Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Woolrich Outlet

Woolrich

hogan

hogan

hogan

Hogan Sito Ufficiale Hogan Scarpe Hogan Outlet Hogan Scarpe Hogan Hogan Scarpe Hogan Interactive Hogan Donna Scarpe 2013 Hogan Scarpe Outlet Hogan Vendita Hogan Hogan Scarpe 2013 Hogan Scarpe Hogan Scarpe Hogan Hogan Outlet Hogan Scarpe Outlet Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Hogan Outlet Scarpe Hogan Hogan Sito Ufficiale Scarpe Hogan2013 Hogan Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Donna Hogan Interactive Hogan 2013 Hogan Online Hogan Italia Hogan Scarpe
woolrich ASK Hollister Hollister abercrombie abercrombie abercrombie abercrombie woolrich parka Hollister Holliter France Hollister Hollister France Magasin Vetement Hollister Hollister Soldes Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Vente Hollister En ligne Hollister 2013 Hollister France Hollister France 2013 Hollister Hollister Hollister Magasin Hollister Vente Hollister Homme Hollister Pas Cher Hollister T Shirts Hollister Paris Boutique Hollister Vetements Boutique Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Hommes Hollister France Vente Hollister Hollister sortie 2013 Pas Cher Hollister Hollister Pas Cher

บทสัมภาษณ์ - สุภาพร รัตนโอภาส (โป๊ะบุญชื่น)
วันที่ 4 กรกฎาคม 2552 เวลา 18.45น.
สถานที่ อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา
ผู้สัมภาษณ์ :
ชัชชล รัตนกิจ
                  วาสิษฐี บุญรัศม

ตามโครงการของมูลนิธิ 14 ตุลา ในการรวบรวมปากคำของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อไป


ผู้สัมภาษณ์ :  ป้าติ๋มเกิดเมื่อปีไหนครับ?
คุณสุภาพร :   ป้าเกิดวันที่ 24 กรกฎาคม 2496

ผู้สัมภาษณ์:  เกิดที่ไหน?
คุณสุภาพร :  เกิดที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ผู้สัมภาษณ์:   เป็นคนหาดใหญ่ตั้งแต่แรก หรือว่า..?
คุณสุภาพร :  ไม่ใช่เป็นคนหาดใหญ่ แต่เป็นคนสตูล แม่มาคลอดที่หาดใหญ่ เพราะในสมัยนั้น จ.สตูลเกี่ยวกับเรื่องของการแพทย์
ยังไม่เจริญก็มาคลอดที่หาดใหญ่ หลังจากคลอดแม่ก็พากลับไปอยู่ที่สตูลตั้งแต่ตอนยังแบเบาะ จนกระทั่งเข้าโรงเรียน ก็อยู่สตูลมาตลอด
และก็เข้าเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลสตูล เรียนระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 - ปีท ี่4 ที่โรงเรียนเทศบาล 1
ประถมศึกษาปีที่ 5-7 เรียนที่โรงเรียนตลาดพิมาน (วันครู 2503) มัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 โรงเรียนสตูลวิทยา

ผู้สัมภาษณ์: ที่บ้านตอนนั้นครอบครัวทำอะไร?
คุณสุภาพร : ครอบครัว? คุณพ่อรับราชการเป็นตำรวจ คุณแม่ก็เป็นแม่บ้าน

ผู้สัมภาษณ์: ก็ฐานะก็ค่อนข้างดีเลย?
คุณสุภาพร : ก็ปานกลางนะค่ะ เพราะว่าตำรวจในสมัยนั้น เงินเดือนน้อยมาก ส่วนเรื่องที่จะได้รับพิเศษ พ่อของป้าไม่มี
พูดได้แค่นี้นะค่ะ แต่พ่อก็อยู่แบบเป็นคนที่มีความขยัน ขยันในเรื่องของปลูกผักสวนครัวก็เหมือนกับปัจจุบันนะค่ะ ที่ว่าตามโครงการพระราชดำริของในหลวง เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง คุณพ่อก็รับราชการตำรวจ มีการปลูกผัก ก็ได้ขายด้วยได้กินในครัวเรือนด้วย เอ่อ คุณแม่เป็นแม่บ้าน ก็ทำขนมขาย และป้านี้ก็ได้ช่วยด้วยนะค่ะตอนเด็กๆ ในการเดินขายขนมตอนเด็กก่อนไปโรงเรียน


ผู้สัมภาษณ์: ป้าเป็นลูกคนที่เท่าไรครับ?
คุณสุภาพร : คนโตค่ะ

ผู้สัมภาษณ์: มีพี่น้องกี่คนค่ะ?
คุณสุภาพร : มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน มีน้อง 3 คน

ผู้สัมภาษณ์: ทุกคนอยู่ที่สตูลหมดเลยเหรอค่ะ?
คุณสุภาพร : อยู่ที่สตูล 1 คน เสียชีวิตแล้ว 1 คน แล้วอีกคนก็อยู่ที่หาดใหญ่ ก็บ้านที่มาสัมภาษณ์เนี่ยแหละค่ะ เป็นบ้านของน้องชาย

ผู้สัมภาษณ์: เอาเรื่องการศึกษาต่อแล้วกัน
คุณสุภาพร : เมื่อกี้ที่ป้าพูดถึงก็คือโรงเรียนประถมโรงเรียนเทศบาล 1 ที่สตูล แล้วก็เรียนต่อระดับประถมศึกษา
รุ่นของป้านั้นเค้าเรียกว่า ระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงปีที่ 7 ที่โรงเรียนตลาดพิมานวันครู 2503
ทำไมถึงมีคำว่าวันครูด้วย รุ่นลูก คงสงสัยว่าทำไมจึงมี คำว่า วันครูด้วยเพราะว่า เค้าสร้างให้เป็นที่ระลึกในวันครู ในปี 2503
และคำว่าพิมาน ก็คือชื่อตำบล ก็คือจะอยู่ในอำเภอเมืองในเขตเทศบาล

ผู้สัมภาษณ์: ช่วงนี้ปีไหนอ่ะคะที่ป้าเริ่มเข้าเรียน ป.5-ป.7 ปี2503 เลยรึเปล่า ?
คุณสุภาพร : ไม่ๆ

ผู้สัมภาษณ์: อายุเท่าไรแล้วค่ะ ?
คุณสุภาพร : เพราะป้าเกิดปี 2496 ก็เข้าเรียนอายุ 7 ปีบริบรูณ์น่ะ 7 ปีนั้นคืออยู่ ป.1

ผู้สัมภาษณ์: 2503 พอดีเข้าเรียน ป.1 ?
คุณสุภาพร : แล้วป้าก็เข้าเรียน 4 ปี

ผู้สัมภาษณ์: ค่ะ ป.5-ป.7 ก็ 2507-2509 โดยประมาณ ?
คุณสุภาพร : ค่ะ โดยประมาณ แล้วก็ต่อมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในสมัยนั้นเค้าเรียกว่า มศ.1-มศ.3 ที่โรงเรียนสตูลวิทยา

ผู้สัมภาษณ์ : มศ.1-มศ.3 เนี่ยมีการเลือกแผนกันไหมค่ะ ? หรือยัง ?
คุณสุภาพร : ไม่ๆ เรียน ยังแบบระบบเปอร์เซนต์ ป้าจบมศ.3 ก็ปี2512 ป้าจะชอบ อาชีพครูป้าจะรับราชการครูที่โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จ.สตูล

ผู้สัมภาษณ์: คือ ช่วงนั้นที่ป้าอยู่สตูล ป้าอยู่ในตัวเมืองเลยรึเปล่าค่ะ ?

คุณสุภาพร : ค่ะอยู่ในตัวเมือง บ้านของป้าก็อยู่เลขที่ 10 ยาตาสวัสดี  เป็นบ้านของคุณพ่อคุณแม่ ปัจจุบันนี้ป้าก็อยู้บ้านของตัวเอง
ก็อยู่ในบริเวณเดียวกับบ้านของคุณพ่อคุณแม่

ผู้สัมภาษณ์ : ช่วงนั้นคือ 2509 ป้าจบ มศ.พอดี ?
คุณสุภาพร : ไม่ๆ มศ.3 ปี 2512

ผู้สัมภาษณ์ : ก่อนหน้าช่วงปีนี้ล่ะค่ะ 2500กว่า-2509 เนี่ย บรรยากาศบ้านเมืองตอนนั้น การคมนาคมติดต่อสื่อสารกัน สภาพวัฒนธรรมสังคมเป็นยังไงบ้าง?
คุณสุภาพร : คือทางวัฒนธรรมทางสตูลคือ อยู่ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ บ้านเมืองของ 4 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ สมัยนั้นมันอยุ่กันแบบสงบ 
โดยเฉพาะสตูลจะมีคนที่เค้านับถือ ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามมาก แต่เราก็อยู่แบบพี่น้องกัน เรามีอะไรเราก็พึ่งพาอาศัยกัน สตูลนี้ จะเป็นจังหวัดที่สงบมาก
พอมาภายหลังที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของสตูลนี้ก็ไม่มีอะไรเลย เราก็อยู่กันแบบเงียบสงบ ก็เหมือนคำขวัญของสตูลว่า “สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์” สงบก็คือ บ้านเมืองไม่มีเหตุการณ์รุนแรง สะอาด คือพื้นที่เราไม่มาก เป็นจังหวัดเล็กๆ เพราะฉะนั้นการดูแล เรื่องความสะอาด มันก็สามารถที่จะไปได้ทั่วถึง คือเขตเทศบาลของเราก็ไม่กว้างใหญ่ เหมือนหาดใหญ่เนี่ย เทศบาลเค้าก็กว้างใหญ่ การดูแล เนื้อที่มันจะมาก แต่สตูลเนี่ย เทศบาลเค้าก็ดูแลได้สะดวก ประชาชนก็ช่วยกันเรื่องความสะอาด แล้วที่ว่าธรรมชาติบริสุทธ์ คือเราจะมีพื้นที่น่ะค่ะ
เป็นเกาะ 105 เกาะ เป็นพื้นที่สำหรับประชาชนไปท่องเที่ยวได้หลายเกาะ และเกาะที่เป็นที่รู้จักก็คือ เกาะตะรุเตา เมื่อก่อนก็จะเป็นที่ขังนักโทษ

ผู้สัมภาษณ์: นั้นคือที่ป้ารับรู้ตอนเด็กๆก็คือ ?
คุณสุภาพร : ค่ะรู้ๆ ตอนนั้นแม่เล่าให้ฟัง

ผู้สัมภาษณ์: นักโทษการเมืองเป็นยังไงบ้าง ?
คุณสุภาพร : นักโทษการเมือง จริงๆแล้ว แม่เป็นคนจังหวัดตรังนะค่ะ แล้วก็มาอยู่ที่สตูล มาอยู่กับป้าเค้า ตั้งแต่เด็กๆ ก็มาเรียนหนังสือที่สตูลด้วย
คุณแม่นั้นจะเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนที่ป้าเรียน สตูลวิทยาเนี่ย รุ่นสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามญี่ปุ่นนะ

