Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Woolrich Outlet

Woolrich

hogan

hogan

hogan

Hogan Sito Ufficiale Hogan Scarpe Hogan Outlet Hogan Scarpe Hogan Hogan Scarpe Hogan Interactive Hogan Donna Scarpe 2013 Hogan Scarpe Outlet Hogan Vendita Hogan Hogan Scarpe 2013 Hogan Scarpe Hogan Scarpe Hogan Hogan Outlet Hogan Scarpe Outlet Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Hogan Outlet Scarpe Hogan Hogan Sito Ufficiale Scarpe Hogan2013 Hogan Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Donna Hogan Interactive Hogan 2013 Hogan Online Hogan Italia Hogan Scarpe
woolrich ASK Hollister Hollister abercrombie abercrombie abercrombie abercrombie woolrich parka Hollister Holliter France Hollister Hollister France Magasin Vetement Hollister Hollister Soldes Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Vente Hollister En ligne Hollister 2013 Hollister France Hollister France 2013 Hollister Hollister Hollister Magasin Hollister Vente Hollister Homme Hollister Pas Cher Hollister T Shirts Hollister Paris Boutique Hollister Vetements Boutique Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Hommes Hollister France Vente Hollister Hollister sortie 2013 Pas Cher Hollister Hollister Pas Cher

บทสัมภาษณ์ - สมชาย รัตนสุธีรานนท์
วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 เวลา 14.20 น.
สถานที่ จ.นครราชสีมา
ผู้สัมภาษณ์ : โชติศักดิ์ อ่อนสูง
ตามโครงการของมูลนิธิ 14 ตุลา ในการรวบรวมปากคำของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อไป


ผู้สัมภาษณ์ : ก่อนอื่นผมยากให้พี่เล่าช่วงชีวิตให้ฟังก่อนนะครับ ว่าโตที่ไหน อย่างไร
คุณสมชาย :
ชีวิตในวัยเด็กผมเป็นเด็กสลัมมาก่อนครับ ย่านสลัมฝั่งธนบุรีว่าอย่างนั้น และก็เรียนประถมที่โรงเรียนศิริธนศึกษา ตอนนั้นก็อยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา และก็ข้ามไปเรียนครับ แถวคลองสาน

ผู้สัมภาษณ์ : พี่มีพี่น้องกี่คนครับ
คุณสมชาย :
สิบกว่าคนครับ คือมีแม่หลายคนว่าอย่างนั้นนะครับ

ผู้สัมภาษณ์ : อยู่บ้านเดียวกันหรือครับ
คุณสมชาย :
ครับ อยู่บ้านเดียวกัน และผมก็เข้ามาเรียนมัธยมต้น และจบมัธยมปลายซึ่งตอนนั้นเรียกว่า มศ.5 ที่โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย

ผู้สัมภาษณ์ : พี่เกิดปี พ.ศ. อะไรครับ
คุณสมชาย :
ผมเกิดปี 2493 ครับ ตอนนี้ก็อายุ 59 ปี จะ60 เดือนกันยายนนี้ครับ เรื่องปีเรื่อง พ.ศ. ผมจำไม่ค่อยจะได้นะ ก็เรียนตามเกณฑ์ครับ ตอนนั้นมันมีถึง ป.7 จบแล้วก็มาสอบเข้าไตรมิตรวิทยาลัย มศ.1

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นสภาพบ้านเมืองเป็นอย่างไรบ้างครับ
คุณสมชาย :
ตอนเด็กๆ ทหารก็ยังเป็นใหญ่ จอมพลถนอม-จอมพลประภาสก็ยังเป็นรัฐมนตรีอยู่

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนที่เริ่มจำความได้ มีการติดตาม หรือเริ่มรู้จักการเมือง ตอนไหนอย่างไรบ้างครับ
คุณสมชาย :
ที่เคยได้ยินคือตอนนั้นยังเด็กมากนะครับ ประมาณปี 2500 ประมาณสมัยสฤษดิ์ปฏิวัติ และก็ตอนหลังนี้ก็ไม่มีความรู้ทางการเมืองเลย มารู้อีกทีก็สมัยที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัย ผมเรียนมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คือผมเอ็นทรานซ์ไม่ได้ ผมก็เรียนมหาวิทยาลัยเอกชน

ผู้สัมภาษณ์ : พี่เข้ามหาวิทยาลัย ประมาณปีไหนครับ
คุณสมชาย :
ประมาณปี 2513

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นมหาวิทยาลัยกรุงเทพอยู่ไหนครับ
คุณสมชาย :
อยู่กล้วยน้ำไท ยังเป็นวิทยาลัยกรุงเทพ

ผู้สัมภาษณ์ : จากบ้านมาเรียนในสมัยนั้น มาอย่างไรครับ พักอยู่แถววิทยาลัยหรือเปล่า
คุณสมชาย :
ไม่ครับ คือผมอยู่ฝั่งธนฯ ตอนอยู่ปี 3 มีมอเตอร์ไซด์อยู่คันหนึ่งก็ขี่มากล้วยน้ำไทบ้าง ก็ไกลพอสมควรครับ แรกๆ คือจะขึ้นเรือข้ามฟากจากท่าดินแดงข้ามมายังท่าราชวงศ์ และก็ต่อรถมาหลายทอดหน่อย

ผู้สัมภาษณ์ : พอเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว เป็นอย่างไรบ้างครับ
คุณสมชาย :
พอเข้ามหาวิทยาลัยความคิดทางการเมืองมันยังไม่ก้าวหน้ามาก ยังล้าหลังอยู่ สมัยนั้นมีแฟชั่น พวกมอสกับเดฟพวกอะไรนี่ละครับ มอสเป็นพวกที่นิยมสนุกสนาน รักสันติ รักธรรมชาติ เดฟจะเป็นพวกวัยรุ่นที่ชอบใช้ความรุนแรง แต่ไม่ถึงกับรุนแรงเหมือนกับสมัยนี้ ค่อนข้างจะเป็นวัยรุ่นที่ค่อนข้างก้าวร้าวนิดหน่อยแต่ไม่ถึงกับรุนแรงมาก ส่วนมอสเป็นพวกที่เป็นนักรัก อาจจะเป็นอยู่ในหมู่ของพวกฮิปปี้ ก็มีบางส่วนที่ไปยุ่งกับพวกกัญชา อย่างนี้ครับ เพราะฉะนั้นตอนนั้นผมก็มีเพื่อนที่เป็นนักศึกษาหลายคนที่เป็นอย่างนี้ ติดกัญชาบ้างอะไรบ้าง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ของพวกนี้เข้ามาเยอะ เป็นช่วงที่ GI เข้ามา นักศึกษาบางส่วนก็ไปสนุกกับมัน วิทยาลัยกรุงเทพสมัยนั้น ปี 1-2 นี่ยังไม่มีความรู้ทางการเมืองเลย ว่าอย่างนั้นนะ ก็จะมีเข้าตอนปี 3 ที่เริ่มจะสนใจบ้าง และพอดีปี 4 สมัยนั้นก็มีกิจกรรมอันหนึ่งคือ ทางวิทยาลัยให้ทำหนังสือพิมพ์

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนี้คือยังไม่เกิด 14 ตุลาหรือครับ
คุณสมชาย :
ยังครับ ปลายปี 3 ที่มีกิจกรรม ทำหนังสือหลักสูตร หรือหนังสือพิมพ์

ผู้สัมภาษณ์ : พี่เรียนสาขาอะไรครับ
คุณสมชาย :
สื่อสารมวลชนครับ สมัยนั้นไม่ได้แยกเป็นนิเทศศาสตร์เหมือนสมัยนี้ ผมก็ทำหนังสือพิมพ์ ผมเป็นบรรณาธิการคนแรก เดี๋ยวนี้ก็อาจจะมีอยู่นะ ไม่แน่ใจ หนังสือพิมพ์ชื่อบ้านกล้วยของ ม.กรุงเทพ ผมเป็นบรรณาธิการคนแรก เป็นผู้ก่อตั้ง และก็บังเอิญกิจกรรมนี้แหละครับที่ทำให้ผมเข้ามาอยู่ใน 14 ตุลา ช่วงนั้นก็ออกมาทำข่าว มีมอเตอร์ไซด์คันหนึ่งและก็กล้องเล็กๆตัวหนึ่ง แต่ตอนนั้นเป็นฟิล์มขาว-ดำอยู่ และผมก็เข้ามามีส่วนร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลาในช่วงนั้นเอง และก็บังเอิญเหมือนกันที่มีน้องชายคนหนึ่งเรียนอยู่ธรรมศาสตร์

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงน้องชายแท้หรือครับ
คุณสมชาย :
ครับ ก็สนใจการเมือง และก็แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน อย่างนี้นะ

