใจว่ามีแนวศิลปินอยู่ก่อนแล้วตอนนั้นแนวร่วมมีความเห็นว่ายังไง?
คุณสันติ : เราก็เคลื่อนไหวตามปกติแล้วก็เวลาจะมีชุมนุมทีไรเราก็ช่วยเขาเขียนเอารูปขึ้น เพื่อจะทำหน้าที่ของเราในฐานะที่เราเป็นแนวร่วมศิลปิน แล้วก็ออกแบบโพสเตอร์ต่างๆ ตามวาระ

ผู้สัมภาษณ์ : ก็กว้างขวางอยู่แล้ว
คุณสันติ : ก็มีป้ายที่ฝ่าย ทางฝ่ายนักศึกษามาบอกเรา เดี๋ยวเขาก็ไปหาสีมาให้เขารู้ว่าเราไม่มีเงินกัน เราก็มีอะไรช่วยกันได้อยู่รามเราก็อยู่ช่วย ก็ทำมาโดยตลอดสนับสนุนพวกเราก็อยู่ในเหตุการณ์โดยไม่จำเป็นจะต้องไป เพราะเราอยู่ตรงนั้นอยู่แล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : ก่อนก่อนจะเกิด 6 ตุลาเนี่ยการชุมนุมมันมีก่อนหน้านั้นหลายวันแล้วพี่ก็เข้าๆออกๆอยู่ที่นั่น?
คุณสันติ : ก็อยู่นั่นแหละ แล้วก็มันมีงานจะเป็นโปสเตอร์หรือจะมีเขียนภาพไปติดกลางราชดำเนินขึ้นเวที ข้างเวทีไงเราก็ทำได้ เราก็ทำ

ผู้สัมภาษณ์ : พี่พอจะจำได้ไหมครับเหตุการณ์พระถนอมนี่มันวันแรกนี่มันเริ่มประมาณวันไหน?
คุณสันติ : ถ้าถามวันที่ผมจำไม่ได้แน่ว่าวันไหน

ผู้สัมภาษณ์ : คือก่อน ก่อนเข้าใจว่า...
คุณสันติ : ช่วงนั้นนี่คือ ถนอมออกไปก็เป็นเรื่องใหญ่ใหญ่เลยเคลื่อนไหวเรื่องอื่นเรื่องชาวนาเรื่องกรรมกรอะไรนี่ก็ยังทำอยู่แต่พอรู้ข่าวแว่วๆว่า เฮ้ยถนอมมันจะกลับมาแล้วว่าจะกลับ พอจะกลับปุ๊บส่วนกลางแนวร่วมประชาชนแนวของหลายสายก็เข้ามาประชุมกัน เขาต้องต่อต้านแน่นอน แล้วเราก็เตรียมคัทเอ้าเตรียมทุกอย่างเตรียมเวที หม้อไฟ เงียบสำหรับพวกเราแต่ขอให้มันมีเอกภาพสำหรับเคลื่อนไหวเดินขบวนอะไร อะไรบ้าง

ผู้สัมภาษณ์ : ครับ หลายวันก่อนจะเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาไหมครับ คือก่อนจะถึงวันแรก
คุณสันติ : ไม่นานเท่าไหร่นะแต่ว่ามันมีความต่อเนื่องอยู่ แต่ว่าผมจำวันที่เท่าไหร่ไม่ได้หรอก

ผู้สัมภาษณ์ : แต่คือเข้าใจว่า ตอนแรกอยู่ที่สนามหลวง
คุณสันติ : อ่า ทุกจังหวัดเขาจะเคลื่อนไหวของเขาเอง ทางอีสานก็รู้อยู่แล้วทางอีสานก็มีพวกถูกฆ่าตาย ตายสองศพถูกนำไปแขวนหน้าโรงงาน แล้วเขาจะเล่ารายละเอียดให้ฟัง พอพอถนอมมานี่คนเริ่มตายแล้ว