ผู้สัมภาษณ์: อ่อ สงครามมหาเอเชียบูรพา
คุณสุภาพร : ค่ะ ป้านี้ก็จะได้ฟังแม่เล่าในเรื่องตอนที่แม่เรียน แม่จะต้องไปเป็นอาสาสมัครในการดูแลพวกญี่ปุ่น เค้าเรียกว่าญี่ปุ่นขึ้นไอ้พวกนี้ก็จะมาอาศัยเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยนะค่ะ ก็มาอาศัยโรงพยาบาล สมัยนั้นเค้าเรียกว่า สุขศาลา แม่ก็ตอนนั้นยังเป็นนักเรียนอยู่เขาก็ให้ไปช่วย เป็นอาสาสมัครไปช่วย แม่จะเล่าถึงว่า ญี่ปุ่นนั้นนะ คือการแต่งตัวแบบญี่ปุ่น คือแต่งโป๋
ก็จะรู้ถึงสภาพบ้านเมืองในเรื่องสงครามเวลาญี่ปุ่นขึ้น เค้าก็จะต้องอยู่เงียบ ถ้างั้นก็ไปหลบซ่อนอยู่ใต้ถุนบ้าน เพราะบ้านคนสมัยก่อนเค้าจะอยู่แบบยกพื้น ต้องแอบและปิดไฟหมดเลย ก็จะได้เข้าใจถึงสภาพบ้านเมือง ว่าถ้ามีศึกสงครามเนี่ย มันน่ากลัวมาก ทุกอย่างข้าวยากหมากแพง เสื้อผ้าไม่มีใส่ ยารักษาโรคไม่มี อาหารการกินอะไรทุกอย่างจะลำบากหมดเลย คราวนี้เราจะได้รับทุกสิ่งเหล่านี้มาจากแม่ด้านประวัติศาสตร์จะได้รู้เรื่องราวต่างๆ เค้าจะมีสิ่งที่ประทับใจ ฝังใจในเรื่องของการทำศึกสงคราม ที่เราต้องถูกต่างชาติมาทำ มารุกรานบ้านเรา รู้ถึงว่าสงขลา สมัยที่ว่าญี่ปุ่นขึ้น เค้าฆ่าคนอะไรต่างๆ และบางบ้านที่ว่าเค้าขึ้นไป พบเด็กๆ ผู้หญิง  เค้าก็ต้องมาทำมิดีมิร้าย ทำให้คุณแม่ก็มีความฝังใจเรื่องญี่ปุ่นนะ กับญี่ปุ่นนี้ยัง ฝังใจอยู่แล้วก็มาต่อในเรื่องของ ตอนป้าไปเรียน ก็ยังมีรุ่นที่ว่าเค้าต่อต้านญี่ปุ่น ตอนนั้นป้าเรียนอยู่ ป.กศ. ต้นนี้แหละ เราจะไม่ใช้เลย ของมาจากญี่ปุ่นนั้นเริ่มต้นที่การต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น เพราะเราฝังใจในเด็ก
ในเรื่องนี้ พอเค้ารณรงค์เราก็จะมีส่วนรวม แต่ก็ไม่ได้ไปเดินต่อต้านนะ แต่เรื่องการแต่งกาย การซื้อเค้าจะให้ผ้าดิบกันมา ซึ่งซื้อส่งมาให้น้องตัดด้วย คือตัวเองตัดเปลี่ยนเลยนะ
ผ้าที่ใช้ตอนแรกใช้ผ้าเนื้อโทเร แต่จริงๆ ผ้าโทเรก็จะผลิตในประเทศไทยโรงงานผลิตที่ไทยนะแต่เรามีควางมรู้สึกว่าเป็นของญี่ปุ่น ก็เปลี่ยนตัดเสื้อผ้าใส่กับเป็นผ้าดิบนั้นแหละ เริ่มในส่วนนี้นะ

ผู้สัมภาษณ์: เดี๋ยวลองกลับมาที่สตูลก่อนนะค่ะ นอกจากคุณแม่จะเล่าเรื่องอะไรให้ฟัง สภาพบ้านเมืองยุคไหนก็ตาม คุณพ่อมีส่วนในการ... เพราะเป็นข้าราชการด้วย ปลูกฝังป้ามายังไงบ้าง
คุณสุภาพร : พ่อนั้น ไม่ใช่เป็นคนสตูล พ่อเป็นตำรวจมาจากกรุงเทพฯ คือเป็นคนปากเกร็ด คือมีเชื้อสายมอญ ย่านั้นอยู่ที่เกาะเกร็ด เอ่อ ปู่นั้นเป็นคนจีนทางปากเกร็ด ตอนที่พ่อเป็นตำรวจนั้นคือฐานะที่บ้านลำบากมาก  เมื่อก่อนตำรวจเค้าไม่ได้สอบคัดเลือก พ่อจะสมัครไปเป็นตำรวจ เริ่มรับราชการครั้งแรกก็ที่โรงพักสำราญราษฎร์ ที่อยู่แถวเสาชิงช้า ตอนหลังก็ย้ายมาสามเสน แล้วก็ขอย้ายต่อมาทางใต้ ก็เนื่องจากเกี่ยวกับครอบครัวของพ่อนะ คือพ่อผิดหวังตอนที่แต่งงานครั้งแรก แล้วก็ลูกของพ่อตายหมด 2 คน ฝ่ายภรรยานั้น เห็นว่าทางตำรวจเงินเดือน 8 บาทแล้วเค้าก็ดูว่าเลี้ยงลูกเค้าไม่ได้ ก็ได้แยกจากกันกับภรรยาคนแรกของพ่อ พ่อก็บอกว่าไม่ได้แยกจากกันเพราะความเกลียด แต่เป็นความจำเป็นฝ่ายผู้หญิงให้แยกจากกัน พ่อก็ขอย้ายจากโรงพัก สน.สำราญราษฎร์เนี่ย ไปอยู่ที่สามเสน ในสมัยนั้นไกลมาก เค้าก็ยังตามพ่อไป พ่อก็เลยตัดสินใจว่า ขอย้ายลงมาสตูล คือไม่ได้มาสตูลนะค่ะ คือมาภาคใต้จังหวัดไหนก็ได้ แล้วในสมัยนั้นสถานีรถไฟหาดใหญ่ไม่มี พ่อก็ต้องลงที่ควนเนียง แล้วก็นั่งช้างจากควนเนียงเข้าไปสตูล เพราะการคมนาคมของสตูลจะลำบากไม่มีทางรถยนต์ พ่อก็จะเล่าภูมิหลังของครอบครัวของพ่อให้พวกเราได้คิด พ่อนั้นที่ว่าก่อร้างสร้างตัวได้มาตอนที่ป้าโตแล้ว สภาพที่บ้านเป็นขนาดนี้ แต่ที่พ่อมาถึงได้ขนาดนี้ด้วยความยากลำบากมาแค่ไหน ก็เพื่อให้เราได้มีสิ่งที่ให้คิดให้ได้ อย่าฟุ่มเฟือย เพราะฉะนั้นพ่อนี้จะเป็นแบบอย่างในการกระทำ ในเรื่องปลูกผักสวนครัว การเลี้ยงหมู ตำหยวก พ่อก็จะหั่นไว้ให้ เราก็ตำ ตอนไปเก็บข้าวหมูไม่ใช่ใกล้ๆนะค่ะ ก็พารถเข็นไป และน้องบางทีก็ตามไปด้วย หนักข้าวหมูแล้วก็ต้องพาน้องไป เพราะพี่คนโต บางทีก็ขายขนม แม่ก็จะทำขนมข้าวต้มหมัดให้ขายก่อนไปโรงเรียน คือจะทำงานมาทุกอย่าง ก่อนที่เราเรียนมัธยมสมัยก่อนทำขนมแบบน้ำขนมหวาน ไม่เหมือนตอนนี้ ตอนนี้มีบัวลอยอะไรต่างๆ เค้าจะข้นไว้เรียบร้อย ในสมัยป้าต้องมาโม้ข้าวเหนียวและก็ทับไว้ ตอนเช้าตื่นมาแต่เช้าถ้าวันไหนแม่ไม่ทำข้าวต้มหมัด เราก็ต้องมาช่วยปั้นขนมบัวลอยอะไรต่างๆ ก่อนจะไปโรงเรียน นั้นคือเราต้องช่วยเหลือครอบครัว
แล้วพอจบ มศ.3 ในปี2512 ด้วยความตั้งใจว่าอยากเป็นครู เมื่อก่อนเวลาเค้าให้เขียนรียงความ เกี่ยวกับความฝันว่าอาชีพที่ชอบ ป้าก็เขียนแต่อยากเป็นครูอย่างเดียว
ไม่เคยคิดจะเป็นอย่างอื่น

ผู้สัมภาษณ์: ทำไมครับ ?
คุณสุภาพร : คือชอบ เนี่ยคือมันเป็นความชอบ และอยากจะได้ อาจจะเป็นเพราะพี่คนโตก็ได้ อยากจะช่วยเหลือคนอื่นๆ เป็นลักษณะส่วนตัวของตัวเองที่มีอยู่น่ะค่ะ
เอ่อ อาจจะสงสัยเนอะว่าทำไมป้าไปเรียนที่กรุงเทพฯ ทำไมไม่เรียนที่ใกล้ๆ ยะลาก็มี สงขลาก็มี เอ่อ ในสมัยนั้นของป้าเมื่อก่อนนะค่ะ สตูลเนี่ย เมื่อก่อนเค้าจะให้ไปเรียนที่วิทยาลัยครูยะลา แต่ต่อมาภายหลังก่อนหน้าป้าปีเดียว ป้าเป็นรุ่นที่ 2 ที่วิทยาลัยครูสงขลา ที่มาเรียนกรุงเทพฯ เพราะ เนื่องจากว่าพ่อเป็นคนทางกรุงเทพฯ แล้วพ่อก็มาอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนญี่ปุ่นขึ้น พ่อก็อยากจะให้กลับไปอยู่ใกล้ชิดกับทางญาติที่กรุงเทพบ้าง ถึงแม้ว่าเมื่อก่อนพ่อจะพาไปนะค่ะ ตอนเด็กๆ คือเริ่มไปเยี่ยมญาติจำได้ว่าตอนนั้น ตอนปี 2500 ที่เค้าฉลองกรุง 25 ศตวรรษ ก็ป้าอายุ 4 ขวบนะ ป้ายังจำได้นะ เอ่อ พ่อจะพาไปรถไฟ เมื่อก่อนรถไฟก็จะมีจาก สุไหงโกลก ก็ไปนั่งชั้น 3 กัน แม่ท้องคนที่ 2 อยู่ น้องคนที่ 2 ก็มาเกิดปลายปี น้องคนที่ 2 เกิด 2500 ไปนี่ญาติก็จะพาไปเที่ยวที่เค้าฉลองกรุง เพราะญาติเค้ามีรถที่ทำงานของกรมชลประทาน เค้าก็พาไปเที่ยว คือยังประทับใจว่ามันมีอะไรที่สวยๆ งามๆ มาก
เพราะว่าเด็กบ้านนอก ก็เข้าไปอยู่กรุงเทพฯ อายุ 4 ขวบแล้วก็หลังจากนั้นอีกครั้งตอนเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 1 นั้นก็ไปกรุงเทพฯครั้งที่ 2 และหลังจากนั้นก็ไม่ได้ไปและพ่อก็คิดว่า ถ้าอยู่ในลักษณะนี้ พ่อกับญาติก็จะห่างกัน พอไปครั้งที่ 3 ย่าเสีย พ่อก็เลยคิดให้ไปเรียนที่ ไปสอบวิทยาลัยครูส่วนกลางนะ เค้าก็มีอยู่ด้วยกัน 7 แห่งที่เป็นส่วนกลาง ให้เราเลือกเหมือนสอบเอ็นเลย ให้เลือกว่าเราเลือกสถาบันไหนอับดับหนึ่ง

ผู้สัมภาษณ์: นี่คือ มศ.3 ?
คุณสุภาพร : ค่ะ มศ.3 ก็ปี 2512 ป้าก็เลือกอันดับหนึ่งก็คือ สวนสุนันทา แต่มาได้วิทยาลัยครูธนบุรี พอเราเช็คข้อมูล ไปตอนหลัง เค้าบอกว่าเค้าจะเลือกตามที่อยู่
เพราะย้ายสำเนาทะเบียนบ้านไปอยู่แถวหลังวัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี

