บทสัมภาษณ์ - เสรี ศิรินุพงศ์
วันที่ : 7 ตุลาคม 2552
เวลา : 10.00 น.
สถานที่ : มูลนิธิ 14 ตุลา
ตามโครงการของมูลนิธิ 14 ตุลา ในการรวบรวมปากคำของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อไป
เริ่มสัมภาษณ์
ผู้สัมภาษณ์ : ก่อนอื่นผมอยากให้ลุงเล่าชีวิตวัยเด็ก เกิดที่ไหน พ.ศ.อะไร
คุณเสรี : ผมเกิดที่จังหวัดพัทลุง เติบโตมาในชนบท
ผู้สัมภาษณ์ : ลุงเกิดปีอะไรครับ
คุณเสรี : ปีมะโรง 83 พ.ศ. 2483
ผู้สัมภาษณ์ : ไม่ได้เกิดในตัวจังหวัดพัทลุง
คุณเสรี : ในชนบท ตอนนั้นเขาเรียกว่าอำเภอกวนถนน อยู่ใกล้ทะเลน้อย ทะเลสาบเล็กๆ ตอนนั้นอยู่ห่างไกลจากความเจริญ ไม่เหมือนสมัยนี้มันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปแล้ว ทะเลน้อย เห็นออกรายการทีวี
ผู้สัมภาษณ์ : สมัยก่อนเป็นชนบท
คุณเสรี : เป็นชนบท
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพ่อแม่ครอบครัว
คุณเสรี : พ่อแม่ผมรับราชการ คุณพ่อเป็นครูใหญ่ที่อำเภอพนังตุง คุณแม่เป็นชาวสวน และเป็นชาวสวนด้วย
ผู้สัมภาษณ์ : เป็นคนพื้นที่รึเปล่า
คุณเสรี : เป็นคนพื้นที่
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วสภาพสมัยนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ถนนหนทางการสัญจรไปมา
คุณเสรี : เป็นถนนลูกรัง ไปบ้านผม เดี๋ยวนี้ลาดยางหมดแล้ว ชาวต่างเมืองไปเที่ยวกัน ทำให้เขาเรียกว่าอุตสาหกรรมในต่างจังหวัดเติบโตขึ้น เสื้อกระจูดรู้จักไหม
ผู้สัมภาษณ์ : มีตั้งแต่สมัยลุงเด็กๆเลยรึเปล่า
คุณเสรี : ครับๆ สานด้วยมือ เดี๋ยวนี้มีเครื่องมือ เครื่องจักรเข้าไปช่วย สามารถส่งสินค้าออกเป็นของตำบลเลย เมื่อก่อนนี้เป็นเสื่อกระจูดนั่งได้หลายคน
ผู้สัมภาษณ์ : ชาวบ้านสมัยก่อนอาชีพหลักคือทำสวน
คุณเสรี : ทำสวน ทำนา แล้วก็ทำเสื่อกระจูด แล้วก็จับปลาในทะเลน้อย เดี๋ยวนี้ปลาไม่ค่อยมีแล้ว มีแต่ดอกบัวเต็มทะเลเลย
ผู้สัมภาษณ์ : ก็ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่อุดมสมบูรณ์พอสมควร
คุณเสรี : พอสมควร รุ่นต่อมาก็พัฒนากัน เป็นตำบลที่น่าเที่ยว
ผู้สัมภาษณ์ : พอเข้าโรงเรียน
คุณเสรี : เรียนที่ตำบล
ผู้สัมภาษณ์ : เรียนที่หมู่บ้าน
คุณเสรี : ในตำบลนั้น พ่อผมเป็นครูใหญ่ เขาเรียกว่าศิปชา ตอนหลังผมก็ไปเรียนในตัวเมือง โรงเรียนพัทลุงวิทยา
ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือเรียนที่นั่นจนถึงป. 4
คุณเสรี : ป.4 ไง แล้วมาจบม. 6 ในเมือง แล้วก็เดินทางเข้ากรุงเทพปี 2499 มาเรียนที่เพาะช่าง
ผู้สัมภาษณ์ : ม. 1 - ม. 6 นี่ในตัวจังหวัดเลยนะครับ
คุณเสรี : ตัวจังหวัดเลย
ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นไปพัก ไปอะไรอย่างไร
คุณเสรี : เขามีบ้านพัก เขามีห้องเช่าให้
ผู้สัมภาษณ์ : ของโรงเรียน
คุณเสรี : โรงเรียนพัทลุงวิทยาเป็นโรงเรียนราษฎร์ที่ใหญ่ที่สุดในพัทลุง ตอนหลังผมไปเป็นครูให้นะ โรงเรียนนี้ ผมไปสอนวาดเขียน ไปสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตอนสมัยอาจารย์สุขเกล้า เก้าทนงค์เป็นอาจารย์ใหญ่ ผมเป็นลูกศิษย์อ.สุขเกล้า ท่านก็เคยสมัครสส.พัทลุง แต่ท่านเสียไปแล้ว
ผู้สัมภาษณ์ : เดี๋ยวผมคุยเรื่องก่อนจะเข้ากรุงเทพก่อนแล้วกันนะครับ ที่แถวบ้านลุงสมัยนั้นมันเป็นเรื่องการเมือง เรื่องอะไรมัน
คุณเสรี : ค่อนข้างน้อย แต่ตอนหลังพอความเจริญมันเข้าไปรู้สึกประชาชนสนใจการเมืองมากขึ้น คือไม่มากที่สุดแต่มากขึ้น ปู่ผมเป็นกำนันที่ทะเลน้อย แกก็หัวประชาธิปไตย
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วบทบาทข้าราชการพวกปลัด นายอำเภอหรือว่าตำรวจในหมู่บ้านสมัยก่อน
คุณเสรี : เรียกว่าเผด็จการ วงจรอุบาท แบบนายอำเภอต้องเป็นเจ้านายคน ตำรวจเนี๊ยกลายเป็นบุคคลที่ว่าอยู่เหนือประชาชน
ผู้สัมภาษณ์ : สมัยนั้นไม่มีบทบาททหาร
คุณเสรี : ไม่มี บทบาททหารไม่มี ยังไม่มีตั้งเป็นกองกำลังทหารไม่มี แต่เดี๋ยวนี้แล้ว
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วเข้ากรุงเทพปีอะไร
คุณเสรี : 2499 มาเรียนที่โรงเรียนเพาะช่าง สมัยนั้นเป็นโรงเรียน เดี๋ยวนี้เป็นมหาลัยแล้ว
ผู้สัมภาษณ์ : ผมย้อนไปนิดหนึ่งตอนที่ลุงเรียนพัทลุงคือตอนนั้นตอนมัธยม ในโรงเรียนเขาพูดเรื่องการเมืองกันไหม
คุณเสรี : ก็เจ้าของโรงเรียนเป็นนักการเมือง พรรคมะนังกสิรา
ผู้สัมภาษณ์ : จอมพลป.