ผู้สัมภาษณ์ :  แล้วพี่พอจะจำรายละเอียดอะไรได้บ้างครับเกี่ยวกับปีนั้น?
คุณสันติ : รู้ว่ามีการใส่ร้ายป้ายสี แล้วก็หนังสือพิมพ์บางฉบับ เพราะมันมีตอนนั้นมันจะมีหนังสือพิมพ์ฝ่ายขวาบางฉบับ ก็เริ่มโจมตีเริ่มเป็นปากเสียงให้กับฝ่ายเขาอ่ะนะ หาว่าพวกเราหนักแผ่นดินจำได้เลยไอ้หนักแผ่นดิน มันหาว่าพวกประชาชนนี่หนักแผ่นดิน พวกขบวนการนักศึกษาเพื่อประชาชนนี่หนักแผ่นดิน มีการปูพื้นฐานความคิดให้ฆ่าพวกนี้ เพราะว่าอยู่ไปก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศหนักแผ่นดิน ก็คือขยะถึงจะตายไปก็ไม่มีใครสน

ผู้สัมภาษณ์ : มันมีการใส่ร้ายอย่างอื่นอีกไหมครับ มันมีการกระจายเสียงวิทยุยานเกราะอะไรประมาณนี้อ่ะครับ?
คุณสันติ : ปกติ

ผู้สัมภาษณ์ : ทางแกนนำหรือว่าทางเขาเรียกอะไรนะกษัตริย์ พระราชินีตอนนั้นว่าไรบ้างครับ?
คุณสันติ : เขามีเรื่องแน่นอน เพราะว่าฝ่ายทหารก็เขาก็ซบเซาไปพักใหญ่เพราะว่าตอนนี้เขาก็จัดตั้งงานการเมืองเข้ามา แล้วเขาก็เข้ามาปูพื้นฐานมีอำนาจแบบเป็นขั้นเป็นตอน ไม่แปลกใจไงยังไงมันต้องรุนแรงยังไงมันต้องมีการสูญเสียแน่นอน ไม่แปลกใจแล้วยิ่งมีการป้ายร้ายป้ายสี วิทยุออก โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ชัดเจน มีการแบ่งค่ายกันชัดเจน เราไม่แปลกใจ เพียงแต่ว่าทำไงให้มันเสียหายน้อยที่สุด แล้วแม้กระทั่งบางคนคิดว่าอยู่ไม่ได้แล้วก็เข้าป่าก่อนก็มี เข้าป่าก่อน 6 ตุลาก็มีไอ้เนี่ยเราไม่มีอาวุธยังไงเราก็แพ้มัน มันจะฆ่าเราเมื่อไหร่ก็ได้ เราก็รู้โอเค ใครอยากอยู่อยู่ ใครคิดว่าอยู่ไม่ไหวก็ไปก็เป็นเรื่องธรรมดา...

ผู้สัมภาษณ์ : แล้ว
คุณสันติ : ทั้งหญิงทั้งชาย

ผู้สัมภาษณ์ : ตอน 6 ตุลาเนี่ยตอนการโจมตีพอเริ่มมีการยิงเนี่ยตอนนั้นพี่อยู่จุดไหนครับ?
คุณสันติ : ผมอยู่ธรรมศาสตร์

ผู้สัมภาษณ์ : อยู่ฝั่งไหนยังไง?
คุณสันติ : ฝั่งไหนหรอ ของเราอยู่ฝั่งประชาชนอยู่แล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : ไม่ใช่ ฝั่งประตูท่าพระจันทร์ ฝั่งสนามหลวง ฝั่งพระอาทิตย์ หรืออยู่ตึก…
คุณสันติ : อ๋อ

