Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister France

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Hollister

Woolrich Outlet

Woolrich

hogan

hogan

hogan

Hogan Sito Ufficiale Hogan Scarpe Hogan Outlet Hogan Scarpe Hogan Hogan Scarpe Hogan Interactive Hogan Donna Scarpe 2013 Hogan Scarpe Outlet Hogan Vendita Hogan Hogan Scarpe 2013 Hogan Scarpe Hogan Scarpe Hogan Hogan Outlet Hogan Scarpe Outlet Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Hogan Outlet Scarpe Hogan Hogan Sito Ufficiale Scarpe Hogan2013 Hogan Hogan Scarpe Donna Hogan Scarpe Donna Hogan Interactive Hogan 2013 Hogan Online Hogan Italia Hogan Scarpe
woolrich ASK Hollister Hollister abercrombie abercrombie abercrombie abercrombie woolrich parka Hollister Holliter France Hollister Hollister France Magasin Vetement Hollister Hollister Soldes Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Vente Hollister En ligne Hollister 2013 Hollister France Hollister France 2013 Hollister Hollister Hollister Magasin Hollister Vente Hollister Homme Hollister Pas Cher Hollister T Shirts Hollister Paris Boutique Hollister Vetements Boutique Hollister Pas Cher Pas Cher Hollister Hollister Hommes Hollister France Vente Hollister Hollister sortie 2013 Pas Cher Hollister Hollister Pas Cher

บทสัมภาษณ์ - ศรีสวาท อารยะจิตร์
วันที่ 28 พฤษภาคม 2552 เวลา 10.42 น
สถานที่ มูลนิธิ 14 ตุลาฯ
ผู้สัมภาษณ์ :
ชัชชล อัจนากิตติ
                  เทวฤทธิ์ มณีฉาย

ตามโครงการของมูลนิธิ 14 ตุลา ในการรวบรวมปากคำของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อไป


ผู้สัมภาษณ์: ขออนุญาตย้อนกลับไปเรื่องครอบครัวนะครับ
คุณศรีสวาท: อ๋อ ครอบครัวก็เป็นครอบครัวปานกลาง ตัวเองก็จบมัธยมปลาย สมัยก่อนเรียกว่า ม.8 นะคะ มัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนทวีธาภิเศก เป็นโรงเรียนนักเรียนชาย ซึ่งตอนนั้นพวกนักเรียนสอบเข้ามาก รัฐบาลไม่สามารถจะหาโรงเรียนให้เรียนได้ เรามีความรู้สึกว่ารัฐบาลจะส่งนักเรียนหญิง มาเรียนที่เตรียมอรชร ก็คือใกล้ๆ ที่จุฬาลงกรณ์ ในความรู้สึกตอนนั้นเราเป็นเด็ก มีความรู้สึกว่าระยะทางไกล เราไม่มาหรอกยอมเรียนใกล้ๆ บ้านซึ่งอยู่ฝั่งธนฯ ค่ะ เราก็เรียนที่โรงเรียนทวีธาภิเศกนะคะ แล้วจากนั้นแล้ว ไม่ช้าไม่นาน เราก็เข้าทำงาน เข้าทำงานที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยค่ะ เป็นพนักงานประชาสัมพันธ์ ต่อมา ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกาศรับสมัครพวกนักหนังสือพิมพ์หรือ พวกที่ทำการทางด้านสื่อสารมวลชนเข้ามาเยือน โดยกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ท่านเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสมัยนั้น ท่านมองเห็นว่าพวกนักหนังสือพิมพ์เนี่ย เป็นพวกที่ควรจะได้รับการสนับสนุนทางด้านการศึกษา ท่านก็เลยให้พวกนักหนังสือพิมพ์เนี่ยเข้ามาเรียน เป้าหมายหลักของท่านคือพวกหนังสือพิมพ์ เพราะท่านวรรณฯหรือเสด็จในกรมท่านจะถนัดทางด้านทางนี้ รวมทั้งพวกที่ทำงานทางด้านวิทยุโทรทัศน์ด้วยนะคะ จากนั้นแล้ว ก็เปิดกว้างให้นักประชาสัมพันธ์เข้ามาเรียนได้ใน สมัยก่อนเป็น แผนกวิชาการหนังสือพิมพ์ ซึ่งขึ้นกับอยู่คณะสังคมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีนี้เราก็สอบเข้ามาได้ คือจริงๆ แล้ว เป้าหมายตรงที่สุดก็คือ ท่านต้องการให้พวกนักหนังสือพิมพ์  ได้มีความรู้พื้นฐานของสังคมโดยทั่วไปนั่นเอง

ผู้สัมภาษณ์: ตอนนั้นคือสอบเข้าใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: สอบเข้าค่ะ สอบเข้า

ผู้สัมภาษณ์: เดี๋ยวนะครับ ขอย้อนกลับไปนิดนึง ไม่ทราบว่าคุณป้าเกิดปี พ.ศ. อะไร
คุณศรีสวาท: 2482 ค่ะ

ผู้สัมภาษณ์: แล้วครอบครัวนี่มีพี่น้องทั้งหมดกี่คน
คุณศรีสวาท: มีพี่น้องทั้งหมด 5 คนค่ะ

ผู้สัมภาษณ์: แล้วครอบครัวประกอบอาชีพอะไร
คุณศรีสวาท: คุณพ่อ ค้าไม้

ผู้สัมภาษณ์: ก็ถือว่ามีฐานะปานกลางใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ค่ะ

ผู้สัมภาษณ์: คุณป้าจบการศึกษาที่โรงเรียน...
คุณศรีสวาท: ทวีธาภิเศก

ผู้สัมภาษณ์: แล้วก็ไปต่อที่ธรรมศาสตร์
คุณศรีสวาท: ค่ะ ทำงานก่อน

ผู้สัมภาษณ์: เกี่ยวกับหนังสือพิมพ์?
คุณศรีสวาท: ไม่ค่ะ เป็นพนักงานประชาสัมพันธ์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
หลังจากนั้นแล้วเราก็สอบเข้าเรียนที่แผนกวิชาการหนังสือพิมพ์ ซึ่งในขณะนั้นขึ้นอยู่กับคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เราเรียนเป็นรุ่นที่3เป็นรุ่นสุดท้าย รุ่นที่ 1และ2 ก็มีผู้ที่มีชื่อเสียงหลายคนนะคะที่มาเรียน เช่น คุณนเรศ นโรปกรณ์ รู้จักนะคะ ตอนนี้เสียไปแล้ว เช่น คุณนเรศ นโรปกรณ์ คุณไชยวัฒน์ ยนเปี่ยม นี่รุ่น 3  คุณอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะเลย ที่เป็นนักสื่อสารมวลชน


ผู้สัมภาษณ์: คือมีชื่อเสียงก่อนที่จะเข้ามาเรียนแล้ว?
คุณศรีสวาท: ใช่ค่ะ เราเข้าเรียนในปี 2510 คือชีวิตในช่วงนั้น หลักสูตรภาคค่ำมัน 6 ปี เราเรียนปี 1 ถึงปี 3 มันก็เป็นชีวิตที่ happy อ่ะ นะคะ เราก็รู้สึกมันเป็นเรื่องโก้เรื่อง smart อย่างที่เล่าให้ฟังเมื่อกี๊ว่า ถือหนังสือต้องให้เห็นปกนะคะว่า ธรรมศาสตร์ แล้วการเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เราก็มีพื้นความรู้อยู่บ้างว่าผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อย่างเช่น ท่านปรีดี พนมยงค์ อาจารย์ป๋วย อึ้งภากร คุณบุญชู โรจนเสถียร และอีกหลายท่อนก็จบจากสถาบันแห่งนี้ มันทำให้เรามีความรู้สึกภาคภูมิใจนะค่ะ ที่เราได้ยืนตรงนี้ ทีนี้ จากนั้นแล้วเนี่ย ชีวิตเราก็มีแต่ความสนุกสนานร่าเริง คือ ในมหาวิทยาลัย มีงานอยู่ 4 – 5 งานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นะคะ เช่น วันยูงทอง
เป็น วันที่พระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นยูงทองให้เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงพระราชนิพนธ์เพลงยูงทอง พระราชทานงานที่สองก็เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม นะคะ อันนี้ความสำคัญ อันที่มี 3 ก็เป็นวันต้อนรับเพื่อนใหม่ เราไม่เรียกว่าน้องนะ เราเรียกว่า เพื่อน ธรรมศาสตร์ถือว่าทุกคนเสมอภาคกันหมด ไม่มีน้อง ไม่มีพี่ มีแต่เพื่อน (หัวเราะ)

ผู้สัมภาษณ์: คุณป้ายอมรับมั้ยครับ กับการที่มองว่าทุกคนเสมอภาคกันหมด
คุณศรีสวาท: คือ ตอนนั้นน่ะ โอเค อะไรก็ได้ เราไม่มีความรับรู้ทางด้านการเมืองอะไรเท่าไหร่หรอก อีกวันหนึ่งก็คือวันลอยกระทง ที่บริเวณสนามฟุตบอล เป็นเวทีเต้นรำ ที่ใหญ่ที่สุด เราก็มีความสนุกสนานร่าเริง คือ พวกผู้ชายก็กินเหล้าเมายาไปตามประสา ก็อย่างที่เล่าให้ฟังคือแต่ละงานมีเต้นรำกับกินเหล้า กินเหล้าแล้วเต้นรำ เต้นรำกับกินเหล้า กินเหล้ากับเต้นรำ ทั้ง 4 งานจะมีอยู่แค่นี้

ผู้สัมภาษณ์: นี้คือช่วงปี ’1 ถึง ’13 ใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ลักษณะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สมัยนั้น พวกรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์มักจะมีปัญหาต่อกัน รัฐศาสตร์นี่เค้าชอบมั่วนิ่ม เวลาคณะไหนจัดงานอะไร เค้าก็ไปมั่วกินของฟรีเป็นประจำ หรือความเป็น unity ไม่ว่าฝนตก แดดออก ฟ้าร้อง เค้าจะฝึกวิ่ง กลางแดด กลางฝน เขาจะตีกลอง ตึ้งๆ ตึ้งๆ โดยไม่สนใจว่าคณะใดกำลังเรียนอยู่หรือเปล่า เพื่อแสดงความเป็น unity นี่คือชีวิตในช่วงนั้นอยู่ ต่อมาวันหนึ่ง เมื่อถึงเวลาที่เราจะเข้าสอบ ในเดือนตุลาคม 2516 เป็นการสอบ mid-year จำได้ว่าเป็น วันที่ 6 ตุลาคม เราเข้าห้องสอบไม่ได้
แหละ ทั้งมหาวิทยาลัยไม่สามารถจะเข้าสอบได้ เนื่องจากว่าประตูห้องสอบนี่นะ ถูกโซ่คล้องเอาไว้ แล้วลูกกุญแจ เขาเอาปูนปลาสเตอร์อัดเข้าไปอีก ไม่สามารถจะเข้าสอบได้ เราก็ถามพรรคพวกว่า “เอ๊ะ มันเกิดอะไรขึ้นมานะ เมื่อวานนี้เรามาท่องหนังสืออยู่ดีๆ  วันนี้เราจะเข้าสอบแล้วเราทำไมถึงสอบไม่ได้” เพื่อนๆ บอกว่า “อ้าวไม่รู้เหรอ เค้าจับพรรคพวกไปแล้ว” ถามว่า “พรรคพวกใคร” อ้าว “พวกอาจารย์ทวี หมื่นนิกร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ...” และพวกนักศึกษา นิสิตหลายแห่ง อีกหลายคนรวม12คน ตำรวจจับไป เราก็ถามต่อไปว่า “จับข้อหาอะไร” เค้าบอกว่า “เป็นกบฏ” แล้วเค้าบอก “ใช้มาตรา 17 นะ” เราก็ “อู๋ย มาตรา 17 เหรอ” มาตรา 17 เรารู้ว่ามันมีโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต เพราะตอนนั้นรัฐบาลจอมพล ถนอมเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วมีจอมพลประภาส จารุเสถียร  เป็นรองนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และเป็นอธิบดีกรมตำรวจ

ผู้สัมภาษณ์: มาตรา 17 นี่ข้อหาอะไรครับ
คุณศรีสวาท: cover หมด  คุณทำผิด คุณไปข่มขืนเค้า คุณเผาบ้านเผาเมือง ใช้มาตรา 17 ยิงเป้าลูกเดียว  คล้ายๆ อย่างงั้น สมันจอมพล สฤษดิ์ ธนรัตน์ก่อนจอมพลถนอม เวลาเค้าจับผู้ต้องหา สมมุติว่าไปข่มขืนผู้หญิง เค้าก็สอบสวนจนแน่ชัดแล้ว คุณกระทำตรงไหน ยิงเป้าที่นั่นเลย นะคะ ซึ่งที่จะมีชาวบ้านมาดูด้วยเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างหรือมีการวางเพลิง ที่ไหน เช่น วางเพลิงแถวๆ วรจักรหรืออะไร นี่ มายิงเป้าที่หอสมุดแห่งชาติที่เก่าเนี่ย ตึกแดงๆ สนามหลวง ใกล้ๆ พระบรมมหาราชวัง ยิงเป้าเลยนะ ยิงให้คนดูเลย

ผู้สัมภาษณ์: แล้วตอนนั้นคิดยังไงกับการที่เค้ายิง
คุณศรีสวาท: ก็ไม่รู้ ตอนนั้น... แล้วก็คดีข่มขืน คดีวางเพลิง เค้าไม่เอาไว้เลย สอบสวนแน่ชัดแล้วนะ ไม่ใช่ไปซี้ซั้วจับแพะจับแกะแล้วมายิง ต้องสอบสวนกันแน่ชัด เท่าที่ทราบนะ แล้วก็ที่ ถามว่า มีความรู้สึกยังไง ตอนนั้นเรามีความรู้สึกว่าคนทำผิดจริงๆ มันก็ควรได้รับโทษ เพราะว่ากฎหมายที่รุนแรง มันก็เป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนชั่ว ใช่มั้ย คนดีจะไปเดือดร้อนทำไม

ผู้สัมภาษณ์: ความคิด ขณะนั้นใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ความคิดในขณะนั้น เพราะว่ามันก็ต้องมีการสืบสวนสอบสวนก่อน มันไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ ก็ไปวิ่งไปคว้าเอาใครมายิงเป้า  ไม่ใช่นะคะ ทีนี้มาถึงสมัยจอมพลถนอม เค้าก็ใช้มาตรา 17 อันเนี้ย มันเหมือนกับดาบอาญาสิทธิ์นะ แล้วก็จับบรรดาพวกนักศึกษาแล้วก็ครูอาจารย์ จับไปทั้งหมดในขณะนั้นก็ 12 คน จับแถวที่อนุสาวรีย์ทหารอาสา  โรงละครแห่งชาติ เค้าจับไป แล้วก็ไปขังไว้ที่กรมตำรวจหรือไงเนี่ย เพราะฉะนั้นเมื่อจับออกไปแล้ว เราก็มองเห็นว่าการใช้มาตรา 17 นี่มันรุนแรงมาก ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางจุฬาฯ แล้วก็ทาง นิด้า ก็มีความเคลื่อนไหว ที่จริงมันมีความเป็นมาก่อนหน้านี้นะ  คือมันมีความเป็นมาก่อนหน้านี้ เริ่มต้นที่ม็อบอย่างรุนแรงที่สุด ก่อนจะถึง 14 ตุลา ’16  มันมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมาเนื่องจาก...