คุณเสรี : จอมพลป. เครือข่ายของจอมพลป.
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วเวลาการเรียน การสอนพูดเรื่องการเมืองไหม
คุณเสรี : ช่วงหลังมีพูดการเมือง โดยเฉพาะจบเพาะช่างแล้วไปสอนที่โรงเรียนพัทลุงวิทยา
ผู้สัมภาษณ์ : ตอนลุงเป็นนักเรียนมีไหม
คุณเสรี : ก็มีบ้างเป็นบางคน ส่วนมากที่สอนสังคมจะสอนนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องการเมืองบ้างเล็กน้อย
ผู้สัมภาษณ์ : เรื่องคอมมิวนิตส์มีการพูดกันไหมสมัยนั้น
คุณเสรี : ช่วงนั้นยังไม่มีสงครามประชาชน ช่วงนั้นเป็นเมืองธรรมดาๆ ไม่มีที่มั่นของพรรคคอมมิวนิตส์แห่งประเทศไทย
ผู้สัมภาษณ์ : คือชาวบ้านทั่วไปยังไม่รู้จักคอมมิวนิตส์
คุณเสรี : จริงๆ คอมมิวนิตส์ยังไม่เกิดขึ้นในโลก มีแต่สังคมนิยม คอมมิวนิตส์มันต้องถึงขั้นท่านศรีอรย์ เมตรัย นู้น ไม่มีทหาร ไม่มีตำรวจ มีแต่พลเมืองดีไปทั่ว คอมมิวนิตส์ยังไม่มีเกิดขึ้นในโลกเลย แม้แต่จีนโซเวียดนามมีแค่สังคมนิยมแค่นั้น ยังไม่ตายไปถึงขั้นสูงสุดๆคืออารยเมตตรัย
ผู้สัมภาษณ์ : ปี 2499 เข้ามาเพาะช่าง มาเรียนเกี่ยวกับเรื่องช่าง ศิลป
คุณเสรี : วิจิตรศิลป์
ผู้สัมภาษณ์ : ทำไมถึงมาเรียนด้านนี้
คุณเสรี : ก็ผมคล้ายๆชอบทางด้านนี้มา และครูที่สอนศิลปะก็ส่งเสริมให้ผมมาเรียนเพาะช่าง
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วที่บ้านพ่อแม่เขามองอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการเรียนศิลปะ เขาสนับสนุนหรือคัดค้านไหม
คุณเสรี : บอกดีแล้ว ลูกชอบทางนี้พ่อก็สนับสนุน
ผู้สัมภาษณ์ : ก็เข้ามาเรียน แล้วตอนเรียนอยู่เพาะช่างลุงพักที่ไหน อย่างไร
คุณเสรี : พักบ้านของอาจารย์ๆ เป็นทั้งอาจารย์ เป็นลูกศิษย์ของพ่อผม อ.นิต เพชรศรี ผมอยู่บ้านเขา แล้วเขาสอนเพาะช่างด้วย ผมเหมือน เข้าไปเฉยๆเลย แต่สอบคัดเลือกนะ ผมได้ที่ดีด้วย ด้วยแรงบันดาลใจของอ.นิตด้วยก็ได้
ผู้สัมภาษณ์ : ลุงเข้าปี 2499 แล้วเรียนเพาะช่างกี่ปี
คุณเสรี : เรียน 5 ปี ตอนนั้นยังเป็นปวส. ยังไม่เป็นมหาลัย แผนกวิจิตรศิลป์
ผู้สัมภาษณ์ : ช่วงที่ลุงเข้ามาเป็นปลายจอมพลป.