ผู้สัมภาษณ์ : อยู่สนามบอล อยู่นอนอยู่ตึกไหน คือตอนนั้นที่เขาเริ่มบุกคือตอนเช้า
คุณสันติ : จริงแล้วมันเริ่มมาตั้งแต่กลางดึก จริงๆมันตั้งแต่ดึกของคืนวันก่อนที่สนามหญ้า สนามหญ้าของธรรมศาสตร์มันก็เริ่มยิงเข้ามาแล้ว เริ่มมีระเบิดอะไรเข้ามาแล้ว รู้ว่ามันเอาแน่แล้ววันนี้ มีคนเริ่มทยอยกลับบางส่วนที่ยังเหลืออยู่ พวกเราบางคนนี่ พวกเราอยู่หลังเวที พวกเราบางทีก็ไปอยู่เตรียมคัทเอ้าท์ เตรียมอะไร ก็ที่โดนจับที่ถูกฆ่าตายอย่าง..40.20..วันนั้นอย่างรามทักษิณนี่เขาอยู่ทางกับนักศึกษาราม พวกรามทักษิณเนี่ยเป็นอาสาสมัครที่พร้อมจะสู้ ก็ไปอยู่แถวหน้าหน้าหอใหญ่ ฝั่งตรงข้ามหอใหญ่ ตรงนั้นมันมีฝ่ายตรงข้ามเริ่มมีอาวุธปืนยิงเข้ามาแล้ว พวกนั้นเขาก็ตายเสียชีวิตอยู่หน้าหอใหญ่ แต่ว่าคนอื่นก็ยังไม่รู้มันหลายจุดน่ะ มันล้อมหมดเลย บางคนก็ออกไปข้างนอกก็โนพวกมันจับไปแขวนคอฆ่าบ้างก็ออกทางท่าพระจันทร์ ลงน้ำออกไป ส่วนพวกนี้ที่หนีออกไปได้ก็ไปหลบอยู่ในวัด ก็จะมีพระภิกษุที่เขาดีอ่ะนะ เขาช่วย พระหนุ่มๆอ่ะนะที่ก้าวหน้าเขามีชื่อเรียกเรียกอะไรนะ คือเขาจะมีชุมนุมของเขาอ่ะ เขาก็ให้หลบอยู่ในกุฏิบ้างหลบอยู่ในอะไรอะไรบ้าง แต่ว่าบางคนก็หลบเข้าไปในใน ตอนเช้าสายมาหน่อยปั๊บ มีตำรวจ มีลูกเสือชาวบ้าน มีนวพลอะไร มันก็ฮือเข้ามาในวัดแล้วมันไปตรวจกุฏิทุกกุฏิเลย แล้วก็หนีออกมาทางแม่น้ำเจ้าพระยามันก็จับ เอาตัวออกจากกุฏิเลย กุฏิสงฆ์ ถูกบังคับให้นอนกับถนนหน้าวัด บังคับแล้วก็ ผู้หญิงบางคนท้องนะ มองไม่เห็นหรอกว่าท้องท้องน้อยๆมันเดินย่ำ แล้วแฟนผมยังท้องอยู่ตอนนั้นมันย่ำเลย ก็เป็นเหตุการณ์หนึ่งตอนนั้นยังไม่รู้ใครจะอยู่ใครจะตายอยู่ภายใต้กระบอกปืน แล้วก็พอขึ้นรถ ขึ้นรถเขาก็เอารถบัสมาบรรทุกคนพวกนี้ แล้วก็จะมีลูกเสือชาวบ้านใครก็ไม่รู้พวกนี้แต่รู้ว่าเป็นพลเรือนแต่งตัว เขาต่อยถูกเขาต่อยมาแล้วพูดว่า “มึงไม่รักชาติ มึงไม่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” ก็ไม่พูดกันเพราะว่าเราทำไรไม่ได้ เราโดนจับอยู่บนรถแล้วก็จะมีพวกที่เล่นเราบนรถเลยนะ ก็เป็นความเจ็บปวดที่ไม่มีวันลืม เราไม่ได้ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพอย่างเดียว แบ่งแยกทางความคิดให้ฆ่ากันเองอ่ะ ไม่มีทางเจริญ
ไม่มีการเคารพในความแตกต่างทางความคิด มันเป็นประเทศประชาธิปไตยไม่ได้ เพราะว่าพวกนี้ถือว่าข้าพเจ้าเป็นเจ้าของประเทศมากกว่าอีกพวกหนึ่งอะไรอย่างนี้ มันไม่ได้อยู่แล้ว เราก็เห็นนะเวลาที่คนที่ถูกเดือดร้อนเวลาอยู่ใน โดนจับ ผมคิดว่าวันนั้นอย่างน้อย 3000 คนนะที่โดนจับแล้วก็ที่เรือนจำเป็นที่คุมขังของโรงเรียนพลตำรวจ บนถนนวิภาวดี  ฉะนั้นนี่ห้องขังมันก็ไม่ได้ใหญ่อะไรมากนะ นอนไม่มีที่นอนอ่ะมันต้องยืนนอนหรืออะไรอย่างงี้ ในช่วงนั้นมันจะมีคนจีนที่ถูกจับมาขังไว้ รอเนรเทศอ่ะหลายสิบคน แล้วมันก็เอาน้ำมาฉัดพวกเราไปมา เขาอยู่ในนั้นมานานพวกเราก็ 30 คน 300 คนไปแย่งที่นอนเขา เขาก็อุตส่าห์มาช่วยเรานะช่วยอะไรต่อมิอะไรให้เรามีน้ำใช้ พวกเขาอยู่ในนั้นแบบไม่มีอนาคต แบบขังลืม แต่ถูกขังฟรี