ผู้สัมภาษณ์: อยู่กับญาติเหรอค่ะ ?
คุณสุภาพร : ไปอยู่กับป้า พี่สาวของพ่อก็ไปอยูที่หลังวัดกัลยา และอยู่มาทางเขตธนบุรี วิทยาลัยครูธนบุรี จะอยู่ตรงข้ามกับบ้านสมเด็จ ถนนอิสรภาพ
ก็ลงมาสะพานพุทธ วงเวียนเล็ก มาสี่แยกบ้านแขก ป้าก็เรียนที่นั้น ส่วนมากก็จะเจอนักเรียนทางภาคใต้ ก็สบายเลย พูดปักษ์ใต้กันเลย ถ้าคือ ไม่ว่าจะรุ่นพี่
ตอนนั้นที่ไปเรียนเนี่ยคือฝึกหัดครูนะ ตอนป้าไปปี 2513 ยังเป็นฝึกหัดครูธนบุรี ซึ่งฝึกหัดครูธนบุรีนี้เดิม แรกๆเค้าเปิดรับเฉพาะผู้หญิง ต่อมาป้าก็เป็นรุ่นที่ 2 ที่เค้ารับผู้ชายด้วย
เอ่อ ก็ไปเรียนตอนนั้นก็อยู่หอพัก หอพักของนักศึกษาครู แต่ว่ามันจะลำบาก รู้สึกว่าที่ตรงนั้นจะเป็นบ้านของเจ้าพระยาเกี่ยวกับกระทรวงเกษตร
เพราะงั้นในบริเวณนั้นจะเป็นสวนต้นไม้แบบเก่าๆ ตึกก็ตึกเก่า เนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ เล็กมากมีประตูเดียว และประตูเดียวนี้จะมีความสำคัญกับตอนที่
พวกป้าเข้าไปร่วมในวันที่ 14 ตุลา มีประตูเดียว ที่มีนักศึกษาทั่วเป็นผู้หญิงล้วน ก็มีความเกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ที่ทำความกดดันให้กับพวกเราในตอน 14 ตุลา
เอ่อ แล้วพอป่ะเรียนปี1 ตอนป้าเข้าไปเค้าก็สถาปนา เป็นวิทยาลัยครูธรบุรีจะขยายเป็นเรียน 4 ปี เมื่อก่อนนั้นมีแค่ ป.กส.ต้น ก็คือประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นต้น
พอสถาปนาเป็นวิทยาลัยครูก็ขยายเป็น 4 ปี ก็คือประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง หรือ ปกศ.สูง ตอนป้าไปเรียนนั้นแหละก็เป็นวิทยาลัยครูเล็กๆ
อยู่หอพักอยู่ประจำ แต่ว่ามันก็ทรมานใจมากเลย กว่าที่ญาติ พอวันศุกร์จะมารับ ญาติก็ทำงานอยู่ฝั่งกรุงเทพฯ

ผู้สัมภาษณ์: คือ เค้าบังคับให้อย่างในหรอครับ ?
คุณสุภาพร : ก็ เค้าไม่บังคับแต่ด้วยความว่าเราไปจากต่างจังหวัดและพ่อแม่ก็เป็นห่วงถึงแม้จะมีบ้านญาติอยู่จริงบ้านป้านั้นอยู่ไม่ไกลนะถ้ามาลงเรือขึ้นทางเจริญพาสน์
ก็ไม่ไกลเดินมาได้ไม่ต้องนั่งรถเลยแต่ถ้าจะเดินไปทางที่ไม่ลงเรือก็เดินผ่านวัดกัลยาและก็มาทางด้านกุฎีจีนด้านหลังนะแต่กุฎีจีนที่เราเห็นถ้านั่งเรือแม่น้ำเจ้าพระยานะ
จะหันไปทางโรงเรียนสันตาคูสผ่านวัดบุปผาลาตลาดนกกระจอกแต่พวกเธอไม่ทันเรียนเรื่องเด็กบ้านสวนนะจะผ่านเดินมาได้หรือว่านั่งรถตุ๊กๆก็ได้แต่พ่อก็ยังเป็นห่วง
ถึงแม้จะอยู่บ้านป้า แต่ให้ไปอยู่เพื่อว่าเวลาเสาร์-อาทิตย์ เราก็จะมีญาติเข้าไปรับมาเหมือนเด็กหอพักนะแต่ว่ามันจะลำบากตรงที่ว่ารถจะติด สมัยบรรยากาศกรุงเทพ
คือมันไม่มีถนนหลายสายเนอะ ถ้าจะผ่านมาฝั่งกรุงเทพ มาฝั่งธนบุรีก็คือสะพานพุทธเท่านั้นและรถติดคือมหกรรมยืนรอมองทางหน้าต่าง บางครั้งเกินเวลาเค้าจะไม่ให้ ต้องไปนั่งร้องไห้กับอาจารย์ของหอพักนะเพราะญาติจะมารับเค้าจะให้เวลาถึง 18.00น. รถติดมาไม่นานก็นั่งร้องขอเพราะถ้าให้เราอยู่ความกดดันก็จะอยู่กับเรา เค้าก็ให้ไปแต่มันเหมือนหลายน่ะนะเลยตักสินใจว่ากลับไปอยู่บ้านป้าตอนนั้นเทอมที่ 2 ปี 1 และตอนนั้นมันก็มีภาวะน้ำท่วมพอหน้าน้ำหลากมันจะมีคลองบางกอกน้อยนะน้ำมันจะขึ้นมาเวลายืนรอเรือต้องยืนแบบกระโปรงต้องเอาขึ้นและกลัวอันตรายว่ายน้ำไม่
เป็นเลยไปอยู่หอพักคราวนี้ไม่ไปอยู่หอพักวิทยาลัยแล้ว คราวนี้ไปอยู่หอพักที่วงเวียนใหญ่ก็เดินมาที่ สี่แยกบ้านแขก มาก็เดินมาเรียนได้โดยไม่ต้องขึ้นรถเมล์ตรง
วงเวียนใหญ่ก็จะมีเรื่องที่จะเกี่ยวข้องได้สัมผัสกับ 14 ตุลาได้อย่างมากเหมือนกัน แล้วสภาพชีวิตของเด็กหอพักมันก็ทำให้เราไปในการที่ไปร่วมชุมนุมได้ง่ายขึ้นมัน
ก็เป็นเหมือนกับว่าถึงปัจจุบันนี้ก็เหมือนกันนะทุกอย่างเราก็ไม่มีคนบังคับดูแลเรา เราก็ไปแบบ 1. ด้วยจิตใจเราที่อยากจะรู้เรื่องของเหตุการณ์บ้านเมืองอย่างรู้ข้อเท็จจริง
แล้วเพื่อนในหอพักเค้าก็ไปกันเราก็เลยไปด้วยเราก็จะไม่มีใครที่จะมาดูแลตักเตือนเราก็พอจะไปได้ แต่ก็ยังดีที่ว่ารอดชีวิตมาได้นะ เพราะการรอดชีวิตนี้ก็อาจจะคิดได้
หลายแง่ว่ามีอะไรหลายอย่างมาช่วยพวกเราและก็มีสิ่งที่เรา  เราคิดของเรา เราคิดกันเอง เราทำของเราโดยว่าหาอะไรที่มันยึด   แล้วก็อะไรที่มันปลอดภัยกับเราทำให้
เรารอดมาได้


ผู้สัมภาษณ์:
ช่วงที่ยังอยู่สตูลอยู่เหตุการณ์รับรู้ ตอนนั้นเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นยังไงบ้างหมายถึงว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสตูลกับรัฐบาลกลาง
ตอนนั้นใครเป็นนายกรัฐมนตรี ป้ารับรู้เหตุการณ์ตอนนั้นว่าเป็นเด็ก
คุณสุภาพร :
ไม่ๆ ตอนอยู่สตูลนั้น ช่วงท่านสฤษดิ์นั้นมันก็มีเรื่องหลายๆอย่างของสตูลถ้าพูดแล้วข้าวจะส่งขายมาเลย์ นั้นเกี่ยวข้าวสารนั้นเค้าเรียกปันส่วนมีแล้วนะค่ะ
ในสมัยนั้นสตูลข้าวมันจะหนีภาษีส่งไปขายมาเลย์จะได้ในราคาแพงเพราะงั้นข้าวเข้ามาสตูลจริงแต่ประชาชนสตูลกลายเป็นว่าต้องซื้อของแบบปันส่วนและบ้านป้ามีกี่คน
เวลาไปซื้อเอาสำเนาทะเบียนบ้านไป รับเป็นรายคนข้าวสารคนละกี่กิโล น้ำตาลคนละกี่กิโล

ผู้สัมภาษณ์: นี่คือจากรัฐบาลทำ ?

คุณสุภาพร : รัฐทำ! ไปซื้อแบบว่าสหกรณ์แต่รัฐควบคุมอยู่ ข้าวสารก็ซื้อบางส่วนในสมัยของจอมพลสฤษดิ์

ผู้สัมภาษณ์: ทำตามจำนวนคนในบ้าน ?
คุณสุภาพร : ค่ะ แล้วเค้าจะไม่ให้พาข้าวสารมา ระหว่างตรงเขตแดนของสตูลมันจะมีเค้าเรียก ด่านในดง

ผู้สัมภาษณ์: ติดสตูลกับอะไรค่ะ ?
คุณสุภาพร : สตูลกับสงขลา เพราะงั้นใครพาข้าวสารมานะ แม่จะพามากินเค้าก็ต้องกำหนดเพราะจะมีเด็กนักเรียนที่มาเรียนสตูลพาเข้ามา
บางที่เค้าอยู่วัดเพราะเค้ากำหนดว่ากี่กิโลกระสอบหนึ่ง 20 กิโลก็กะว่ามากินได้เดือนหนึ่งเด็กที่มาอยู่วัดอะไรน่ะนะ
แต่ถ้าใครพามาเกินกว่านั้นเค้าจะจับเพราะบอกว่ามีคนพาข้าวสารออกไปส่งทางมาเล แต่ก็ส่งจนเค้าก็ร่ำรวยไป เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ก็ร่ำรวยกันทั่วหน้า
แต่พ่อจะไม่ยุ่งเกี่ยว ตอนนั้นพ่อก็เป็นตำรวจที่มียศตั้งแต่พลตำรวจมานะไม่ใช่มาเป็นแบบนายร้อย พลตำรวจขึ้นมาก็เป็น สิบตรี สิบโท สิบเอก
จนว่าถึงจ่าสิบตำรวจก็เกษียณ ในช่วงนั้นพ่อยังตำรวจอยู่นะในช่วงที่เค้ามีข้าวสารปันส่วนอยู่ เพราะเราได้กินข้าวสารปันส่วนแล้ว
รู้ถึงในเรื่องของความยากลำบากรู้ว่าออกมาเลเซียได้ก็มีเถ้าแก่ คือรู้กันระดับหัวหน้าเค้าได้อันไหนตั้งแต่นู้นแหละนะไม่ใช่เฉพาะฝ่ายตำรวจนะ
มหาดไทยเค้าก็ได้กันหมด จนเป็นที่รู้ว่าวันไหนสตูลไฟดับ นั้นรู้แล้วข้าวสารลงเรือไปตอนที่พวกเรายังเด็กๆรู้ว่าไฟดับข้าวสารลงเรือ

ผู้สัมภาษณ์: และมีการรับรู้ข่าวสารจากข้างนอกผ่านทางไหนบ้างอะค่ะ? หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์
คุณสุภาพร : หนังสือพิมพ์ก็เป็นของท้องถิ่น โทรทัศน์นี่ป้าได้มาดูตอนป.4ป.5แล้ว

ผู้สัมภาษณ์: ที่บ้านมี ?
คุณสุภาพร : มี เป็นขาวดำนะ เล็กๆคือเมื่อก่อนเริ่มแรกก็ฟังวิทยุ วิทยุนั้นจะมีละครคณะเสนีย์บุญประเกศอะไรนั่นน่ะ ก็ฟังละครฟังข่าว
ตอนหลังก็มีโทรทัศน์ขาวดำเล็กๆก็มีพวกหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นพวกนิตยสารก็มีสกุลไทยบางกอกมันเป็นเรื่องของผู้หญิงอะไรแบบนี้เนอะก็ชอบอ่าน
และก็โดนตีด้วยเพราะพอหนังสือมาจะไม่ทำอะไรจะอ่านหนังสือก่อนเสร็จแล้วก็มาช่วยแม่ทำงานบางครั้งแม่ก็ตีแต่ว่านี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเราอ่ะ
ที่เราชอบอ่านทำให้ได้รู้อะไรหลายๆอย่างเด็กเดี๋ยวนี้ไม่รักการอ่านเค้าก็ส่งเสริมกันทุกสถาบันเลยนะนักเรียนต้องอ่านปี 1 อย่างน้อย 10 เล่ม
ในสมัยป้าเนี่ยอ่านจนแม่ต้องตีเพราะเราชอบเป็นนิสัยตอนนี้ป้านี่จะอ่านหนังสือทุกประเภทเลย