คุณเสรี : ปลายๆ ก็จอมพลป. ถูกไล่เมื่อปี 2500
ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นบรรยากาศในกรุงเทพเป็นอย่างไรบ้าง
คุณเสรี : ผมยังเดินขบวนต่อต้านการเลือกตั้งสกปรก ยังมาร่วมเดินกับเขาด้วย ปี 2500
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วลุงเข้าร่วมได้อย่างไร
คุณเสรี : เดินขบวนประชาชน เดินขบวนธรรมดา
ผู้สัมภาษณ์ : ใครมาติดต่อหรือว่ารู้ข่าวได้อย่างไร
คุณเสรี : ไม่ยิ่งใหญ่เหมือน 14 ตุลานะ ไม่ยิ่งใหญ่ คนไม่เป็นแสน 14 ตุลา คนเป็นแสนนะ
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วลุงรู้ข่าวหรือว่าอะไรอย่างไร เขาจะเดินแล้วเข้าไปอย่างไร มีใครมาชักชวนหรืออะไรอย่างไร
คุณเสรี : ก็ช่วงนั้นไปฟัง ธรรมศาสตร์เขาเป็นหัวหอกช่วงนั้น
ผู้สัมภาษณ์ : คือก่อนสฤษยังมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่บ้าง
คุณเสรี : ช่วงนั้นอ.ปรีดียังไม่เสีย เป็นอธิการบดี ม.ธ. อยู่ช่วงนั้น และหลังจากนั้นพวกทหารก็เอาอ.ปรีดีออกไปอยู่ต่างประเทศในคดีนั่นแหละ และพวกจอมพลป.ก็ครองธรรมศาสตร์มาตลอด จอมพลป.เป็นอธิการบดี หลังจากนั้นก็ทหารส่วนใหญ่
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนลุงเข้าธรรมศาสตร์ใหม่ๆ ปี 2499 ตอนนั้นจอมพลป.เป็นอธิการแล้ว
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วการเคลื่อนไหวของนักศึกษาช่วงนั้น
คุณเสรี : ช่วงนั้นเป็นการขัดแย้งระหว่างจอมพลป.กับสฤษ อะไรต่ออะไร เริ่มมีอาการแล้ว ช่วงหลังก็จอมพลป.ก็ถูกไปอยู่ต่างประเทศ
ผู้สัมภาษณ์ : ลุงพอจะจำได้ไหมเลือกตั้งสกปรกลุงจำได้ไหมว่าเดินจากจุดไหนไปไหน
คุณเสรี : นักศึกษาก็เดินขบวนจากธรรมศาสตร์ร่วมกับประชาชน ไม่ใช่เฉพาะนักศึกษา เดินขบวนให้การเลือกตั้งเป็นโฆษะ
ผู้สัมภาษณ์ : ไปที่
คุณเสรี : เดินไปที่ลานพระรูป จากธรรมศาสตร์ไปลานพระรูป รู้สึกมีการขึ้นกล่าวคำปราศรัยกันมืดค่ำถึงเลิก ขับไล่จอมพลป.ด้วย เรื่องเลือกตั้งสกปรก
ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นลุงไปคนเดียวใช่ไหม หมายถึงว่าไม่ได้มีกลุ่มเพื่อนไปด้วยหรือว่าอย่างไร
คุณเสรี : ก็รวมๆกลุ่มกันไป นักเรียนเพาะช่าง ก็ช่วยกันเขียนโปสเตอร์ ประณามจอมพลป. เรื่องการเลือกตั้งสกปรก
ผู้สัมภาษณ์ : ที่นี้พอมีการเลือกตั้ง และมีการประท้วงจอมพลป. จนตอนหลังมีการรัฐประหารจอมพลป. ตอนนั้นคนในกรุงเทพหรือว่านักศึกษาเองรู้สึกอย่างไร คือจอมพลสฤษก็เป็นพระเอก
คุณเสรี : ก็ตอนนั้นจอมพลสฤษเหมือนกับศิษย์คิดล้างครูอะไรนี่นะ หาว่าจอมพลป.ต้องไปอยู่ต่างประเทศ
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วช่วงแรกๆที่จอมพลสฤษขึ้นมาประชาชนพอใจหรือนักศึกษา
คุณเสรี : พอใจในด้านหนึ่ง แต่เกลียดในด้านหนึ่ง ด้านที่มันโกงกิน ประชาชนเกลียด มีเมียมาก ประชาชนเกลียด แต่ประชาชนชมเรื่องความเด็ดขาดของสฤษมีอยู่เรื่องพวกยาเสพติด คดีข่มขืน ประหารเลย
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นพอยุคจอมพลป. เปลี่ยนจากจอมพลป.เป็นจอมพลสฤษ สภาพบ้านเมืองหรือบทบาทมันต่าง
คุณเสรี : บทบาททหารรู้สึกว่าประชาชนกำลังจะยอมรับ แต่ในที่สุดก็ล้มเหลวระบบสฤษ
ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นที่จอมพลสฤษตาย พ.ศ. 2504
คุณเสรี : สฤษตาย 2505
ผู้สัมภาษณ์ : 2506
คุณเสรี : เออ 2506
ผู้สัมภาษณ์ : ผมถามลุงก่อนว่าลุงจบเพาะช่างแล้วไปต่างจังหวัดเลยรึเปล่าหรือว่าอยู่กรุงเทพ
คุณเสรี : พอจบเพาะช่างผมก็ไปสอนศิลปอยู่ที่โรงเรียนที่ผมเคยเรียน
ผู้สัมภาษณ์ : กลับไปสอนเลย
คุณเสรี : กลับไปสอนอยู่ 2 ปี เคยสอนวีระ มุสิพงษ์ สอนเขาตอนเรียนม. 6
ผู้สัมภาษณ์ : ช่วงที่สฤษตายลุงอยู่ที่พัทลุง
คุณเสรี : ครับ
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วบรรยากาศอาจจะไม่เหมือนที่อยู่กรุงเทพ แต่ว่าเอาบรรยากาศที่ลุงเห็นชาวบ้านเขารู้สึกอย่างไร
คุณเสรี : ชาวบ้านเขาก็ไม่เทิดทูนสฤษเท่าไรนัก คือเกลียดบางจุด ยกย่องบางจุดอะไรอย่างนี้ แต่การปลุกระดมของสฤษมีมาก ปลุกระดมให้เชื่อทหาร เพราะธาตุแท้ของสฤษก็คือเผด็จการ
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพอยุคถนอมหลังจากสฤษตาย บรรยากาศมันผ่อนคลาย เอาอย่างนี้นะครับ ผมถามลุงก่อนว่าลุงอยู่จุดไหน หลังจากสอนโรงเรียนที่บ้านแล้ว ลุงไปไหนต่อ
คุณเสรี : ก็สอนอยู่ 2 ปี เสร็จแล้วก็ขึ้นมาอยู่กรุงเทพมาสอนโรงเรียนในกรุงเทพก็เคยสอนที่อำนวยศิลป์และอิสระนุกูล
ผู้สัมภาษณ์ : สอนอยู่กี่ปี
คุณเสรี : รู้สึกร่วม 2 ปี และผมไปสอบเข้ากรมเจ้าท่าได้ เลยรับราชการที่กรมเจ้าท่า อยู่ 34 ปีทั้งหมด กรมเจ้าท่าตลาดน้อยนะ เขตสัมพันธ์วงษ์ บ้าน อ.จ.ป๋วยก็อยู่ที่ตลาดน้อย ตอนนี้อยู่ เขาอนุรักษ์ไว้ เพื่อชนรุ่นหลังให้ได้ศึกษาชีวิตและงานของป๋วย
ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือหลังจากสฤษตายลุงก็ขึ้นมาสอนที่กรุงเทพ บรรยากาศลุงรู้สึกว่ามันต่างไหม ตอนลุงจบใหม่ๆ เป็นยุคสฤษ พอกลับมาอีกทีเป็นยุคถนอม บรรยากาศมันต่างกันมากไหม
คุณเสรี : ต่างกันนิดหน่อย คือประชาชนกำลังหาที่พึ่ง ว่าคนที่จะมาปกครองบ้านเมืองคือใคร แล้วช่วงนั้นถนอม นรงค์ โค้นอำนาจมาจากจอมพลป.