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่ก็โดนจับ แล้วก็พาไปที่ฝึกนายสิบตรงบางเขน
คุณสันติ : สถาพรก็โดน สิงห์น้อยก็โดน หลายคนในนี้โดน ผมจำไม่ได้หมดทุกคนหรอกเพราะมันโดนจับไปแล้วมันก็อยู่คนละมุม สถาพรนี่โดนจับ แล้วก็มนัส เศียรสิงห์นี่ตายที่ธรรมศาสตร์ สิงห์น้อย สถาพร ผม สามคนนี่โดนแน่ๆ สิงห์น้อยโดนจับพร้อมผม

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่ต้องไปติดคุกอยู่ที่นั่นนานแค่ไหนครับ ผมเป็นอาจารย์อยู่ไง ก็ไปติดอยู่แค่วันคุณสันติ : สองวันเอง แต่คนอื่นติดนานกว่าผม คนอื่นติดประมาณอาทิตย์หนึ่ง สามวัน อาทิตย์หนึ่งก็เป็นกระแสไง คนเริ่มเห็นใจไง เป็นครั้งแรกที่โดนจับล้างบางกลางเมือง แล้วผมก็ยังจำได้ว่า ถนนวิภาวดีที่หน้าๆๆๆหน้าเรือนจำ คนสามพันคนอยู่ในนั้น ญาติเขาอีกอย่างน้อยสามหมื่นคนที่มาดูนั่นอ่ะ รถติดมากเลยแล้วก็มีทหารอะไรต่ออะไรอีกเข้ามา เพราะว่ามีคนส่งอาหารเข้าไปแล้วก็ ทำกินไม่เป็นคือส่งแฮม ส่งแฮมแล้วก็จับกินได้เลยอ่ะ เชือดแล้วก็กินได้ทำกินไม่เป็น พอดีผมเอามาแล้วก็แร่แฮมแบ่ง แล้วก็ตำรวจมันเอาอาหารให้ก็คือมีข้าว มีไข่ใบหนึ่ง ทำนองนั้นอ่ะ ก็โอเคอ่ะ มันรอดตายอ่ะ แต่ว่ามันสะดุดตรงที่ว่าทุกคนเวลาตำรวจถามบอกผมมาดูเฉยๆ ผมไม่เกี่ยว แต่ว่าเวลาร้องเพลงมันร้องเพลงได้เหมือนกันหมดเลย มันร้องเพลงได้เหมือนเลย คุกนี้ถ้าตรวจไปตรวจมาถ้าฮิตเหมือนเพลงชาตินะ ทั้งหญิงทั้งชายร้องได้หมด แล้วก็ตำรวจมันก็งง อะไรว่ะ มึงร้องเพลงอยู่ได้สามพันคนอ่ะ คุณคิดดูร้องเพลงเดียวกันมันร้องได้ดังขนาดไหนแล้วมันก็ส่งไปส่งมา ทำนองนั้นอ่ะ ก็โอเค แล้วก็อาจารย์ไปยุ่งอะไรกับเขา ผมไม่ได้ยุ่งผมมีเครื่องพิมพ์ดีดแบบกระเป๋าหิ้วผมหิ้วไป ตำรวจก็เอาของผมไปหมด มีอะไรอ่ะ ผมไม่ได้มีอะไรผมแค่ไปสอนพิเศษที่ศิลปากรผมก็อยู่แถวนั้นน่ะ ก็มาจับผมด้วยทั้งที่ผม ก็โอเค

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือหลังจากนั้นเขาก็ปล่อย ปล่อยตัวออกมา?
คุณสันติ : ก็ปล่อย