ผู้สัมภาษณ์: ช่วงนั้นสตูลก็อยู่ใกล้กับภูเขาอยู่ติดตรัง มีข่าวเรื่องคอมมิวนิสว์หรืออะไรพวกนั้นป้ารับรู้สมัยเด็กอย่างไรบ้าง
คุณสุภาพร : มี ก็เค้าบอกว่ามีถ้าเข้ามาก็คัดอยู่ติดกับนิคม เดี๋ยวนิคมคนกาหลงมันจะติดเขต  ทางพัทลุง เพราะพัทลุงเมื่อก่อนเนี่ยเค้าจะมีพวกผู้ก่อการร้าย
พวกคอมมิวนิสต์เป็นคนพัทลุงเข้ามาอยู่ในนิคมควนกาหลงมาก เพราะว่ามันมาจากแรงกดดันของภาครัฐ์ก็ทำให้คนเหล่านี้ถูกกดดันก็ไปอยู่เค้า
เรียกว่าอยู่ป่าก็จะมีแต่ก็ไม่เคยเจอนะแต่รู้ว่ามีนะ แล้วก็เกิดเหตุกับพวกตำรวจบางทีเค้ามาแจ้งว่าคนตาย แล้วก็เจ้าหน้าที่ไปพลิกศพแล้วก็ถูกระเบิดอะไรอย่างนั้นแหละ
แต่มันก็อยู่ในรอบนอก เค้าบอกว่ามันเป็น ภูเขา เทือกเขา ระหว่างเขตแดน เอ่อ..พัทลุงเทือกเขาบรรทัด พัทลุงมาสตูล  ตรัง สตูล สงขลามาสตูล สงขลาก็จะอยู่
แถวโตนงาช้าง แถววังพาเข้าทางนู้นแลที่เขาน้ำค้างนาทวี นั้นแหละ มันจะเป็นเขตแดนเข้ามา แต่ว่าในตัวจังหวัดนี้จะไม่มี มีรอบนอก

ผู้สัมภาษณ์: นี่คือรับรู้มาด้วยบรรยากาศ ?
คุณสุภาพร : ค่ะ ที่รู้เพราะบ้านอยู่หลังสถานีตำรวจเพราะงั้นพอเวลามีตำรวจที่ถูกกัประเบิดอะไรหยั่งงี้ เค้าก็จะพาศพมาวางไว้ที่มันจะเป็นเรือนพักรักษาดินแดน
เมื่อก่อนข้างล่างจะเป็นที่โล่งนะ   ห้องประชุมโถงใหญ่สมเกียรติแล้วแหละ ไม่ต้องส่งไปที่วัดก็เลยได้รู้เหตุการณ์ในสมัยนั้นที่เราอยู่ประถมปลายนะถึงมัธยม
ช่วงนั้นจะมีข้าราชการที่มาเสียชีวิตและถูกพวกทางนู้นแหละมาวางกับดัก มาแจ้งว่ามีคนตายพอไปพลิกศพก็โดนระเบิด

ผู้สัมภาษณ์: ตอนนั้นเกี่ยวกับคอมมิวนิสว์นี่รับรุ้ยังไงบ้าง กลัวไหม หรือว่ายังไง
คุณสุภาพร : ถาพูดว่ากลัวมั้ยถือว่าเราไม่ได้ไปสัมผัสเราไม่ได้ไปเกี่ยวข้องเราไม่ได้เดินทางไปยังที่นั่นมีความรู้สึกเฉยๆ
แต่จะมีความรู้สึกว่ากลัวก็ตอนเขาพาศพของข้าราชการตำรวจมาแค่นั้นแหละเพราะเราไม่ได้ไปอยู่ในแหล่งตรงจุดนั้น

ผู้สัมภาษณ์: มาถึงตอนที่ไปข้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาดีกว่า ช่วงปี 2516 ตอนนั้นก็เป็น...ป้าอยู่ปี 4
คุณสุภาพร : ก็ป้าไปเรียน 2513 ก็ขึ้นปี 4 เรียนต่อไปที่วิทยาลัยครูธนบุรี

ผู้สัมภาษณ์: เขาต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นต่อตอนนั้นเข้าร่วมหรือว่ารับรู้ยังไง
คุณสุภาพร : ตอนนั้นรับรู้ แต่เข้าร่วมโดยการไม่ใช้สินค้าญี่ปุ่น

ผู้สัมภาษณ์: ข่าวสารมาได้ยังไงค่ะ
คุณสุภาพร : ก็ตอนนั้นเราเรียนอยู่ที่วิทยาลัยครูแล้วใกล้เค้าก็เรียนวิชาสังคมพบกับอาจารย์เค้าก็จะเล่าให้เราฟังติดโปสเตอร์คือเชิญชวนแต่ยังไม่ได้ไปร่วม

ผู้สัมภาษณ์: หมายถึงว่า นักศึกษาเชิญชวนกันเอง หรือว่าคนข้างนอกมา?
คุณสุภาพร : นักศึกษากันเองข้างในวิทยาลัย เราก็ปฏิบัติโดยการไม่ใช้สินค้าญี่ปุ่น เพราะเราฝังใจตั้งแต่สมัยตอนที่แม่เล่าให้ฟัง
แม่เล่าถึงการใจร้ายใจดำที่ว่าทำอะไรต่างๆให้กับคนไทยมาก และก็เรียนอยู่ไม่รู้ว่าปี 1 หรือปี 2 นะ
และพอหลังจากนั้นที่ว่าเรียนอยู่ตอนปี 4 ก็เดือนตุลาก็จะสอบปลายภาคก็สอบวันสุดท้ายแต่เราก็รู้ข่าวกันแล้วว่าเค้ามีการประชุมชุมนุมกัน
ที่ลานโพธิ์ที่ธรรมศาสตร์

ผู้สัมภาษณ์: เดี๋ยวนะค่ะป้า หลังจากผ่านกิจกรรมพวกสินค้าญี่ปุ่นมา ป้าได้เข้าร่วมกิจกรรมพวกนี้ไหมหรือว่าแค่ตั้งกลุ่ม หรือว่ามีเพื่อน
หรืออะไรที่คอยคุยกันเรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองแบบนี้

คุณสุภาพร : อ๋อ เราก็ตั้งชมรมของเราก็คือในวิทยาลัยนี้แหละ เราก็เปลี่ยนเสื้อผ้าเราก็ตัดเสื้อใหม่เสีย

ผู้สัมภาษณ์: อ๋อ มีชมรมกันเลยแล้วป้าก็ร่วมชมรมนั้นนี่ชมรมอะไรค่ะ
คุณสุภาพร : ชมรมอะไรป้าก็จำไม่ได้นะแต่ว่าจะเป็นเด็กๆทางภาคใต้ ก็รู้ว่าข้างนอกมันก็มีอะไรที่...
พอหลังจากนั้น ในช่วงที่จะเกิดเหตุการณ์ เข้าไปร่วม 14 ตุลาคม

ผู้สัมภาษณ์: ตอนที่มีการลบชื่อนักศึกษารามกรณีที่ออกหนังสือทุ่งใหญ่นเรศวร
ผู้สัมภาษณ์: อ๋อ...ตอนนั้นกรณีทุ่งใหญ่ป้ารับรู้ไหมค่ะ
คุณสุภาพร : รับรู้ แต่ว่าป้าก็ไม่ได้ไปข้องเกี่ยวอะไร ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องนะเพราะงั้น

ผู้สัมภาษณ์: ติดตามทางไหนค่ะ เพื่อนๆหรือว่าปากต่อปาก
คุณสุภาพร : ปากต่อปากเล่ากัน

ผู้สัมภาษณ์: เพื่อนในกลุ่ม ?
คุณสุภาพร : แต่ว่าพอจะมาจุดนี้ จุดเริ่มที่ว่าจะออกไปสู่ภายนอกนะ ก็มีการร่วมกลุ่มแต่ว่าตอนมีเหตุการณ์ตอนแรกนะพวกเรายังไม่ได้ร้วมกลุ่ม เพราะติดสอบกัน

ผู้สัมภาษณ์: เหตุการณ์ตอนแรกนี้หมายถึง การจับนักศึกษากบฏ
คุณสุภาพร : นั่นแหละเราจะทำอะไรได้ไม่เต็มตัว แล้วก็ในวิทยาลัยนั้นก็ติดสอบกันเพราะงั้นรุ่นที่จะมาเตรียมเพราะป้าก็อยู่ปี 4 แล้ว
ก็มีพวกประธานต้องสอบกันทั้งหมดนั้นพอหลังจากสอบเสร็จ เราก็รวมกลุ่มกันในวิทยาลัยต้องไปร่วมเพราะเค้าจะมีหนังสือเชิญชวนมาแล้ว

ผู้สัมภาษณ์: ช่วงวันที่เท่าไรแล้วค่ะอันนี้ เพราะว่าเค้าร่วมที่ลานโพธิ์ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม
คุณสุภาพร : วันที่ 9 พวกป้ายังไม่ได้ไป

ผู้สัมภาษณ์: หรือว่าตอนที่ป้าไปเค้าย้ายไปที่สนามฟุตบอลแล้ว
คุณสุภาพร : ไม่ ป้าไปลานโพธิ์ด้วย  ก็จะมีตัวแทนนักศึกษามาหาอยู่ว่าเค้าก็จะมาบอกว่าตอนนี้สถาบันไหนๆไปร่วมกันแล้วแต่วิทยาลัยครูธนบุรียังไม่ไป

ผู้สัมภาษณ์ : มาจากไหนค่ะ ตัวแทนเหล่านี้ ที่ส่งมาจากธรรมศาสตร์เลยหรือว่ายังไง
คุณสุภาพร : จากธรรมศาสตร์เลยของศูนย์นิสิตนั้นแหละ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จก็ไปแล้ว เค้าอยู่ตรงข้าม สถาบันเรา
พอวันที่เรารวมกลุ่มเราจะออกไปเราไปไม่ได้เพราะว่าเป็นกลุ่มย่อย จะร่วมเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อออกจากวิทยาลัยครูธนบุรี โดนปิดประตู เพราะ มันมีประตูเดียว

ผู้สัมภาษณ์: ตอนอยู่ข้างในคือชุมนุมกันในวิทยาลัยก่อน
คุณสุภาพร :  ชุมนุมกันนั่นแหละไฮปาร์คกัน พูดอะไรกันนะ เราก็พร้อมที่จะออกไปร่วมนะ

ผู้สัมภาษณ์: ป้าขึ้นไฮปาร์คด้วยหรือปล่าว
คุณสุภาพร : ไม่

ผู้สัมภาษณ์: ตอนนั้นคือเห็นด้วยกับแนวทางของขบวนนักศึกษาที่ว่าจะขอให้ปล่อยตัว
ผู้สัมภาษณ์: 13 กบฏ
คุณสุภาพร : นี่พูดกันตรงๆนะ

ผู้สัมภาษณ์: หรือว่า?
คุณสุภาพร : ไปเพราะพวก ไปรวมพลัง เพราะเราเองยังไม่ได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ เราก็ฟังแต่ประธานของเราที่เข้ารับข้อมูลมา แล้วก็ เค้าบอกว่าต้องรวมพลัง
พลังต้องมากใช่มั้ยเพราะงั้นเราต้องรวมพลังกันในสถาบันเรานี้การพูด ยอมรับว่าการพูดของประธาน

ผู้สัมภาษณ์: โน้วน้าว
คุณสุภาพร : โน้มน้าว คำพูดโน้มน้าวนี่มีส่วนมากให้เรานี่คล้อยตามไป