ผู้สัมภาษณ์: ลบชื่อนักศึกษารึเปล่า ที่รามฯ
คุณศรีสวาท: ที่รามคำแหง แล้วเค้าก็เดินขบวนกันมา สมัยก่อนรามคำแหงเนี่ย ไม่ใช่ไปง่ายๆ นะ คล้ายชนบทหรือชานเมือง กว่าจะมาได้ นักศึกษาเดินมาเนี่ยไม่ใช่จะเป็นเรื่องธรรมดานะ เดินมาจนถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมาตั้งม็อบกัน แล้วมันก็มีรถที่ติดตั้งเครื่องกระจายเสียง เราก็มาร่วมดูด้วยนะ ก็มีคุณเสาวนีย์ ลิมมานนท์ และใครต่อใครอีกหลายคน จำไม่ได้แล้วค่ะ ก็จำได้แต่ผู้หญิง
คนในขณะนั้น พวกนักศึกษารามฯ อย่างเดียวก็เยอะนะ  แต่ไม่เป็นหมื่นหรอก ก็เป็นพันคน นั่นคือ ในขณะนั้น ได้ยินเสียงคุณเสาวนีย์เรียกร้อง... เรียกร้องรัฐธรรมนูญด้วย รัฐบาลต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 6 เดือน

ผู้สัมภาษณ์: อ๋อ พูดถึงรัฐธรรมนูญด้วย
คุณศรีสวาท: นั่นคือเหตุการณ์ก่อน 14 ตุลา ’16 นะคะ 6 เดือนนะคะหลังจากนั้น ก็ประมาณเดือน ต้นพฤษภาหรือเมษา 2516 นี่แหละ

ผู้สัมภาษณ์: คือนอกจากจะพูดเรื่องประเด็นเรื่องการลบชื่อนักศึกษา ก็พูดประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญด้วย
คุณศรีสวาท: ใช่ คือนักศึกษานี่ไปก้าวร้าวจอมพลถนอม ไปเขียนบทความด่าเค้าหรืออะไรจำไม่แม่นแล้วล่ะ อื้อ ใช่ แล้วก็มีการประท้วงกัน แล้วก็ตอนนั้น ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์  ซึ่งเป็นอธิการบดีที่รามคำแหง เค้าก็พาเด็กรามฯ ทั้งหมดหลายคนค่ะ ที่มีกิจกรรมก้าวร้าวจอมพลถนอม เข้าพบจอมพลถนอม แล้วก็กราบขออภัย ขอโทษ ซึ่งจอมพลถนอมท่านก็ไม่ได้เอาโทษอะไรนะ เพียงแต่ยกโทษให้ คล้ายๆ กับว่าเด็กมันรู้สึกตัวแล้ว เป็นผู้ใหญ่แล้ว ไม่เอาเรื่องไม่เอาราวอะไรทำนองนี้ แต่ว่าที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตามถนนมีคุณเสาวนีย์ แล้วก็ขึ้นรถกระบะ  ติดลำโพง สี่แยกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยติดเครื่องขยายเสียง แล้วก็เรียกร้องรัฐธรรมนูญ  “เอ๊ะ บ้านเราไม่มีรัฐธรรมนูญเหรอ” ตอนนั้นเราก็เป็นนักศึกษาอยู่ประมาณปี 3 เรา ก็สงสัยบ้านเมืองไม่มีรัฐธรรมนูญหรือ ต่อมาก็ทราบว่าดี เค้าเรียกว่าธรรมนูญการปกครอง” “แล้วธรรมนูญการปกครองมาจากไหนล่ะ” “อ๋อ ทหารเค้าเขียนขึ้นกันมา เป็นธรรมนูญการปกครองประเทศชาติ รัฐธรรมนูญมันไม่มี” ทีแรกเราก็ไม่ได้สนใจมากมาย ตอนนั้นการรับรู้มันค่อยๆเกิดขึ้น

ผู้สัมภาษณ์: คือตอนนั้นตั้งใจเข้าไปร่วม หรือว่าบังเอิญมาพบเห็นเหตุการณ์การประท้วง
คุณศรีสวาท: ก็ตั้งใจนะ  ชอบดู  สืบเนื่องมาจากเหตุนี้ คุณเสาวนีย์เค้าก็ “อีก 6 เดือนนะ เราต้องการคำตอบจากรัฐบาล” นี่คือจุดเริ่มต้นเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16  เป็น point ที่สำคัญ คือมันเกิดจากนักศึกษารามก่อน แล้วก็ไปขอโทษจอมพลถนอม ในขณะนี่ไปขอโทษขอโพยนั้น ทางนี้ก็ตั้งม็อบจากนั้นแล้วเนี่ย พอถึงวันที่ 5 วันที่ 6 ตุลา ซึ่งเราจะเข้าสอบเนี่ยนะ เราไม่สามารถจะเข้าสอบได้ เนื่องจากว่าทางรัฐบาลเนี่ยโดยจอมพลถนอม เป็นนายกรัฐมนตรี จอมพลประภาสเป็นรองนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นอธิบดีกรมตำรวจ 3 เป็น  เค้าจับพวกนักศึกษาแล้วก็อาจารย์  อาจารย์มีใครบ้างก็จำได้ว่า มีอาจารย์ทวี หมื่นนิกร แล้วก็อาจารย์ จำไม่ได้แล้วค่ะ พวกนักศึกษาก็มีระดับนำๆ  ตอนนั้นเริ่มมีศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เริ่มมีตรงนี้ ทีนี้ ตอนนั้นจะใครไม่ทราบเป็นเลขาธิการของนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จะเป็นอาจารย์สมบัติ ธำรงค์ธัญญวงศ์ หรือไม่ก็ไม่ทราบนะตอนนั้น พอเค้าจับไปปั๊บก็ไปขังไว้ที่กรมตำรวจ โดยใช้มาตรา 17 จับ อย่างที่เราบอกว่ามาตรา 17 มีโทษถึงประหารชีวิต  เป็นกบฏนี่ถือว่าเป็นโทษสูงสุดแล้วนะในเรื่องของการปกครอง สาเหตุสำคัญ ที่เค้าจับ 12 คนไป คือพวกนี้แจกใบปลิวตาม square ต่างๆ บางลำภู  ที่สยามแสควร์ ที่ประตูน้ำ  เรียกร้องรัฐธรรมนูญ  เราไม่เห็นรายละเอียดในใบประกาศที่เค้าแจกออกไป ทีนี้ก็... เมื่อจับไปแล้วทางธรรมศาสตร์ก็หยุดการสอบ แล้วก็มีการก่อม็อบกัน ครั้งแรกก็ที่ลานโพ จำได้เลยว่าครั้งแรกเนี่ยคุณเสกสรรค์ ประเสิรฐกุล คุณเสาวนีย์เนี่ยขึ้นเวที คุณธีรยุทธ บุญมีเนี่ย เค้าวิศวะฯ จุฬาฯ เค้าก็มาขึ้นเวทีนี้ แล้วใครต่อใครอีกหลายคน เราก็จำไม่ได้นะ แต่จำได้แม่นที่สุดก็มีคุณธีรยุทธ คุณเสาวนีย์ และคุณเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ที่มาขึ้นเวทีม็อบเนี่ย จากนั้นแล้ว พวกนิสิตนักศึกษาอะไรต่างๆ ก็เข้ามาเยอะ พอเข้ามาเยอะปั๊บนะ พวกต่างจังหวัดก็เข้ามา ทางราชการก็พยายามบล็อกไม่ให้เข้ามา แต่ก็พวกนี้ก็ใช้กรรมวิธีทุกวิถีทางมา  เต็มตามตัวตึกไปหมด

ผู้สัมภาษณ์: พอทราบมั้ยครับ มีวิธีการยังไงที่จะบล็อก
คุณศรีสวาท:  เหมือนอย่างปัจจุบันเนี้ย ถ้าเกิดคุณจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งรัฐบาลมองเห็นว่าจะสร้างความยุ่งยากให้กับทางบ้านเมือง เค้าก็ให้ตำรวจกันไม่ให้รถเข้า โดยการตั้งด่านสกัด

ผู้สัมภาษณ์: แล้วเค้าใช้วิธียังไงถึงจะเข้ามาได้
คุณศรีสวาท:  ก็ลงจากรถอะไรต่อรองกันไปตามเรื่องตามราว ก็เข้ามาได้นะคะ ทั่วทั้งประเทศน่ะค่ะ ก็เข้ามา แต่ว่าเข้ามาในขณะนั้นยังไม่หนาแน่นมาก คุณไขแสง สุกใส ซึ่งเป็น ส.ส. นครพนม เข้าเป็นนกรู้อ่ะ คือเค้าผ่านการถูกจับกุมมานานหลายครั้ง เนื่องจากเค้า พรรคสังคมนิยม เป็นกรรมการหรือเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยม ผ่านเรื่องคุกตะรางมามาก พอเค้ามองเห็นว่าการจับกุม เค้ามองเห็นนะว่าทางราชการจะจับกุมพวกครูอาจารย์ แล้วก็นักศึกษานี่แน่ละ ไขแสงเป็นนกรู้ หนีเลย ชิ่งออกไปเลย พวกนี้เป็นเซ่อๆ ซ่าๆ ไม่รู้เรื่องเลยถูกจับไป ไขแสงเองคงพิจารณาตัวแล้วว่าลองมวลชนแบบนี้ มีหวังหลุดแน่ๆ  แกมอบตัวปั๊บเลย สิ่งที่แกนำไปก็คือแคน มุ้ง หมอนของแก แกเข้าไปมอบตัวที่สันติบาลเลย  แกก็เข้าคุกนอนเป่าแคนของแกสบายไปเลย เพราะแกรู้จักกับตำรวจสันติบาลหลายคน ซึ่งเรียนรู้เกี่ยวกับทางการเมืองในแนวของ... ของฝ่ายซ้าย ว่าอย่างงั้นก็แล้วกัน ทีนี้พอเกิดเหตุการณ์ พอวันที่ก่อม็อบขึ้นมา ผู้คนก็มากหลาย ผลสุดท้ายย้ายม็อบจากลานโพก็มาที่สนามฟุตบอล ผู้คนก็มากมาย

ผู้สัมภาษณ์: ซึ่งคุณอยู่ในเหตุการณ์ตลอด
คุณศรีสวาท: อยู่ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์นองเลือด ก็อยู่มั่งไม่อยู่มั่งนะคะ ไม่ใช่อยู่ตลอด 24 ชั่วโมงนะคะ ไปกินข้าว เปลี่ยนเสื้อผ้ามาใหม่

ผู้สัมภาษณ์: อยู่ฝั่งธนฯ
คุณศรีสวาท: อยู่ฝั่งธนฯ เชิงสะพานพุทธฯ น่ะ ใกล้ๆ ทีนี้ก็เหตุการณ์วันที่หนึ่งวันที่สองวันที่สามคือทางฝ่ายพวกนิสิต นักศึกษา โดยศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ตอนนั้นจำไม่ได้ว่าจะเป็นอาจารย์สมบัติ หรือจะเป็นคุณธีรยุทธ จำไม่แม่นนะคะ ก็ยื่นข้อเสนอ รู้สึกจะเป็นคุณธีรยุทธ บุญมี จะเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา ก็ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล เลย ขอให้ปล่อยตัวทั้ง 13 คนโดยไม่มีเงื่อนไข ภายในวันเสาร์ที่ 13 ตุลา ’16 ถ้าไม่ปล่อย เที่ยงตรงขบวนจะเคลื่อนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นี่คือคำขาด เด็ดขาดเลยนะ ก็ไม่มีคำตอบจากรัฐบาล เมื่อไม่มีคำตอบจากรัฐบาล ขบวนก็เคลื่อนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้สัมภาษณ์: น่าจะเป็นเที่ยงของวันเสาร์ ที่ 13 ครับ เพราะว่า 13 นี่ คือเริ่มเคลื่อนขบวน
คุณศรีสวาท: 13  ตุลาคม 2516 ทีนี้ขบวนก็ออก ขบวนแรกก็เป็นรูป เป็นพระบรมสาธิตลักษณ์ในหลวงกับพระราชินี เป็นขบวนยาวเลย ทุกคน พวกเด็กนะคะ เด็กนักเรียนมัธยมก็ถือภาพในหลวงกับพระราชินี เดินออกมาแต่มีขบวนนำหน้านะ มีรถนำหน้า ขบวนที่ 2 ก็เป็นขบวนธงไตรรงค์ เป็นริ้วขบวน ขบวนที่ 3 เป็นรูปธงเสมาธรรมจักร เป็นสัญลักษณ์พระพุทธศาสนา เป็นขบวนยาวเป็นร้อย ไม่ใช่ขบวนนี้แค่มีไม่กี่คน ไม่ใช่นะ เป็น... เป็นร้อยค่ะ

ผู้สัมภาษณ์: ต่อขบวน
คุณศรีสวาท: แต่ละขบวนก็จำได้ว่ามีคุณเสาวนีย์ คุณเสกสรรค์ คุณธีรยุทธ ก็อยู่บนรถบัญชาการ

ผู้สัมภาษณ์: รถกระจายเสียงนี่มีกี่คันได้อ่ะครับคน
คุณศรีสวาท:  หลายคันนะ

ผู้สัมภาษณ์: คือคุณเสาวนีย์ คุณเสกสรรค์ นี่ก็จะกระจายกันตามรถไปใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ใช่ แต่คุณธีรยุทธแกจะอยู่ขบวนไหนเราก็จำไม่ได้ ขบวนเคลื่อนมาแล้วก็มาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยค่ะ แล้วยื่นคำขาดต่อรัฐบาลอีก ขอให้ปล่อยตัวภายใน 5 โมงเย็นนะ ถ้าภายใน 5 โมงเย็น รัฐบาลไม่ตอบ ขบวนจะเคลื่อนไปอีก ไปที่ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 5 โมงเย็น เค้าติดตั้งเครื่องขยายเสียงตามสี่แยกนะคะ พอ 5 โมงเย็นปั๊บไม่มีคำตอบจากรัฐบาล เค้าก็เดินทางไปที่... ที่ลานพระบรมรูปทรงม้านะคะ ซึ่งตรงนั้น ใครต่อใครมั่วซั่วกันไปหมดอ่ะ ทีนี้มีเด็กอาชีวะ ช่วงนั้นเนี่ย ก่อนหน้านี้นะคะ ขณะที่ม็อบอยู่ที่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เด็กอาชีวะ กัน เค้าก็มาประกาศเลยว่า “พวกพี่นะ” หมายความว่า...พวกนิสิตนักศึกษาเนี่ย “พวกพี่เป็นสมองนะ พวกผมจะเป็นกำลังป้องกันให้เอง” เค้าประกาศเลยนะคะ หลังจากนั้นแล้วเค้าก็มาเป็นการ์ดให้ แล้วก็พวกประชาชน ไม่ว่านิสิตนักศึกษาอย่างเดียวนะ มีประชาชนด้วย มีข้าราชการด้วย มีพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลายมาร่วมขบวนเขาสนับสนุน เรื่องของกิน ไม่ต้องห่วงเลยค่ะ เหลือเฟือ เหลือเฟือจริงๆ เลย คือประชาชนเค้าเบื่อ... เบื่อรัฐบาลที่เป็น... เป็นเผด็จการอะไรงี้นะ

ผู้สัมภาษณ์: ส่วนใหญ่อาหารการกิน เสบียงนี่ คือประชาชนเค้าเอามาให้?
คุณศรีสวาท: ใช่ แม่ค้าปากคลองตลาดเนี่ยส่งมาให้เลย เราก็เห็นๆ อยู่นะ ก็กินกันแบบฟุ่มเฟือยทีเดียว

 ผู้สัมภาษณ์: แล้วการแจกจ่ายนี่แจกยังไงครับ การแจกอาหาร?
คุณศรีสวาท: ก็ไม่ทราบอ่ะคะ มันก็แล้วแต่ แจกกันตามเรื่อง

ผู้สัมภาษณ์: มีคนอาสามาคอยจัดการตรงนี้ให้มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: มันก็มั่วๆ กันไป เด็กไม่เคยมีประสบการณ์อย่างงี้นะคะ