ผู้สัมภาษณ์ : พี่ไปทำข่าวช่วงไหนครับ ก่อนมีความเคลื่อนไหว หรือตอนมีการเคลื่อนไหว
คุณสมชาย :
ช่วง 14 ตุลา หนังสือพิมพ์จะมีการติดต่อกันของแต่ละมหาวิทยาลัย ตอนนั้นมีบางมดก็คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก็มีการติดต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ทำข่าวกันอะไรอย่างนี้ หลังจากนั้นก็มีหอการค้า

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนที่มีการลบชื่อนักศึกษา ตอนนั้นได้ไปทำข่าวหรือเปล่าครับ
คุณสมชาย :
ช่วงลบชื่อนักศึกษานี่ ผมไม่แน่ใจว่าตอนเกิดเหตุการณ์นี้ ผมยังไม่สนใจเท่าไหร่ ก็เลยไม่ได้ไปทำข่าว

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนสิบสี่ตุลาได้เข้าไปทำข่าวตอนช่วงไหนครับ
คุณสมชาย :
14 ตุลานี่อยู่ในเหตุการณ์เลยครับ เข้าไปทำข่าวตั้งแต่แรก ตั้งแต่เริ่มเลย คือผมขี่มอเตอร์ไซด์ไปจอดตรงเฉลิมไทยในสมัยนั้น และก็เดินไปกรมประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่ก้อนหินก้อนแรกที่ปาเข้ามาในกรมประชาสัมพันธ์ กระจกแตกครับ และก็มีการทุบกระจก ทุบอะไร มีการเข้าไปและก็มีการเผา

ผู้สัมภาษณ์ : แต่ก่อนหน้านั้นก็คือยังไม่เข้าไป ตอนที่มีการเดินขบวนอะไรอย่างนี้นะครับ
คุณสมชาย :
ยังครับ ตอนนั้นยังไม่เข้าไป คือหมายความว่าในชุมนุมนะไปครับ แต่ไม่ได้ไปค้างคืน

ผู้สัมภาษณ์ : ประมาณวันไหนครับ ที่ไปชุมนุม แล้วไปที่ไหน อย่างไรครับ
คุณสมชาย :
ผมจำไม่ได้แล้วครับ คือก่อนหน้านั้นประมาณอาทิตย์หนึ่ง ผมเข้าไปคือเมื่อก่อนเขาจะมีการจัดกิจกรรมหน้าลานโพธิ์บ่อยๆครับ แต่ก็ไม่ได้เข้าไปร่วมแต่อย่างใดนะ เข้าไปดูไปสังเกตการณ์เฉยๆ และก็มีอะไรมาเขียนนะ เป็นอย่างนี้ครับ สมัยนั้นวิทยาลัยเอกชนเรียกว่าล้าหลังนะ คือไม่ค่อยสนใจเรื่องการเมืองซักเท่าไหร่ สนใจข่าวเล็กๆน้อยๆ และก็สนใจเรื่องบันเทิงซะมากกว่า

ผู้สัมภาษณ์ : ช่วงแรกๆ ก็คือ ไปๆ กลับๆ หรือครับ
คุณสมชาย :
ช่วงแรกๆ ก็ไปร่วมบ้างนิดหน่อย คือหมายความว่าไปสังเกตการณ์นิดหน่อย และก็แทบจะไม่รู้จักใครเลยในตรงนั้นเลยว่าอย่างนั้น ที่เคยได้ยินชื่อเสียง ก็มีอาจารย์เสกสรร พวกนั้นแหละที่อยู่ในนักศึกษา ที่เป็นผู้นำนักศึกษา

ผู้สัมภาษณ์ : ในช่วงตอนแรกๆได้ถ่ายรูปหรือเปล่าครับ
คุณสมชาย :
ช่วงนั้นยังเลยยังไม่ได้ทำนะ คือเหตุการณ์ที่ได้ถ่ายรูปจริงๆก็คือช่วงของเหตุการณ์ 14 ตุลาครับ ก็ถ่ายจากกรมประชาสัมพันธ์ครับ ถ่ายมาเรื่อยๆ มีการแบกศพบ้าง และก็มากราบไหว้กลางถนนราชดำเนิน ตอนนั้นผมก็มีรูป

ผู้สัมภาษณ์ : ศพนั้นพี่พอจะจำได้หรือเปล่าครับ คือศพแบกผ่านมาจากที่อื่นหรือว่าอย่างไรครับ
คุณสมชาย
: เข้าใจว่ามาจากอีกด้านหนึ่งของถนราชดำเนิน ชื่อถนนอะไรผมก็จำไม่ได้ครับ ถนนที่อยู่ขนานกับถนนราชดำเนิน เขาเรียกว่าอะไรนะ บางลำพู เข้าใจว่าแบกมาจากทางนั้นและก็มาวางตรงกลางถนนราชดำเนิน และมีนักศึกษาบางกลุ่ม เข้าใจว่าเป็นอาชีวะ ยกมือไหว้ เห็นอยู่ในภาพ 14 ตุลาด้วย ที่จริงภาพนั้นผมก็ถ่ายไว้เหมือนกัน ในตอนนั้นมีตากล้องอยู่ประมาณ 2-3 คนครับ ผมก็เป็นหนึ่งในนั้นเหมือนกัน

ผู้สัมภาษณ์ : เป็นตากล้องนักศึกษาหรือว่าอย่างไรครับ
คุณสมชาย :
มืออาชีพครับ เข้าใจว่าอย่างนั้น ผมก็ถ่ายไล่ไปเรื่อยๆ คราวนี้คลื่นนักศึกษามันก็ค่อยๆไป ตอนนั้นทหารก็เข้ามา มีพวกรถถังไล่เข้ามา อะไรอย่างนี้ การยิงกันในช่วงนั้นก็ไม่คิดว่าจะถึงระดับการฆ่าแกงกัน เพราะว่ายิงเหนือยอดไม้ ใครยืนก็อาจจะโดนแต่ถ้าใครหมอบต่ำๆก็ไม่น่าจะโดน คิดว่าอย่างนั้นนะ ผมเองอยู่หน้ากรมประชาสัมพันธ์ก็หมอบเหมือนกัน

ผู้สัมภาษณ์ : ยิงมาจากกรมประชาสัมพันธ์หรือครับ
คุณสมชาย :
ไม่ใช่ครับ ยิงมาจากตรงสี่แยก หน้ากรมประชาสัมพันธ์ครับ