ผู้สัมภาษณ์: พวกนี่คือ พวกในวิทยาลัยหรือว่า ?
คุณสุภาพร : ในวิทยาลัย แล้วโดยเฉพาะพวกเรานี่ เราอยู่ปี 4 ถ้าเราอยู่ปี 4 แล้วไม่แสดงพลังให้รุ่นน้อง 3 ระดับเห็น ไม่ได้คือ
โดยเฉพาะประธานนี่อยู่ห้องเดียวกันด้วยเพราะเรียนเอกเดียวกัน เราต้องช่วยกันและเมื่อกี้ที่ป้าบอกว่าประตูเดียวนี่คือมีส่วนกับพวกเราที่ถูกปิด เราก็ออกไม่ได้

ผู้สัมภาษณ์: แล้วใครเป็นคนปิด
คุณสุภาพร : ผอ.ปกตินั้นตอนที่พวกป้าเรียนตั้งแต่ปี1-ปี3 ผอ.คือ คุณหญิง พึงใจ  สินธวานนท์

คุณสุภาพร : พึงใจ เคยได้ยินมั้ย เป็นภรรยาของท่าน กำธน   สินธวานนท์องคมนตรี

ผู้สัมภาษณ์: นามสกุลเคยได้ยินค่ะ
คุณสุภาพร : ผอ.พึงใจนั้นเป็น ผอ. อยู่ ตอนหลังท่านได้เลื่อนตำแหน่งก็ย้ายไปอยู่วิทยาลัยครูพระนคร ก็เลยมี เป็นรอง เป็นผู้หญิงและท่านก็ยังไม่แต่งงาน
ก็กลัวมากในการว่าถ้าปล่อยไปและเกิดมีเรื่องราว ถึงระดับผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการ ในกรมฝึกหัดครู และมีกลัวในหลายๆอย่างท่านไม่เปิดประตูให้นักศึกษา
ไม่ค่อยยอม ประท้วง ก็เกิดการประท้วง

ผู้สัมภาษณ์: ให้เปิดประตูหรอค่ะ ?
คุณสุภาพร : ประท้วง ผอ. เราก่อนให้เปิดประตูห้จนสุดท้ายต้องยอม

ผู้สัมภาษณ์: ภายในวันเดียว ?
คุณสุภาพร : ภายในวันเดียว ต้องยอมปล่อยเราไป

ผู้สัมภาษณ์: ตอนนั้นนักศึกษาทั้งหมด ทั้งมหาวิทยาลัยเลยหรือว่า ?
คุณสุภาพร : ทั้งหมดเลย 4 ปี

ผู้สัมภาษณ์: ทั้งหมด คือเห็นด้วยร่วมเป็นกำลัง
คุณสุภาพร : ค่ะ ทั้งหมดเลย ร่วมเป็นพลัง และพอดี อยู่ในพื้นแคบๆมันก็จะพุดกันง่ายอะน่ะ พอรุ่นพี่บอกน้องอีก 3 ปี เค้าก็ร่วมหมด

ผู้สัมภาษณ์ : ประมาณกี่คนครับ
คุณสุภาพร : ก็

ผู้สัมภาษณ์: 2000 ?
ผู้สัมภาษณ์: ชั้นปีนึง ประมาณ ?
คุณสุภาพร : ชั้นปีนึงก็ไม่มากนะ ไม่รู้สิ ประมาณพัน เรามีปีละ 500

ผู้สัมภาษณ์: ประมาณ 1000-2000 คน ?
คุณสุภาพร : เดี๋ยวๆ ไม่ถึง 500 คน เพราะรัฐเค้ารับไม่มากน่ะ ใช่ ปี 1 ปี 2
ประมาณ 500 พอขึ้นปี 3เค้าเอาเฉพาะเอก และ ก็ลดลง จะรับไม่มาก ประมาณ 1500 คน

ผู้สัมภาษณ์ : ออกจากวิทยาลัยแล้วไปยังไงกันต่อ ?
คุณสุภาพร : ไปก็ คราวนี้ก็ขึ้นรถเมล์กันไปเอง แล้วก็ไปนัดพบกันที่หน้าประตูธรรมศาสตร์

ผู้สัมภาษณ์ : เข้าทางฝังไหนค่ะ ท่าพระจันทร์ ?
คุณสุภาพร : ฝังท่าพระจันทร์บางคนไปลงเรือข้ามฟาก เพราะฉะนั้นเราจะไม่ไกลโรงพยาบาลศิริราชนะ ก็ไปพร้อมกันที่ลานโพธิ์
พอเริ่มต้นนั้นเราไปในนามของวิทยาลัยกันแล้ว เค้าก็บอกเลยนะว่าวิทยาลัยครูธนบุรีมาแล้ว เพราะรวมพลังกันมาเยอะที่ลานโพธิ์ไม่พอ
เลยย้ายไปที่สนามฟุตบอล

ผู้สัมภาษณ์: นี่คือป้าอยู่ตลอดเวลา ?
คุณสุภาพร : ก็ป้าไป-กลับ อะไรประมาณนี้ พอหลังจากนั้นใช่มั้ย เพราะเราไม่ได้อยู่ตลอด เรากลับทางข้ามฟากมา หลังจากนั้นเราก็จะไม่ไป
ชุดนักศึกษานี่คือส่วนหนึ่งที่ป้าบอกว่าเราต้องคิดอะไรหลายอย่างในการนี้ เพราะการจะไปชุดนักศึกษานั้น มันจะเห็นชัด อันตรายจะเกิดขึ้น
ถ้าเราไปชุดธรรมดา เพราะว่าเราเป็นประชาชน เพราะพวกนี้ตอนนั้นเค้ามุ่งแต่นักศึกษา เค้าไม่ได้มุ่งที่ประชาชนนะ เพราะมีเหตุการณ์กับนักศึกษา
เราก็ฟังแต่ไปชุดบ้านตลอดเลย

ผู้สัมภาษณ์: บนเวที เค้าย้ายมาที่สนามฟุตบอล ป้าก็ยังมาอยู่ ?
คุณสุภาพร : มา

ผู้สัมภาษณ์: มีอะไร กิจกรรมอะไรบนเวทีที่จำได้บ้างค่ะ ?
คุณสุภาพร : กิจกรรมนะ ที่ขึ้นไปพูด ยังจำได้แม่นเลยที่ขึ้นไปพูดคือ จีรนันท์ พริตปรีชา  คนตรัง คนใต้ เราก็มีความผูกพัน และบังเอิญเพื่อนที่เรียนด้วยกัน
เค้าเคยเรียนตอนที่เรียนด้วยกันที่ตรัง ก็เล่าให้ฟัง คนนี้เค้าก็เป็นฮีโร่ในดวงใจเราเลย

ผู้สัมภาษณ์: ภูมิใจ
คุณสุภาพร : เราภูมิใจมาก คนบ้านเรา นี่ก็มีส่วนเนอะ พวกคุณเสกสรร  คุณเสาวนีย์  ธีรยุทธ บุญมี ที่จำได้แม่นเลย เก่งมาก การพูดของคนกลุ่มนี้
โน้มน้าวใจให้กับทุกคน พอหลังจากนั้น เค้าก็วางแผนให้เราไปฟังอยู่นะ ป้าก็จำได้ประมาณ 2-3คืน เค้าก็ย้าย เค้าก็บอกนะ แผนต่อไปเค้าจะไปที่จุดไหนๆ
ย้ายตอนกลางวันค่ะ ตอนกลางวันเราก็แต่งชุดนักศึกษา เค้าย้ายออกไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ผู้สัมภาษณ์: เดี๋ยวนะค่ะป้า เอ่อ ประเด็นในการชุมนุมตอนนั้น ตอนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือยังไงค่ะ คือจะเอาเพื่อนออก
หรือว่ามีการขยายออไปเป็นอื่นแล้ว ที่เค้าไฮปาร์คกันบนเวทีน่ะค่ะ ?

คุณสุภาพร : ก็เพื่อนออก และก็จะให้นู่นแหละ

ผู้สัมภาษณ์: ให้ร่างรัฐธรรมนูญ

คุณสุภาพร : ให้เปลี่ยนรัฐบาล เค้าว่าเป็นมหาอำนาจ เป็นระบบครอบครัว เผด็จการหมด ใช่มั้ยตอนนั้น
เอ่อ พลเอกณรงค์ก็นั่งประพาส แล้วก็เกี่ยวดองกัน เค้าก็แบบว่ามันจะไปถึงจุดนู้นแล้ว มันใหญ่มาแล้วนะ

ผู้สัมภาษณ์: เรื่องเหล่านี้ป้ารับรู้ในการไฮปาร์คหรือส่าระหว่างนั้นก็เคยได้ยินได้ฟังมาบ้าง เกี่ยวกับมีหลักการชื่อเสียง
คุณสุภาพร : เอ่อใช่ เคยรู้ว่าในกลุ่มเนี่ยระบบครอบครัว ระบบเกี่ยว และระบบเผด็จการ ทุกอย่าง เค้าจะทำทุกอย่าง

ผู้สัมภาษณ์: ป้าเคยเจอกับตัวรึเปล่าค่ะ ?
คุณสุภาพร : กลุ่มนี้ใช่ไหม ? ไม่เคยเจอ แต่รู้ว่าเค้า.. เพราะว่าติดตาม เกี่ยวกับธุรกิจเอย อะไรเอย และก็เราเห็น พอไปปาเกร็ด บ้านเค้าอยู่ทางปากเกร็ด
บ้านของท่านถนอม แล้วญาติเค้า พออ้อมปากเกร็ดแล้วก็จะเห็น ก็เราเป็นเด็กต่างจังหวัดอ่ะนะ พอเห็นสภาพของ... เราก็เลยรู้ว่ามันมีการไม่ซื่อ