ผู้สัมภาษณ์: ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารสำเร็จรูปแล้วกินได้เลย ไม่ต้องมานั่งจัดการใหม่อะไรอย่างเงี้ย?
คุณศรีสวาท: เป็นอาหารถุงพลาสติก สมัยก่อนกล่องโฟมมันยังไม่มีมั้ง สมัยก่อนเนี่ยนะคะ เสร็จแล้วพอ 5 โมงเย็น ก็ขบวนก็เคลื่อนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปถึงลานพระรูป พอถึงลานพระรูปนี้ ตอนนี้เริ่ม มันเข้าเขตทหารแล้วนะ มันก็เริ่มมีสายลับเข้ามา คือตัวเราเนี้ย เป็นคนช่างสังเกต ใครก็ตาม คือพวกเรา... พวกมาเดินขบวนเนี้ย มันก็มีความสนุกสนานในการเดินนะคะ ไม่ซีเรียส ไม่เคร่งเครียดอะไร แต่ว่าพวกนี้เค้าจะมาจ้องเอาเรื่องอ่ะ พวกนอกเครื่องแบบอ่ะ บางทีก็มีสัญลักษณ์บางอย่างให้เรารู้ว่า นี่คือทหาร นี่คือตำรวจ ที่คอเสื้อชั้นในอะไรของเค้า ทีนี้ก็พวกอาชีวะเนี่ยมักจะมีปลอก มีชื่อ... อะไร มีเศษผ้าสีแดงคาดไว้ว่านี่เค้าเป็นการ์ดให้นะ เป็นหน่วยป้องกันให้ มันก็เป็นแบบเด็กๆ มันก็ทำไปตามบุญตามกรรม ตามแต่จะนึกได้

ผู้สัมภาษณ์: ปฏิกิริยาต่อคนที่ปลอมตัวเข้ามานี่มีมั้ยครับ
คุณศรีสวาท: เด็กไม่ค่อยมีความรู้ แต่ตอนนั้นเราเรียนหนังสือนี่ เพราะเราอายุมากแล้ว เรามีความสังเกตุ แต่เราไม่ใช่เป็นคณะกรรมการขบวนการนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เพียงแต่ว่าเราเป็นผู้ใหญ่ เราก็ช่างสังเกตน่ะ เราก็ดู เออนี่ไม่ใช่พวกเราแน่ ไอ้นี่คือพวกทหารหรือพวกตำรวจแน่ๆ เลย เขสเข้ามาจ้องแบบไม่เป็นมิตร

ผู้สัมภาษณ์: แล้วจัดการยังไงล่ะครับตรงนี้
คุณศรีสวาท: ก็ไม่ได้จัดการอะไร เด็กเค้าก็คือเด็ก เราจะไปทำอะไร ใช่มั้ย

ผู้สัมภาษณ์: ได้ไปกระซิบบอกคนอื่นมั้ยครับ เอ้ยคนนี้ไม่ใช่
คุณศรีสวาท: ก็ได้แต่บอกเพื่อนๆ

ผู้สัมภาษณ์: เพื่อนได้ไปร่วมเดินมั้ยครับ
คุณศรีสวาท: มันก็เยอะค่ะ ก็หลายคน เวลาเราเดินออกจากมหาวิทยาลัยเนี่ยนะ เราก็นัดกลุ่มเพื่อนมาออกเดิน

ผู้สัมภาษณ์: ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพื่อนที่เรียนในคณะเดียวกัน
คุณศรีสวาท: เรียนคณะเดียวกัน แล้วก็พอเหตุการณ์ เราออกจากตรงนั้นเนี่ยตอนประมาณ 2 ยาม ที่ลานพระรูปอ่ะนะ พอเข้ามืดเด็กข้างบ้านอ่ะ ที่เค้ามาร่วมชุมนุม เค้าก็บอก “พี่ๆ ยิงกันแล้ว” เราก็ถาม “ใครต่อใครยิงกัน” เค้าก็บอก “ไม่รู้ รู้แต่ว่าตำรวจตีพวกนักเรียน ตกไปที่วังสวนจิตรฯ ตกไปที่คูน้ำข้างวังสวนจิตร” ตอนนั้นบอก “โหย อย่างนี้เราอยู่ไม่ได้แล้ว เราต้องออกแล้ว” ใช่มั้ยคะ เราก็ออกมา แต่ว่าเราไม่ได้แต่งเครื่องแบบนะคะ เราแต่งตัวแบบ private อ่ะ เราแต่งหน้าแต่งตาอะไรซะหน่อย ให้มันดูมีสีสันว่าเราไม่ใช่นิสิตนักศึกษา แล้วเราก็มา เพื่อนก็ช่วงนั้นหลายคนบอกว่าตอนประมาณซักตี 2 ตี 3 รัฐบาลยอมหมด ปล่อยทุกคนอย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อปล่อยทุกคนอย่างไม่มีเงื่อนไข ทุกคนมันอยากกลับบ้าน ทางการเอาเป็นว่าทหารหรือตำรวจอะไรก็แล้วแต่ เค้ากั้นไม่ให้คนออกไปทางวังสวนจิตรฯ เค้ากั้นไว้ ทีนี้คนมันก็จะออก มันก็เฮโลกันไป เฮโลกันมา เหมือนกับขบวนการนิสิตนักศึกษาได้ชัยชนะแล้ว คือรัฐบาลปล่อยอย่างไม่มีเงื่อนไขแล้วอ่ะ ก็คงจะมีการยั่วยุกัน ตำรวจเขาก็คงจะหมั่นไส้ ก็ซัดตูมเข้าให้

ผู้สัมภาษณ์: นี่คือเป็นวังสวนจิตรฯ
คุณศรีสวาท: ข้างวังสวนจิตร เพราะว่ามีการเอาก้อนอิฐก้อนหินเขวี้ยงตำรวจ ตำรวจก็ใช้ปืน เค้าเรียกอะไร พานท้ายปืนตีเด็กผู้หญิงคนนึงที่อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ ตกคูน้ำข้างสวนจิตร เค้าว่า dead นะ เราก็ไม่รู้ว่า dead หรือไม่ dead จากนั้นก็มันก็เกิดวิกฤตชุลมุนวุ่นวายอะไรกันใหญ่ นี่มันเป็น... ก็ทราบภายหลังว่าต่อมามันก็เป็นความขัดแย้งกันระหว่างคนในศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ระหว่างคุณเสกสรรค์กับคุณธีรยุทธนะคะ เกิดขัดแย้งกัน เนื่องจากอีกคนบอกให้อยู่ต่อไป อีกคนบอกให้เลิกเหอะ

ผู้สัมภาษณ์: อันนี้คือทราบภายหลังใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: มาทราบภายหลัง แต่ว่าในเหตุการณ์ในช่วงนั้น เรารับทราบเพียงแต่ว่าเด็กตายแล้วก็เกิดมีการยิงกันขึ้นอะไรกันขึ้น เราจึงออกจากมาในตอนเช้า

ผู้สัมภาษณ์: ทราบได้ยังไงครับว่ามีคนตาย
คุณศรีสวาท: ก็เด็กข้างบ้านบอก

ผู้สัมภาษณ์: เค้าเล่าให้ฟังใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ค่ะ เค้าเล่าให้ฟัง เค้ามาอยู่กับม็อบจนกระทั่งถึงเช้า จนกระทั่งเค้าได้ยินเสียงปืน แล้วก็มีการพูดกันว่า  นักเรียนผู้หญิงที่อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ ถูกตำรวจตีด้วยปืนนะคะ ตกน้ำข้างวังสวนจิตรตาย เหตุการณ์มันก็เลยโกลาหล คือทางเจ้าหน้าที่ไม่ให้ไปทางด้านถนนราชวิถีอะไรทำนองนี้ คนก็เลยชุลมุน แล้วก็อย่างที่ทราบภายหลัง ก็คือเกิดการขัดแย้งกันระหว่างผู้บริหารของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ อันนี้ต้องถามศูนย์กลางเองนะ เราไม่รู้อ่ะ เราไม่ได้เป็น member ของเค้า

ผู้สัมภาษณ์: แต่ที่แต่งตัวแบบ private
คุณศรีสวาท: อ๋อ ตอนนั้น พอรู้เห็น พอรู้อย่างงี้แล้วบอกนี่มันไม่ได้เรื่องละ เราออกจากบ้านทันที เราออกจากบ้านมา เราก็มาที่มหาวิทยาลัย ขณะนั้นก็มีการยิงกันแหลกลาญ ไม่รู้ใครเป็นใคร เฮลิคอปเตอร์ออกมาบินว่อน เราอยู่ในมหาวิทยาลัย เค้ายิงกราดเข้ามาในมหาวิทยาลัยจากเครื่องบินนะคะ  เรายังดึงเด็กผู้หญิงให้หลบเข้ามาในชายคาเพราะว่า คือๆ เราผ่านเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตันอะไรมาไง กบฏทหารเรือกับทหารบก เค้าต่อสู้กันน่ะ เราก็ไปยืนดู มันทำให้เรารู้ว่า อันนี้มันเหตุการณ์ไม่ดีนะ เราต้องหลบ รู้จักหลบหลีกพวกกระสุนพวกอะไรพวกนี้นะ เราก็ช่วย แล้วก็หลายคน เด็กบางคนนี่ เค้าก็บ้าคลั่งมากเลย เค้าก็จะออกมาต่อสู้กับรัฐบาล บางทีเราก็ต้องห้ามไว้ เพราะรัฐบาลมีรถถัง ไปไว้ที่ท้องสนามหลวง 2 คันหรือ 3 คัน จำไม่ได้ละ แล้วทางมหาวิทยาลัยก็ปิดประตู โดยเฉพาะประตูด้านหอสมุดอาจารย์ท่านเข้าใจสถานการณ์ จึงจะเอาโทรศัพท์วางไว้ให้ สำหรับใช้ติดต่อกับภายนอก  แล้วก็เราก็มองเห็นการที่ทหารยิงประชาชน พวกเด็กและประชาชนเลือดอาบเลย พวกพยาบาล แพทย์ ศิริราชใช้เปลหาม คนบาดเจ็บ เอารถมา ตอนนั้นสะพานปิ่นเกล้าเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ เค้าก็เอารถมา แล้วก็มารับคนที่บาดเจ็บ แต่บางรายก็หามลงเรือไป ที่ท้ายมหาวิทยาลัยมีท่าน้ำ แล้วก็เรือของใครก็ไม่รู้ เรือข้ามฟากนี่แหละก็มารับไปเข้าที่ศิริราช ก็เป็นอย่างนี้ บางทีเด็กผู้ชายบางคนนะ นี่ action นิดนะ เด็กผู้ชายบางคนรู้สึกจะเป็นเด็กรามฯ หรืออะไรไม่ทราบ แกก็ปีนรั้วที่ทางมหาวิทยาลัยปิดไม่ให้ให้คนเข้าคนออก ทางด้านห้องสมุดซึ่งเขาร้องตะโกนว่า “คอมมิวนิสต์อยู่ที่ไหน คอมมิวนิสต์อยู่ที่ไหน เอาปืนมากูจะเอาไปฆ่ามัน”

ผู้สัมภาษณ์: ใครเป็นคนตะโกนครับ
คุณศรีสวาท: เด็กผู้ชาย อาจจะเป็นเด็กรามฯ เขาอาจจะตะโกนด้วยความแค้น แกต้องการมีอาวุธน่ะ เพื่อจะไปสู้กับรัฐบาล

ผู้สัมภาษณ์: แค้นที่รัฐบาลบอกว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือว่ายังไงครับ
คุณศรีสวาท: สื่อรัฐบาล มารังแก แกก็เรียกหาคอมมิวนิสต์มาช่วย

ผู้สัมภาษณ์: คือหาเพื่ออะไรครับ
คุณศรีสวาท: หาเพื่อมาช่วยต่อสู้กับรัฐบาล “คอมมิวนิสต์อยู่ที่ไหน” เพราะตอนนั้นมันมีการเรียนรู้ว่า คอมมิวนิสต์เนี่ยมันมีการปลดแอกในประเทศลาว ในประเทศเขมร หรือในเวียดนามเนี่ย มันมีใช่มั้ย “คอมมิวนิสต์อยู่ที่ไหน” และแกรู้ว่ามันมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยด้วย แกคงรู้ แกก็ตะโกนเรียกหา “คอมมิวนิสต์อยู่ที่ไหน คอมมิวนิสต์อยู่ที่ไหน เอาอาวุธมา จะไปสู้กับรัฐบาล”ซึ่งในตอนนั้นอาจจะยังไม่ได้เคลื่อนไหวในการเมือง เราก็ต้องดึงแกลงมาเนื่องจากว่าเราเป็นผู้ใหญ่กว่า สู้ไม่ได้หรอก จะไปสู้อะไร ยิงปืนยังยิงไม่เป็น จะไปสู้กับเค้า แล้วก็ตัวเอง อาศัยเงื่อนไข คือก็วางโทรศัพท์ไว้ให้ เราก็เอื้อมมือเข้าไปในประตู เราหมุนโทรศัพท์ติดต่อกับแม่ทัพเรือ บอกว่าขอให้ถอยเรือรบ ตอนนั้นเรือรบจอดอยู่ท้ายมหาวิทยาลัย รู้สึกจะหนึ่งลำหรือ 2 ลำก็ จำไม่ได้ เราบอก “ให้ถอยออกไป เราจะหนีแล้ว” คือตอนนั้นเย็นแล้ว เย็นมากแล้ว ทางทหารไทยเขาประกาศว่า ให้พวกประชาชนและนักศึกษาออกไปจากมหาวิทยาลัยให้หมดก่อน 18 นาฬิกา คือ หกโมงเย็น ถ้าไม่ออกไป เขาจะถล่มมหาวิทยาลัย เราจำเป็นต้องออก เพื่อรักษามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสมบัติของชาติไว้ แต่ว่าช่วงบ่ายๆ เขาก็เอา ฮ. เข้ามาบินในธรรมศาสตร์และกราดกระสุนด้วย  และในธรรมศาสตร์เต็มไปด้วยเลือดทั้งนั้นนะ เป็นเลือดเด็กที่บาดเจ็บสาหัส เด็กเค้าไม่รู้ว่าสงครามคืออะไร เค้าไม่รู้ว่าเลือดจริงเป็นอย่างไรนี่คืออะไร เค้าไม่รู้มาก่อน เค้าไปนั่งดู ฝ่ายตรงข้ามประชาชนก็ยิงกราดให้ ไปนั่งดู ไปเผชิญกับปืนจริงๆ แล้วที่เค้าบ้าคลั่ง เค้ายิงกราดให้ แกก็บาดเจ็บเห็นแล้วน่าสงสารมาก เด็กนักเรียน นุ่งกางเกงขาสั้น แพทย์พยาบาลก็ต้องหามเปลให้น้ำเกลือแล้วก็คล้ายๆ เหตุการณ์วันที่ 7  ตุลา 2551ที่ข้างรัฐสภา ลักษณะอย่างงั้น แล้วก็ลงเรือไป ทางตัวเองนี่ได้ติดต่อกับกองทัพเรือ บอกว่า “เราจะหนีแล้ว” นะ เราบอกกับทางทร.ว่า“เราจะหนีแล้วล่ะ” เราก็ตั้งฉายา code ตัวเราเองว่าอย่างงี้ “โอ้ คุณไม่ต้องบอกๆ” เค้ากลัว ทางทร. เค้ากลัว

ผู้สัมภาษณ์: คุณเป็นคนโทรบอกให้ถอย?
คุณศรีสวาท: เป็นคนโทรบอกให้ถอยเรือรบออกไปเราจะหนีแล้ว ทางทหารเรือบอกเค้าจะถอยออกไปให้ “แต่ว่าอย่าหนีมาที่กองทัพเรือนะ ให้หนีไปที่วังหลังหรือหนีไปที่โรงพยาบาลศิริราช”

ผู้สัมภาษณ์: รู้จักกันเป็นการส่วนตัวเหรอครับ
คุณศรีสวาท: ไม่รู้จัก แต่ที่เราสามารถโทรบอกได้ เพราะว่าเราทำงานอยู่ที่องค์การโทรศัพท์ไง เราจะรู้ คือเนื่องจากเราเป็นคนหัวไว เรารู้ว่าในสถานการณ์อย่างงี้เราควรจะติดต่ออะไรกับใครยังไง ใครจะมีอำนาจในการสั่งการได้หรืออะไรทำนองนี้ ทีนี้เราก็ติดต่อกับทางทัพเรือ ท่านบอกจะถอยเรือรบออกไป ด้วยความโง่ของเรา แต่จริงๆ แล้วรัศมีการยิงตั้งหลายสิบกิโลก็ยิงได้ แต่เราไม่รู้ เราคิดว่าจะทำไง แล้วอีกอย่างกองทัพเรืออยู่ข้างท้ายมหาวิทยาลัยนี่ใครๆ ก็กลัวใช่มั้ยคะ จากนั้น เราก็ เราก็เรียกเรือข้ามฟากสุภัทรา จริงๆ แล้วเค้ามีบุญคุณต่อประชาชนนะ เรือสุภัทราเนี่ย เค้าก็เอาเรือมา รับและเราลงเรือเป็นคนสุดท้าย