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นคือเป็นยุคทหารเต็มตัวอยู่แล้ว ไม่แน่ใจว่าโรงเรียนที่ลุงไปสอนหรือว่ากับครูอาจารย์เขามีการร่วมกลุ่มหรือมีการทำกิจกรรม หรือมีการนั่งคุยกันทางการเมืองกันบ้างไหม
คุณเสรี : ก็มีนะ โรงเรียน ท่านเสียไปแล้ว เป็นครูใหญ่ โรงเรียนราษฎร์ พอกรมเจ้าท่าเขาประกาศรับช่างเขียนแบบผมก็ไปสมัครก็สอบได้ อยู่กรมเจ้าท่าอยู่ 34 กว่าปี กว่าจะเพียรราชการ
ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้คือเป็นกรมเจ้าท่ามีฐานะเป็นอะไร เป็นข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
คุณเสรี : เป็นข้าราชการ กรมเจ้าท่าอยู่น้อย เป็นหน่วย ไม่ใช่การท่าเรือนะ
ผู้สัมภาษณ์ : การท่าเรือ
คุณเสรี : รัฐวิสาหกิจ
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วที่นี้แล้วพอลุงเป็นข้าราชการ แล้วการมา โอเคการตามข่าวไม่เป็นปัญหาเท่าไร แต่เรื่องการเคลื่อนไหวเรื่องอะไร ก็คือลุงไปเข้า
คุณเสรี : ก็ส่วนใหญ่นะ ตอนเย็นเขาจะมีไฮปาร์ค ผมพอเลิกงานแล้วก็ไปชุมนุมร่วมกับเขาด้วย
ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้คือช่วงก่อน 14 ตุลารึเปล่าที่มีไฮปาร์ค
คุณเสรี : มีก็ไม่มาก มาดังตอนเสกสรร ประเสริฐกุล ช่วงก่อนๆ ก็เรื่องเรียกร้องมหาลัยคืนจากทหาร อะไรต่ออะไร แต่ช่วงหลังหนักไปทางการเมืองเพื่อประชาชนมากขึ้น
ผู้สัมภาษณ์ : ผมจะเจาะไปที่ 14 ตุลาสักหน่อย ลุงพอจะจำได้ไหม ได้เข้าไป รู้ข่าวหรือรู้อะไรอย่างไรว่ามีการชุมนุม รู้จากไหน
คุณเสรี : ส่วนมากตอนเย็นๆ ผมมาธรรมศาสตร์เพราะเป็นทางผ่านที่ผมไปทำงาน
ผู้สัมภาษณ์ : ลุงพักที่ไหน
คุณเสรี : ตอนนั้นผมพักอยู่บ้านญาติ อยู่ใกล้ๆ เขารับราชการอยู่บางรัก
ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือมาฟัง
คุณเสรี : ก็เรียกว่าบรรยากาศทางประชาธิปไตยเริ่มมีในธรรมศาสตร์การเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรม
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วมาบ่อย มาทุกวันรึเปล่า
คุณเสรี : มาบ่อย วันไหนมีไฮปาร์คผมก็มาฟัง
ผู้สัมภาษณ์ : แต่ก็คือไม่ได้ค้างคืน
คุณเสรี : ไม่ได้ค้าง เขาไม่ได้ให้ไฮปาร์คข้ามวันข้ามคืน ช่วงเย็นๆ สภาหน้าโดมรู้สึกว่าเขาเคลื่อนไหวตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาอยู่
ผู้สัมภาษณ์ : ช่วงวันที่ 12 13 14 ที่มีการเดินขบวนอะไรแบบนี้ ตอนนั้นลุงได้เข้าร่วมขบวนรึเปล่า ออกจากธรรมศาสตร์ไปไฮปาร์ค ไปลานพระรูป
คุณเสรี : ด้วยๆ เข้าร่วมขบวนด้วย
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วได้กลางคืน ตอนที่เดินออกจากธรรมศาสตร์แล้วได้นอนในม็อบรึเปล่า
คุณเสรี : ในรูปแบบนั้น
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นบรรยากาศ ชาวบ้านทั่วๆไปเขา
คุณเสรี : เขาเริ่มมีช่วงนั้น เพราะแรงผลักดันของนักศึกษาๆออกโรงต่อต้านเผด็จการ
ผู้สัมภาษณ์ : ช่วงที่ลุงอยู่ในม็อบรู้ข่าว หมายถึงว่าได้ตามข่าวข้างนอกไหม ว่าหนังสือพิมพ์เขาเสนอข่าวว่าม็อบนี้เป็นอย่างไร เขาเสนอข่าวเขาว่าอย่างไร
คุณเสรี : ติดตามข่าวตลอด และหนังสือพิมพ์ก็เข้าข้างประชาชนอยู่บางฉบับ มีเสียงอ่างทองสมัยก่อนจากไทยรัฐ จากเสียงอ่างทอง มติชนมาตอนหลัง
ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นลุงคิดไหมว่าจะมีการปราบ คิดไหมว่าเขาจะส่งทหารมารึเปล่า จะมีการสะลายการชุมนุมรึเปล่า
คุณเสรี : ก็มีการคิดไปได้ 2 แง่นะ ว่าเขาจะปล่อยให้ประชาชนชุมนุมยืดเยื้อหรือว่าจะปราบก็คิดได้ 2 ทางเหมือนกัน