คุณสุภาพร: หลังจากตอนนั้นที่เขาเคลื่อนย้ายจากสนามฟุตบอลไปอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย เขาไปตอนกลางวัน จะบ่ายหลังเที่ยงเพราะเขาให้เวลา
เขาก็ยื่นคำขาดว่า จะไปต่อ เเต่ถ้าพักกลางวันป้าจะเเต่งตัวนักศึกษาไป เขาก็ประกาศหาคนที่อยากไปร่วมถือพระบรมฉายาลักษณ์ ถือธงชาติต่าง
ใจเรารู้สึกว่าเต็มร้อยเเล้ว จะไป เเต่มีเพื่อนเขาบอกว่าอย่าไปเลยนะให้นึกถึงพ่อถึงเเม่ เพราะเราก็ไม่รู้ว่า ถ้าเราไปอยู่จุดนั้น มันเป็นเป้า มันจะชัด ไปอยู่เเนวหน้า
เพื่อนเขาขอไว้ว่าอย่าไป เเต่จริงๆเเล้วด้วยความที่เราไปฟัง ก็เกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามไม่กลัวอะไรเเล้ว เเต่เพื่อนช่วยเอาไว้ ก็ไม่ไป ก็บอกว่าเราก็อยู่ข้างหลัง
ก็เดินไป ช่วงนั้นร้อนมากเลยถึงเวลา เขาให้นั่งเราก็นั่ง นั่งกับพื้นถนนนั่นเเหละร้อนยังไงก็มีความอดทนมากเลย ไม่มีใครเหนื่อย เห็นสภาพเเล้ว
อีกอย่างหนึ่งขอชมเชยนักเรียนช่างกล จริงๆเเล้วไปเรียนสมัยป้าทุกคนจะกลัวพวกช่างกลฟั่นเฟือง จะกลัวพวกนี้ เพราะเที่ยวลวนลาม เเต่ในการเดินขบวนไปประท้วง
พวกนี้จะเป็นการ์ดอยู่สองข้าง พวกเราอยู่วงใน ไม่มีเลย เขาก็อาสาสมัคร เขาก็มีกลุ่มเขาเรียก ก็จะเเยกเป็นกลุ่ม หลังจากนั้นก็เดิน ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น พี่เขาก็เสนอไป
กลุ่มนักศึกษา เเต่ทางรัฐบาลก็ไม่ย่อมเปลี่ยนเเปลง ก็ไปต่อ จุดต่อไปก็ถึงลานพระบรมรูปทรงม้าก็เดินทางต่อไป มันก็จะค่ำเเล้ว กลับมาอาบน้ำกันก่อน
พอกลับมาอาบน้ำถ้าไปกลางคืนป้าก็กลับมาเเต่งชุดเนี่ย  ก็กลับมาเปลี่ยนอาบน้ำปกติ ก็พวกเด็กหอพักไปกันเยอะ ในตอนนั้นเนี่ยนะ คืนวันที่ 13 รถอะไรก็ยังวิ่งปกติ
ป้าก็ไม่มีอะไร เตรียมพวกเสื่อพับได้ ย่ามไว้ใส่ชองกินเล็กๆน้อย เเต่ที่ไปกินที่นู้น เขาดูเเลหมดเลย ไม่อด เเต่เราก็เตรียมของเราไปบ้างเล็กๆน้อยๆ สวมกางเกง
ใส่เสื้อตามสบาย แบบประชาชน ตอนนั้นไปถึงก็ทุ่มนึง เเต่เขาเคลื่อนไปเเล้ว เราก็ตามเขาไป  เพราะขบวนยังไม่หมด เราก็ต่อไป เข้ารวมขบวนไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า
เขาก็ตั่งรถ ข้างๆพระรูป เสียงดัง มืดก็มืด ก็มีนักเรียนช่างกลช่วยดูแล กลัวจะเกิดอันตรายทหารเตรียมมาเเล้ว เขารู้ว่าจะมาจากพวกป่าหวาย เขาก็เเจ้งพวกเราตลอด
เเล้วก็อยู่ตรงนั้น พวกเขาบอกว่า เนี่ย พวกที่เป็นเเกนนำถูกจับไปเเล้ว คนนู่น นี้ถูกจับไปเเล้ว มันยิ่งทำให้พวกที่ฟังเกิดอารมณ์ร่วมไปให้ถึง เเล้วก็ให้กลุ่มรัฐบาลต้องลาออก
ก็ไม่มีอะไรอีก ต่อไปก็ล้อมวังสวนจิต มันมีคูน้ำ  เราก็อยู่เเนวถนน เพราะ มันมีคูน้ำ ดึกเเล้วก็เสียงไฮปาร์ค ไม่มีเเล้ว เพราะมันไม่ได้ร่วมกลุ่มอย่างนี้เเล้ว เเต่เเยกออกไป
มันล้อม เขาก็ส่งอาหาร ผลไม้ให้กิน ประชาชนเป็นผู้สนับสนุน ให้มาตั้งเเต่อยู่ธรรมศาสตร์ พวกเเม่ค้าขายทางท่าเตียน ผลไม้อาหาร คื อประชาชนให้การสนับสนุน
อยู่เบื้องหลัง สนับสนุน เเต่นักเรียน นักศึกษาเป็นพลัง ก็จนตี 5 เขาก็มีสัณญาณ ร้องเพลงสรรเสิรญ สดุดีมหาราชา เขาบอกว่าตอนนี้ให้นักศึกษาสลายตัวกลับกันได้
เขาประกาศ พวกป้าก็ไม่รูว่าใครประกาศเเต่บอกว่าสลายตัวได้ เพราะมันไม่มีเวที เพียงเเต่บอกต่อๆว่าสลายตัวได้ ก็ไม่รู้ พวกป้าก็เดินกลับมาทางราชดำเนิน
เพราะต้องมาขึ้นรถที่หน้าโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย ปัจจุบันก็ของรัชกาลที่ 3 ที่ข้างภูเขาทอง วัดราชนัดดา วัดเทพธิดา ตอนนั้นเป็นโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย 
ป้าก็มาขึ้นรถ 56 ตอนนั้น มันจะวนซ้ายวนขวาระหว่างสะพานพุทธกับสะพานกรุงธนป้าก็ขึ้นไป ผ่านสะพานพุทธ ไปลงสี่เเยกบ้านเเขก
เพื่อเดินกลับไปวงเวียนใหญ่กลับไปหอพัก พอเขาสั่งสลายก็กลับเลย เพื่อนๆ 4 - 5 คนก็กลับเลย  ที่อยู่หอเดียว เเต่ก่อนมันไม่มีรถวิ่ง ก็เดินไปขึ้นรถ

ผู้สัมภาษณ์ : รู้สึกอย่างไรช่วงนั้นมันค้างๆ คาๆ  รึว่า
คุณสุภาพร: มันไม่ค้าง ป้าก็ว่ามันสลาย สำเร็จเเล้ว ช่วงนั้นก็กลับมา ไม่ได้อาบน้ำนอน เจ้าของหอพักก็เปิดประตูให้ เพราะว่ามันมืดเเล้ว พอกดกริ่งเขาก็ถามเป็นไง
เราก็บอกว่าเรียบร้อยไม่มีอะไรเกิดขึ้น เราก็นอน สักตื่น เพื่อนก็เคาะที่ข้างฝา ตึ้มๆ เกิดเรื่องใหญ่เเล้ว มีข่าวออกว่าเขายิงนักศึกษา เราก็บอกไม่ ไม่มีอะไร
เราพึ่งกลับมาเมื่อกี้ เขาให้สลายตัว  เขาก็บอกว่าไม่ใช่มันออกข่าว จริงๆ เเล้วนี้ฟังข่าว เขาเผากรมประชาสัมพันธ์ เผากองสลาก บิดเบือนความจริง เรื่องเงินอะไรต่างๆ
ไม่บริสุทธิ์ เผาปกต. เราก็ตื่น ล้างหน้ามานั่งชุมนุมหน้าหอพัก ประมาณก่อนเที่ยง ก็ออกมานั่ง ข่าวออกมามีหลักฐานจริงๆเลย คุณจิระ บุญมาก เขาเผาศพจิระ บุญมาก
มาที่วงเวียนใหญ่ไปดูว่าจริงไม่จริง เพราะมันไม่ไกลมาก เขาก็เเห่มา คลุมธงชาติรอบพระบรมรูปพระเจ้าตากสิน เเห่มาพออกไปดูก็เห็นรถ พวกนักศึกษาช่างกลยึดรถเมล์
ยึดหมดเลย มันเกิดการจลาจลเเล้ว เพราะตอนนี้เรารู้ว่าเกิดเหตุการณ์นี้เเล้ว ส่วนป้า พ่อให้ทองมา เราก็ไม่ได้ใส่เก็ยไว้ ก็ไปเรียกร้านค่า ร้านทอง เอาบัตรนักศึกษาให้ดูว่า
เราก็ต้องมีเงินไปไว้กับตัวเอามาจำนำ ซื้อของมาตุ๋นไว้ที่หอพัก อาศัยจากเงินที่มาจำนำทอง บอกเพื่อนๆ ที่หอพักว่าไม่เป็นไร เรามีอยู่บ้าง พอมีกิน
เจ้าของหอพักมีฟาร์มเลี้ยงไก่ที่นครปฐม เขาสั่งข้าวสารมาไว้ ถ้ามีอะไร ไม่มีอาหาร เขาก็จะสั่งจากนู่นมาเลี้ยง พอช่วงบ่าย ก็เตรียมตัวของเรา
การอยู่อาศัยต้องเตรียมพร้อม เขาก็ประกาศรับบริจาคเลือดที่ศิริราช ป้าก็ไปบริจาคเลือกใหเ ไม่ได้ดูทีวี วิทยุ ก็ไปมันไม่ไกล เเล้วกลับมา คนไปบริจาคเยอะ
คนบาดเจ็บก็เยอะ พวกป้าก็ไปดู ที่เขาว่าเผาที่ราชดำเนิน ไม่มีรถ พวกป้าก็เดินจากวงเวียนใหญ่หลังจากกลับจากศิริราช เดินข้ามสะพานพุทธ ไม่เดินทางถนนใหญ่
เดินตามซอยที่จะไปถึงราชดำเนิน ผ่านโรงเรียน มหันพารามซึ่งเป็นโรงเรียน สำหรับให้ราษฎร์เรียนแห่งแรก เรียนในหนังสือก็ไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงใน เเต่ 14 ตุลา
ทำให้รู้มันเป็นความรู้เเล้วประสบการณ์ตรง เดินไป ไปดู รถดับเพลิงก็สู้ไม่ไหว เห็นสภาพที่ว่า ไอ้พวกที่ยังไม่มาเก็บก็ยังมี นอนอยู่ ตามพื้น