ผู้สัมภาษณ์ : แต่ไม่มีการตั้งข้อหาตั้งอะไร?
คุณสันติ : ตั้งข้อหาประมาณ 10 ข้ออ่ะ ตั้งข้อหาตั้งแต่เป็นคอมมิวนิสต์ แล้วก็อะไรก่อกวนความสงบบ้านเมือง อะไรงี้ คือจริงๆแล้วประหารชีวิตได้เลยอ่ะ 10 ข้อผมจำไม่ได้หมดแล้วนายพันตำรวจเอกสัมภาษณ์ผม ผมเห็นเป็นเรื่องปกติครับ เพราะว่าผมอยู่เมืองนอกมาผมก็เห็นการที่คนจะเข้าไปฟังคนที่มีการชุมนุมก็เป็นเรื่องปกติ ผมก็บอกกับนายพันตำรวจอย่างงั้น เหมือนผมกับเขาอยู่กันคนละประเทศผู้สัมภาษณ์ : แล้วหลังจากอาจารย์ถูกปล่อยตัวออกมาแล้วตอนนั้นไปสอนที่ไหน?
คุณสันติ : ออกจากตอนนั้นนี่รู้สึกว่าหลายที่แต่ที่หนึ่งที่ผมจำได้ ก็คือที่ประสานมิตรก็คือตอนนั้นผมสอนอยู่แล้วกำลังจะบรรจุอะไรทำนองนั้น แต่พอดีมันมีอาจารย์บางคนในประสานมิตรที่ขวาจัดเลยอ่ะ เขาไม่ชอบผมแล้วจะตั้งกรรมการสอบสวนเลยอ่ะ อาจารย์สันติ มันเรื่องอะไรของคุณอ่ะนี่ตำรวจปล่อยเขาแล้วผมไม่โดนข้อหาอะไรเขาถึงปล่อย ไอ้นี่จะมาตั้งกรรมการสอบสวนในมหาวิทยาลัย ผมลาออกเลย ไม่ต้องสอนหนังสือผมก็อยู่ได้ทั้งที่ไม่รู้ไม่รู้จะทำอะไร แต่เรารู้ว่าอย่างน้อยเรามีคามรู้เรามีประสบการณ์ ไม่ต้องสอนหนังสือผมก็อยู่ได้ โอเคก็เลยไม่ได้สอนหนังประจำหลังจากนั้นแต่ก็ยังสอนหนังสืออยู่ เป็นอาจารย์พิเศษหลายที่

ผู้สัมภาษณ์ : แต่ก็คือไม่ได้เข้าป่าไม่ได้อะไร?
คุณสันติ : ไม่ได้เข้าป่า

ผู้สัมภาษณ์ : มีติดต่อมาหรือมีเพื่อนมาแนะนำอะไรอย่างงี้ไหม?
คุณสันติ : ไม่ต้องชักชวนอ่ะ ผมจะไปผมรู้ว่าจะไปที่ไหนผมรู้ ไม่มีใครชวนผมเพราะว่าผมมีผมมี ปัญหาสุขภาพ ร่างกายผมไม่เหมาะผมมี กลัวไปเป็นภาระเขาเพราะให้ผมจะมีประโยชน์ เพราะให้ผมอยู่ข้างนอกผมจะมีประโยชน์มากกว่า อะไรทำนองนั้นอ่ะ

ผู้สัมภาษณ์ : อ่า ย้อนนิดหนึ่ง
คุณสันติ : โอเค

ผู้สัมภาษณ์ : พอดีเมื่อกี้บอกว่าแฟนโดนจับด้วย
คุณสันติ : อ่า เขาเป็นอาจารย์จุฬาตอนช่วงนั้น โดนบังคับให้คว่ำหน้านอนกับถนนแล้วโดนเหยียบบ้างโดนย่ำบ้างรองเท้าบูทอะไรงี้แต่ก็ไม่เป็นอะไรลูกก็คลอดมา ลูกเป็นผู้หญิงก็ไม่เป็นไร ลูกก็คลอดมาก็โอเค ก็เข้มแข็ง แข็งแรง

ผู้สัมภาษณ์ : คือโดนจับด้วยกัน
คุณสันติ : คือคนละคนคนละห้องคนละชั้น คือโดนแบ่งไง โดนแบ่งแยกขังก็…

ผู้สัมภาษณ์ :  ก็คือตอนหลังถูกปล่อยมา
คุณสันติ : ปล่อยมาเร็วๆพอๆกับผมเพราะตอนนั้นเขาเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่จุฬาอยู่แล้ว ก็ถ้าพวกที่เป็นอาจารย์หรือพวกที่เป็นข้าราชการเขาจะมีคนหรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับการสอนอะไรงี้เขาจะมีรีบสัมภาษณ์ก่อน เพราะจะมีเดี๋ยวเรื่องมันจะยืดยาวไง คนธรรมดาแช่เย็นได้เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ใช่แค่ผมคนอื่นที่เป็นอาจารย์เขาก็ได้รับการปล่อยตัวไว เพราะไปตั้งข้อหาเขา 10 ข้อหายิงเป้าเขาได้ 10 รอบงี้
เออ อย่างอาจารย์ลาวัลย์นี่โดนกล่าวหา ไปแต่งหน้าไอ้คนที่เล่นละครแขวนคอไง ไปแต่งหน้าให้เหมือนบุคคลสำคัญ