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงทหารก็อยู่ตรงถนน ไม่ได้ยิงมาจากข้างบนหรือครับ
คุณสมชาย :
ไม่ได้อยู่ครับ ยิงไล่มา คล้ายๆไล่ม็อบมาครับ ม็อบก็ทยอยและสุดท้ายก็ไปยืนตรงหน้ากรมประชาสัมพันธ์ แต่ว่าตอนนั้นก็ระดมเผาแล้วครับ ทีนี้พวกนักศึกษาและก็ม็อบก็ถอยร่นไปเรื่อยๆจนถึงหน้าพระบรมรูป เริ่มมีการเผาไล่จากกรมประชาสัมพันธ์ไล่ไปเรื่อย อะไรที่เป็นของราชการก็โดนหมดว่าอย่างนั้นนะ และก็มาสะดุดตรง กตป.นะ ที่มีภารโรงติดอยู่ในตึก เมื่อมีจุดไฟเผาแล้ว คนนี้ลงมาไม่ได้ติดอยู่บนกันสาด ขนาดนั้นผมอยู่ข้างล่าง ช่วยกันเชียร์ให้เขากระโดดลงมา มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งไปเอาผ้าใบมาจากไหนก็ไม่รู้ครับ และก็เชียร์ให้เขากระโดดลงมา แต่ว่าความใจไม่ถึงไม่กล้ากระโดลงมา เราก็เห็นผู้ชายคนนั้นที่อยู่บนตัวตึก มือเท้าหนังนี่ลอกเป็นขาวๆ ติดออกมาเลย และก็ค่อยๆฟุบไปทีละนิด เขาก็ตายอยู่ตรงนั้นนะ คือไม่กระโดลงมา ก็ค่อยๆเห็นความร้อนมันค่อยไล่เรื่อยและรู้กันว่าไม่รอด และนักศึกษาก็ไล่มาเรื่อยๆ จนถึงตรง 191 นะ นักศึกษาก็ยังตรึงกันอยู่ตรงนั้น ตรงฝั่งเฉลิมไทย ตำรวจก็ไม่กล้าเข้ามา ก็มีการยิงมาประปรายบ้าง แต่ไม่นานไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ซักพักหนึ่งตำรวจก็ถอดเสื้อและก็วิ่งหนีออกไปด้านข้าง เห็นชัดๆเลย นักศึกษาก็วิ่งเข้าไปซ่อนตัว คราวนี้นักศึกษาที่ไปซ่อนตัวก็ได้ใจ เข้าไปรื้อค้น เข้าใจว่าบางส่วนก็เป็นขี้ขโมยว่าอย่างนั้นนะ ขโมยพระพุทธรูป พิมพ์ดีด อะไรต่ออะไร และบางส่วนก็เผา มันก็มีหลายกลุ่มนะครับ พวกที่ฉวยโอกาสก็มี นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เข้าไปคือเข้าไปเผา และก็มีการทุบตีข้าวของ โคมไฟอะไรต่ออะไรที่กรมประชาสัมพันธ์ ตรงสี่แยก ก็พอถึงจุดนั้นแล้วก็เออ พอดีมอไซด์ผมจอดอยู่แถวเฉลิมไทยนะ เขามีรถดับเพลิงจอดอยู่ตรงนั้นด้วย เขาก็เชียร์กัน เผา เผา เผา เราก็เชียร์ด้วยโดยลืมนึกไปว่ามอเตอร์เราก็จอดอยู่ตรงนั้น พอนึกได้อีกทีก็รีบวิ่งไปเอาออกมา มีการเผารถบรรทุก รถประจำทาง คล้ายๆเหตุการณ์เมื่อเร็วๆนี้ ไม่ต่างกันเลย แต่ในสมัยนั้นนักศึกษานี่เข้าใจว่าเยอะกว่า พลังมันเยอะกว่า ส่วนใหญ่ก็มีอาชีวะที่ยังเป็นแนวหน้าในสมัยนั้น ขนาดนั้นเองก็เห็นมีรถกระจายเสียงของคุณเสาวนีย์ มานนท์ ก็มาขอว่าให้ยุติความรุนแรง แต่ก็สู้ม็อบไม่ได้ ทางนี้คุมไม่อยู่แล้ว และก็บางกระแสก็บอกว่าณรงค์กับประภาสหนีออกนอกประเทศแล้ว อะไรอย่างนี้นะ มีการหนีออกนอกประเทศแล้ว มาคลี่คลายอีกทีก็ตอนค่ำ แต่ว่ากรุงเทพในสมัยนั้นนี่ลำบากมาก แทบจะว่าเป็นเมืองมีแต่ความเสียหาย โดยเฉพาะไฟตามสี่แยกนี่เสียหายหมด โดนตีไม่มีชิ้นดี ไม่นับพวกรถประจำทางที่โดนเผาโดนอะไร

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนที่มีข่าวว่าถนอม ประภาสออกนอกประเทศไปแล้วนี่เป็นข่าวจากโทรทัศน์ วิทยุ หรือข่าวจากไหนครับ
คุณสมชาย :
มันเป็นข่าวลือครับ ในที่สุดในหลวงก็ออกมาประกาศว่ามันเกิดเหตุการณ์วันวิปโยคนะ ทุกอย่างมันก็คลี่คลายหมด

ผู้สัมภาษณ์ : พี่กลับบ้านตอนไหนครับ
คุณสมชาย :
คือช่วงนั้นผมกลับบ้านช่วงประมาณทุ่มสองทุ่มครับ ไม่ได้อยู่ดึก เพราะว่าผมต้องรีบเอาฟิล์มไปล้าง เอามาติดบอร์ดในวิทยาลัย

ผู้สัมภาษณ์ : ยังเก็บรูปไว้หรือเปล่าครับ
คุณสมชาย :
คือพอดีช่วงนั้นน้องชายที่อยู่ธรรมศาสตร์เขามาเอารูปผมไป แล้วผมก็ไม่ได้ตามรูปนั้นเลย ถามอีกทีเขาก็บอกว่าไม่ทราบอยู่ที่ใครแล้ว แต่ว่าตอนที่เอามานี่นะครับ ผมเป็นคนล้างเอง เพราะสมัยนั้นเป็นรูปขาวดำนะ ล้างเอง ขยายเอง และก็ไปติดไว้หน้าวิทยาลัย คนก็เห็นว่าภาพนี้ได้มาอย่างไร อยู่ในเหตุการณ์นี่ ตอนนั้นยอมรับว่าวิทยาลัยเอกชนไม่ได้มีความสนใจเรื่องการเมืองซักเท่าไหร่ อาจารย์ก็สงสัยทำไมได้รูปพวกนี้มา คล้ายๆ ทันเหตุการณ์ว่าอย่างนั้น

ผู้สัมภาษณ์ : ก็คือรูปนี้เอาไปติดตอนเช้าวันที่ 16 หรือครับ
คุณสมชาย :
เช้าวันรุ่งขึ้นเลย ผมก็เอาไปติดเอง และก็เอารุ่นน้องอีกคนที่อยู่ปีหนึ่งมาช่วยกัน สมัยนั้นมันทำง่ายเพราะเป็นขาวดำ มีเครื่องอัด เครื่องขยายเราทำเอง หลังจากนั้นก็ นักศึกษาก็ชนะ ก็ชนะนะครับ เรียกว่าเป็นใหญ่ แต่หลังจากนั้นก็มีการเรี่ยไรกัน เรี่ยไรเข้ากองทุน นิสิตฯนี่ได้เงินเยอะ ทั่วกรุงเทพนี่ได้เยอะ ไม่รวมต่างจังหวัด ต่างจังหวัดในช่วงนั้นผมก็ไม่ค่อยได้รับข่าวสารเท่าไหร่แต่ก็รู้ว่ามี มีการเรี่ยไร ช่วยทางศูนย์นิสิตนักศึกษาสมัยนั้น และก็คงจะได้เงินมากอยู่ ขนาดเรี่ยไรทางรถเมล์ ขึ้นไปขออะไรอย่างนี้นะ เขาก็ให้ บางคนสมัยนั้นควักแบงค์ร้อยให้เลยก็มีครับ สมัยนั้นแบงค์ร้อยนี่แพงมากนะ (สมัยนั้นยังไม่มีแบงค์ห้าร้อยหรือแบงค์พันเลย) คนที่เห็นใจ เพราะมีการตายการอะไร เขาก็ช่วยเหลือ เงินอันนี้ทางศูนย์นักศึกษามาเก็บเอาไว้ ตอนหลังผมก็ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร เพราะว่าพอสถานการณ์คลี่คลายผมก็ไม่ได้เข้าไป เพราะผมไม่ได้สัมผัสกับศูนย์นักศึกษาโดยตรง มีเกี่ยวเนื่องนิดหน่อยเท่านั้นเอง

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นทางสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยกรุงเทพทำอะไรบ้างครับ
คุณสมชาย :
ช่วงนั้นสโมสรนักศึกษาทางวิทยาลัยแทบจะไม่มีบทบาทอะไรเลย คือก็อย่างที่ผมว่า ร่วม เข้าร่วม เขาขอให้มาร่วมเดินขบวนก็ไป แต่ว่าเดินเสร็จแล้วก็กลับบ้านอะไรอย่างนี้นะ คือไปชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ตอนนั้น ผมก็ได้เข้าไปร่วมด้วย แต่ว่าก็ไม่ได้ไปร่วมกับเขาจริงๆจังๆ คือไม่ได้มีบทบาท

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นที่เข้าไป ไปเองหรือว่าไปกับเพื่อนๆ หรือว่าไปอย่างไรครับ
คุณสมชาย :
คือสโมสรนักศึกษานี่ละครับเป็นคนจัดไป มีรถทางวิทยาลัยเขาเช่ามา แต่บางส่วนก็ขึ้นรถเมล์ไปเอง ไปร่วมชุมนุมตอนที่อยู่สนามหลวง อยู่หน้าธรรมศาสตร์ ไม่ได้ถึงกับว่านอนที่นั่นเลย ต้องยอมรับวิทยาลัยเอกชนสมัยนั้นน้อยครับ ช่วงนั้นก็เห็นใจ มีทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัย ช่างกล อะไรก็อยู่ตรงนั้น หลายคืนมาก ก็เกิดเหตุการณ์มีการล้อมปราบกัน

ผู้สัมภาษณ์ : พอหลังจากสิบสี่ตุลาแล้วนี่ นักศึกษาก็ดูว่ามีอำนาจมีอะไรมากขึ้น ในวิทยาลัยเองมีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างหรือเปล่าครับ
คุณสมชาย :
หลังจากนั้นไม่นาน ก็จบแล้ว ผมว่าตอนหลังบทบาทนักศึกษามันก็ไปอย่างนี้แหละ และก็เรียกร้องมากเหลือเกิน อะไรก็ไม่รู้ เดี๋ยวเรียกร้องไปหมด คือเรียกร้องช่วยคนโน้นคนนี้ เพราะว่าความเป็นจริงแล้ว ผมว่ารัฐบาลมันก็ทำตามไม่ได้ทั้งหมด ผมรู้สึกว่ามันเลอะไปหมด ตอนหลังนี่ผมเริ่มทำงานแล้วครับ