ผู้สัมภาษณ์: สุภัทราคือเรือข้ามฟากใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ใช่ ไปที่ท่าศิริราช พอไปถึงที่นั่น นี่โอ้โห! เรานี่เศร้าใจมากเลย  เลือดนองไปหมดเลยนะ มันคล้ายๆ วันที่ 7 ตุลา 2551ที่ข้างรัฐสภา เลือดนองไปหมด แล้วก็ผู้คนก็มาบริจาคเสื้อผ้า สาเหตุที่มาบริจาคเสื้อผ้าเพราะใส่เสื้อขาวไม่ได้นะ ฝ่ายทหารจะเล่นงานเอา  ก็ตอนนั้นตึก 80 ปี เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ พวกแพทย์พวกพยาบาลบอก “คุณๆ ลงไปเปลี่ยนเสื้อผ้าข้างล่าง เมื่อกี๊เห็นว่าทหารเนี่ยมาบอกว่าเขาจะเล่นงานคุณนะ” พยาบาลมาบอก จึงลงไปเปลี่ยนเสื้อผ้า

ผู้สัมภาษณ์: ไม่ทราบว่ามีเฮลิคอปเตอร์มายิงในธรรมศาสตร์เลยใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ยิงธรรมศาสตร์ด้วย แล้วก็ที่สะพานวันชาติ

ผู้สัมภาษณ์: อ๋อ นี่คือวันที่ 14 ตุลา?
คุณศรีสวาท: 14 ตุลา 2516 ก็คือเหตุการณ์ที่มันเริ่มยิงกัน วันที่ 13 ตอนดึก ตอนเช้ามืด ตอนตี 2 ตี 3 ประมาณนี้แหละ แล้วมันก็ล่วงเลยมาถึง เหตุการณ์ 14 ตุลานี่ ขอเล่านิดนึง ในสถานการณ์ในขณะนั้นนะคะ ก็มีการแบกศพผู้ตาย ไปที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและวงเวียนใหญ่ ฝั่งธนด้วย
พวกนิสิตนักศึกษานี่แหละ ก็ช่วยกันแบกศพคนที่ตายเป็นนักศึกษาปริญญาโท เหตุเกิดที่ถนนราชดำเนินตรงหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์  คุณจีระ บุญมาก เค้าเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 ด้วยใช่มั้ย
คุณศรีสวาท: แล้วคุณอะไร แซ่ฉั่ว

ผู้สัมภาษณ์: อ๋อ ประพัฒน์
คุณศรีสวาท: เดี๋ยวนี้เค้าเปลี่ยนนามสกุลอะไรนะ

ผู้สัมภาษณ์: ก้านยาว ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
คุณศรีสวาท: เออ ปัญญาชาติรักษ์ คือตอนนั้นเค้า ก็แค่รักความเป็นธรรมเหมือนกับเราอ่ะ เค้าไม่ใช่ซ้ายไม่ใช่ขวาอะไรหรอก แค่ว่ารักความเป็นธรรม มองเห็นว่าการกระทำของรัฐบาลของทหารไม่ยุติธรรมนะคะ แล้วก็อะไร คนเรียกร้องรัฐธรรมนูญแค่นี้ ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ใช่มั้ยคะ มันก็ไม่มีอะไรมากมาย คุณก็สัญญากับเค้าสิว่าคุณจะร่างรัฐธรรมนูญเมื่อนั่นเมื่อนี่ เมื่อนี่เมื่อนั่น คุณก็ว่าไป เห็นมั้ย น้ำผึ้งหยดเดียวมันทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดขึ้นมา

ผู้สัมภาษณ์: แล้วลักษณะของการยิงจากเฮลิคอปเตอร์นี่ ยิงแบบกราดเลยใช่มั้ยครับ ยิงมั่วเลยใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: มันก็มั่วของมันไป ปั่บๆ ปั่บๆ มองเห็นด้วย เรามองอยู่ข้างล่าง มองเห็นกราดปืนยิง

ผู้สัมภาษณ์: ที่ถูกคือกราดปืนยิง M-16 ทหารยิงจากข้างบน?
คุณศรีสวาท: จะ M-16 หรือ M เท่าไหร่เราไม่รู้ เรารู้ว่าเป็นปืนน่ะ มันคงจะไม่ใช่อาวุธร้ายแรงมาก แต่ว่ามันก็ทำให้คนตายและคนที่สะพานวันชาติ ผู้หญิงท้องแก่ ถูกปืนจาก ฮ. นอนตาย
คุณศรีสวาท: ตอนนั้นเราอยู่ในธรรมศาสตร์ เราไม่ได้ออกมาที่ท้องถนน เราวิ่งช่วยผู้คนอยู่ในธรรมศาสตร์

ผู้สัมภาษณ์: สามีห้ามมั้ยครับ ห้ามไม่ให้ออกมาใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: โอ... ห้าม เพราะตอนนั้นเรามีลูกคนที่ 2 แล้ว แล้วลูกเพิ่งได้ ลูกชายอายุขวบเดียว ลูกสาวก็ 2 ขวบประมาณนั้น นี่เราได้ลูกคนที่ 2 คือเรียนด้วยแต่งงานด้วย  ตอนที่จะออกมาช่วยคนเราก็บอกกับน้องชาย  “พี่ฝากลูกด้วยนะ พี่ฝากลูกด้วย แล้วก็มีอะไรเกิดขึ้นมาก็รับเลี้ยงไปก็แล้วกัน” คือเราก็คิดว่าเราก็เสียสละแล้วล่ะ

ผู้สัมภาษณ์: ทำไมถึงยังคิดจะกลับมาที่ธรรมศาสตร์
คุณศรีสวาท: ก็ไม่ทราบสิ เรารักความเป็นธรรมค่ะ เอาว่าอย่างงั้นก็แล้วกัน เราก็เอาผ้าขนหนูมา ผ้าขนหนูผืนเล็กๆ  เรารู้ว่ามันต้องใช้แก๊สน้ำตาแน่ๆ แล้วเราฟังวิทยุเราก็รู้ แล้วเราเอากรรไกรมาด้ามนึง เราก็กะว่าตัดผ้าขนหนูนี่ แล้วเอาไปชุบน้ำ จะช่วยคน  ชุบน้ำแล้วก็.. เพราะฉะนั้นเนี่ยมีประสบการณ์ค่ะ เมื่อเหตุการณ์ 6 ตุลา ’19 พอเห็นเหตุการณ์ที่ข้างรัฐสภาเนี่ยเมื่อ 7 ตุลาคม 51เราก็ว่าควรจะต้องมีการเตรียมการไว้   น้ำท่า ผ้าชุบน้ำ คุณโปะเลย ไม่ใช่เกิดเหตุการณ์แล้วคุณวิ่งหาผ้า  คุณต้องเตรียมไว้เลย คุณต้องรู้ว่าการปราบนี่มันคืออะไร จากจุดอ่อนไปจุดแข็ง ใช่มั้ยค่ะ เราไม่ใช่เป็น member ของเค้า เราเป็นแค่มวลชนเท่านั้นเอง จริงๆ แล้วมีประสบการณ์ผ่านเหตุการณ์มา ชาวบ้านที่ท่าพระจันทร์นี่นะคะ เอาน้ำใส่กระป๋องตั้งไว้หน้าบ้านเลย  พอมาวิ่งชุบน้ำ ชุบน้ำ ป้องกันจากแก๊สน้ำตา

ผู้สัมภาษณ์: นั่นคือตอน 14 ตุลา ใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: 14 ตุลา ’16 ตอนนั้นเราก็ร่ำลาลูก ตอนนั้นยังขวบเดียว ร่ำลาลูกแล้วก็ ฝากไว้กับน้องชาย

ผู้สัมภาษณ์: คือไปนี่คิดว่า?
คุณศรีสวาท: ตายแน่

ผู้สัมภาษณ์: ตายแน่ ก็ยังไปใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ก็ไป ฝากน้องแล้ว พอหมอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล พาออกนอกโรงพยาบาลมาได้ก็มาส่งนะคะ ก็เราก็เดินเข้าบ้าน สามีเห็นหน้า เท่านั้น เล่นงานใหญ่  “รักประชาชนมากกว่ารักลูก”

ผู้สัมภาษณ์: คือครอบครัวนี่ออกมาคนเดียวในครอบครัวใช่มั้ยครับ แล้วส่วนของพี่น้องนี่มามั้ยครับ
คุณศรีสวาท: อ๋อ พี่น้องเค้าต่างคนต่างแยกครอบครัวไปค่ะ ก็มีเราอยู่คนเดียวออกมา

ผู้สัมภาษณ์: แล้วสามีมาเล่าให้ฟังภายหลังเหรอครับว่ามีคนท้องถูกยิง
คุณศรีสวาท: ใช่ค่ะ สามีเค้ามาที่สะพานวันชาติ ที่ทำงานเค้าอยู่ตรงสะพานวันชาติ เค้าก็มาเล่าให้ฟังว่ามันยิงอย่างงั้นยิงอย่างงี้ เค้าก็เล่าให้ฟัง มันก็ยิงจริงๆ ค่ะ แต่ว่ากระสุนเนี่ยมันคงจริงมั่งหลอกมั่งนะ กระสุนปลอมมั่งไม่ปลอมมั่ง มันก็มั่วไปหมด เราไม่รู้หรอก แต่ว่า... แต่ปืนใหญ่น่ากลัว และมันมีฤทธิ์ทำลายล้าง แต่ว่าทำลายล้างไกลแค่ไหน เราไม่ทราบ อย่างกองทัพเรือที่เราขอให้เค้าถอยไปค่ะ ย้อนปัจจุบันนี้ เราก็นึกขำตัวเราเองนะ ที่จริงแล้วรัศมีการยิงมันตั้ง 10 กว่ากิโล คือเค้าเห็นเรากลัวไง แล้วเราก็หนี เราก็ชวน ไล่คนออกจากธรรมศาสตร์หมดเลยนะ ออกหมดเลย เพราะว่าเค้าบอกนี่ถ้าประชาชนในธรรมศาสตร์ไม่ออกภายใน 6 โมงเย็น เค้าจะทลาย เราต้องรักษาทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไว้ จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญที่เราต้องบอกว่า “กองทัพเรือถอยเรือรบออกไปนะ เราจะหนีแล้ว” คล้ายๆ เราสละเรือแล้ว

ผู้สัมภาษณ์: ยกธงขาวแล้วใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ยกแล้ว เรารู้ว่าถ้าเผื่อเค้าเอาปืนใหญ่ยิงเข้ามาเนี่ย ตึกเรียนตึกอะไรมันก็ต้องวายป่วงหมดล่ะ ใช่มั้ยคะ เราทนไม่ได้อ่ะ มันทรัพย์สินของทางราชการ ภาษีอากรของประชาชน

ผู้สัมภาษณ์: ในธรรมศาสตร์นี่มีคนตายเยอะมั้ยครับ จากการยิงเข้าไป?
คุณศรีสวาท: ว่าจริงๆ นะ ในธรรมศาสตร์ไม่มีการตายหรอกค่ะ แต่ว่าเท่าที่เห็นด้วยสายตาคือคนบาดเจ็บบริเวณหน้ามหาวิทยาลัย แพทย์พยาบาลหิ้วเปลไป แต่ถามว่ามีตายมั้ยไม่ทราบ แต่บาดเจ็บเลือดไหลจ๊อกๆจ๊อกๆ นี่มี และแพทย์พยาบาลก็ให้น้ำเกลือก็มี

ผู้สัมภาษณ์: แล้วคุณป้าเคยเห็นคนถูกยิงต่อหน้ามั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ยิงต่อหน้านะคะ ไม่คะ อ๋อแต่ไปถึงศิริราชแล้วเห็นค่ะ ผู้คนร้องไห้กระจองอแงเลย เค้าเข็นคนที่บาดเจ็บนะคะ แล้วบอกคนนี้ dead แล้ว

ผู้สัมภาษณ์: บทบาทของคุณป้าก็คือเป็นมวลชน
คุณศรีสวาท: เป็นมวลชน อย่างข้างรัฐสภานั่นน่ะ แบบมวลชน มั่วๆ คือใครนึกอยากจะช่วยอะไรได้ ก็ช่วยกันไป ในลักษณะเพื่อมนุษยธรรมและเพื่อรักษาทรัพย์สินของทางราชการ

ผู้สัมภาษณ์: แล้วเรื่องโทรศัพท์เนี่ย อาจารย์เค้าเหมือนกับให้ไว้ใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: อาจารย์รู้เห็นเป็นใจ หรือจะเป็นใครก็ไม่รู้ เราก็เอื้อมมือเข้าไป มันเป็นช่องนะคะ เราก็อาศัยเครื่องโทรศัพท์หมุนไปที่กองทัพเรือ เนื่องจากว่าเราเป็นพนักงานขององค์การโทรศัพท์ เราก็รู้ว่าเราควรจะติดต่อกับใคร แล้วเราก็อายุมากแล้ว มีประสบการณ์

ผู้สัมภาษณ์: แล้วอยากจะย้อนไปก่อนจะเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา สภาพสังคมสมัยนั้นเป็นยังไงมั่งครับ นอกจากบทบาทของพวกคณะปกครองที่เป็นข้าราชการ ตำรวจ ทหาร
คุณศรีสวาท: รุ่นพ่อ จะมีความรับรู้ทางการเมืองค่อนข้างสูง มักจะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล รัฐบาลสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองพ่อ เป็นเพื่อนกับคนสนิทของท่านปรีดี พนมยงค์ ชื่อ คุณแช่ม พรหมยงค์ นี่จะเป็นมุสลิม เป็นจุฬาราชมนตรีในสมัยนั้น พ่อจึงมักเล่าเรื่องการเมืองให้ฟังเสมอๆ

ผู้สัมภาษณ์: พอจำได้ไหมครับ เล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
คุณศรีสวาท: อ๋อ ตอนนั้นพ่อยังไม่แก่ พ่อยังมีชีวิตอยู่ พ่อก็จะเล่าให้ฟังว่าคนนั้นอย่างงี้ คนนี้อย่างงั้น ตอนนั้นเราก็เล็กเกินไปกว่าจะมารับรู้ไอ้เรื่องการเมืองอะไรมากมาย แต่ว่าเราหารู้ไม่ว่านั่นคือสิ่งที่มันฝังรากอยู่ในตัวเรา เหมือนกับเมล็ดพันธุ์พืชคล้ายๆ อย่างนั้น เราไม่สามารถจะโหมใส่ความรู้เข้ามาในตัวเรา สิ่งเหล่านี้มันเกิดจากการได้รับ ได้ฟัง ได้เห็น ได้มองมันเป็นการสั่งสมประสบการณ์