ผู้สัมภาษณ์ : ครับผม
คุณสันติ : คือสองคนนี้เขาเป็นสามีภรรยากันจัดการประชุม ก็เป็นที่ปรึกษาแนวร่วมศิลปินทั้งสองคนแต่นาสกุลผมจำได้แต่ก็เคยมาร่วมงาน สาวิตนี่อีกคนหนึ่ง สาวิตนี่อยู่องค์การนักศึกษาตอนนั้น ตอนนี้มันไม่รู้ไปไหนแล้วอาจารย์จ่าง อาจารย์จ่างนี่รุ่น 14 ตุลาแล้วบางคนก็ไปฝากตัวกับอาจารย์จ่างฝากตัวกับประเทืองก็มีบ้าง มีไปฝากตัวกับเพาะช่าง ช่างศิลป์ศิลปากร พวกนี้ก็มาช่วยงาน

ผู้สัมภาษณ์ : โอเค พี่มอง 14 ตุลา กับ 6 ตุลา โอเค 14ตุลาพี่อาจจะไม่ได้เข้า แต่ตามข่าวหรือว่าดูไอ้นี่อยู่คือว่าพี่อาจจะเข้าไปใกล้ชิดมากกว่านี้
คุณสันติ : ผมว่ามันต่างกันแยะ 14 ตุลานี่ฝ่ายขวาแล้วรัฐบาลตั้งหลักไม่ทันแต่ว่ามันมีเวลาตั้งหลัก 2 ปีกว่าถึง 6 ตุลา ฝ่ายขวามันมีพลังกันรวบรวมพลัง อะไรทำเป็นขั้นตอน จะฟื้นอำนาจพวกเขามันอันตรายยิ่งกว่า คือมีการพูดกันด้วยว่าถ้ามันตายซักสามหมื่นก็ไม่เห็นเป็นไร มีความคิดอย่างนั้นด้วย ไม่เห็นเป็นไรเลย ก็แสดงว่าพร้อมจะตายกันแล้ว แล้วก็มันก็เดือดร้อนพอสมควรคือมันมีลูกตำรวจ ลูกทหาร ลูกเจ้าใหญ่นายโต ก็มี นั่นคือ 14 ตุลา

ผู้สัมภาษณ์ : พี่เอาตรง โอเคเอาสถานการณ์ปัจจุบันเอาเรื่องสถานการณ์เรื่องแดงด้วยพี่มองยังไง ก็ คือมีคนเดือนตุลาหรือว่ามีแม้แต่ศิลปินเองก็มีอยู่ทั้งสองของความขัดแย้งนี้…
คุณสันติ : ใช่ ตามผมรู้สึกธรรมดา เพราะว่าทั้งฝ่ายเสื้อเหลืองและฝ่ายเสื้อแดง ก็มันเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องมีฝ่ายแดงฝ่ายเหลือง ผมเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาของสังคมไทยเป็นเรื่องธรรมดาที่เรื่องการเมือง เป็นเรื่องการเมืองที่มีความคิดแตกต่างกัน เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ว่าฝ่ายสีเหลือง อันนี้ผมตั้งข้อสังเกตเองนะผมไม่ได้ว่าอะไรเขา ฝ่ายสีเหลืองตอนที่กำลังก่อตัวก่อกระแสขึ้นโดยอ้างสถาบันกษัตริย์มาอ้างสถาบันกษัตริย์เฉพาะช่วงหลังเท่านั้นที่แดงขึ้นมา เพราะเขาอิงสถาบันหรือว่าชูสถาบันกษัตริย์เลย ประกาศว่าข้าจงรักภักดีมากกว่า คือกระแสนี้เป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้วในช่วง 6 ตุลา พวกนี้หนักแผ่นดิน พวกนี้ต้องฆ่า พวกนี้มีอาวุธ พวกสังคมนิยมทุกชนิดก็คือคอมมิวนิสต์เหมือนกัน สังคมนิยมทุกชนิดก็คือคอมมิวนิสต์เหมือนกัน คนไม่รู้แต่สำคัญเป้าของเขาสิ่งที่เขาต้องการปลุกก็คือ ไอ้พวกนี้สมควรตาย