ผู้สัมภาษณ์ : ลุงไม่รู้สึกเหรอว่าถ้าเขาปราบแล้วมันคิดไหมว่าถ้าเขาปราบจะทำไง กลัวไหม
คุณเสรี : คล้ายๆกับจิตใจ คนมันมากไง ร่วมกับประชาชนให้มากเท่าที่มากได้
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนที่เขามีการปะทะกันเช้าวันที่ 14 ตอนนั้นลุง
คุณเสรี : ตอนนั้นผมเรียนอยู่ม.รามคำแหงด้วย คณะนิติศาสตร์
ผู้สัมภาษณ์ : ตอนปะทะกันลุงอยู่จุดไหนของขบวน
คุณเสรี : ตอนปะทะกันผมอยู่แถวบางลำพู
ผู้สัมภาษณ์ : ลุงพอจะจำเหตุการณ์หรือว่าเห็นอะไรได้มั่ง ทหารมาจากไหนหรือว่าเหตุการณ์ตอนนั้น
คุณเสรี : มาเป็นคันรถพร้อมอาวุธ
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพอทหารมาลุงยังอยู่บริเวณนั้นรึเปล่า
คุณเสรี : ยังอยู่ ยังไม่หนีไปไหน ยังไม่ยิงอะไรต่ออะไร มันยิงกระสุนปลอม
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนที่ยิงกระสุนจริงแล้วลุงอยู่ตรงไหนอย่างไร
คุณเสรี : ผมหลบไปอยู่ที่วัดบวร มีร้านข้าวต้มหน้าวัดบวร ผู้สัมภาษณ์ : หลบไปอยู่ในกุฎิวัดหรืออะไร
คุณเสรี : ผมขึ้นไปอยู่บน หอระฆังมันสูงได้เห็นเหตุการ์ณที่เขายิงกัน
ผู้สัมภาษณ์ : ลุงเห็นอะไรบ้าง
คุณเสรี : ก็เห็น พอทหารเขายิง ประชาชนก็มอบ พอเสียงปืนสงบ ประชาชนก็หือขึ้นไปอีก ตอนหลังเป็นลูกจริงที่
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนนั้นลุงรู้ข่าวอื่นไหม เช่น ตอนถนอมลาออก ตอนลาออกจากนายกก่อน แล้วออกนอกประเทศ และในหลวงตั้งอ.สัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายกพระราชทาน ตอนนั้นได้รับสื่อหรือว่ามีใครมาสื่อสารอะไรข่าวสารพวกนี้
คุณเสรี : ไม่ ผมติดตามเหตุการณ์กระชั้นชิด ติดตามเหตุการ์ณร่วม
ผู้สัมภาษณ์ : แต่ข่าวนี้เป็นข่าวจากข้างนอกไง แล้วลุงรับรู้ข่าวได้ไง
คุณเสรี : ส่วนมากก็ข่าวจากประชาชนส่วนใหญ่ หนังสือพิมพ์อะไรพวกนี้
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วลุงอยู่ถึงวันไหนที่อยู่ในวัด
คุณเสรี : พอเสียงปืนสงบผมก็ออกมาชุมนุมกับประชาชนอีก จนกระทั่งเคลื่อนขบวนย้ายจากธรรมศาสตร์ ตอนนั้นยังไม่มีการยิงอะไรกัน แต่มีเกิดเหตุที่ข้างสวนจิตร นักเรียนหญิงถูกตำรวจมันผลักลงน้ำและถูกทุบตี คือที่จริงจะสลายการชุมนุมแล้ว แต่ตำรวจไม่ให้ผ่านไปทางสวนรื่น เพราะกองกำลังมันอยู่ที่นั่น ให้ไปกระจายออกไปทางเดียวทางอนุสาวรีย์ชัย ที่จริงพอเลิกชุมนุมต้องปล่อยให้ไปหลายทิศหลายทาง เพราะไม่ได้อยู่บ้านเดียวกัน มันปิดถนนเลย แต่ประชาชนจะไปทางสวนรื่น
ผู้สัมภาษณ์ : ช่วงที่เขาเผ่ากองสลาก เผ่าอะไรอ่ะ
คุณเสรี : ตอนนั้นประทะแล้ว นักเรียนช่างกลมาเผ่ากองสลาก ตอนนั้นประทะแล้ว ตอนแรกเขาก็อะไรต่างๆ ระเบิดขวดเขาเก็บแล้วนะ แต่ตอนหลังที่นักศึกษาถูกทุบ ถูกผลัก ก็มีการปะทะกันกับทหารเผด็จการ
ผู้สัมภาษณ์ : ช่วงที่มีการเผ่าคือช่วงที่ทหารถอยไปแล้ว
คุณเสรี : ครับ ช่วงนั้นแหละ ประชาชนเป็นแสนๆ ผนึกกำลังกัน แบบหัวใจเดียวกัน
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วหลังจากนั้นลุงคิดว่าประเทศไทยก่อน 14 ตุลากับหลัง 14 ตุลา มันต่าง หลังจากผ่านเหตุการณ์นี้มาแล้ว
คุณเสรี : ผมคิดว่าต่าง ประชาชนเริ่มมีความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยสูงกว่าระดับเก่า
ผู้สัมภาษณ์ : คือประชาชนก็จะเข้าใจว่าเป็นการเคลื่อนไหวนักศึกษา นำโดยนักศึกษาแน่ๆ แต่ว่ามวลชนหลักถ้าประเมินด้วยสายตาคิดว่านักศึกษากับชาวบ้านทั่วไปมันสัดส่วนมากน้อยกว่ากัน
คุณเสรี : ผมคิดว่าประชาชนก็มากกว่านักศึกษานะ นักศึกษาแกนนำก็มีธรรมศาสตร์ จุฬา รามคำแหง