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นทำงานที่ไหนครับ
คุณสมชาย :
ผมอยู่ไทยวัฒนาพาณิชย์ ประมาณ 3-4 ปี แถวไมตรีจิต ที่เขาพิมพ์แบบเรียนไง ตอนนั้นก็มีชัยพฤกษ์อะไรพวกนี้นะที่เป็นนิตยสารที่นั่น คือของไทยวัฒนาพาณิชย์ เมื่อก่อนเขามีสำนักงานใหญ่อยู่ที่หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ แต่ตอนนี้มีอยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้ ไม่แน่ใจ รู้สึกว่าไฟไหม้ไปเมื่อหลายๆปีก่อน

ผู้สัมภาษณ์ : ที่ทำงานคือเป็นโรงพิมพ์ อะไรอย่างนี้หรือครับ
คุณสมชาย :
ไม่ใช่โรงพิมพ์นะ เป็นสำนักพิมพ์ (โรงพิมพ์จริงๆ อยู่หน้าสนามกีฬาศุภฯ) ในนั้นจะมีการผลิตหนังสือแบบเรียน ซึ่งสมัยนั้นเขาจะใช้แบบเรียนในระดับประถม มัธยม เยอะเลย ไม่ทราบว่าสมัยนี้ยังมีอยู่หรือเปล่า แต่คิดว่าน่าจะยังมีอยู่นะครับ และก็มีนิตยสารชัยพฤกษ์ นิตยสารวิทยาศาสตร์อะไรพวกนี้ ซึ่งที่ดังๆมากสมัยนั้น แม้กระทั่งการ์ตูนของชัยพฤกษ์ก็ดังมาก

ผู้สัมภาษณ์ : ชัยพฤกษ์นี่เป็นของไทยวัฒนาพาณิชย์หรือครับ
คุณสมชาย :
ครับ เป็นของไทยวัฒนาพาณิชย์หมดเลย และก็มีหนึ่งในนั้นคือ คุณอนุช อาภาภิรมณ์ เป็นบรรณาธิการอยู่ด้วยในสมัยนั้น และก็มี เสกสรร ประเสริฐกุล เข้าไปเขียนเป็นคอลัมน์พิเศษด้วย

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่ดูส่วนไหน อย่างไรครับ
คุณสมชาย :
ผมอยู่ฝ่ายผลิต คือพวก layout อย่างเดียว บางครั้งผมก็แปลของ Times มาลงบ้าง เป็นงานเล็กๆ พอหลังจากเหตุการณ์สิบสี่ตุลาไปแล้ว ทุกอย่างมันก็กลายเป็นว่านักศึกษาเป็นใหญ่ ก็มีขบวนการเขาเรียกว่า การแบ่งแยกนักศึกษาขึ้นมา ก็มีพวกกระทิงแดง ไม่ทราบว่าคุณจะจำได้หรือเปล่า ก็จะเป็นพวกพลตรีสุดสาย หัสดิน ซึ่งผมก็มารู้ทีหลังแล้วเหมือนกัน เจ้าพ่อกระทิงแดง เขาเรียกกันอย่างนั้นนะ

ผู้สัมภาษณ์ : แสดงว่าตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่า สุดสาย หัสดินทร์ เกี่ยวข้องกับกระทิงแดง
คุณสมชาย :
ช่วงนั้นยังไม่รู้ แต่มารู้ทีหลัง หลังจากนั้นไม่นาน คือผมจะเล่าให้ฟังว่า ช่วงนั้นนี่มีกระบวนการคล้ายๆกับให้พลังนักศึกษากับช่างกลนี่แตกแยกกัน พวกช่างกลนี่จะเป็นกระทิงแดง คือคล้ายๆกับตัดกำลังศูนย์นิสิตนักศึกษาโดยตรงเลย เพราะว่าสมัยนั้นคนที่ออกแรงคือพวกช่างกล ช่วงนั้นพอดีผมทำงานอยู่ได้ ประมาณตอนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ก็ติดตามข่าวเรื่อย เพราะตอนนั้นจบมาแล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนหกตุลา ยังทำงานอยู่ที่เดิมหรือเปล่าครับ
คุณสมชาย :
ทำงาน

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นข่าวเป็นอย่างไรบ้างครับ ไม่ได้เข้าไปเหตุการณ์โดยตรงเลยหรือครับ
คุณสมชาย :
มันก็บังเอิญอีกนะ คือ เมื่อหลังสิบสี่ตุลานะ ซักปีหนึ่ง กระบวนการนักศึกษาก็คิดว่าตัวเองใหญ่ซะเหลือเกินนะครับ ก็เรียกร้องนั่น เรียกร้องนี่ รัฐบาลสมัยนั้นก็เข้าใจว่าทหารก็คงจะอึดอัดพอสมควร ก็เลยมีการแบ่งแยกอย่างที่ผมว่าเป็นกระทิงแดงขึ้นมา ให้นักศึกษานี่แตกแยกเป็นสองฝักสองฝ่าย จนเกิดการปะทะกัน เขาเรียกว่ายุคปาระเบิดขวด ระเบิดขวดนี่เริ่มเข้ามาแล้ว ผมจำได้ว่ามีการปาระเบิดขวด ฆ่านักศึกษา โดยที่กลุ่มหัวหอกก็เป็นพวกกระทิงแดงว่าอย่างนั้น ที่รู้ว่าเป็นพลตรีสุดสายเพราะว่า หลังจากนั้นผมทำงานอยู่ที่ไทยวัฒนาประมาณสี่ปี และผมก็ไปทำงานช่วยเพื่อนเป็นบรรณาธิการรายการที่ อสมท. ช่อง 9 รายการ 60 นาที ยุคแรกเลย ผมเป็นบรรณาธิการ ตอนนั้นช่อง 9 เพิ่งย้ายไปอยู่ดินแดงเลย ใหม่ๆเลย เพิ่งเปิดสถานีช่อง 9 น่าจะอยู่แถวพระรามเก้าปัจจุบัน ยุคนั้นเป็นทุ่งเลยนะ ที่ตรงโค้ง ตรงนั้นเขาเรียกว่า โค้งทรราชย์ เป็นโค้งที่เลี้ยวเข้าไปหาที่ของประภาส เขาเลยเรียกว่าโค้งทรราชย์ ที่ตรงไปไม่ได้ ต้องเลี้ยวหักข้อศอก เดี๋ยวนี้คงจะไม่มีแล้ว อสมท.นี้ต้องบุกป่า คล้ายๆว่าทางเกวียนเข้าไปประมาณสองกิโลเมตร

ผู้สัมภาษณ์ : ทางเกวียน หมายความว่าอย่างไรครับ
คุณสมชาย :
ทางที่เป็นลูกรังครับ ก็มาสัมผัสจริงๆก็ตอนทำรายการ 60 นาทีนะ ก็มีโอกาสเข้าไปคุยกับ พลตรีสุดสาย หัสดินเขาเป็นคนบอกผมเอง

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นก่อนที่จะคุยคือยังไม่รู้หรือครับ
คุณสมชาย :
ก็พอรู้แล้วที่เขาไปคุย แต่ว่าเขาก็ไม่รู้ เขารู้ว่าเรามาจากรายการ 60 นาที แต่เขาไม่รู้ว่ารายการนี้คืออะไร อาจจะเป็นการคิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่ อสมท. เขาก็เลยคุยให้ฟังว่า เขานี่แหละที่เป็นคนก่อตั้งพวกกระทิงแดงขึ้นมา ว่านั้น เพื่อจะแยกสลายพลังนักศึกษา

ผู้สัมภาษณ์ : คือพูดตั้งแต่ตอนหลัง 6 ตุลาแล้ว?
คุณสมชาย :
ครับ หลัง 6 ตุลา คือเขาหลุดปากมา ผมไปตอนนั้น 3-4 โมงเช้า ก็สั่งกาแฟร้อนกินกับปาท่องโก๋ ผมก็นั่งคุยกับเขา ก็เลยรู้ว่านี่แหละเป็นตัวจริง คือสมัยนั้น กอ.รมน. นี่เป็นแดนสนธยา ไม่มีใครรู้ว่าเป็นใคร เขาไม่เคยให้สัมภาษณ์ แต่บังเอิญว่ารายการเราเขาไม่เข้าใจอะไรอย่างนี้นะ ก็เลยมีโอกาสได้คุย เขาคุยให้ฟังเลยรู้ว่าคนๆนี้แหละ (ผมไปขอสัมภาษณ์เพื่อทำสกู๊ปข่าวสารคดีเรื่องโจรพูโล ในรายการ 60 นาที) ตอนนี้ก็น่าจะตายไปแล้ว ผมก็ไม่รู้เพราะว่าไม่ได้อยู่กรุงเทพ ไม่แน่ใจ อยู่ต่างจังหวัดนะ ก็ก่อตั้งกระทิงแดงขึ้น ผมก็เข้าใจว่าสมัยนั้นหัวหน้าฝ่ายกระทิงแดงนั้นเป็นคนที่เป็นแกนนำอยู่ในเสื้อแดงด้วย แต่ผมจำชื่อไม่ได้