ผู้สัมภาษณ์ : คือพี่มองว่า อันนี้ผมไม่รู้ผมพยายามสรุปก็คือว่า การเคลื่อนไหวของเสื้อเหลืองก็คือคล้ายๆกับและมีบ้างด้านที่เหมือนกันนั้น
คุณสันติ : อันนั้นผมพูดไม่ได้เพราะว่าพอชี้ชัดลง ผมบอกได้แค่ว่าตอนแรกที่ก่อกระแสขึ้นมาไม่ได้ยึดกษัตริย์แต่ตอนหลังนี่อิงกษัตริย์ชัดเจน ซึ่งตัวนี้นี่เป็นตัวที่เห็นได้ชัด ตัวนี้นี่ค่อนข้างจะอันตราย ถ้าเกิดว่าคุณถอยไม่ได้นะแล้วก็ถ้าเกิดว่าทางฝ่ายสีแดงเองเนี่ย ก็ถูกตีถูกอะไรให้มาอยู่อีกมุมหนึ่งตอนนี้ก็ถอยไม่ได้เหมือนกัน ทั้งสองฝ่ายถอยไม่ได้เหมือนกัน ทำนองนี้แล้วก็คนที่คนที่ถือมาร่วมกับแดงมาร่วมกับเหลืองนี่มันมีหลายระดับ ปัญหามันก็คือว่านักศึกษาเองบางส่วนกำลังถูกดึงไปอยู่ทางสีเหลือง บางส่วนก็ถูกดึงไปอยู่ทางสีแดง กรรมกรเองก็ถูกดึงทั้งสองฝ่าย สรุปแล้วสังคมแบ่งแยกแตกแยกที่ผมเรียกว่าแบ่งแยก แบ่งแยกฝ่ายแบ่งแยกข้างแบ่งแยก ซึ่งบางคนก็เข้าไปอยู่ขั้วใดขั้วหนึ่งโดยไม่มีความชัดเจนก็มี ผมไม่ได้บอกทุกคนไปอยู่ขั้วแล้วจะชัดนะ เพราะว่าแม้กระทั่งอย่างเช่นถ้าตั้งพรรคแล้วใครจะเป็นหัวหน้าพรรค แล้วก็ฝ่ายสีแดงเองก็ไม่มีท่าทีว่าจะตั้งเป็นพรรคไอ้ที่เขาก่อขึ้นมา แล้วตกลงจะเอาไงจะป็นอย่างงี้ไปเรื่อยๆหรอก็ยังไม่ชัด คือเวลานี้คนที่น่าสงสารที่สุดคือประชาชนไทย ยังไม่รู้ว่าจะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แต่ผมรู้สึกอย่างเดียวว่ามันต้องฆ่ากัน ไม่ฆ่ากันมันไม่จบ เพราะว่ารุ่นผมนี่มันผ่านเหตุการณ์อย่างงี้มาแล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : พี่ไม่คิดว่ามันจะประนีประนอม
คุณสันติ : ไม่มีทาง มันไม่ใช่ประนีประนอมหรือไม่ประนีประนอมด้วยเหตุด้วยผล มันเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีเรื่องของท่าที เรื่องของอะไร มันไม่ใชความชอบธรรมทางการเมืองอย่างเดียว เป็นเรื่องที่ทนไม่ได้อะไรอย่างงี้ แล้วก็ยิ่งไปอิงสถาบันด้วยนี่คือถอยไม่ได้เลย คือถ้าจากจุดยืนที่อ้าง สถาบันถอย คุณถอยคุณก็เสีย

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วถ้าเกิดว่ามีการฆ่ากันนี่ เกิดความรุนแรง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะมันจะเป็นไง?
คุณสันติ : มันจะแพ้ทั้งคู่ มันต้องเสียเลือดเนื้อทั้งคู่มันถึงจะยอมจบ มันไม่จบ มันต้องตาย มันถึงจะจบ ถ้าตายมันหาทางจบได้แต่ถ้าตายแค่นี้ ถ้าให้เขาหาทางจบให้มันต้องตายอีก