ผู้สัมภาษณ์ : รู้สึกอย่างไร
คุณสุภาพร: ร้อง ร้องตั้งเเต่คุณจิระเเล้ว ว่าทำไมทำอย่างงี้ สติเเตก ทุกคนร้อง พวกจากหอพัก ประชาชนที่มายืนเห็นศพคุณจิระ ก็ทำประชาชน เราเห็นครั้งเเรกศพเเรก เเต่พอไปเห็นตรงนู่นอีก ก็เดินกลับไปอิก ก็นั่ง เขาบอกว่าพาศพมาที่ซอย ที่ป้าอยู่ มีวัดน้อยหิรัญกูลจี มีเผาศพ ส่งกันมาพวกญาติๆที่อยู่ใกล้ๆ ส่วนใหญ่เป็นพวกช่างกลจะโดนมาก เด็กมัธยมก็โดนเขาไปร่ามไม่รู้เรื่อง อันนั้นคือตอนกลางวัน มารู้ที่หลังว่าพวกนั้น คืนที่ป้าเดินกลับมาทางนี้ พวกที่ไปทางสวนพุดตาลถูกตีตกน้ำ กลุ่ม 1 ที่ให้สลายตัว ก็เดินกลับมา
วันที่ป้าเดินกลับมา ก็เห็นตำรวจที่สถานนีตำรวจก็ยืนมองพวกเราเขาก็ยิ้มหัวเราอะไรกันก็ไม่รู้เเต่เราโชคดีที่ไม่เเต่งชุดนักศึกษาไปดูมีเเต่พวกชุดนักศึกษาที่ถูกตี กลับไปดูในรูปน้ะ ตกน้ำบ้างอะไรบ้าง กลุ่มนู่น เเต่เราเเต่งตัวเป็นประชาชน เขาสั่งการหมดให้สลาย โดยการตี ยิง สั่งให้ทำลาย ไม่ใช่เเก๊สน้ำตา ป้าที่ไปชุมนุมไม่เคยเจอเเก๊สน้ำตา เขาก็เเนะนำไว้นะ เเจกถุง เเต่เราไม่เจอเลย เเต่มาเจอในภาพที่ว่าถูกนั้นเเหละ
ที่หอพักก็จะมีพี่ๆที่ทำงานใกล้ๆกับอาคารการบินไทย ตรงราชดำเนิน ผ่านฟ้า เขาอยู่ด้าน ขึ้นไปด้านบน ปืนนี้จ่อยิงลงมาจากเฮลิคอปเตอร์เลย จะเห็นชัดพี่ก็มาเล่าป้าก็ไม่เห็นด้วยตนเองเเต่พี่ๆที่เขาอยู่หอพักโดยกันเขามาบอกว่า ทำลงมาชัดๆ ป้าบอกว่าถึงเเม้จะมีส่วน ช่วยเหลือเเผ่นดิน ป้าก็มีความรู้สึกรับไม่ได้ ไม่ให้อภัย ไม่อโหสิ เเม้ไม่ใช่ญาติเราโดนนะ เเต่พี่น้องชาวไทย เพื่อนร่วม ถูกเขาทำลายไม่ให้อภัย ถ้าไปเจอกลับญาติพี่น้องของวีระชนตอนนี้เขายังมีความรู้สึกที่ว่า เจ็บช่ำน้ำใจ ป้ายังมีตวามรู้สึกว่า ป้าจะไม่เห็นครอบครัว
เห็นเขาว่าได้เป็นบุคคลตัวอย่าง เเต่ก็เป็นเชื้อสายของกลุ่มนั้น เเต่นี้ด้วยบารมีของพระเจ้าอยู่หัว ถ้าพระองค์ไม่เรียกเขาเข้าไป คนยังตายอีกมาก เเต่วันนั้น รู้สึกจะทุ่มนึงที่ออกข่าวที่ พระเจ้าอยู่หัวเรัยกสั่งไปให้ออกนอกประเทศ ถ่ายทอดออกมา พระพักตร์ของพระองค์ นึกถึงว่าคนเราน่ะเกิดการสูญเสียที่เป็นญาติพี่น้องเเต่พระองค์หมายถึงทุกคนเป็นลูกของพระองค์ที่มาเสียชีวิต ไม่ใช่ว่าเพียงคนเดียวเราเสียใจ เเต่พระองค์ คนไทยด้วยกันมาฆ่ากัน เเละคนที่ถูกฆ่าส่วนมาก คือ นักศึกษา ซึ่งถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญของประเทศ พระพักตร์ของพระองค์เห็นเเล้วร้องเลย ไม่ใช่น้ำตาไหลธรรมดา ทุกคนที่ดูที่บ้านเจ้าของหอพัก เขาเปิดให้ดูร้องเลย เพราะสงสารพระองค์เพราะพระองค์ต้องมาบอบช้ำ นี้คือพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ป้าก็อยู่มาตั้งเเต่เหตุการณ์นั้นที่พระองค์เปรียบได้กับองค์พระโพธิสัตว์ที่ได้มาโปรดประชาชนชาวไทยจนถึงปัจจุบันล่วงมากี่ปี ตั้งเเต่ป้าอายุเท่านั้น
จนถึงตอนนี้ป้าอายุ 56 ปีเเล้ว ที่ได้เห็นว่าพระองค์ได้มาช่วยผ่อนคลายทุกอย่างในส่วนของความเดือดร้อน เราได้พระองค์มาช่วยประเทศไทยที่อยู่ได้เพราะพระองค์
ที่ป้าอยากจะพูดให้เยาวชนรุ่นหลัง ทุกอย่าง เราจะทำอะไร คิดอะไร ตามใจนั้น เราต้องรอบคอบ เหมือนที่ป้าไป เพราะป้ามีส่วนฝังใจในเรื่องพวกญี่ปุ่น คอมมิวนิสต์
เขาคือคนไทย ไม่มีความผิดเเต่อาจมีเเรงกดดันจากรัฐบาล นี้คือภาครัฐก็มีส่วนอย่างมาก ทำให้เขาต้องมาออกนอกลู่นอกทางไป ทำให้เขาต้องการที่จะเอาตัวรอด
ถ้าเขาไม่หนีเข้าป่าเขาก็เดิอดร้อน ในส่วนนึงการที่เราอยู่ ไม่มีผู้ปกครองเราก็ตัดสินใจ พวกมากลากไป ในทางทีไม่ดีก็ไม่ใช่เเต่นี้ก็มีส่วนว่านักศึกษาต้องกาจะช่วยบ้านเมือง
เพราะบ้านเมืองถูกคนกลุ่มหนึ่งมาใช้อำนาจความเห็นเเก่ตัว เอาทุกอย่างเพื่อครอบครัว เพื่อส่วนตัว เขาไม่ได้เห็นถึงส่วนรวม เเต่เราก็ไป เรารู้ในส่วนนึง
ข้อมูลนี้ทำให้เราอยากไปช่วยด้วย เรา 1 คนเพื่อน 1 คนเพื่อ เป็นพลัง เเต่พลังนี้อาจเป็นอันตรายต่อเราโดยไม่มีใครมาห้าม เราไป เเต่ถ้าจะไปเราก็ต้องคิดอย่างที่ป้าคิดว่า
ถ้าเราเเต่งกายชุดนักศึกษาไป เพราะ ศัตรูภาครัฐ คือ นักศึกษา ถ้าเราเเต่งกายชุดนักศึกษาไป ไปดูภาพถ่าย พวกที่โดนทำร้ายคือพวกเเต่งชุดนักศึกษา
ดังนั้น ป้าเเละเพื่อนๆที่ไปเราเเต่งตัวเเบบประชาชน ตำรวจยืนดู เขารู้กันเเล้ว ตำรวจอาจจะไม่ทำอะไร เเต่กลุ่มที่ทำคือ ทหาร เขาก็รู้พวกนี้ หน้าตาพวกเรา คือ นักศึกษา
เพราะไม่ได้เเต่งชุด เเต่เขาก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าทำถือว่าทำร้ายประชาชน ภาครัฐมีเรื่องกับประชาชน ที่เป็นนักศึกษา ส่วนป้า เเม่อยู่ทางสตูลยังคิดว่าป้าไม่ไป
เพราะเราอยู่หอพักอยู่กับเพื่อนๆเป็นเด็กบ้านนอก คงไม่กล้า เเต่พอไปอยู่ในจุดนั้น เราได้รับข่าวสาร โน้มน้าวใจเรามีเพื่อนพากันไป เห็นเเล้วว่าการไปเราไม่ได้เสียหาย
เราต้องการจะช่วย นักศึกษาร่วมพลังไป เราก็ไป เเต่ถ้าปัจจุบันรุ่นหลังถ้าจะก็คิดที่จะไปร่วมชุมนุม ร่วมขบวน ร่วมได้เเต่ต้องดูอันตรายหรือไม่ เราเลี่ยงได้ก็เลี่ยง
ไม่เป็นเเนวหน้าเหมือนที่ป้าคิดว่าจะไป เพื่อนช่วยดึง เราอยู่เเนวหลังดีกว่า อยู่เเนวหน้ามันเป็นเป้า ดูจากการประท้วงต่างๆถูกยิงตายหรือว่ามีเหตุการณ์อะไร คือ อยู่เเนว
หน้า เเต่เเนวหลังไม่โดน

ผู้สัมภาษณ์ : หลัง 14 ตุลาป้าได้ร่วมกิจกรรมของนักศึกษาอยู่รึเปล่า
คุณสุภาพร: หลังจากที่ป้าจบการศึกษาระดับประกาศนีบัตรการศึกษาชั้นสูงเเล้ว ปี 2516 พอ 2517 ป้าก็กลับมาเรียนที่สงขลาวิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา ป้าก็ยังเเปลกน้ะ ก็ยังมีช่วงเปลี่ยน ตอนเรียนที่กรุงเทพวิทยาลัยครูป้าก็ได้มาเรียนฝึกหัดครู สถาปานาเป็นวิทยาลัยครู พอกลับมาเรียนสงขลา ก็สถาปนาอีก เดือน มิถุนา มหาลัยเปิดเรียน  พอเดือนกรกฎาคม ก็สถาปนาเป็นมหาวิทยามหาลัยศรีนครินทร์วิโรฒสงขลา ได้เรียนสองสถาบันอีก ป้าเรียนที่นี้ 2 ปีระดับปริญญาตรี เพราะมีรายการช่วงนั้นนักศึกษา ลำบากมาก เพราะอยู่สงขลาก็มีการชุมนุมในภาคใต้ที่พวกนักศึกษา เหตุการณ์ ตอนนั้น ที่ว่ามีหนังสือ ถ้าเขียนเเล้วจะจับ หลัง 6 ตุลาเเล้ว ประมาณปี 18 รุ่นจิตร ภูมิศักดิ์ น่าจะหลัง 6 ตุลา เเต่ป้าก็พบกลับเรื่องชุมนุมอีก

ผู้สัมภาษณ์: ในเหตุการณ์ 14 ตุลา ป้าคิดว่าใครเป็นเบื้องหลังทำลายนักศึกษา
คุณสุภาพร: ทหาร ความคิดตอนนั้น คือ ทหาร คือ ตอนนั้นเราก็ไม่ได้ศึกษาต่อไม่ได้หาข้อมูลต่อ เราก็รู้เพียงว่ากลุ่มนี้ ครอบครัวนี้ เผด็จการนี้ ถนอมกับประภาส

ผู้สัมภาษณ์: ลักษณะรูปแขวนบนตั้งเเต่มีการชุมนุมกัน การเดินขบวนป้าว่าวุ่นวายไม๊
คุณสุภาพร: ไม่วุ่นวาย จัดการอย่างดิ คือ ก็กลุ่มนี้เเหละ นิสิตนักศึกษาที่เป็นเเกนนำ เขามีการจัดการที่ดีมาก ทุกอย่างเป็นรูปขบวน ไม่มีอะไรที่มองเเล้ววุ่นวาย จัดเเล้วเวลานี้เคลื่อนขวบนเป็นตามเวลา พวกช่างกลจะตั้งเเถวนักศึกษาก็จะอยู่ช่วงกลาง เขาบอกว่าจัดเเถว 10 ก็เรียบร้อยหมด ไปน้ะไป ตรงที่บอกให้สลายตัว ทุกอย่างเรียบร้อย ยอมเเล้วให้นักศึกษา ก็ไม่รู้ว่าใครสั่ง ก็จะไม่เกิดเหตุ

ผู้สัมภาษณ์: สภาพบ้านเมืองก่อน 14 ตุลากับ หลัง ป้าติ๋มสังเกตว่าเปลี่ยนเปลงอย่างไรบ้าง หลายๆด้าน
คุณสุภาพร: เศรษฐกิจ มันก็เป็นมาอย่างนี้ เเต่ตอนนั้นป้าได้รับได้กิน พ่อส่งให้ เราก็ไม่รู้เหมือนตอนนี้ เพราะเรารับเงินเดือนเอง จากข้าราชการ รู้การใช่จ่าย พ่อเเม่น่ะ เเต่หมายถึงว่า ต่างจังหวัดไม่ได้เดือดร้อนเลย ในกรุงเทพเท่านั้น ความวุ่นวายทั้งหมดอยู่ในกรุงเทพไปก็เฉพาะนักศึกษาของวิทยาลัยนต่างจังหวัดที่ไป คนอื่นไม่ได้เดือดร้อน เพราะฉนั้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ต่างจังหวัดทำมาหากินปกติในส่วนกลางในกรุงเทพ

ผู้สัมภาษณ์ : ด้านการเมือง เช่น เสรีภาพของเเบ่งบานของนักศึกษา ช่วงหลัง 14 ตุลา ป้าได้มีส่วนร่วมอะไรบ้าง
คุณสุภาพร: ป้าไม่ได้ไป ป้าก็จะจบเเล้ว อยู่ปี 4 อีกภาคเรียนเดียวก็กลับมาอยู่ทางนี้ ก็ไม่รู้ว่ามีอะไรอีกบ้าง มารู้อีกเกิดที่ว่าหนังสือต้องห้าม ใครมีหนังสือเเล้ว ตำรวจจะเรียกตามหอพัก ทุกสถาบัน

ผู้สัมภาษณ์: ป้ารู้ไม๊ค่ะว่ามันเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ได้อย่างไร ติดตามข่าวสารบ้างเมืองบ้างไม๊ เอาก่อนจะเกิด 6 ตุลา ตอนนั้นที่มีข่าวจอมพลถนอมบวช ตอนนั้นป้าทราบข่าวไม๊ ปี 19
คุณสุภาพร:ปี 19 ป้าอยู่สงลาเเล้ว ไม่รู้เเล้ว มารู้อีกทีตอนที่ตำรวจมาเคาะตามหอเเล้ว ไปหอพัก เเต่หอพักผู้หญิงไม่ไป เพราะป้ามาอยู่ในหอพักมหาวิทยาลัย เเต่หอพักผู้ชายโดนหมดเลย