ผู้สัมภาษณ์: คือพ่อก็มีอิทธิพลในการบ่มเพาะความรักความยุติธรรม
คุณศรีสวาท: ใช่ แน่นอนค่ะ ตรงนี้ พ่อเป็นคนรักความยุติธรรม แล้วเราเองเราก็เป็นคนรักความยุติธรรม พอเราเห็นไอ้คนที่ตัวใหญ่กว่ารังแกคนเล็กกว่า นี่ตัวเบ้อเร่อแล้วนี่ตัวนิดเดียวอย่างงี้ เราจะมีความรู้สึก จะเกิดอะไรขึ้นมั้ย คนเล็กอาจจะแขวะก็ได้ เราก็ไม่รู้ แต่ในขณะที่สายตาเรามองเห็นเราจะพบว่า เฮ้ย นี่มันไม่ยุติธรรมนี่หว่า ไอ้นี่มันเล็กกว่า นี่มันใหญ่กว่า เราจะต้องเข้าไปช่วย ลักษณะเป็นอย่างงั้น แล้วก็เคยห้ามคนไม่ให้ฆ่ากัน อย่างเช่นว่าแถวบ้านเนี่ย คนวิ่งไล่ฆ่ากัน เราเห็นเลยมันเงื้อมีดจะแทง เรามองจากในบ้านเรา รั้วเราก่ออิฐแล้วมันมีอิฐบล็อกอ่ะ มอง... “เอ้ย นั่นมันจะฆ่ากันนี่หว่า” แล้วประตูบ้านก็เป็นเหล็กโปร่งๆ เราก็ตะโกนออกไป มันก็ชะงัก มันก็วิ่งหนีไป ซึ่งสามีบอก “เอ้ย เดี๋ยวจะตายแทน” อะไรอย่างเนี้ย หรือว่าตั้งแต่สมัยเด็กๆ เนี่ย ที่เราเรียนหนังสืออยู่เนี่ยนะคะ เราเคยเห็นไอ้คนเล็กมันถูกรังแก เราก็ต้องวิ่งเข้าไปช่วย และแม้แต่ทุกวันนี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเผื่อเราเห็นความไม่เป็นธรรมนี้เกิดขึ้นนะ ถ้าเผื่อยุติธรรมนะ คุณน้ำหนักเท่ากันนะ แล้วคุณมีอาวุธเหมือนกัน เอ้า คุณล่อกันเข้าไปเลย แต่ถ้าเผื่ออีกฝ่ายนึงเสียเปรียบเนี่ยเราก็จะทนไม่ได้ สิ่งเหล่านี้มันอาจจะอย่างงี้ก็ได้ ที่พ่อได้ปลูกฝังตรงนี้เอาไว้ มันทำให้เรารักความยุติธรรม

ผู้สัมภาษณ์: แล้วมีสิ่งที่พ่อเล่าให้ฟัง มีอะไรบ้างที่ประทับใจที่สุดตอนเด็กที่ได้รับการเล่าจากพ่อ
คุณศรีสวาท: ถามว่าประทับใจ คือพ่อจะสอนเสมอว่า “เราเนี่ยอย่าไปรังแกใครนะ แล้วถ้าหากว่าใครรังแกเรา เราต้องอดทนให้ถึงที่สุดนะ ถ้าเราทนไม่ได้ เราต้องเอามันให้ตาย” อย่างงี้เลยนะ คือพ่อเป็นมุสลิมไง แต่ว่าเชื้อสายเค้าไม่ใช่ทางมลายู เป็นเชื้อสายทางอินเดีย คือพวกมุสลิมที่อยู่ในเมืองไทย มาหลายสายด้วยกัน สายมลายูนะ ก็คือสายมาเลเซียในปัจจุบันสายนี้

ผู้สัมภาษณ์: อยู่ในภาคใต้
คุณศรีสวาท: ภาคใต้ ... พวกอินโดนีเซีย แบบคุณอะไรที่เขียนหนังสือคู่สร้างคู่สมคุณ ดำรง พุฒตาล พวกนี้จะสายอินโดนีเซีย อีกพวกนึงมาจากอินเดีย สมัยก่อนอินเดียเป็นประเทศเดียว แล้วตอนหลังมันก็แบ่งเป็นปากีสถาน เป็นบังคลาเทศนะคะ อันนี้สายของนี่ มาทางอินเดีย แล้วก็พวกมาจากทางตะวันออกกลางก็พวกสายอิหร่าน คือพวกมุสลิมเนี่ยจะถูกสั่งสอน หนึ่งคือให้มีความอดทน คือนี่เป็นลูกผู้หญิงก็จริงนะคะ แต่ว่าจะใกล้ชิดกับพ่อมาก มีเวลาที่จะ สังเกตดูพ่อเนี่ย คือพ่อเปิดร้านขายกาแฟแถวศรีย่าน ก็จะขายบุหรี่อะไร ไอ้พวกทหารแถวเกียกกาย มันก็มาเบ่งกิน หรือไม่งั้นก็มีพวกตำรวจมาเบ่งกิน แต่พ่อคนเดียวนะเล่นงานมันซะกระจุย คือเนื่องจากว่าเค้าเป็นคนแข็งแรงนะ เค้าก็จะเล่นงานพวกนี้กระจุยไป คืออดทนไง คือมันถูกรังแกไง นี่ก็เช่นเดียวกัน ก็ติดนิสัยอย่างนี้มาเหมือนกันนะ แต่ถามว่าถึงกับเล่นงานใครตายหรือยัง ยังหรอก แต่เราจะใช้กฎหมายไง เราไม่เล่นอ่ะที่จะให้เราไปยืนเจ๊าะแจ๊ะอะไรอย่างงี้นะ แต่ว่าเราจะอดทน แล้วเราจะไม่เอารัดเอาเปรียบใคร มีอะไรพอจะช่วยเหลือคนได้ เหมือนกับพ่อ คือช่วยเหลือเพื่อนบ้านได้ ช่วยเหลือญาติได้จะทำทันที เป็นอย่างงั้น นี่คือจุดที่สำคัญ แต่ว่าใครอย่ามา เค้าเรียกอะไร อย่ามากดดันเรามากจนกระทั่งเราทนไม่ไหว นี่เป็นภาษาปัจจุบันนะ สมัยโบราณเค้าเรียกใครมารังแกเรามากจนทนไม่ไหว เรามีสิทธิ์ที่จะต่อสู้และป้องกันชีวิตเรา อย่างสมมุติ คุณเห็นงูตัวนึงเข้ามา ถ้าเกิดเป็นไทยพุทธเค้าก็ “ไปๆ ที่อื่นไป ไปตามทางทางใครทางมันนะ” อะไรอย่างงี้ใช่มั้ย  แต่คนอิสลามไม่ได้ มันจ้องเข้ามาปั๊บ ระหว่างชีวิตมันกับชีวิตเรา เรามีสิทธิ์ป้องกันชีวิตเรา นี่เป็นคำสอนในอัลกุรอานเลยนะ จะต้องเล่นงานมันทันที ไม่ใช่แบบพุทธ  แต่ตอนนี้ตัวเองเปลี่ยนศาสนาแล้วนะ เปลี่ยนมานับถือพุทธ

ผู้สัมภาษณ์: เปลี่ยนมานานรึยังครับ
คุณศรีสวาท: เปลี่ยนมาหลายปี แล้วศึกษาศาสนาพุทธ แล้วเราพบว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ลึกซึ้ง ลึกซึ้งมาก แล้วก็ทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดจากการกระทำของเรา กรรมในชาติปัจจุบันหรือในอดีตชาติ ซึ่งเราได้กระทำถ้าเผื่อเราไม่ได้ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิ เราก็ไม่สามารถย้อนอดีตของเราได้ แต่ถ้าเผื่อเราสามารถปฏิบัติธรรมได้ เราก็สามารถย้อนอดีตของเราได้ว่าเราทำกรรมอะไรมา เราถึงมาเจออะไรอย่างนี้ๆ ทีนี้อย่างศาสนาคริสต์ หรืออิสลามนี่ หรือยิวนี่ เค้ามีรากเหง้ามาจากศาสนาเดียวกัน แล้วมาแตกต่างกันที่ศาสดาองค์สุดท้าย แล้วเค้ามีอีกอย่างนึงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับพระเจ้า จะดีจะชั่วอะไรมันขึ้นอยู่กับพระเจ้าซึ่งบางทีเราก็ต่อล้อต่อเถียงกับโต๊ะอิหม่ามนะ พวกโต๊ะครูที่มาให้ความรู้ จนกระทั่ง พวกมุสลิมที่ทำงานเค้าก็ระอาเรา เรามันชอบถกเถียง ชอบเถียงชอบอะไร เราก็ “เอ๊ะ เรามันโง่หรือเปล่า หรือว่าเราอยากจะแสดงวาทะอะไรรึเปล่า” ถามตัวเองนะคะ แล้วผู้หญิงมุสลิมเนี่ยจะถูกสอนให้เชื่อฟังสามี แม้แต่พี่คนนึงที่เค้าเป็นมุสลิมแล้วก็จบกฎหมายที่ธรรมศาสตร์เป็นหัวหน้ากองกฎหมายด้วยนะ แต่พอมีผู้รู้ทางศาสนามาบรรยายให้ฟัง พอถึงสิทธิสตรี เค้าจะนั่งเงียบเลย บอก “พี่ พี่ถามสิ” เขาจะไม่กล้าตอบ

ผู้สัมภาษณ์: คือเค้าสอนให้เชื่อฟังสามีแต่ตอน 14 ตุลา นี่ คุณป้าไม่ฟัง
คุณศรีสวาท: ไม่ฟังหรอก ไม่ต้องฟังหรอก สามีต้องฟังเรา คือเค้าก็มีเหตุผลของเค้า คือเราเกิดตายไปลูกก็ต้องลำบากกำพร้าแม่ เค้าก็ต้องมาแบกภาระเลี้ยงลูก จริงมั้ย อันนี้ก็คือเหตุผลของเค้า แต่เหตุผลของเราคือเรารักความเป็นธรรม เพราะรัฐบาลทำอย่างงี้ไม่ถูกต้อง เราต้องออกไปช่วยคน นิดๆ หน่อยๆ ก็ยังดี ตรงนี้เป็นจุดที่สำคัญ

ผู้สัมภาษณ์: คือความไม่ถูกต้องของรัฐบาลคือการปราบปรามนักศึกษาใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ใช้อาวุธที่ร้ายแรง ขณะที่ประชาชนเรียกว่าแทบจะมือเปล่า ถึงจะมีอาวุธก็ตามแต่จะหาได้ เช่น ไม้กระบอง อย่างที่เห็น ก้อนอิฐก้อนหินก็เขวี้ยงกันเข้าไป อาจจะมีปืนบ้าง

ผู้สัมภาษณ์: มูลเหตุของความไม่ถูกต้องก็มาจากการจับกุมใช่มั้ยครับ แล้วคุณป้าเห็นด้วยกับการมีรัฐธรรมนูญ การเรียกร้องรัฐธรรมนูญมั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ตอนนั้นนะ ก็คิดว่า “เอ๊ะ ไหนคุณบอกกับเรา บอกทางวิทยุกระจายเสียงน่ะ รัฐบาลบอกทุกวัน มีเพลงร้องด้วยนะ ว่าเป็นประชาธิปไตย” เค้ามีเพลงร้อง เพลงร้องว่าไงจำไม่ได้แล้ว

ผู้สัมภาษณ์: คือสมัยรัฐบาลทหารก็มีเพลงร้อง
คุณศรีสวาท: มีเพลงร้องเกี่ยวกับประชาธิไตยนี่แหละ เราก็คิดว่า “เราก็เป็นประชาธิปไตยนี่” ไม่รู้ว่าเผด็จการเป็นยังไง แล้วไม่รู้ว่า อ้าวเราก็อยู่ได้ มีกินมีใช้ มีชีวิตที่สนุกสนาน เราก็คิดว่า “โอเคละ นี่มันก็เป็นประชาธิปไตยแล้ว”

ผู้สัมภาษณ์: เราก็ไม่เดือดร้อน
คุณศรีสวาท: ไม่ได้เดือดร้อนอะไร สิทธิส่วนบุคคลเราก็ไม่เคยใช้ ใช้สิทธิของเราไปละเมิดสิทธิของคนอื่น คืออย่างว่า คนดีนะมันอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ เราก็ไม่คิดว่าการมีรัฐธรรมนูญหรือไม่มีรัฐธรรมนูญมันจะมีความสำคัญอะไรนักหนา พอเค้าบอก... พอเพื่อนบอก “เจ๊ เค้าเรียกร้องรัฐธรรมนูญนะ” “อ้าว บ้านเราไม่มีรัฐธรรมนูญเหรอ” “ไม่มีหรอก มีคณะทหารเค้าเรียกธรรมนูญการปกครอง” มันก็เป็นอย่างงี้ คือตอนนั้นคืออย่างงี้นะ ต่อมาเนี้ยเราเรียนรัฐศาสตร์ เป็นวิชาโท คือการปกครองแต่ละรูปแบบ เราก็พบว่าการปกครองแต่ละรูปแบบเนี่ยนะมันก็เหมาะสำหรับแต่ละประเทศ มันไม่ใช่ว่าเป็นประชาธิไตยแล้วเนี่ยนะ จะใช้ได้ทุกอย่าง มันก็เหมาะสำหรับแต่ละประเทศ ทีนี้ถามว่า เอ๊ะพอพูดอย่างงี้ “ยัยคนนี้ไหนว่ารักความเป็นธรรม” ทหารไม่ได้รักความเป็นธรรมเหรอ จริงๆ แล้วนะ ทหารเค้าก็รักความเป็นธรรม เค้าก็คือมนุษย์อย่างเรา เค้าไม่ใช่มนุษย์ต่างดาวนะ ที่พูดกันไม่รู้เรื่องนะ แต่บางทีเค้ารำคาญ ในชื่อของทหาร คือเค้าถูกฝึกมา อย่างโรงเรียนนายร้อย นายเรือ  เค้าอยู่ในระเบียบวินัยแล้วเค้ามีเหตุผลของเค้าใช่มั้ยคะ แล้วเค้าเป็นทหาร แล้วคุณเป็นทหาร เค้าสั่งให้ไปรบ คุณบอก “เอ้ยมาอภิปรายกันก่อน 3 วัน 3 คืน” บ้านเมืองก็วายป่วงหมด จริงรึเปล่า เพราะฉะนั้น คำสั่งเขาก็ต้องเป็นคำสั่ง แล้วคำสั่งนี้ นาย... ผู้บังคับบัญชาของเขาก็ต้องดูแล้วว่า ถ้าเผื่อสั่งให้ยิงข้าศึกเนี่ยนะคะ คุณต้องยิงนะ ถ้าคุณไม่ยิงนี่ ข้าศึกมันรุกเข้ามา พวกเราจะเสียหายป่วงกันไปหมด อย่างนี้ ทหารก็ต้องทำ แล้วทหารนี่เค้ามีวินัยของเค้า ถามว่าการมีวินัยนี้เป็นเผด็จการหรือไม่ ไม่ใช่ เดี๋ยวจะยกตัวอย่างให้ฟัง หลังจากเราผ่านเหตุการ 14 ตุลา ’16 แล้ว 6 ตุลา ’19 มาแล้วเนี่ย 6 ตุลา ’19 อยากทราบใช่มั้ย

ผู้สัมภาษณ์: ต้องการครับ เดี๋ยวไล่ไปเป็นลำดับ
คุณศรีสวาท:  หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 เกลียด ทหารมาก เห็นสีเขียวไม่ได้ แทบจะอาเจียนใส่เลย เป็นความเกลียดที่เขาทำร้ายประชาชน เหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 ตอนนั้นพอหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 ผ่านพ้นไปไม่เท่าไหร่นะคะ ขบวนการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็เข้ามาแทรกแซงกิจกรรมของนักศึกษา

ผู้สัมภาษณ์: อย่างเช่นอะไรบ้างครับ
คุณศรีสวาท: เข้ามาในองค์กรของนักศึกษา เข้ามาชี้นำ ฉวยโอกาสอ่ะ นึกออกมั้ย คำว่าฉวยโอกาสน่ะ หลังจากนั้นแล้วไม่ช้าไม่นาน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา เราก็เริ่มฟังสถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย

ผู้สัมภาษณ์: คือมีเพื่อนแนะนำหรือว่ายังไง
คุณศรีสวาท: เพื่อนแนะนำ แล้วก็จากพวกคอมมัวนิสต์เค้าก็เข้ามาในมหาวิทยาลัย เข้ามามหาวิทยาลัยอื่นหรือไม่เราไม่รู้ แต่เฉพาะที่ธรรมศาสตร์ เค้าก็แฝงเข้ามา เราไม่รู้ว่าใครคือคอมมิวนิสต์