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วการตายจะนำไปสู้ประชาธิปไตยได้มากขึ้นยังไง?
คุณสันติ : แล้วมันจะเป็นบทเรียนเล็กๆ เราต้องยอมรับความแตกต่างทางความคิด มันเป็นบทเรียนที่สำคัญที่สุด ถ้าคุณยังไม่ผ่านก้าวนี้ก้าวย่างที่สำคัญการยอมรับความคิดที่แตกต่างได้ รับตรงนี้ไม่ได้ คุณเป็นก็ประชาธิปไตยไม่ได้อยู่แล้ว นี่เป็นก้าวย่างที่สำคัญ ไม่ว่าคุณจะจบมหาลัยหรือจบป.4 เขาพยายามสอนให้เรายอมรับความแตกต่างทางความคิด แต่ว่าการแตกต่างทางความคิดนั้นมันนำไปสู่อะไรนั่นต้องดูอีกที ไม่ใช่ไม่ยอมรับเพราะคิดไม่เหมือนเรา มันต้องดูเจตนารมณ์ดูอะไรหลายๆอย่าง ไม่งั้นสังคมมันอยู่ไม่ได้ แต่ว่าสังคมไทยมันไม่ค่อยสรุปบทเรียนเท่าไหร่ การที่นักศึกษาเรียกร้องประชาธิปไตยเรียกร้องมาตั้งแต่สมัยจอมพลป. มันต่างจากเวอร์ชั่นทนการเรียกร้องไม่ไหวแล้วต้องเข้าป่าจับปืนยิงกัน ฆ่ากันก็ยังไม่เป็นบทเรียนที่เพียงพอ

ผู้สัมภาษณ์ : จนกว่าจะได้เรียนรู้
คุณสันติ : มันเรียนรู้บ้าง ไม่เรียนรู้บ้างการเรียนรู้ของคนเรามันคนละระดับในอายุช่วงเวลาเดียวกันแต่มันรับรู้ไม่เท่ากัน ฆ่ากัน ผมยังเชื่ออยู่นะว่ามันต้องฆ่ากันแต่ว่าวันหน้ายังไงผมพูดไม่ได้ ผมไม่รู้ มันต้องมีคนตายอีกเพราะแค่นี้มันไม่จบ (หัวเราะ) ไม่ได้สาปแช่งนะเกิดขึ้นแน่นอน แล้วมันไม่ใช่คนไทย ประเทศอื่นเขาทำมาเยอะกว่าเรา เขาทำกันมาเยอะแยะแล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : เพราะฉะนั้นหมายถึงว่าด้านหนึ่งก็ ประเทศที่เขามาถึงจุดนี้เขาก็ผ่านอะไรมา..
คุณสันติ : เหมือนกัน กิโยตินในฝรั่งเศส กิโยติน เครื่องตัดหัวคนแบบฝรั่งเศส  อะไรมากกว่าเราเยอะแยะ ประเทศหลายๆประเทศที่เลือดนองแผ่นดินมากกว่าเราก็เยอะแยะ แต่ประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศนี่ก้าวย่างมันไม่เท่ากันมันถึงบางทีมันไวบางทีมันช้า ยิ่งถ้าประเทศไทยนะ ประเทศไทยนะยังมีความเชื่อว่าปกครอง คนโง่ปกครองง่ายมันต้องมีคนตายอีกแยะ ประเทศนี้มันยังมีชนชั้นปกครองบางคน บางพวก บางสายที่คิดว่า “คนโง่ปกครองง่ายกว่า” ผมเชื่อว่าคิดอย่างผมนี่ยังมีอีกหลายคน เพราะมันเรื่องมากไงมันเรียนหนังสือสูง ถึงเรียนมหาลัยเราก็ไม่ให้คุณเรียนรู้มากห้ามเถียง ห้ามตั้งคำถาม มหาวิทยาลัยเนี่ยการเรียนแบบสัมมนาไม่ค่อยมีหรอก มีแต่แบบจดเป็นหลัก ยังสอนแบบนี้ในระดับมหาวิทยาลัย ก็แล้วแต่ใครตัวใครตัวมันล่ะกัน

ผู้สัมภาษณ์ : โอเคครับ โอเค
คุณสันติ : ก็มีนามบัตรให้ผมหน่อย

ผู้สัมภาษณ์ :ไม่มีครับ
คุณสันติ : คุณโชติศักดิ์ นามสกุลอะไรเขียนให้ผมหน่อย ผมจะติดต่อได้

ผู้สัมภาษณ์ : เค เดี๋ยวผมจบเทปไว้แค่นี้ก่อนนะครับ
คุณสันติ : ได้


จบการสัมภาษณ์