ผู้สัมภาษณ์ : ไม่ใช่สมัครใช่มั้ยครับ
คุณสมชาย :
ไม่ใช่ครับ สมัครนี่ผมไม่ชอบตั้งแต่เป็นนักศึกษาแล้วนะครับ ตั้งแต่หลัง 6 ตุลาผมก็ไม่ชอบแล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนเป็นนักศึกษานี่คือ สมัครเป็นนักการเมืองแล้วหรือครับ
คุณสมชาย :
ตอนเป็นนักศึกษา เขาเป็นนักการเมืองอยู่แล้ว สังกัดพรรคประชาธิปัตย์หรืออย่างไรนี่ละครับ ก่อนที่จะแยกมาก่อตั้งพรรคประชากรไทย สมัย 6 ตุลา ก็คือเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลหอยขึ้นมา ใช่ไหม มีธานินทร์ ไกรวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้น คือรู้ว่าสมัครเขามีบทบาทกับพวกนั้น ผมจึงแปลกใจว่า แกนนำของ 14 ตุลาหลายคน ตอนนี้เป็นรัฐบาลเสื้อแดงอะไรอย่างนี้ ไปจูบปากคุณสมัครได้อย่างไร ไม่เข้าใจเหมืนกัน หลายคนในสมัยนั้น ผมไม่เข้าใจว่าไปจูบปากคนๆ นี้ได้อย่างไร ทำไมแกนนำของ 14 ตุลาหลายๆ คนที่มีชื่อเสียงอะไรอย่างนี้ไม่เป็นนายกรัฐมนตรีเอง ผมก็ยังแปลกใจว่าหาที่ดีกว่านี้ไม่ได้แล้วหรือ ทำไมถึงเอาคนนี้ ในช่างไม่มีรัฐบาล ทักษิณก็มีแกนนำหลายคน ทำไมไม่เอามาเป็นนายก ทำไมเอาคุณสมัคร เพราะว่าสมัครนี่อยู่คนละพวกเลย

ผู้สัมภาษณ์ : มีข่าววันก่อนผมอ่านสัมภาษณ์ของแกนนำระดับรองๆ ของคนเสื้อแดง เขาบอกว่าอาจจะมีการชูแกนนำของคนเดือนตุลา อาจจะเป็นคุณจาตุรนต์ อะไรอย่างนี้
คุณสมชาย :
นั่นแหละ จาตุรนต์ ยังดีกว่านะ มาตอนแรก เขาบอกว่าจะชูคุณทักษิณ ผมว่าไม่น่าเลยนะ คือจริงๆ แล้ว เหตุการณ์บ้านเมืองทุกวันนี้ สองฝ่ายก็คือแกนนำของ 14 ตุลาทั้งนั้น ใช่ไหมครับ ทั้งสองฝ่ายคือคน 14 ตุลาทั้งนั้น

ผู้สัมภาษณ์ : ผมอยากจะถามความรู้สึกหน่อยครับ การที่ทั้งสองฝ่ายมีแกนนำเป็นคนเดือนตุลานี่ พี่มองปรากฎการณ์นี้ว่าอย่างไรครับ ทำไมถึงเป็นอย่างนี้
คุณสมชาย :
คือผมว่ามันเป็นปรากฏการณ์ไม่แปลก คนเดือนตุลามีศักยภาพเป็นผู้นำได้ ในทางความคิดมันแปลกที่แตกแยกกันได้ไม่เป็นไร

ผู้สัมภาษณ์ : คือนอกจากแกนนำเดือนตุลาจะอยู่ทั้งสองฝ่ายแล้ว แกนนำฝ่ายขวาในสมัยก่อนก็อยู่ทั้งสองฝ่ายเหมือนกัน พี่คิดเห็นว่าอย่างไรครับ
คุณสมชาย :
ใช่ เป็นอย่างนี้นะ ความคิดมันแตกแยกกันได้ วิธีการก็เหมือนกัน ในสมัยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เขาก็มีสองฝักสองฝ่ายเหมือนกัน แต่ศูนย์รวมหนึ่งก็คือเป็นพรรค ใช่ไหม แต่ความคิดของคนในพรรคนี่อาจจะแตกแยกกันได้ ตอนที่พรรคคอมมิวนิสต์แดงล่มสลาย มันก็มีเป็นดาวเขียว ดาวแดง

ผู้สัมภาษณ์ : ดาวเขียวนี่คืออะไรครับ
คุณสมชาย :
ดาวเขียวก็คือพรรคที่ไม่ยอมนะ ไม่ยอมเลิกรา ส่วนพรรคดาวแดงก็คือยอมวางอาวุธแล้วละ เท่าที่รู้มานี่พรรคคอมมิวนิสต์ตอนที่ยอมจะวางอาวุธแล้ว มีส่วนหนึ่งไม่ยอม ต้องการถอยร่นเข้าไปตั้งฐานอยู่ที่ลาว เพราะว่าลาวก็ยังเป็นพี่น้องกัน คือความคิดความอ่านของคนไม่แปลกที่จะแตกแยกหรือว่าแตกต่างกันได้ แต่สิ่งหนึ่งที่แปลกใจว่าทำไม ฝ่ายหนึ่งไปอุ้มชูคนๆเดียว ซึ่งมันไม่ใช่อุดมการณ์ คุณทักษิณก็ไม่ใช่นักอุดมการณ์ เป็นทุนนิยมโดยตรงเลย มันไม่ใช่นะ เพราะว่าคนเดือนตุลาอยู่ข้างกรรมาชีพมาตลอด ตอนที่แยกกัน ถึงแม้เราจะเลิกราแล้ว แต่ความคิดกรรมาชีพมันน่าจะอยู่ ใช่ไหม มันไม่น่าจะไปรับใช้คนๆเดียวที่เป็นระบบทุนนิยมเต็มตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคอมมิวนิสต์มันโอเคหมด ไม่ใช่นะครับ เพราะว่าคอมมิวนิสต์ก็มีหลายอย่างที่คลุมเครืออยู่

ผู้สัมภาษณ์ : เช่นอะไรบ้างครับ
คุณสมชาย :
อันนี้ถือเป็นการก้าวล้ำนะครับ เพราะว่าผมไม่ใช่อยู่คอมมิวนิสต์เต็มตัว แต่ผมมีความคิด หนึ่งของคอมมิวนิสต์ อย่างเช่นว่า อย่างจำลองก็เป็นทหาร ความเป็นทหารก็น่าจะมีอยู่ คงจะสนับสนุนพี่น้องทหารรุ่นเดียวกัน ก็ยังแปลกว่าทำไม ฝ่ายหนึ่งยังไปยืนข้างทหารอยู่ อีกฝ่ายหนึ่งก็ยังไปยืนอยู่ข้างหนึ่ง สองพวกนี้เมื่อก่อนเราเป็นศัตรูกัน ใช่ไหม แต่ฝ่ายทหารก็แยกเป็นสองฝ่าย อย่างเช่น จปร.7 อย่างนี้ก็แบ่งเป็นสองพวกอยู่ดี ก็คือรุ่นเดียวกัน จำลองก็มีพี่น้องอยู่อีกฝ่ายหนึ่ง ประจักษ์และพลตรีมนูญกฤติ รูปขจรก็อยู่อีกฝ่ายหนึ่ง นั่นคือรุ่นเดียวกัน มันกลายเป็นว่าทุกวันนี้ สถานการณ์เมืองกลายเป็นสองฝ่าย เป็นคนสองกลุ่ม จปร.7 กับคนเดือนตุลา ภาพมันเห็นชัดๆเลยนะ คุณว่าไหม ผมมองว่าอย่างนั้น คนเดือนตุลาก็แบ่งสองฝ่าย จปร.7 ก็แบ่งเป็นสองฝ่าย เป็นเครื่องมือของคนสองคน คนสองกลุ่ม เช่น ฝ่ายหนึ่งชูทักษิณ เป็นมือไม้ของทักษิณ อะไรอย่างนี้