ผู้สัมภาษณ์: คือตอนนั้นคุณป้ายังเรียนอยู่?
คุณศรีสวาท: เรียนอยู่ ขึ้นปี 4 มั้ง หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 เราก็เรียนอยู่ปี 4 ในมหาวิทยาลัยมันให้อะไรเราเยอะ เราก็เริ่ม... เราเริ่มมีการศึกษามากขึ้น พวกเพื่อนฝูงรุ่นน้องในคณะเดียวกัน เค้าเริ่มให้การศึกษา... เค้าก็เอาหนังสือ... หนังสือประวัติศาสตร์  5 ยุค มาให้อ่าน

ผู้สัมภาษณ์: วัตถุนิยมประวัติศาสตร์
คุณศรีสวาท: วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ มาอ่าน ภาษาอะไร อ่านไม่ออก อ่านแล้วไม่แตก มันไม่ใช่ภาษาที่เราเรียนหนังสือ หรือภาษาที่เราพูดคุย หรือภาษาราชการที่เราใช้ ไม่ใช่ “มันเป็นภาษาอะไรเนี่ย” น้องคนนี้เค้าก็ “พี่ค่อยๆ อ่านไปก็แล้วกัน” เค้าเอามาให้ หลายเล่มอยู่เหมือนกันนะ เล่มแรกก็คือเนี่ย ประวัติศาสตร์ 5 ยุคนี่แหละ เราก็อ่าน รู้มั่งไม่รู้มั่ง ตามเรื่องตามราว แล้วเราก็ หลังจากนั้น ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็มีการศึกษา เราก็ไม่รู้ว่านี่คือเป็นวิธีการของคอมมิวนิสต์ ก็นั่งล้อมวงกัน

ผู้สัมภาษณ์: คือตั้งกลุ่มศึกษา
คุณศรีสวาท: ตั้งกลุ่มศึกษา

ผู้สัมภาษณ์: ก่อนหน้านั้นมีมั้ยครับ ก่อนหน้า 14 ตุลา มีมั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ไม่มี

ผู้สัมภาษณ์: หลัง 14 ตุลา ถึงจะมี
คุณศรีสวาท: แต่ไม่ใช่หลังปุ๊บมีปุ๊บนะ หลังปุ๊บก็ซัก 5 – 6 เดือน ก็เริ่ม... ขบวนการนักศึกษาจากนั้นก็มีการเรียกร้องนะ หลังจากเหตุการณ์ เอ่อ ชีวิต... เดี๋ยวย้ำนิดนึง ชีวิตของผู้ใช้แรงงานนะ ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ นี่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ คือชีวิตที่ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากว่าค่าครองชีพต่ำ สวัสดิการแย่มาก

ผู้สัมภาษณ์: นั่นคือช่วงก่อน 14 ตุลา?
คุณศรีสวาท: ใช่ ช่วงที่ป้าทำงานอยู่ ระหว่างที่ทำงานอยู่นะคะ แต่ว่าพอหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 ตัวเองก็เลยเป็นหัวหอก นำจัดตั้งสหภาพแรงงาน สมัยก่อนเราเรียกว่าสมาคมผู้ใช้แรงงาน ก็มีการจัดตั้งสมาคมผู้ใช้แรงงาน แล้วเราก็เรียกร้องสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน ค่าแรงด้วย ค่าแรงปรับขึ้นมา ตอนนั้นมีการเรียกร้องตลอดทั้งปี เรียกร้องร้อยกว่าแห่ง เพราะชีวิตในช่วงนั้น ชีวิตของชาวนาชาวไร่ ชีวิตของกรรมกร ชีวิตของพนักงานรัฐวิสาหกิจ แล้วก็ของข้าราชการระดับล่างๆ  เป็นไปอย่างแย่มาก ระดับสูงเราก็ไม่รู้ว่าแย่แค่ไหนนะ เพราะเราไม่สูง เพราะเราเป็นแค่พนักงานธรรมดาในขณะนั้น มันก็ต่ำ แล้วเมื่อเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 เราได้รับการเรียนรู้อะไรต่างๆ เราก็จัดตั้งสมาคมผู้ใช้แรงงานในองค์การโทรศัพท์ ยื่นข้อเสนอกับผู้บังคับบัญชา แต่ว่าเรากับผู้บังคับบัญชา ไม่ใช่เป็นศัตรูกันนะ เราก็บอกกับนาย เราจะเรียกร้องอย่างงี้นะ นายบอกเอาเลยเรียกมาเลย แล้วเดี๋ยวนายก็ให้ เราก็เป็นมิตรอันดี จนกระทั่งผู้บังคับบัญชาบอกว่า นี่ออกไปต่างจังหวัดสิ ไปหาสมาชิก เพราะว่าองค์การโทรศัพท์ไม่ใช่อยู่แค่กรุงเทพฯ มันทั่วทั้งประเทศ เค้าบอกให้ไปหาสมาชิก แล้วก็คุณก็ไปนะ โดยได้เบี้ยเลี้ยงด้วย ได้เบี้ยเลี้ยง ถือว่าไปราชการ คือรัฐวิสาหกิจมันมีลักษณะกึ่งราชการ มันมีพ.ร.บ. ของมันโดยเฉพาะ มันก็เป็นของรัฐนะว่าไป มันไม่มีหุ้นของเอกชนแม้แต่บาทเดียว มันเป็น... ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นของรัฐบาลทั้งนั้น แต่ว่ามันมีลักษณะเพียงแต่สูงกว่าข้าราชการหน่อย มีโบนัส มีอะไรงี้ แต่ว่ามันยังเลวอยู่ การปรับเงินเดือนขึ้นทีนึงปีละไม่กี่บาท พอต่อมาเราไปจัดการเรื่องทุจริตของผู้บังคับบัญชาเข้า คือ ไอ้คนที่ให้เราออกไปหาสมาชิก เค้าก็เลยฮั้วกันมาล้มเราออกไป ก็เหมือนกับรัฐบาลปัจจุบันนี่แหละ  พอทำท่าดี พอมีการทุจริตอะไรเข้าก็เริ่มรวน เราแพ้การเลือกตั้ง แล้วก็ได้คนของผู้บังคับบัญชาซึ่ง make money  เข้าไป องค์การโทรศัพท์เกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณนะ เพราะได้สัมปทานคลื่นมือถือขององค์การโทรศัพท์ต่อมาก็มีการแปลงสัญญา สัมปทาน  แล้วก็พิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ด้วย

ผู้สัมภาษณ์: Yellow Pages สมุดหน้าเหลืองใช่ไหมครับ
คุณศรีสวาท: จริงๆ แล้ว ไม่ใช่เหลืองอย่างเดียว ขาวด้วย หน้าขาวสำหรับประชาชน อย่างโทรศัพท์ตามบ้าน สมัยก่อนเลขหมายมันน้อยใช่มั้ยคะ เค้าก็พิมพ์ได้ 1 เล่ม แล้วต่อมาเลขหมายมันเพิ่มมากขึ้น เค้าต้องพิมพ์มากขึ้น ใช่มั้ยคะ มันก็เป็นหลายเล่ม ทำให้เค้าลงทุนมาก  ต่อมาไม่ลงทุนอย่างงี้ คุณทำประชาสัมพันธ์นะ บอกไปเลย อดีตนายก ทักษิณไม่ได้มาจี้เรานะ เขาจี้นายเรา นายเราก็มาจี้เราอีกที บอกว่าเค้าจะพิมพ์ซีดี สมัยก่อน สิบกว่าปีมาแล้ว ซีดีแผ่นนึงก็ต้นทุนซัก 20 บาท แล้วคนในกรุงเทพฯ คิดดูสิคะว่ากี่คนที่มีเครื่องcom  เช่นว่าจะถามชื่อชื่อคุณอย่างงี้ ชื่อศรีสวาทอย่างงี้ คุณก็ต้อง key ข้อมูลเข้าหน้าเครื่องคอมพ์ใช่มะ  เอาซีดีใส่เข้าไป อ้อ ศรีสวาท อาระจิตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 02 - 2757969 อย่างงี้ ใช่มั้ยคะ ไม่มีสมุดให้แล้ว ประชาชนเวลานี้ถูกโกงไปเท่าไหร่รู้มั้ย ไม่รู้ ใช่มั้ย แล้วตอนหลังเนี่ยก็ผู้ได้รับสัมประทานมี questionnaire มาถามว่า คุณต้องการสมุดหน้าขาว ถ้า ต้องการ สมุดหน้าขาวเสำหรับประชาชน แต่สมุดหน้าเหลืองสำหรับร้านค้า เค้าแยกกัน ร้านค้ามีโฆษณาใช่มั้ย เค้าได้เงินจากค่าโฆษณา แต่สมุดหน้าขาวเนี่ยเค้าไม่ได้เงิน แต่ว่าจะต้องแบ่งที่เขาได้รับสัมปทานให้องค์การโทรศัพท์อีกนะ แล้วก็ต้องพิมพ์หน้าขาวให้ฟรีๆ หน้าขาวคือโทรศัพท์ตามบ้าน เช่น ชื่อศรีสวาท หมายเลขอะไร มีกี่เลขหมายก็ใส่ลงไปในสุมดหน้าขาวเราก็เปิดดู ต่อมาบริษัทของทักษิณบอกไม่เอาแล้ว ลงทุนให้ไม่ไหว เอาซีดีไปแผ่นนึงแล้วกัน แล้วถามว่าบ้านแต่ละบ้านเนี่ย มีมั้ยเครื่องคอมพ์ ที่จะเอาซีดีใส่เข้าไป แล้วก็ key ข้อมูลแล้วหมายเลขโทรศัพท์จะปรากฎขึ้นมา คนนี้นะหมายเลยนี้ ประชาชนแย่มากเลย ไม่ได้รับความสะดวก เวลานี้จะถามเลขหมายอะไรต้องถาม 1133 ซึ่งเป็นบริการสอบถามเลขหมาย

ผู้สัมภาษณ์: แล้วคุณป้าจัดตั้งสหภาพองค์การโทรศัพท์ เป็นแกนนำในการ...  เป็นผู้ก่อตั้งเลยใช่มั้ยครับ ประมาณปีไหนได้นะครับ
คุณศรีสวาท: 2517 ประมาณนั้นนะ

ผู้สัมภาษณ์: แล้วเทคนิคในการจัดตั้งนี่ คุณป้าเรียนรู้มาจากไหนครับ
คุณศรีสวาท: เราก็ถามคน  พรรคพวกกันนะคะ ว่าเนี่ย ตอนแรกการเรียกร้องหรือรวมกลุ่มกัน เราไม่ได้จัดตั้งเป็นสมาคมแล้วก็เรียกร้อง คือเป็นกลุ่มพนักงานน่ะ เหมือนกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเนี่ย ก็คือกลุ่มคน แต่ชื่อเรามาเรียกกันทีหลัง นี่ก็เช่นเดียวกันค่ะ ก็เราเอากลุ่มคนที่มีความคิดอย่างเดียวกันว่าในองค์การโทรศัพท์ไม่มีความเป็นธรรมนะ  มีโบนัสธรรมดาแล้วยังมีโบนัสมืดอีกนะสำหรับผู้ใหญ่ โบนัสมืดนี่มันไม่ยุติธรรมนี่ นายอาจจะรับทีละ 5 – 6 เดือนนะ เป็นกำไรอันเกิดจากรายการประกอบกิจกรรม สมมุติว่าเงินเดือนเรา 700 บาท เราได้โบนัส 2 เดือน ก็คือ 1,400 แต่นายเงินเดือนก็มากกว่าเรายังได้โบนัสมืดอีกนะ โบนัสธรรมดา 2 เดือนแล้ว ยังได้โบนัสมืดอีก 3 – 4 เดือน ซึ่งเรามองว่าวิธีนี้ไม่ยุติธรรม

ผู้สัมภาษณ์: บอร์ดนี่ก็คือเป็นตำแหน่งแต่งตั้งมานั่ง?
คุณศรีสวาท: เมื่อมานั่ง ก็จะมีอยู่ประมาณ 6 – 7 คน หรือ 9 คน ก็จะตั้งมานั่ง ตั้งเป็นตัวเลข เค้าเรียกเลขอะไร... เลขคี่ สำหรับเวลา vote อันนี้เรื่องแรกที่เราจัดการคือเรื่องโบนัสมืดตอนที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานนะคะ

ผู้สัมภาษณ์: แล้วคุณป้าได้ขึ้นเป็นประธานสหภาพมั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ไม่ค่ะ ไม่ได้ขึ้น ผู้ชายเป็น

ผู้สัมภาษณ์: อยู่ประมาณกี่ปีได้ครับ ได้เป็นกรรมการสหภาพ
คุณศรีสวาท: ก็อยู่ประมาณซัก 2 ปี องค์การโทรศัพท์มันทุจริตเยอะ ต่อมาภายหลัง แล้วเรารับทราบว่าขณะที่เราถือไมโครโฟนเนี่ย ตั้งแต่เย็นวันนี้ถึงเช้าวันรุ่งขึ้น เลือกตั้งนะคะ ที่เค้ามาล้มเราก็เพราะเลือกตั้ง เหมือนกับ เหมือนกับรัฐบาลกับพรรค อาศัยเงื่อนไขการเลือกตั้ง อยู่ดีๆ จะมาล้มเราไม่ได้หรอก ใช่มั้ย มันต้องอาศัยการเลือกตั้ง พอเลือกตั้งปั๊บ ก็ฮั้วกันมาลง มีเงินแจกนี่คะ พวกทุจริตมันก็แจกกัน ทางเรานี่ไม่มีเงินแจก แต่เราก็เตรียมการเอาไว้เหมือนกัน ถ้าเผื่อมันอะไรขึ้นมามันก็ต้องรุนแรง ในช่วงนั้นหลังจากตรงนั้นแล้วนะคะ หลายปีผ่านมาเนี่ย มีคนมาเล่าให้ฟังว่า เขาช่วยราชการอยู่ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เขาแฝงตัวเข้ามาเป็นพนักงานขับรถ เค้าติดตามดูพฤติกรรมของเรา เค้ารู้ว่าเราเรียนที่ไหนอะไรยังไง มีอะไรที่ไหนยังไง จนกระทั่งเรียกร้องอะไรต่างๆ เค้าบอก “คุณเป็นผู้หญิงคนเดียวและเป็นกรรมการคนเดียวนะที่คุณถือไมโครโฟน ตั้งแต่เช้าวันนี้ที่มีการเลือกตั้งนะ จนกระทั่งถึงเช้าอีกวัน” ไม่ได้นอนเลยนะ แล้วตอนนั้นสภาพร่างกายเรายังสาวอยู่ เรายังแข็งแรงอยู่ พวกผู้ชายหนีไปนอนหมดแล้ว แล้วเราถือไมโครโฟน แล้วเค้ายังบอกเลยว่า “คุณมือแค่ราชดำเนิน คุณไม่ถึงสนามหลวง” มือเราเนี่ย แค่ราชดำเนินไม่ถึงสนามหลวง ทีนี้ เหล่านี้ มันเป็นสาเหตุให้เราติดตามสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา แล้วพูดถึงการศึกษาที่เราพูดไปสมัยนี้เราเรียกกันว่าพวกฝ่ายซ้าย ปรากฏว่าพวกเพื่อนเราหลายๆ คน ต่อมาภายหลังเรารู้ว่าคุณนี่ไปร่วมกับขบวนการในป่า คือเค้าก็ อย่างน้องผู้หญิงคนนึง เค้าก็มาให้การศึกษาเรา เด็กคนนี้ เป็นเด็กเรียนภาคกลางวัน ใครๆ ก็รู้จักในมหาวิทยาลัย ในคณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะวารสาร จะรู้จักเราเป็นอย่างดี เนื่องจากว่าเราเรียนภาคค่ำ แล้วบางวิชาเรามา take ด้วยกัน บางทีคือวิชารัฐศาสตร์เป็นวิชาโท แล้ววิชาพื้นฐานทุกคนต้องเรียนใช่มั้ยคะ แล้วพวกเศรษฐศาสตร์อะไรต่างๆ ก็มาเรียน ช่วงนั้นเราก็มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองเช่นการปิดโปสเตอร์อะไรต่างๆ แจกใบปลิว ซึ่งเราไม่รู้ว่านี่มันคอมมิวนิสต์ หรือไม่คอมมิวนิสต์เราก็ไม่รู้ แต่เราก็ทำไป