ผู้สัมภาษณ์ : แต่มวลชนคือเป็นประชาชน
คุณเสรี : ครับ ตั้งแต่กระบวนการกรรมกร ขบวนการชาวนามีเข้าร่วมเหตุการณ์นี้จำนวนมาก
ผู้สัมภาษณ์ : พอหลัง 14 ตุลา 16 ก็มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น แล้วลุงได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหว
คุณเสรี : ได้เข้าร่วมทุกโอกาส
ผู้สัมภาษณ์ : หลังเหตุการณ์ 14 มันมีการเคลื่อนไหวเยอะมาก ถามทั้งหมดคงไม่ไหว อยากให้ลุงเล่าเหตุการณ์ที่ลุงรู้สึกว่ามันสำคัญ มันจะเรียกว่าจะประทับใจ อาจจะเป็นเหตุการณ์ร้ายก็ได้ที่ในความทรงจำ
คุณเสรี : ฝั่งใจไอ้ก้านยาวของเรา ปกติอาวุธจะสู้กับทหารมันจะต้องอาวุธต่ออาวุธ ก้านยาวด้วยความโมโหด้วยความแค้น อ.ปริญญาโทที่ถูกยิงที่หน้ากรมประชาสัมพันธ์ ผมซึ้งตอนนั้น ซึ้งมากเลย นักศึกษาก็เอาศพของอ.ขึ้นบนอนุสาวรีย์ แล้วแห่ไปรอบเลย ทั่วกรุงเทพโดยน.ร. ช่างกล ปลุกเร้าประชาชนที่ไม่รู้ให้เข้าร่วมมากขึ้น
ผู้สัมภาษณ์ : หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ถ้ามีการชุมนุมอะไรลุงก็จะมาร่วม
คุณเสรี : ครับ ช่วงนั้นผมยังโสด ยังไม่แต่งงาน เลยเข้าร่วมได้ทุกโอกาส
ผู้สัมภาษณ์ : ลุงพอจะจำการเรียกร้อง ข้อเรียกร้องสมัยนั้น เคลื่อนไหวกันเรื่องอะไรบ้างที่ลุงได้เข้าร่วม
คุณเสรี : ให้แก้กฎหมาย 299 ที่นักศึกษาไปชุมนุมค้างคืนเลยหน้ากระทรวงยุติธรรม
ผู้สัมภาษณ์ : 299 นี่คืออะไร
คุณเสรี : กฎหมายเผด็จการ คือห้ามชุมนุมเกิน 5 คน คือไปตัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน นักศึกษาชุมนุมข้ามคืน ตอนหลังยอมยกเลิกที่หน้ากระทรวงยุติธรรม สมัยทรราชย์ครองเมือง
ผู้สัมภาษณ์ : อันนั้นประมาณปีอะไร
คุณเสรี : จำไม่ค่อยได้แล้ว แต่จำได้ว่ามันเริ่มมาตั้งแต่จุฬาก่อนแล้วมาที่ธรรมศาสตร์ และชุมนุมยืดเยื้อเลยหน้ากระทรวงยุติธรรม
ผู้สัมภาษณ์ : ทราบมาว่าลุงได้เข้าร่วมอยู่ในเหตุการณ์ตุลาด้วย และเป็นจำเลยที่ 18 ผู้ต้องหา ลุงเข้าไปร่วม ตอนนั้นแต่งงานรึยัง ตอน 6 ตุลา
คุณเสรี : ตอนนั้นแต่งงานแล้ว ผมแต่งงานเมื่อปี 2519 มกราคม 11 แต่งงานได้ไม่กี่เดือนก็โดนจับไปอยู่ในคุก ร.ร. พลตำรวจบางเขน
ผู้สัมภาษณ์ : ยังไม่มีลูกใช่ไหม
คุณเสรี : ยังไม่มีลูก ผมมีลูกตอนออกจากคุกมาแล้ว
ผู้สัมภาษณ์ : 6 ตุลาก็คือไปร่วมชุมนุมปกติ
คุณเสรี : ขึ้นไฮปาร์คด้วย ช่วยนักศึกษาเขา
ผู้สัมภาษณ์ : การที่ถูกจับเพราะขึ้นไฮปาร์ค
คุณเสรี : ขึ้นไฮปาร์คด้วยและผมเป็นประธานแนวร่วมประชาชนแห่งประเทศไทย หน่วยรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนในการชุมนุม
ผู้สัมภาษณ์ : ลุงช่วยเล่าที่มาของแนวร่วมประชาชนแห่งประเทศไทย
คุณเสรี : ก็จากชาวบ้านธรรมดา แนวร่วมกับนักศึกษาก็จัดตั้งกลุ่มแนวร่วมประชาชน
ผู้สัมภาษณ์ : คุยเริ่มประชุม อะไรกันอย่างไร หรือใครเป็นคนเสนอไอเดียเรื่องนี้
คุณเสรี : ตอนนั้นพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยเขาบอกเจ้าต้องมีขบวนการของประชาชนด้วย แล้วร่วมกับพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ก็ไปเช่าสำนักงานอยู่ใกล้ๆกับสำนักงานชมพูและเพื่อนข้างหลัง เป็นตึก 2 ชั้น ทางพรรคสังคมนิยมก็ช่วยค่าเช่า นอกนั้นประชาชนก็ช่วยเหลือตัวเอง
ผู้สัมภาษณ์ : ประมาณปีไหนที่ตั้งแนวร่วม
คุณเสรี : ช่วงนั้นเริ่มมีการเคลื่อนไหวของนักศึกษามากนะ นักศึกษาก็เข้ามาร่วมกับแนวร่วมแห่งประเทศไทยด้วย มีวิทยากรทั้งอาจารย์และนักศึกษาด้วย ทำให้ขยายไปถึงต่างจังหวัดด้วย มีสาขาของต่างจังหวัดด้วยมากมาย