ผู้สัมภาษณ์ : อีกฝ่ายหนึ่งเป็นเครื่องมือของใครครับ
คุณสมชาย :
ของทหาร ก็คงจะเป็นอย่างนั้น อันนี้จริงๆผมก็ไม่เห็นด้วย แต่ว่าเราเอาความถูกต้องที่ดีกว่ามาพูดกัน พันธมิตรก็มีภาษีอยู่ ยังคิดอยู่ว่าสมัยแรกๆเลยถ้ากลุ่มเสื้อสีแดงสลัดคำว่าทักษิณออกได้ มันก็น่าจะดีกว่า แต่มาวันนี้บอกว่าจะเลิกชูทักษิณแล้ว เอ๊ะมันอย่างไร อุดมการณ์มันอยู่ตรงไหนตอนนี้ แต่ว่าฝั่งเสื้อเหลืองเขาก็ชูมาตลอด เขาก็มีทหารที่มีส่วนด้วย ปฏิเสธไม่ได้

ผู้สัมภาษณ์ : เมื่อสักครู่ พี่พูดถึง พคท. ผมอยากทราบว่าพี่ไปเกี่ยวข้อง หรือว่าไปรู้ข่าวได้อย่างไรครับ
คุณสมชาย :
บังเอิญว่า ขณะที่เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ผมร้องไห้น้ำตาไหล เพราะว่าคือเหมือนคล้ายๆว่ามันเศร้า ทุกวันนี้ก็ยังรู้สึกอยู่ คือเพื่อนนักศึกษา รุ่นน้องนี่ตาย โดนฆ่ากันอเนกอนาถ มีการแขวนคอ มีการอะไร มันเรื่องจริงไม่ใช่เรื่องเท็จ มันชัดเลย ก็ข่าวสมัยนั้นช่อง 4 บางขุนพรหม ที่เป็นช่องเผยแพร่ เจ้าพนักงานคุณสรรพสิริโดนเด้งออกเลย คือพูดง่ายๆว่าให้ออกเลย เป็นช่องแรกที่เผยแพร่ภาพเหล่านั้น แล้วคนที่ดูคือมันติดตานะ รู้อยู่ว่ามันเป็นเรื่องจริง

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นคือพี่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่รู้ข่าวจากทางนี้หรือครับ ก่อนที่จะมีข่าวของการสังหาร ชนาวน หนึ่งคือมาจากภาพล้อเลียน ละครที่ถูกหาว่าล้อเลียน ตอนนั้นคือได้ยินข่าวนี้มาก่อนแล้วใช่ไหมครับ แล้วพี่คิดอย่างไรกับข่าวนี้บ้าง
คุณสมชาย :
คิดอย่างไรหรือครับ มันเป็นการโกหกนะ ทหารก็หาเรื่องโกหกเพื่อที่จะมาล้อมปราบ ว่าอย่างนั้น

ผู้สัมภาษณ์ : หมายถึงรู้สึกว่าข่าวนี้ไม่จริงตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว
คุณสมชาย :
ไม่จริงครับ คือมีการสร้างข่าวว่านักศึกษาสะสมอาวุธ มีการล้อเลียนเจ้าฟ้าชาย เรื่องแขวนคอ เรื่องอะไร มันเป็นเรื่องคล้ายๆว่าเอาไปอ้าง คือตอนนั้นรู้แล้วว่าทหารเข้ามาแน่นอนแต่ไม่คิดว่าจะทำรุนแรงขนาดนั้น เรายอมรับว่ามันไม่น่าจะรุนแรง ทีนี้ความรุนแรงเกิดจากอะไร เกิดจากการที่ไปเสี้ยนเขา พวกกระทิงแดงนี้ ให้มาเข่นฆ่านักศึกษาโดยตรง ผู้หญิง ผู้ชาย นักศึกษาในสมัยนั้นมันไม่น่าโดนขนาดนั้นนะ ไม่ใช่คนที่มันทำนะ ทหารทุกวันนี้ผมคิดว่าก็คงไม่กล้าทำถึงขนาดนั้น หรือจริงๆก็ยิงให้ตายไปเลย ไม่ใช่จะไปแขวนคอ ไม่ใช่การฆ่ากันเหมือนกรณีช่างไฟฟ้าที่นครปฐม ที่ไปติดโปสเตอร์แล้วโดนลอบฆ่าเลย มันไม่ใช่มนุษย์นะ คือน่าจะเป็นการที่เขาถูกฝึกอบรมมา คือเป็นกระบวนการ เหมือน กอ.รมน. ในสมัยยุคนั้นนะ ที่ต้องการล้มล้างสถาบันนักศึกษาในสมัยนั้น แล้วภาพเหล่านี้นี้มัน ผมว่ามันไม่มีในโลกนี้ที่จะทารุณเหมือนตอนนั้นนะ คุณไปดูประวัติศาสตร์ซิ

ผู้สัมภาษณ์ : คือตอนนั้นทางช่อง 4 นี่ออกภาพที่เราเห็นทุกวันนี้เลยหรือครับ
คุณสมชาย :
ครับ ภาพที่เราเห็นเลย อันนี้ผมไม่ได้เห็นกับตานะ แต่ดูจากสมัยนั้นพออกก็โดนแบนทันทีเลย และก็สั่งปิดสถานีเลย แต่ภาพนี้คนอื่นเขาเห็นนะ (ต้องชมเชยความกล้าของคุณสรรพสิริ หัวหน้าสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหมในขณะนั้น)

ผู้สัมภาษณ์ : ออกในช่วงวันที่ 6 ตุลานั้นเลย คือประมาณเที่ยงๆ บ่ายๆ หรือครับ ก็คือมีคนมาเล่าให้ฟังว่าเห็นภาพแบบนี้หรือครับ
คุณสมชาย :
คือพอดีวันนั้นผมทำงานอยู่ ไม่มีโอกาสได้ดู แต่เขามาเล่าให้ฟังว่าเห็นภาพแบบนี้ และคนที่หนีมาก็มาร้องไห้ ความสะเทือนใจ ก็มีความบังเอิญว่าในสมัยนั้นมีการที่จะยกพลนักศึกษาจากเมืองไปสู่ชนบท มันมีการอพยพ มีแนวร่วมขึ้นในเมือง มีการจัดตั้งและทยอยนักศึกษาเข้าไป เข้าไปทีเดียวคงจะไม่ได้ คราวนี้คอมมิวนิสต์ไทยก็เข้ามาเคลื่อนไหวในกลุ่มนักศึกษา อาจจะมีการเคลื่อนไหวมาก่อนหน้านั้นแล้วก็ได้ แต่ว่าเราก็ไม่รู้ ช่วง 6 ตุลาก็มีเปิดเผยว่าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเข้ามาเคลื่อนไหวในกลุ่มของนักศึกษาธรรมศาสตร์ จุฬาบางส่วนอะไรอย่างนี้นะครับ ผมก็เผอิญเหมือนกันที่เป็นแนวร่วมกับเขา มีหน้าที่เป็นมวลชนที่เขาจัดตั้งขึ้นมา คอยเป็นที่ส่งข่าว สมัยนั้นเมื่อเข้าป่าไปก็ต้องมีสายสัมพันธ์ ก็มีนักศึกษาที่เข้าป่าไปและก็ไปอินเทิร์นในป่า คงจะได้ยิน มีญาติของเขาที่ส่งเงินมาช่วย ส่งเวชภัณฑ์ ส่งยาอะไรมาช่วย ส่งอาวุธมาบางส่วนด้วย เราก็มีหน้าที่ packed อะไรอย่างนี้ และก็ส่งไปให้

ผู้สัมภาษณ์ : การติดต่อตอนนี้ที่พี่เล่านี้ก็คือหลัง 6 ตุลาแล้ว หรือครับ
คุณสมชาย :
ครับ หลัง 6 ตุลา ผมก็อยู่ในขบวนการนี้ด้วยความเผอิญ พอดีน้องชายเขาอยู่ในกระบวนการนักศึกษาที่ธรรมศาสตร์ เขาก็แนะนำเพื่อนเขา ตอนแรกผมก็ไม่รู้เรื่องว่าเป็น พคท. ตอนหลังก็มารู้และก็ให้ความช่วยเหลือ เราก็คือว่าเมื่อเรา น้องเรา ต้องอยู่ในสถานการณ์แบบนี้แล้ว เราก็ช่วยเท่าที่เราช่วยได้ คิดว่านักศึกษาส่วนใหญ่ช่วงนั้นก็หนีไปอยู่ป่า เราก็ช่วยเท่าที่เราช่วยได้ เป็นแนวร่วมให้เขา ทำในจุดนี้