ผู้สัมภาษณ์: นี่มันคือหลัง 14 ตุลา ใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: หลัง 14 ตุลา

ผู้สัมภาษณ์: โปสเตอร์เนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
คุณศรีสวาท: เช่นการต่อต้านสหรัฐ การปิดโปสเตอร์นี่ มาถามสิว่าจะปิดยังไง ถึงจะน่าสนุก

ผู้สัมภาษณ์: ยังไงนะครับ
คุณศรีสวาท: อย่างเช่น ลอนสังกะสีเนี่ยนะ เราก็ต้องทาแป้งเปียกให้มันทั่วทั้งแผ่นเลย แล้วต้องรีดให้ตามรอย ไม่งั้น มันฉีกได้ง่าย ต้องทาแบบให้แนบแน่นเลย อันนี้เราร่วมงานกับพวกเศรษฐศาสตร์ พวกเศรษฐศาสตร์เนี่ยยิ่งกว่าพวกรัฐศาสตร์อีก ความคิดเค้าก้าวหน้าค่ะ เค้าคงผ่านกระบวนการอะไรมา เราไม่รู้ ภาษาเขาเรียกว่า เป็นแนวร่วมเรื่องราว หรือเป็นแนวร่วมแบบไม่รู้ตัว

ผู้สัมภาษณ์: คือเศรษฐศาสตร์ก้าวหน้ากว่าพวกรัฐศาสตร์อีกใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: คือพวกนี้เรียนทฤษฎี Das Kapital ของ Karl Marx เพราะฉะนั้นเค้าเข้าใจเรื่องทุน ส่วนทางรัฐศาสตร์ อาจถูกแนะนำให้อ่านหนังสือเรื่อง “จ้าว” หรือ THE  PRINCE

ผู้สัมภาษณ์: คุณป้าก็สนิทกับเศรษฐศาสตร์ มากที่สุดเลยใช่มั้ยครับ มากกว่ารัฐศาสตร์
คุณศรีสวาท: ค่ะ จะสนิทมากกว่า

ผู้สัมภาษณ์: คือไปแปะนี่ไปแปะประจำเลยมั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ก็ระยะนึงนะคะ ในช่วงที่ติดต่อสัมพันธ์กันอยู่ แล้วก็พวกน้องภาคกลางวันคณะวารสารน่ะ ซึ่งเข้าป่าหลายคน

ผู้สัมภาษณ์: หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ’19 คุณป้าได้อยู่ในเหตุการณ์มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: อยู่ ตอนนั้นเรียนจบแล้ว คืออย่างงี้นะคะ ระหว่างที่เราเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย 7 ปีนะคะ หลักสูตรมัน 6 ปี ที่บอกเสียเวลาไปกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไป 1 ปี 1 วิชา ทำให้เราเสียเวลาไป 1 ปี ในช่วงนี้เราก็ยังอยู่ในมหาวิทยาลัยตลอด เพราะฉะนั้นเราก็จะเห็นเหตุการณ์  น้องๆ ก็จะมาขอบริจาคเงินเราค่ะ เพราะเราทำงานด้วยไงใช่มั้ยคะ เราก็พูดคุยอะไร เราก็จะรู้จักเด็กภาคกลางวันมากกว่า เค้าก็ชวนเรามานั่งให้การศึกษา ที่สนามฟุตบอล เอาประวัติศาสตร์ 5 ยุคมาให้เราอ่าน แต่ต่อมาภายหลัง เรารู้ แล้วเราคิดว่าเรารู้ลึกยิ่งกว่าเค้า เพราะเราศึกษาปรัชญาแนวความคิด perception ของพวกฝ่ายซ้ายจากนายทหารและจากตำรวจ ที่จับพวกคอมมิวนิสต์มา แต่ก่อนหน้านั้น มีนายทหาร นายตำรวจ สันติบาลหลายคนที่จับคอมมิวนิสต์มาแล้ว แล้วก็ได้รับการถ่ายทอด เค้าก็มาถ่ายทอดแนวคิดนี้ให้กับเรา  ทหารส่วนใหญ่ก็เป็นทหารกองทัพภาค ส่วนใหญ่ก็กองทัพภาค 2 ที่มีฝ่ายซ้ายอยู่เยอะๆ อ่ะ และกองทัพภาค 3 ทางภาคเหนือ แล้วก็กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในก็มาถ่ายทอดให้เรา มันทำให้เราเรียนรู้มากขึ้น

ผู้สัมภาษณ์: เค้ามาถ่ายทอดยังไง
คุณศรีสวาท: โดยการอบรม อบรมหลายอย่าง อบรมข้าราชการหรือพนักงานระดับสูง อบรมพนักงานข้าราชการระดับล่าง อบรมพวกผู้ใช้แรงงาน อะไรอย่างงี้ เค้าก็อบรมมา มันทำให้เราเรียนรู้ อ๋อ ย้อนไป ย้อนอดีตว่า ครั้งหนึ่งเราถูกให้เรียนประวัติศาสตร์ 5 ยุค  มีหนังสือเล่มนี้ด้วย  แล้วหลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลา ’19 หนังสือพวกนี้เราต้องเอาไปฝัง ปัจจุบันนี้ก็ลืมไปแล้วว่าฝังไว้ไหน นั่นคือ... เมื่อกี๊จบภาค 14 ตุลา ’16 จากนั้นแล้ว 6 ตุลา ’19 เราก็เรียนรู้ขบวนการเคลื่อนไหว ว่าคอมมิวนิสต์นี้เค้าก็พยายามฉกฉวยโอกาสนี้ ขอใช้ศัพท์นี้นะคะ ว่าเนี่ยเป็นเพราะเค้านะถึงได้มีการปฏิวัติ 14 ตุลา ’16 เค้าปฏิเสธว่านี่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่ประชาชนลุกขึ้นมา แต่ตัวเองนี่ขอยืนยันเลยว่าตอนนั้นก็ไม่ได้รู้จักอะไรเลย เราแค่ รักความเป็นธรรม คุณลองไปถามคุณประพัฒน์ ฉั่วดูสิ ว่าคุณเป็นคอมมิวนิสต์รึเปล่า คุณจีระ บุญมาก รักความเป็นธรรมเท่านั้นเอง ไม่ใช่คอมมิวนิสต์แทรกแซง หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 แล้ว ขบวนการของคอมมิวนิสต์ถึงเข้ามา แล้วคุณวิรัช อังคถาวร มาจับงานทางด้านนักศึกษา เค้ามีหน้าที่โดยตรงจากคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการกลางพรรคก็มีทองปักษ์ เพียงแถม บิดาของอดิสรณ์ เพียงเรามี ซึ่งหลังเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 19 อดิสรณ์ ก็เข้าป่าไปหลายปี จนรัฐบาลประกาศคำสั่งที่ 66/23 ให้พวกที่หนีเข้าป่า ออกมาพัฒนาชาติไทย มีอะไรก็มาต่อสู้ในระบบรัฐสภา ไม่ใช่ว่าพล่านกลางถนนอย่างเช่นปัจจุบัน

ผู้สัมภาษณ์: ผิน บัวอ่อน รึเปล่า
คุณศรีสวาท: ผิน บัวอ่อน ไม่ใด้เป็นคณะกรรมการและอยู่ตรงข้ามกับพคท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทษไทย) และแยกตัวออกจากพคท.นานแล้ว  วิรัชมาจับงานด้านนักศึกษาโดยตรง คือคณะกรรมการกลางของคอมมิวนิสต์ เค้าจะไม่ cross คือจะไม่สัมพันธ์ขวาง คืองานคนนี้คนนี้รับผิดชอบ คุณทำไปเลย คนนี้ไม่มีหน้าที่คุณอย่าเข้ามา วิรัชมาจับงานนักศึกษา แต่บุคคลเหล่านี้เค้าไม่ได้มาจับจากเราโดยตรงนะ คือเค้าจะผ่านแกนนำขบวนการแนวร่วมนะคะ ผ่านขบวนการแนวร่วมมาให้การศึกษาเรา เอาทฤษฎีมาดูกับสภาพที่เป็นจริงของสังคมไทย ซึ่งบางอย่างมันก็จริง แต่บางอย่างมันก็ไม่จริง

ผู้สัมภาษณ์: ในฐานะที่คุณป้าก็ทำงานกับผู้ใช้แรงงานด้วยเป็นกรรมการสหภาพแรงงานด้วย มองมุมมองมันจะเห็นภาพจริงๆ ข้อเท็จจริง
คุณศรีสวาท: คือ ผู้ใช้แรงงาน เค้ามองเพียงแค่ว่าเค้ากินอิ่มนอนหลับ ครอบครัวอยู่ดีมีสุขเค้าพอใจละ แล้วคนส่วนใหญ่ของสังคมไทยก็จะเป็นอย่างงี้เค้าไม่ต้องการที่จะไปเข่นฆ่าหรือ struggle for life  ใช้ศัพท์นี้เลยนะ เค้าไม่ต้องการที่จะสู้อย่างรุนแรงเพื่อการดำรงชีวิตของเค้า แต่เค้าต้องการที่จะต่อสู้ในระดับเดียวเท่านั้นเอง เค้าก็มีกินมีใช้ แล้วอนาคตที่มองเค้าก็มองแค่ลูกหลานเค้าส่วนอนาคตของประเทศชาติจะเป็นยังไงเค้าก็ไม่สน ปัจจุบันก็ยังมีลักษณะอย่างงี้อยู่ ยังมีอยู่สูงในสังคมไทย บ้านเมืองเราพัฒนาไปเป็นคอมมิวนิสต์ค่อนข้างมาก

ผู้สัมภาษณ์: กลับมา 6 ตุลา มันยังไงบ้างครับคุณป้า
คุณศรีสวาท: 6 ตุลา ’19 มันเกิดจากการก่อตัวของขบวนการเด็กอาชีวะ แล้วก็ทหาร ซึ่งเค้าสูญเสียอำนาจไป เหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 เนี่ย ในช่วงนั้นตำรวจหนีออกไปจากโรงพักเลยนะ นักศึกษาขึ้นโรงพัก ไปเป็นเจ้าหน้าที่แทน โรงพักพระราชวัง ชนะสงคราม อะไร โรงพักที่อยู่รอบๆสนามหลวง  หนีหมดเพราะมันมีการเผาที่เนี่ย อตก. แล้วก็มีคนตายอะไรอย่างงี้ ที่ บชน. ผ่านฟ้าเนี่ยจะถูกเผาเป็นประจำ กองสลากก็ถูกเผา ถูกเผาครั้งแรกนะ ’19 ถูกเผาอีกกองสลากนี่ ทีนี้โรงพักเนี่ย ตำรวจก็ไม่มี มันอาจจะหมั่นไส้เด็กอะไรอย่างงี้ เด็กก็ต้องไปขึ้นโรงพักบริการประชาชน อู้ย บ้านเมืองขนาดนั้นต้องเรียกว่า Anarchist น่ะ บ้านเมืองไม่มีขื่อไม่มีแป ตำรวจไม่ทำหน้าที่ เด็กก็ไม่ได้ทำหน้าที่ เด็กก็ไปทำหน้าที่ตำรวจ ตำรวจไม่รู้ไปไหน อะไรอย่างเนี้ย จนกระทั่งใช้เวลามากพอสมควรนะ ในการที่จะปรับเข้าสู่สหายแบบเดิม

ผู้สัมภาษณ์: เป็นปีมั้ยครับ
คุณศรีสวาท:  ไม่กี่วันตำรวจเค้าก็เข้าทำงานในโรงพักแล้ว แค่ 5 – 6 วัน 

ผู้สัมภาษณ์: แล้วบทบาทของนักศึกษาตอนนั้น ยังเข้าไปติดตาม
คุณศรีสวาท: ก็เรียนสะเปะสะปะ  ขบวนการนักศึกษามีลักษณะ super ego มีการทุจริตกันอะไรกัน คงทราบนะคะ เด็กรามคำแหงนะ งาบเงินของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาไปตั้ง โห เป็นล้านๆ มีการตรวจสอบมีการจับกุมกันอะไร

 

ผู้สัมภาษณ์: คือตรวจสอบภายในใช่มั้ยครับ นักศึกษาเค้าตรวจสอบกันเอง
คุณศรีสวาท: ไม่ค่ะ นักศึกษาตรวจสอบกันเอง แล้วส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบต่อว่ามีการโกงเงินกันอะไรกัน คือความโลภไง เค้าไม่มีอุดมการณ์ทางการเมือง นึกออกมั้ย  เค้าก็ต่อสู้ในขณะนั้นเพียงเพราะเค้ารักความเป็นธรรม หรืออาจจะมีอารมณ์ร่วมอะไรอย่างงี้ของเค้า อาจตกกระไดพลอยโจนของ เมื่อภายหลังกลับเข้าสู่มหาวิทยาลัยเงินมันเยอะนี่ ช่วงนั้นจะมีประชาชนบริจาค เงินมันก็เยอะ คนที่มันอยู่ใกล้ กิเลสมันก็อยากได้ ความอยาก คือการทำงานอย่างงี้นะคะ คนมันต้องมีอุดมการณ์ คนมันไม่มีอุดมการณ์ก็จบอ่ะ มันเห็นอะไร จับต้องได้มันก็เอาแหละ

ผู้สัมภาษณ์: แล้วทีนี้ในช่วง 6 ตุลา คุณป้าได้เข้าร่วมอยู่ในเหตุการณ์ใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: มาดูมาสังเกตการณ์ มาดูแล้วก็วิ่งหนี

ผู้สัมภาษณ์: อยู่ตรงไหนครับ
คุณศรีสวาท: สนามหลวง

ผู้สัมภาษณ์: ที่คุณป้า ภาพที่คุณป้าเห็นมีอะไรบ้างครับ
คุณศรีสวาท: ก็มีการแขวนคอและเอาเก้าอี้ ที่มีพนักเหล็กฟาด

ผู้สัมภาษณ์: อันนั้นคือเห็นเลยใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท:  คือหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 เนี่ย มันก็มี ม็อบอะไรมาเรื่อยแหละ ม็อบชาวนาชาวไร่ ม็อบกรรมกร ม็อบอะไร ชาวไร่ก็ถูกเข่นฆ่า บางทีมาที่ท้องสนามหลวง ลุงใช่ วังตะกู  ชาวไร่วังตะกู ถูกฆ่าตาย ชาวนาชาวไร่ร้องขอความเป็นธรรมอะไรก็ถูกกำจัด ถูกอะไร เทิดภูมิ ใจดีก็ถูกลอบยิง เสกสรรค์ ประเสริฐกุลเค้าก็ถูก ต้องระวังตัวแจ ถูกลอบทำร้ายอะไรประเภทนี้นะคะ มันก็เป็นไปอ่ะ บ้านเมืองในขณะนั้นมันเครียดมากเลย แล้วก็ฝ่ายทหารเนี่ยก็มีพลตรีสุตสาย หัสดิน ตายรึ เค้าก็มอง ถ้าอย่างงี้มันไม่ได้แล้ว เพราะว่าฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็เข้ามา ช่วงชิงอำนาจ ฝ่ายทหารก็ต้องยึดเอาไว้อ่ะ มันเป็นการต่อสู้ 2 พวก ระหว่างพวกฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวา  พวกฝ่ายขวาเค้าจัดขบวน เอาเด็กอาชีวะออกจากขบวนการนักศึกษา เพราะเด็กเหล่านี้ แกไม่ได้ใช้สมองอะไรของแก เพราะแกประกาศไว้ที่สนามฟุตบอลมธ. แกบอก “พวกพี่เป็นสมอง พวกผมจะเป็นกำลัง” แกว่างั้น  หลัง ตุลา ’16 ก็วิ่งไล่ตีกันที่ท้องสนามหลวง วิ่งเข้ามาในธรรมศาสตร์ แล้วพลตรีสุตสาย เค้าก็มองเห็นว่าเอ๊ะ เอาไอ้พวกนี้มาดีกว่า แยกมาเลย เค้าก็โดยใช้วิธีการของเค้า จะเกลี้ยกล่อมจะให้เงินให้ทองให้อะไรต่ออะไรก็ว่ากันไป แล้วก็เวลานักศึกษามีบทบาท เดินขบวนเข้ามา พวกนี้ก็ตั้งป้อมบังเกอร์ มีปืนมีกระสุนคอยเล่นงานนักศึกษา นักศึกษามีอะไรมีแต่มีเปล่า เพราะพวกนี้ทหารอยู่เบื้องหลัง ก็ใช้อาวุธน่ะ แล้วมันมาจากไหนอาวุธน่ะ ใช่มั้ยคะ แล้วตั้งบังเกอร์กระสอบทรายอะไร นักศึกษาอย่าผ่านมานะ เข้ามาไม่ได้นะ ทำนองนี้ ก็เป็นศัตรูกัน

ผู้สัมภาษณ์: ป้าเคยอยู่ในเหตุการณ์ที่ฝ่ายขวามาก่อกวนจริงๆ เลยมั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ฝ่ายขวา?