ผู้สัมภาษณ์ : หลังจากตั้งเครื่อข่ายก็เคลื่อนไหวในนามแนวร่วมประชาชนแห่งประเทศ
คุณเสรี : ประชาชนแห่งประเทศไทย
ผู้สัมภาษณ์ : พอ 6 ตุลาคือลุงก็ขึ้นไฮปาร์คด้วย แล้วบทบาทของแนวร่วมประชาชนแห่งประเทศไทย
คุณเสรี : อยู่หน่วยรักษาความปลอดภัยด้วย ผมเป็นคนคุมหน่วยรักษาความปลอดภัยของแนวร่วมประชาชน
ผู้สัมภาษณ์ : อันนี้ก็เลยเป็นสาเหตุทำให้โดนเป็น 1 ใน 18 ผู้ต้องหา 6 ตุลา
คุณเสรี : ก็เกือบตายไปแล้ว ผมอยู่ที่ตึกอมธ. ของธรรมศาสตร์ มันยิงเข้าไปบอกว่าลงไปให้หมด ไม่งั้นตายหมดนะ ผมก็เลยหนีไปอยู่ที่ตึกอเนกประสงค์ ตามล่าอีก เลยต้องไปโดนถอดเสื้ออยู่หน้านึกรัฐศาสตร์ มันเตรียมรถมาแล้วเป็น 10ๆ คันจับไป 3,000 กว่าคน
ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นเขาพาไปที่ไหนบ้าง
คุณเสรี : บางเขน เรือนจำบางเขน ไปทั้งถอดเสื้ออย่างนั้นแหละ ร.ร. พลตำรวจ, นครปฐม , และชลบุรี
ผู้สัมภาษณ์ : มันมีไปที่โรงเรียนนายสิบ
คุณเสรี : โรงเรียนพลตำรวจบางเขน
ผู้สัมภาษณ์ : คือไปที่นั่นก่อนแล้วเขาแยกใช่ไหม
คุณเสรี : ตอนหลังเขาคัดไว้ 18 คนไง สุธรรมเขาหัวหน้าทีม น้องเสงี่ยมกับน้องสุจิราก็ทัตสถานหญิง คือที่ไปขังไว้มากที่สุดคือบางเขน และที่โรงเรียนพลตำรวจที่ชลบุรี และที่นครปฐม
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วตอนแรกลุงไปที่ไหน
คุณเสรี : ผมอยู่บางเขนตลอด ถูกขังบางเขนตลอด 2 ปีอยู่บางเขน มาขึ้นศาลที่กระทรวงกลาโหม แล้วตอนหลังศาลต้องย้ายไปอยู่กรมพลาธิการ เพราะเวลาเราขึ้นศาลแต่ละครั้งประชาชนไปเยอะเป็นกำลังใจเป็น 1,000 คน เลยต้องย้ายไปที่นนทบุรีประชาชนยังตามไปอีกนะ ไปกางเต้นท์ ไปโบกธงชาติเล็ก ๆ เวลารถจำเลยผ่าน มีการให้กำลังใจ มีประชาชนต้องชนะ มีไชโย มีร้องเพลงสดุดี 14 ตุลาคม
ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นพอเขาคัดเหลือ 18 คน 16 คนเป็นผู้ชายต้องอยู่แดนเดียวกัน อยู่ห้องเดียวกันรึเปล่า
คุณเสรี : อืม ธงชัย วินิตกุล ประยูร อัตรบวร คงศักดิ์ อาสาพรรค สมศักดิ์ อยู่ที่บางเขนมากกว่าอยู่ที่บางขวาง ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือเขาแยกขัง
คุณเสรี : แยกขังไง ไปเจอกันเวลาขึ้นศาลเท่านั้น
ผู้สัมภาษณ์ : ผมถามเรื่องความเห็นทางการเมือง เอาย้อนตั้งแต่เด็กๆทำไมลุงสนใจการเมือง
คุณเสรี : ผมเป็นนักเรียนที่ชอบอ่านหนังสือ ชอบคลุกคลีในห้องสมุด และชอบครูที่สอนแบบประยุกต์หน่อย คือสอนการเมืองบ้างตามภาวะของนักเรียน ผมชอบตั้งแต่นู้น และเจ้าของโรงเรียนเป็นนักการเมือง ชอบเล่าเรื่องการเมืองให้นักเรียนฟัง
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วที่บ้านพ่อหรือพี่น้อง ลุงมีพี่น้องไหม
คุณเสรี : มีพี่น้อง 7 คน
ผู้สัมภาษณ์ : ลุงเป็นคนที่เท่าไร
คุณเสรี : ผมเป็นคนที่ 4 คนโตถูกยิงตาย ถูกตำรวจยิงตาย เขาไปทางนักเลงหน่อย ระดับไอ้เสือ สู้กับ ตำรวจถูกยิงตาย
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่น้อง พ่อแม่ มีใครสนใจการเมืองหรืออะไรอย่างนี้รึเปล่า
คุณเสรี : ก็มีบ้าง แต่ไม่เข้มข้นเหมือนผม น้องผมก็เป็นสหกรณ์จังหวัดอยู่นครศรีธรรมราช ตอนนี้เกษียณแล้ว ไอ้นี่จบเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ จาก ม. เกษตรศาสตร์ ตอนหลังผลประโยชน์มันดีขึ้นเปลี่ยนชนชั้นไปเลย
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วเมื่อกี้ผมถามมุมมองเกี่ยวกับ 14 ตุลาไปแล้ว ถ้าเกิดผมให้ลุงจำกัดความ 14 ตุลาสั้นๆ ลุงจะจำกัดว่า
คุณเสรี : ผมคิดว่า 14 ตุลา วันมหาประชาชน วันที่ประชาชนได้แสดงพลังออกมาด้วยความบริสุทธิ์ และถูกปราบปรามด้วยเผด็จการ