ผู้สัมภาษณ์ : ขั้นตอนการส่ง พอจะเล่าอะไรได้บ้างหรือเปล่าครับ
คุณสมชาย
: ไม่สนุกนะ จะเล่าก็ได้ ก็ไม่มีอะไรนะ เมื่อได้รับของมา เช่น เวชภัณฑ์หรืออะไร ก็แพ็คเกจเสร็จเรียบร้อย ก็ส่งไปทางสิบล้อนี่แหละ ส่งไปและก็ระบุว่าผู้รับปลายทางเขาจะมารับเอง ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเขาชื่ออะไร ทางด้านมวลชนเขาจะไม่รู้เขาจะตัดตอน คือผมมีหน้าที่แพ็คเกจพัสดุ และก็คนที่ไปส่งเขาก็ส่งให้ ผมก็ลำเลียงไปให้คนส่ง ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ผมยังไม่รู้จักชื่อคนที่ผมอยู่ด้วยเป็นเดือน ผมยังไม่รู้จักเลย คนที่ติดต่อด้วยเป็นเดือน ผมก็ไม่รู้จักเขา ชื่อจริงนะ มีแต่ชื่อจัดตั้งเท่านั้น เขาจะเรียกกัน

ผู้สัมภาษณ์ : พี่มีชื่อจัดตั้งหรือเปล่าครับ
คุณสมชาย :
มี ผมมีชื่อจัดตั้ง ชื่ออะไรรู้หรือเปล่า ชื่อโชติ เขาตั้งให้ ผมก็มีหน้าที่อย่างเดียว บางทีญาติเขาก็ไม่เข้าใจนะ ส่งอาหารแห้ง ส่งแกง มันไม่ใช่ คือเขาไม่เข้าใจว่าการเดินทางจากเมืองไปป่านั้นใช้เวลาเป็นสัปดาห์ แต่เราก็จะเลือกเอาที่ส่งให้ได้ แต่ว่าบางทีของที่มันบูดเน่าก็ไม่ได้ แต่เราก็ไม่ไปอธิบายให้เขาฟังนะ บางคนส่งอาวุธก็มี ปืนพกมาให้อะไรอย่างนี้ ก็ลำเลียงไปให้ ส่วนใหญ่ก็ได้จากในเมือง และผมก็มีโอกาสเดินทางไปสุราษฎร์ธานี เขาบอกว่าให้ไปดูงานว่านั้น ผมก็ไป ไปอยู่ในเขตงานแต่ผมก็จำชื่อไม่ได้แล้ว ไปและก็งงเหมือนกัน กะทันหันด้วย

ผู้สัมภาษณ์ : คือ เข้าไปอยู่ในฐานเลย หรือครับ
คุณสมชาย :
ครับ เข้าไปในฐาน (ถ้าจำไม่ผิดเขตงานที่ 504) เป็นฐานแบบที่ลำเลียงพวกเสบียง ก็มีโอกาสไปดูงาน เห็นอะไรเยอะ เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่ง ก็มีโอกาสได้สัมผัสกับนักศึกษา เจอนักศึกษาในนั้นหลายคนที่รู้จัก ทั้งๆที่ไม่ได้คิดว่าจะเจอ เขามาก่อนเราอีก เราก็ไปเจอเขา น้ำตาร่วงเลย ทั้งผู้หญิงและผู้ชายก็ไปเจอกัน ก็ถามไถ่กันเข้ามาได้อย่างไรอะไรอย่างนี้นะ แปลกใจแต่เราก็ไม่คุยเรื่องส่วนตัวกัน ก็จะคุยเรื่องพรรค ไม่ถามชื่อ ไม่ถามว่ามาจากไหน ช่วงนั้นการเมืองนี่นำเลย ทุกคนต้องเรียนการเมือง มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ทุกคนก็คิดว่ามันเป็นภาระที่ใหญ่ เขาก็มีสอนการเมือง คนที่มาทีหลัง คนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย เขาก็เรียนการเมืองกัน ผมยังหลับเลย เรียนกลางวัน เพราะว่าไม่เคย ต้องไปออกแรงทำนาตามเขาอะไรอย่างนี้

ผู้สัมภาษณ์ : พี่ใช้คำว่าดูงานหมายความว่าอย่างไรครับ หมายถึงเตรียมจะเข้าแล้วหรืออย่างไรครับ
คุณสมชาย :
ก็ส่วนใหญ่เขาก็จะให้ไปดูงานก่อน เขารู้ว่าเราเป็นแนวร่วมที่มีความสามารถ คือไม่ใช่ตีสองหน้าว่าอย่างนั้น เขาก็ให้ไปดูงาน คุณเข้าไปได้ไหม เข้าไปอยู่ได้หรือเปล่า ซึ่งเราก็คิดว่าเราอยู่ได้แน่นอน เราไม่มีปัญหา แต่ก็มีโอกาสเข้าไปดูงานอย่างเดียว

ผู้สัมภาษณ์ : ประมาณนานแค่ไหนครับ
คุณสมชาย :
ประมาณ 2-3 เดือนครับ

ผู้สัมภาษณ์ : งานที่กรุงเทพละครับ
คุณสมชาย :
ผมลาออก คือช่วงนั้นผมไม่ใช่ลาออก คือหายไปเฉยๆ นะ เพราะว่าบอกใครไม่ได้

ผู้สัมภาษณ์ : ตอนนั้นยังอยู่ไทยวัฒนาพาณิชย์หรือครับ
คุณสมชาย :
ใช่ แล้วผมกลับมาตอนนั้น ผมก็จะกลับเข้าไปทำงานที่เดิม เขาก็รู้นะครับ กลับไปอยู่ได้ซักพัก ผมก็ลาออก เพราะว่างานที่เราทำมันอยู่แต่ในออฟฟิศนะครับ เลยลาออกไปอยู่กับเพื่อนที่เปิดบริษัททำรายการที่ช่อง 9 ทำรายการ 60 นาที ยุคแรกๆ ก็มาเป็นบรรณาธิการคนแรก

ผู้สัมภาษณ์ : ที่คุยกับสุดสายนี่คือช่วงหลังจากหกตุลาแล้วหรือครับ
คุณสมชาย :
ใช่ครับ

ผู้สัมภาษณ์ : อยากให้พี่เล่าเรื่องที่ไปดูงานอีกนิดหนึ่งนะครับ
คุณสมชาย :
งานก็ไม่มีอะไรนะ เพราะว่าพวกแกนนำสิบสี่ตุลาทุกคนต้องผ่านอย่างนี้ แต่เขาจะสมบุกสมบันมากกว่าผมอีก ทางเขตทางเหนืออะไรอย่างนี้นะ มันคงไม่ได้จับอาวุธอะไรอย่างนี้ อาวุธมันก็มีกันทุกคนครับ แต่ก็มีบางคนที่เข้าร่วมรบ ก็สิ่งที่ผมประทับใจที่สุดก็คือ เดินพ้นเนินขึ้นไปบนป่าเขาจนถึงฐานที่มั่นนี่เขาเรียกว่าค่าย แต่ว่า แปลกใจว่ามันมีอะไร กองทหารหรืออะไร อยู่ในนี้ ทำไมคนเยอะขนาดนั้น คือสมัยนั้นใส่เสื้อสีเขียว ใส่หมวกติดดาวแดง คือมันไม่น่าจะมีคนเยอะขนาดนี้ คือค่ายๆหนึ่ง ผมว่าปีหนึ่งเป็นพัน ผมว่ามันไม่ใช่น้อยเลย อยู่กันก็มีระเบียบ ไม่ใช่ว่ามั้วตั้ว ผมว่าเป็นกองโจรที่มีระเบียบมากกว่ากองทหารอีก เรื่องเหล้ายาปลาปิ้ง ไม่ต้องพูดถึง ไม่มีเลย และการที่มีทหารหญิง ทหารชายก็แยกกันอยู่ และความเป็นอยู่ก็อัตคัดมากๆ ต้องกินแบบเท่าที่มีให้กินเท่านั้นเอง ก็ยอมรับว่ามันไม่สบาย แต่มันก็ไม่ตาย กินทุกอย่างแม้กระทั่งหยวกกล้วย อะไรต่ออะไร อาหารที่อร่อยที่สุดที่ผมจำได้ก็คือ สาคูต้มน้ำตาล อร่อยที่สุด ของหวานที่มีอยู่ นอกนั้นก็ไม่มีอะไร มีแต่กินข้าว ข้าวและก็แกงหยวกกล้วย แกงเคยเป็นอาการหลัก ใหม่ๆท้องเสียเลย เพราะว่ากินเผ็ดไม่เป็น เพราะทางใต้เขากินเผ็ด เหตุผลที่ว่าผมลงไปทางใต้ เพราะว่าตอนนั้นมันปลอดภัยกว่า เพราะผมไม่ใช่คนที่จะสมบุกสมบันว่าอย่างนั้น ผมก็ต้องหาที่ปลอดภัยกว่า