ผู้สัมภาษณ์: เเล้ว 6 ตุลา ที่ป้าได้มีโอกาสไปชุมนุมอีกครั้ง
คุณสุภาพร: ไปที่ยะลา ที่วิทยาลัยครูยะลา วันที่ 6 ไปเพื่อเตรียมตัวเข้ากรุงเทพ คือจากที่ป้าพบเหตุการณ์ ว่าสุดท้ายทุกคนที่เป็นเเกนนำไปอยู่ต่างประเทศกันหมด เเล้วได้ดี เข้าไปเรียนต่างประเทศ จบมาเเต่ชีวตเขาไปอยู่ในป่าเเต่ก็ไม่รู้ว่าลำบากเเค่ไหน เเต่ก็มีเพื่อนป้าที่เรียนมัธยมมาด้วยกันเขาก็เข้าป่าไป หลัง 6 ตุลา เรียน มหาลัยเเล้ว มีรุ่นน้องที่เข้าป่าเป็นพยาบาลที่นิคม สตูล ที่ยังเรียนไม่จบ ก็เจอกัน ชาวบ้านก็มาบอกว่าเจอ เเต่พ่อเเม่ตายก็ไม่รับรู้ไม่ได้กลับมา คือใกล้ตัวมากเเล้ว เเต่ก่อนนี้ที่เราอยู่กรุงเทพ ต่างคนต่างมาหลายเเห่งไม่ได้ใกล้ชิด เเต่พอกลับมาสงขลา รับรู้คนใกล้ชิดเรา รุ่นน้องที่อยู่สตูลหนีเข้าป่าไป สถาพครอบครัว ไม่ได้กลับมาหาครอบครัว มันก็ไม่ได้ให้ชีวิตที่ดีขึ้น เเต่พวกนี้ฝีกใฝ่คอมมิวนิสต์ มันมีตั้งเเต่ป้าอยู่สตูลเเล้ว อยู่ในป่า เเต่ง่าตอนที่มาหานักศึกษามาติดต่อ  เเล้วทำไมพวกนี้หลงไปหาเขา ทางราชการจะเอาผิดของคนกลุ่มหนี ทำให้เขาหนีเข้าป่า เราก็ไม่รู้เพราะเขาไม่เคยมาชวนเรา ก็ไม่รู้ว่าใครมาพูด เชิญชวน เเกนนำ ทำให้เขากลัวทางราชการจนต้องหนีเข้าป่า ตอนนี้เราไม่ได้สัมผัส เราทำอะไร เหมือนกับว่าเราเป็นผู้ใหญ่ขึ้น เราก็เรียนอยู่ในระดับนู่น เเต่พอมาเรียนระดับสูงขึ้นปริญญาตรีที่จะจบการศึกษา ทำให้ความคิดของเรารอบคอบขึ้น เพราะการที่เราเเต่ยะลา เราก็ไปเป็นตัวเเทน กลุ่มที่ไปเป็นตัวเเทนที่ยะลา
คือ กลุ่มที่อยู่หอพักในมหาลัย

ผู้สัมภาษณ์ : ป้าติ๋มต้องไป รึเปล่า
คุณสุภาพร: ไม่ได้ต้องไป เเต่เพราะ เราอยู่เเล้วเขาประชุม เด็กหอพักไปนั่งฟัง ไปก็ไป เเต่ไปเราก็คิดอะไรหลายๆอย่าง ถ้าเกิดอะไรขึ้นมาตอนนี้เราเป็นพี่คนโต ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เราก็จะจบเเล้ว พ่อเเม่จะเสียใจเเค่ไหน จาก 14 ตุลา - 6 นั้นน้ะ ก็ทำให้ได้อุทาหรณ์ เราคิดหลายๆอย่าง เราไม่ควรไปต่อ ควรไปเเค่ยะลา พอให้รู้ว่าเราเป็นตัวเเทนของมศว.สงขลา เเต่ว่าใครจะไปต่อกรุงเทพเเล้วเเต่เขา เเต่เราไม่ไป

ผู้สัมภาษณ์ : เเล้วพอเหตุการณ์ 6 คุลาเกิด ป้าได้รับรู้ไหมว่ามันรุนเเรงขนาดไหน 6 ตุลา 2519
คุณสุภาพร: หมายถึงว่าไม่ฝั่งใจเหมือนที่อยู่ในกรุงเทพ อาจจะลืมบาง มันจะมีอะไรเกิดขึ้นมากน้อยเเค่ไหนเเล้ว เราก็ถือว่าเป็นประชาชนคนหนึ่ง

ผู้สัมภาษณ์ : ถ้าดูบรรยากาศที่ป้าบอกว่า หนังสือต้องห้าม บรรยากาศที่เปลี่ยนเเปลงไป หลัง 14 ตุลาเเละ 6 ตุลา มันเคร่งเครียดขึ้น ชีวิตลำบากขึ้นอะไรไม๊ หรือเท่าเดิม
คุณสุภาพร: ถ้าเราไม่มีเราก็ไม่เครียด

ผู้สัมภาษณ์ : มีเรื่องอื่นๆ ไม๊ค่ะ เเบบกดดัน
คุณสุภาพร: ป้าไม่เจอเลย ป้าก็จะไม่ คือปล่อยวางเเล้วไม่เกี่ยวข้องเเล้ว รับฟังอย่างเดียว

ผู้สัมภาษณ์ : เเต่ว่ามีคนรู้จักที่ต้องเข้าป่า
คุณสุภาพร:มี เเล้วก็ไม่ได้กลับมา ไม่ได้ข่าว เเต่พอไปเห็นว่า เพื่อนเรา รุ่นน้องเราเข้าไปเเล้วไม่ได้กลับมา เเต่กลุ่มเสกสรร จิระนัน ธีรายุทธ
พวกนี้เข้าไปเเต่กลับมาได้ดี เราก็คิดว่า ตอนนั้นกลุ่มนี้เข้าทำอะไร ตั้งคำถามอยู่ในใจ เหมือนตอนนี้ ก็ว่าคุณธีรุยุทธมันเก่งนี้ เเต่ป้ามีความรู้สึกว่ามันไม่ใช่
เขาเก่งจริง เเต่ตอนนั้นเข้าทำอะไร วันทั่บอกสลายตัว เขาไปอยู่ที่ไหน ทำไม๊คนอื่นต้องไปตายจำนวนมาก คนพวกนี้เป็นเเกนนำเข้าไปอยู่ไหน ดูเสื้อเเดง เสื้อเหลือง
ทำไมคนเราต้องไปตามไปฟัง อินจนไม่คิดชีวิตของตน พากันไป บางทีรุ่นป้าเเบบเกษียน เออรี่เเล้ว ทำไมต้องพาตัวเองไปจุดนั่น นที่ขึ้นบนเวที จะได้ดี
เเต่เราเอาชีวิตเราไปเสี่ยง เห็นเเกนนำตอนนั้นไปได้ดีหมด ไปเรียนต่างประเทศ เเต่เขาเข้าไปอยู่ป่าน้ะเขาไปหลังจากเกิดเหตุการณ์ ถึงเเม้ว่านายกหลี้ภัยไปต่างประเทศ
พวกนี้ก็เหมือนกัน ไปอยู่ป่า ไม่กล้าอยู่ในประเทศไทย งั้นทำไมเขาไม่กล้าอยู่ ถ้าพูดเเล้วเขาก็ได้ เเต่มันก็ไม่พาล เพราะนักศึกษาไม่ได้ชนะเลย
เเสดงว่าการสลายตัวมีมือที่ 3 ให้สลายตัว เราก็หลงว่าไม่มีอะไรเเล้ว

ผู้สัมภาษณ์ : มาถึงทุกวันนี้ป้าติ๋มได้มองย้อนกลับไปในเหตุการณ์วันนั้น มีการรับรู้อะไรหรือคิดอะไรได้มากกว่าตอนนั้น คิดได้เเตกต่างกว่า เช่น อาจจะเห็นว่าคนที่เป็นเบื้องหลังเป็นคนอื่น
คุณสุภาพร:ป้าก็คิดว่าคนที่ยืนอยู่ข้างหน้า อาจจะว่าคนที่จัดให้ อาจจะเป็นคนที่มีอำนาจมากกว่า เพราะนักศึกษาไม่สามารถทำได้ หรือขั้นที่ว่ารวมพลังคน นักศึกษาเป็นเท่าไรเเสดงว่าต้องมีคนอยู่เบื้องหลังในการนี้ เเต่เราก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร เพราะเหมือนกันกลุ่มที่เป็นลักษณะเเกนนำทั้งหมดเปิดดูประวัติหลังจากนั้น เขาเข้าไปอยู่ในป่าก็จริง ในลักษณะที่ว่าไม่ได้ยากลำบาก เหมือนกับกลุ่มที่ว่าต้องไปเสียชีวีต เหมือนกับเพื่อนๆเรา รุ่นน้องเราที่ไป เขาคงไม่ได้อยู่ลำบาก ได้ไปเรียนจบปริญญาโท เเสดงว่าต้องมีใครอยู่เบื้องหลัง ใครเป็นผู้ให้เขา พวกปัจจุบ ใครส่งเสริม สนับสนุน เราก็มานั่งคิดว่า เรามานั่งกินอาหาร ใครมาเลี้ยง ผลไม้เขาบอกว่ามีประชาชนช่วยเหลือ ประชาชนช่วยเหลือเเค่นั้น เเต่เงินหล้ะ ก็ต้องมีเงินด้วย เเล้วเงินนี้ พวกที่เเกนนำ พวกศูนย์เขาต้องได้รับเต็มๆ ที่พูดไม่ได้คิดว่าเขาเป็นคนรับเต็มๆ เเต่ก็ต้องคิดให้มากว่า
คนที่สนับสนุนการเงินให้ศูนย์ต้องระดับเศรษฐี มีเงินพอให้มาเเล้วพวกนี้เรื่องที่จะมาดูเเลใช้จ่ายในเรื่องอาหารการกินไม่ต้องจ่ายไม่ต้องซื้อ จุดนี้จะได้ใครถ้าไม่ใช่กลุ่มเเกนนำ ใครที่เป็นกลุ่มเเกนนำตอนนี้ที่อยู่ได้ได้รับ

ผู้สัมภาษณ์ : มาถึงการเมืองไทยปัจจุบัน เพราะว่ามีคนที่เรียกได้ว่าคนตุลาที่เป็นเเกนนำช่วงนั้นมาเกี่ยวข้องทั้ง 2 ฝ่าย หมายถึงว่าเหลืองเเกง ป้าเห็นว่าการเมืองไทยมันเป็นยังไง มันวุ่นวายมันเกิดจากอะไร
คุณสุภาพร: เกิดขึ้นจากความไม่พอดี ทุกคนไม่พอดี ถ้าพอดี คงไม่มีความต้องการในอำนาจ ก็ต้องเเสวงหาจากผู้อื่น ตัวเองก็ต้องหาวิธีการ ฝ่ายเหลือก็ต้องการให้ตนเองเข้ามาสู่จุดๆหรึ่งของการเมือง เข้ามามีอำนาจ ป้าคิดว่าการเมืองคืออำนาจ ถ้ามีอำนาจอยู่ในมือสามารถทำอะไรก็ได้ เขาก็หาวิธีการโดยรวมตัวใช้คำพูด เขาก็ได้มา กลายเป็นว่าตั้งพรรคขึ้นมา ถ้าไม่ตั้งพรรค ป้าก็ศรัทธา ส่วนฝ่ายเเดง เราก็รู้ว่าเต็มๆเลย ทุกอย่าง พวกนี้มีหมดเเล้ว อาศัยคนๆเดียว เพื่อช่วยเหลือ คนที่สนับสนุนฝ่ายเหลืองเพื่ออะไรเพื่อตัวเองเหมือนกัน ส่วนพวกที่นั่งดูก็ด้วยศรัทธา เเต่คนที่อยู่ระดับผู้นำต้องการอำนาจ ก็อาศัยเเรงศรัทธา

ผู้สัมภาษณ์ :  ใกล้จะจบเเล้วน่ะค่ะ คำถามสุดท้าย ถ้าจะให้ป้าติ๋มมองเหตุการณ์ 14 ตุลา เเล้วสรุปสั้นๆว่ามันคืออะไรกันเเน่
คุณสุภาพร: ผู้ที่ต้องการอำนาจ อาศัยกำลังนักศึกษาเพราะนักศึกษายังมีความคิดไม่ละเอียดอ่อนไม่รอบคอบ สามารถที่จะจูงใจได้ ทำอะไรให้ได้โดยไปได้คิดไตรตรองผลเสียย่อมเกิดแก่ตยเองมากกว่าเกิดผลดี



จบการสัมภาษณ์