ผู้สัมภาษณ์ : ที่เขาบอกว่ามีพคท. เข้าไปนำ เข้าไป
คุณเสรี : อันนี้ลึกๆ ผมไม่ทราบ อาจจะมี เพราะช่วงนั้นพคท. เขาผลึกกำลังกัน แต่ความคิดแตกต่างในยุทธวิธี ผกท.ก็มีตามข่าวนะ เท่าที่ผมพอทราบ
ผู้สัมภาษณ์ : ผมถามเรื่อง 6 ตุลาบ้าง ผมถามแล้วว่า 14 ตุลามันส่งผลต่อสังคมไทยอย่างไรบ้าง ที่นี้ 6 ตุลามันส่งผล โอเคด้านหนึ่งมันทำให้ประชาธิปไตยเบ่งบาน แต่ว่ามันส่งผลอื่นต่อสังคมไทยไหม
คุณเสรี : ผมคิดว่าการพัฒนาทางความคิดทางด้านการเมือง ผมคิดว่าดีขึ้น ประชาชนเข้าใจยุทธวิธีของเผด็จการมากยิ่งขึ้น บทเรียนจาก 14 ตุลา 16
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วถ้าให้คำจำกัดความ เมื่อกี้ลุงให้คำจำกัดความ 14 ตุลาว่าเป็นวันลุกขึ้นสู้ แล้วถ้าเป็น 6 ตุลาล่ะครับ
คุณเสรี : วันต่อต้านเผด็จการ ถนอม, ประภาส, ณรงค์ แต่เราถูกปราบ ตายไปเยอะ ตายเป็นร้อย ไม่ใช่อย่างที่ให้สัมภาษณ์ ผมอยู่ตึกอมท. เห็นคนถูกยิง ล้มอย่าง เห็นเลือดสด ๆ เห็นผู้หญิงถูกไล่ต้อนขึ้นตึกและถูกลากลงมา และก็เอาลิ่มตรอกร่างเปลือยเปล่า
ผู้สัมภาษณ์ : ผมถามเรื่องการเมืองปัจจุบันนิดหนึ่ง พูดถึงคนเดือนตุลาก่อนแล้วกัน คือคนเดือนตุลา ผมเรียกรวมๆคนเดือนตุลา เมื่อก่อนก็คือว่าอยู่ฝ่ายเดียวกัน มีแกนความคิดอะไรหลายๆ คล้ายๆกัน แต่พอมาถึงเรื่องมีเสื้อเหลือง เสื้อแดง คนเดือนตุลาก็ไปอยู่ทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายรัฐ คนสมัยนู้นก็อยู่ 2 ฝ่ายเหมือนกัน ลุงมองปรากฏการณ์นี้อย่างไรบ้าง
คุณเสรี : ผมมองว่าส่วนใหญ่คนเดือนตุลาคงจะยึดมั่นในอุดมคติเหมือนเดิม บางคนเท่านั้นที่ความคิดเขา อาจจะฐานะทางเศรษฐกิจเขาดีขึ้น คนเราพอภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนความคิดก็เปลี่ยน ไม่เหมือนตอนต่อสู้ เช้าเย็น บางคนแทบไม่มีที่นอนที่กิน ก็มีอยู่ไม่กี่คนที่เขาลืมเรื่องเก่าๆ คือทำตัวอีกอย่าง มีไม่กี่คน ส่วนใหญ่ยังยึดมั่นในอุดมการณ์ 14 ตุลาคม 16
ผู้สัมภาษณ์ : ลุงมองว่าความขัดแย้งรอบนี้จะจบอย่างไร
คุณเสรี : ผมคิดว่าความขัดแย้งอยู่ที่พลังของประชาชน ประชาชนยังสู้ ยังแน่วแน่ อย่างวันที่ 6 ที่ผ่านมา ก็ยังมารับทราบ ก็แสดงความจริงใจที่มีต่อระบบประชาธิปไตยๆมันไม่มีในปัจจุบัน สภาก็สภาโลเล เฉไฉ มันพึ่งไม่ได้ ระบบรัฐสภาพึ่งไม่ได้ ต้องมีพรรคการเมืองที่ยึดมั่นในแนวทางประชาชนอย่างชัดเจน การปฏิวัติทั่วโลกต้องมีพรรคที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง มีพรรค มีกองกำลัง มีแนวร่วม
ผู้สัมภาษณ์ : หมายความว่าพรรคเพื่อไทยยังไม่พร้อม ยังไม่ใช่
คุณเสรี : ผมคิดว่ายังไม่ 100% ยังมีกลุ่มทุนเข้าไปอยู่ในพรรคด้วย ยังไม่จริงๆใจ 100% แต่ดีกว่าพรรคอื่น
ผู้สัมภาษณ์ : ลุงคิดว่าประชาธิปไตยไทยยังมีหวังอยู่ไหม
คุณเสรี : ผมว่ายังมี ถ้ามันเกิดว่ายุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ อันนั้นเป็นเครื่องวัดว่าอนาคตของประเทศชาติคืออะไร ถ้ามียุบสภาแล้วมีเลือกตั้งใหม่ ถ้าอภิสิทธิ์มันถึงขั้นที่ต้องยุบสภาเพื่อการอยู่รอดของพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าลงเลือกตั้งก็แพ้อีก ถึงไม่มีการยุบสภา มันกลัวแพ้ ผมคิดว่าแพ้พรรคเพื่อไทยแน่ๆ กฎหมายที่ว่าจะปลดปล่อย 111 คน ที่เขาถูกดองไว้ตั้ง 5 ปี ที่ไม่ให้เคลื่อนไหวทางการเมือง
สู้เพื่อประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ตามหลักการของคณะราษฎร์ เมื่อ 2475 ผมจะสู้เพื่อประชาธิปไตยตลอดชีวิต ครับ
จบการสัมภาษณ์
|