ผู้สัมภาษณ์ : ใครเป็นคนบอกครับว่าปลอดภัยกว่า
คุณสมชาย :
ก็พวกจัดตั้งเขาเป็นพาผมมาครับ เขาก็จะให้เราทำใจก่อน ยุคนั้นผมมีแฟน ผมก็เลยบอกเลิกแฟน กลัวว่าจะไม่ได้กลับมาคือถ้าเราอยู่ได้ เราก็คิดว่าจะอยู่ตลอดก็เลยบอกเลิกแฟน สุดท้ายแฟนเขาก็แทบจะไม่รูเรื่องเลยว่าไป เพราะว่าหายไปเฉยๆเลย ทำงานอยู่วันนี้พรุ่งนี้ก็หายไป ขึ้นรถไฟไป และก็มีจดหมายสั้นๆ คงจะไม่ได้กลับมาหรืออาจจะไม่กลับมา คือจัดตั้งพรรคนี่ชี้นำผมทุกอย่างว่าจะต้องเสียสละ มีเงินก็ต้องไม่คิดถึงเรื่องเงิน มีฐานะก็ต้องไม่คิดถึงฐานะ ว่าอย่างนั้น ไปอยู่ในสภาพกบฏ มีแฟนก็ต้องพักไว้ก่อนเรื่องความรัก ทำนองนั้น ให้เสียสละ คือพูดได้ว่า คนที่ผ่านกระบวนการของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มันมีความรักความยุติธรรม ทุกอย่างในสายเลือด ไม่ใช่คนที่มีเสรี ส่วนมากก็จะเป็นคนที่มีเหตุผล เพราะฉะนั้นมันเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง และก็ตอนนี้ก็อาจจะมีคนที่อายุ 50-60 แล้ว เขามีความคิดแต่ว่าเรี่ยวแรงอาจจะน้อยลง ซึ่งแตกต่างจากคนรุ่นใหม่ ซึ่งวัยนี้เห็นได้ชัดเลย แม้กระทั่งลูกผมเองก็ไม่สนใจการเมืองแล้ว แต่ยุคนั้นนี่ใครได้ธรรมศาสตร์แล้ว มันอยู่ในสายเลือด แม้กระทั่งวันที่ขับไล่สุจินดา ผมก็ไปนั่งด่า หกโมงเย็นไปกระทั่งถึงเที่ยงคืนที่ขับไล่ เพราะว่าให้สัตย์ว่าจะไม่เป็นนายกต่ออะไรอย่างนี้ คือทุกคนจะมีจิตสำนึกประชาธิปไตย ไม่ชอบเผด็จการ คือถามผมว่าตอน 14 ตุลานี่ผมอยู่ในกระบวนการหรือเปล่า ผมตอบว่าผมไม่ได้อยู่ในกระบวนการเท่าไหร่ เหมือน 6 ตุลาผมก็ไม่ได้เป็นแนวร่วมอะไรมากมาย เป็นมวลชนที่เขาเรียกว่าก้าวหน้าเท่านั้นเอง

ผู้สัมภาษณ์ : พี่เล่าเรื่องพฤษภานิดหนึ่งได้ไหมครับ
คุณสมชาย :
พฤษภาทมิฬ นี่ ผมแทบจะไม่ค่อยยุ่งเลยนะ เพราะว่าตอนนั้นผมมาอยู่โคราชแล้ว ผมก็ได้แต่ไปนั่งขับไล่พลเอกสุจินดาอยู่สามวันได้จนกระทั่งก็เกิดเหตุการณ์ขึ้นมา

ผู้สัมภาษณ์ : สามวันนี่คือไปนอนกลางถนนเลยหรือครับ
คุณสมชาย :
ไม่ได้นอนครับ ที่โคราชเที่ยงคืนเขาก็จะสลาย

ผู้สัมภาษณ์ : พี่อยู่ที่โคราชหรือครับ
คุณสมชาย :
ครับ อยู่โคราช ชุมนุมที่หน้าอนุสาวรีย์ย่าโมนะ สมัยนั้นคนก็เยอะมาก และก็ขับไล่เผด็จการพวกทหารอะไรอย่างนี้ เราก็คิดว่าอย่างนั้น มันแปลกนะที่เราต้องจับคนๆหนึ่งที่ครั้งหนึ่งเขาก็เป็นสุภาพบุรุษดีนะ แต่กลับเป็นอีกอย่าง ก็เกิดเหตุการณ์ขึ้นมา ขับไล่ก็แปลกดีเหมือนกัน ผมว่าไม่ว่าจะเป็นสุจินดาหรือทักษิณนี่ ส่วนหนึ่งคนรอบข้างที่ทำให้ไขว้เขว ถ้ายุคนั้นทักษิณบอกว่าผมจะยุติบทบาททางการเมืองซักเดือนสองเดือนหรืออะไร ลักษณะนั้นมันก็จบใช่ไหมครับ มันคงจะไม่มีเหตุการณ์อย่างทุกวันนี้ อันนี้เพราะว่าคนรอบข้างทำให้เขาเสียหน้า อะไรอย่างนี้ ไม่น่าเห็นแก่พวกพ้อง ในเมื่อไม่มีสัจจะแล้ว คนข้างๆเขาก็คล้ายๆว่า เมื่อคุณพูดกลับคำได้ ต่อไปคุณจะไม่กลับคำอีกหรือ อย่างนี้นะครับ การขับไล่มันก็เกิดขึ้น เหตุการณ์นี้มันก็ประจักษ์ คำว่าประจักษ์คำเดียว หลังจากนั้นก็ทักษิณบอกว่าผมจะเว้นวรรคทางการเมืองสักพักหนึ่ง ก็โอเค แก้ไขได้ ผมว่าทุกคนก็ให้อภัยได้ แต่พอมันเป็นอย่างนี้ ทุกคนก็เริ่มรู้สึกว่ามันไม่ใช่แล้ว คือเข้ามาตลอดแล้ว นี่คือความคิดของผมถ้าคุณถอยซักนิดหนึ่ง หรือพรรคคอมมิวนิสต์ถ้าคุณถอยซักก้าวหนึ่ง เพื่อเดินก้าวไปข้างหน้าซักสิงสามก้าว เพียงถอยแค่ก้าวเดียว ผมว่าคนในเดือนตุลาที่อยู่วงในน่าจะสอนเขาบ้าง แต่ว่ามันแปลก คุณจะเดินตามแนวนี้ ก็มีคนที่ใส่ชุดคอม ชุดพรรค พคท. เดินออกมา ทำไมคุณไม่รู้จักสอน คือแทนที่คุณจะถอยกลับมาซักก้าวหนึ่ง และก็รวบรวมพลังก็โอเค ผมเองอาจจะสนับสนุนเขาด้วยซ้ำ ผมรักทักษิณมากนะ ตั้งแต่สมัยจำลองพามาอยู่พลังธรรม ผมรู้สึกว่าเข้าท่านะคนๆนี้ ผมชอบอ่านประวัติ ก็อ่านประวัติ ของสุจินดาก็อ่าน ทักษิณก็อ่าน แล้วก็พบว่าคนเราก็เปลี่ยนได้เหมือนกันนะ คนเราหลงอยู่ในอำนาจเกินไปหรือเปล่า แม้กระทั่งประภาส ณรงค์ ถนอม กิตติขจรทั้งหลาย ผมว่ามันหลงอำนาจมันก็เลยเป็นอย่างนี้ เผด็จการด้วย มันหลงอำนาจ มันก็เลยเป็นอย่างนี้

ผู้สัมภาษณ์ : พี่คิดว่าใครอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาครับ
คุณสมชาย :
อยู่เบื้องหลัง ผมว่าทหารครับ ทหารคือตัวจักรสำคัญ ตอนนั้นเสียหน้ามาก บางส่วนก็อยู่ข้างนักศึกษาเป็นที่รู้ๆกันอยู่ ก็มีบางส่วนเท่านั้น แต่ว่าส่วนใหญ่ก็คิดว่า ไม่ได้ที่ทหารจะต้องเสียอำนาจ ยอมเสียไปไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นการทำให้สถาบันมหากษัตริย์ ชาติ ล่มสลาย ก็เลยเกิดเหตุการณ์นี้ แต่คนที่รับเคราะห์ก็คือ นักศึกษา แต่ก็ยอมรับอย่างหนึ่งว่าช่วงหลัง 14 ตุลานี่ นักศึกษาเรียกร้องเยอะเหลือเกิน ผมก็คิดว่ารัฐบาลคงหาให้ไม่ได้ ทุกอย่างเรียกร้องทุกอย่าง ผมรู้ว่าเจตนาคุณดี แต่ว่าบางอย่างมันไม่ใช่ที่จะพลิกโฉมได้เพียงแค่ 3-4 ปี จนกระทั่งทุกวันนี้บางอย่างก็แก้ไม่ได้ ใช่ไหมครับ เรื่องชาวนา เรื่องอะไร แก้ได้ไม่เท่าไหร่

จบการสัมภาษณ์