ผู้สัมภาษณ์: พวกกระทิงแดง พวกนวพล เคยประสบกับตัวเองมั้ยครับ
คุณศรีสวาท: เคยค่ะ มาที่เรามาสังเกตดูเนี่ย พวกอนันต์ เสนาขันธ์ เค้าเป็นตำรวจใช่มั้ย เค้าก็มองเราแบบระแวดระวังนะ เราก็มองเค้าแบบระมัดระวัง เพราะเค้ากุมพวกนี้อยู่ใช่มั้ยคะ ก็อยู่ในพวกเดียวกัน สมัยก่อนนี้ คือเนี่ย พูดถึงการพัฒนาของขบวนการนิสิตนักศึกษาแล้วก็กลุ่มอาชีวะ มันเริ่มแตกออกหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 พวกนี้ก็เป็นเครื่องมือรับใช้ของฝ่ายทหารบางคนนะ เราไม่ใช่พูดว่าทหารทุกคนนะ ทหารบางคน ที่อาสามาทำงานมวลชนนอกแบบของทหาร เค้าก็ใช้วิธีการของเค้าทุกรูปทุกแบบ ให้รางวัลสินจ้าง อะไรก็แล้วแต่ เด็กพวกนี้ก็เคลิ้มไปกับเค้า ใช่มั้ยคะ ทีนี้ขบวนการในขณะนั้น มันก็มีหลายขบวนการที่จะทำลายนักศึกษา ก็คือ ขบวนการมวลชน พลตรีอุทาร สนิทวงศ์ฯ เริ่มใช้วิทยุยานเกราะ แล้วก็คุณสมัคร สุนทรเวช ก็ร่วมในขบวนการกับหน้าจืด ดุสิต ศิริวรรณ ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ในขบวนการอย่าง ก็มีบทบาทอย่างสูง จากนั้นแล้วเนี่ย ก่อนที่มันจะเกิดปี ’19 ขึ้นมา มีที่มาอย่างงี้ค่ะ จอมพลถนอม กิตติขจรณ์ หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 ออกไปต่างประเทศเนี่ย พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงขอร้องให้เค้าออกไปต่างประเทศ ประภาส ถนอม ณรงค์ กิตติขจร ต้องออกไปนะคะ ต่อมาเค้าอยากกลับเข้าประเทศ  จอมพลถนอม จากประเทศสิงคโปร์ บวชเข้ามา โดยมีสมเด็จองค์ปัจจุบัน แต่ก่อนท่านเป็นสมเด็จพระวันรัต แต่ปัจจุบันท่านเป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้ไปบวชให้และนำเข้ามา พอนำเข้ามาปั๊บ ข้อนี้นิสิตนักศึกษาประชาชนเค้าทนไม่ได้อ่ะ ทนไม่ได้ก็มีการต่อต้านกัน แล้วทำปิดโปสเตอร์ เอกสารอะไร ร้อยแปดพันเก้า ก็มีการม็อบกันในมหาวิทยาลัยอีก ช่างไฟฟ้าภูมิภาค 2 คน ที่นครปฐมถูกแขวนคอ คุณอภินันท์ บัวหะภักดี ตอนนั้นเรียนอยู่คณะรัฐศาสตร์ปีหนึ่ง แล้วก็คุณ
วิโรจน์ ตั้งวานิช น่ะปี 1 เค้าอยู่คณะเดียวกันรึเปล่าไม่ทราบนะ เค้าก็มาแสดงละครที่ลานต้นโพธิ์ ก็มีการล้อเลียนว่า เมื่อจอมพลถนอมเข้ามา ถือตาลปัตรเป็นพระ วนอยู่รอบต้นโพธิ์ แล้วต่อมาช่างไฟฟ้าที่นครปฐมถูกฆ่าตาย ถูกแขวนคอ เดี๋ยวก็เอาอภินันท์ขึ้นแขวนมั่ง อภินันท์เค้าตัวเล็ก เล็ก พอได้เวลาก็ชักลงมา เอาวิโรจน์ ขึ้นไปแขวนบ้าง คือล้อเลียน เล่นละครล้อเลียน มันมีหนังสือพิมพ์ดาวสยาม

ผู้สัมภาษณ์: คุณป้าได้เห็นตอนแสดงจริงๆ มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: เห็นสิ เราอยู่ตลอดน่ะ

ผู้สัมภาษณ์: มาร่วมเพราะว่าอะไรครับ รู้จักหรือว่ายังไงครับ
คุณศรีสวาท: คือ ’19 เนี่ย ถึงแม้ว่าเราเรียนจบแล้วนะคะ แต่เราก็ยังเข้ามาในมหาวิทยาลัย เพราะว่าหลังเรียนจบ คือ 2518 ปีการศึกษา 2517 แล้วปี ’18  เรายังเข้าออกในมหาวิทยาลัย ต้องมาทุกเย็นมันเป็นความเคยชินประมาณ 2 ปี มาอยู่ในมหาวิทยาลัยอีกประมาณ 2 ปี ถึงจะจางออกไป จนกระทั่งใครๆ ออกไปหมดแล้ว  ทีนี้ตรงนี้นะ เราอยู่เราก็มองเห็นเหตุการณ์อยู่ เค้าแสดง เค้าอะไรต่อมิอะไรก็เป็นการล้อเลียน แต่ก่อนหน้านั้นหนังสือพิมพ์อธิปัตย์เค้าถ่ายภาพนี้ออกมาก่อน ซึ่งเด็กปี 1 เค้าจะนุ่งกางเกงสีน้ำเงิน แล้วก็ใส่รองเท้าผ้าใบ แต่ภาพที่มันออกมาจากหนังสือพิมพ์  มันเป็นภาพใส่ชุดทหาร เค้าเรียกชุดพรางหรือชุดฟาทีค แต่งหน้าเป็นพระบรมฯ เออ  มันก็เอาภาพมาแต่ง ซึ่งเราเรียนถ่ายภาพเรารู้ มันแต่งได้ แต่ง negative แต่งฟิล์มอ่ะ

ผู้สัมภาษณ์: คุณป้ามั่นใจว่าแต่งแน่นอน คือเสื้อคนละตัวเลยใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: แน่นอน เสื้อคนละตัว เรารู้นี่ เรามองเห็นอยู่ แล้วหนังสือพิมพ์อธิปัตย์ก็ถ่ายภาพออกมา ก็เป็นชุดนักศึกษา เพียงแต่ว่าเสื้อที่ใส่อยู่แสดงเสื้อตัวใหญ่ เป็นเสื้อแบบทหาร แต่ปล่อยรุงรังนะ ไม่ๆ เพราะว่าการใช้เชือกแขวนคออะไรอย่างเนี้ย ใช้เชือกใหญ่ๆ หน่อยใช่มั้ยคะ แต่กางเกงก็คือกางเกงสีน้ำเงินรองเท้าผ้าใบสีขาว แต่ภาพที่ออกมาที่หนังสือดาวสยาม ทำออกมาในหน้าหนังสือพิมพ์ของเค้าเนี่ย เป็นชุดทหาร เป็นพระบรมฯ หมดเลย  ซึ่งเรื่องของ อันนี้ประชาชนเค้าทนไม่ได้ เค้าไม่รู้ข้อเท็จจริง ก็ปลุกระดมประชาชน โดยนักปลุกระดมทั้งหลาย มีสมัครเนี่ย ดุสิต ศิริวรรณ พ.ท. อุทาร สนิทวงศ์ฯ ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์

ผู้สัมภาษณ์: เค้าปลุกระดมว่ายังไงบ้างเท่าที่จำได้
คุณศรีสวาท: ก็ปลุกระดมก็คือพวกนี้เป็นพวกคอมมิวนิสต์ เป็นพวกทำลายสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เห็นมั้ยหลักฐานมีอยู่ เอาภาพดาวสยามให้ดู เห็นมั้ยเนี่ยมันปองร้ายพระราชวงศ์ มันเอาพระราชวงศ์ไปแขวนคอ พวกนี้มันเป็นคอมมิวนิสต์ มันก็ว่าอย่างงี้ แล้วก็ที่สำคัญที่สุดนะ มีเพื่อนที่เรียนอยู่ด้วยกันเดี๋ยวนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่อาการมันค่อนข้างแย่ ตอนนั้นเป็นตำรวจ ระดับจ่าตำรวจ ยังไม่ได้สัญญาบัตร เป็นตำรวจอยู่กองปราบ แล้วมาเรียนอยู่ด้วยกัน เกิดชักปืนพกยิงเข้าไปในธรรมสาสตร์ ทั้งๆ ที่มันก็เรียนอยู่ด้วยกัน  นั่นแหละมันเกิดโกลาหลกันขึ้นมาในช่วงนั้นนะคะ แล้วก็มีการขับรถ รถเมล์ ชนประตูธรรมศาสตร์ ที่จริงเค้าปิดมธ. ดร. ป๋วย อึ้งภากร ท่านมองเห็นการณ์ไกล ท่านรู้ลึกๆ คืออะไร ท่านบอก นายธงชัย ตอนนั้นเป็นนายก อมธ. เค้ากระจายเสียงตำหนิมากรัฐบาล  แล้วอาจารย์ป๋วยท่านประกาศออกมาทางไมโครโฟนว่า “ให้หยุดเดี๋ยวนี้เลย แล้วให้ออกไปจากมหาวิทยาลัยให้หมดทุกคน” เขาไม่ฟัง เถียงอาจารย์ทางกระจายเสียงภายใน ก็อาจารย์ป๋วยท่านเป็นผู้ใหญ่ วงการใกล้ชิด ท่านรู้ว่าอะไรมันจะเกิดขึ้น ใช่มั้ยคะ ท่านก็บอกให้พวกเนี้ยออกไปจากมหาวิทยาลัยให้หมด พวกนายธงชัย ตอนนั้นเค้าเป็นนายก อมธ. บอกให้ออกไปจากมหาวิทยาลัยให้หมด  ทางมหาวิทยาลัยจะปิด เขาบอกว่าขอต่อรอง ขอให้เก็บขยะ อาจารย์ป๋วยบอกว่า “ไม่ต้องเก็บ มีคนงานเก็บ ออกไป” อาจารย์รู้ไง อาจารย์รู้ว่ามันจะมีการปราบ ก็จริงอย่างว่า เขาดื้อด้าน  เห็นมั้ยคะ มันทำให้เหตุการณ์แย่ คือบางทีพูดกันตรงๆ นะ พวกซ้ายจัด ไปจับความคิดเค้าเข้า เขาไม่ฟังใครละ เขาจะเอาของเค้าอย่างนี้ ให้ไปตามแนวทาง ให้บ้านเมืองกลียุคขึ้นมา เพื่อว่าให้คนลุกขึ้นมาเป็นไฟ เพราะว่าพวกนี่ ขอพูดตรงๆ เลยนะ เค้าอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรค ของ พคท. พวก พคท. จับความคิดของเขา แล้วผลสุดท้ายมันก็วินาศสันตะโรอย่าง แทนที่ว่าประชาธิปไตยมันจะก้าวไปไกล มันก็ต้องถอยหลังลงไปอีก ทีนี้พอ ตำรวจเข้าไป ตำรวจเข้าไป มหาวิทยาลัย ก็บังคับให้เด็กทั้งหลายตามรูปน่ะ นอนให้หมด น้องผู้หญิงที่ให้การศึกษา เหลือแต่ brassi?re ตัวเดียว ตำรวจบอกออกไปทางนี้ๆ ให้ออกไปทางท่าพระจันทร์ พอออกไปตำรวจล็อคเลย แล้วก็ข้างนอกก็เข่นฆ่ากัน นั่งยางกัน เผากัน อย่าร้องไห้นะ ร้องไม่ได้นะ ร้องไม่ได้ ตำรวจยิงเลย นี่วิ่งมากับสหภาพแรงงานนะ ชวนกันมา พี่อย่าร้องไห้นะ แล้วก็เสื้อขาว พวกเขาคิดว่าเป็นนักศึกษาเขาจะทำร้าย พอดีเรามีเสื้อสีติดตัวมาด้วยไง เราก็รีบเปลี่ยนเสื้อ

ผู้สัมภาษณ์: คือตอนนั้นคุณป้าอยู่จุดไหนของเหตุการณ์ครับ
คุณศรีสวาท: อยู่ท้องสนามหลวงด้านริมคลองหลอดค่ะ เราก็หนีๆ หนีออกมาถึงบริเวณอนุสาวรีย์

ผู้สัมภาษณ์: คือก่อนหน้านั้นอยู่ในมหาวิทยาลัย
คุณศรีสวาท: อยู่ในมหาวิทยาลัยค่ะ แต่ว่าตอนที่ยิงกันตอนนั้นเราไม่อยู่ เราอยู่ที่ทำงาน แต่ว่าทุกเย็นเนี่ยเราจะมาที่มหาวิทยาลัย กับสหภาพแรงงาน บางครั้งก็มาคนเดียว

ผู้สัมภาษณ์: วันที่ 6 ตุลา นี่กันเยอะมั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ก็มากันหลายคน แล้วเวลาวิ่งหนีกันขึ้นมาก็กระจัดกระจายไปกันคนละทิศคนละทาง เวลามันลากคน เวลามันกรุ้มรุมทำร้าย  ลากคนแล้วมันก็เผา เอายางรถยนต์ทับๆ ทับๆ มันก็เผา ก็ดิ้นกระแด่วๆ ก็มองเห็นอยู่ใกล้ๆ แล้วเพื่อนคนที่ยิงเข้าไปก็บอกว่า อั๊วเอง อั๊วเองนี่ยิงเข้าไป แล้วเดี๋ยวจะเล่าเรื่องเพื่อนคนนี้ให้ฟัง มันตลกอ่ะ มันไม่น่าเชื่อที่จะอดีตมันย้อนกลับมา เสร็จแล้ว พอเหตุการณ์ตรงนี้นะ พวกเด็กนักศึกษาก็ถูกจับ ถูกจับเข้าขังโรงเรียนพลตำรวจบางเขน เข้าไปขังที่ชลบุรีอะไรต่างๆ แยกย้ายกันไปขังอ่ะ ที่เศรษฐศิริมั่ง อะไรมั่ง ทีนี้น้องคนนี้ ที่เป็นคนให้การศึกษาแก่เราเค้าก็ไป ถูกขังอยู่ที่บางเขน เค้าบอก “พี่ ตำรวจเค้าเรียกสอบกันตอนกลางคืนนะ พวกเราไม่ไปนะ พวกเราต้องไปกันเป็นกลุ่ม เรากลัวถูกข่มขืนน่ะ” บอก “พี่เอ้ย เวลาจะเปลี่ยนผ้าทีอะไรทีแสนจะลำบาก พวกผู้หญิงต้องล้อมมุงกันเอาไว้” อะไรอย่างนี้ มันลำบากมากสำหรับผู้หญิง

ผู้สัมภาษณ์: คุณป้าก็ไปเยี่ยม?
คุณศรีสวาท: ไม่ได้เยี่ยม แต่เค้ามาเล่าให้ฟัง เค้ามาเล่าให้ฟังว่าลำบากมาก พอพ่อไปประกันกี่แสนก็ไม่รู้นะ บ้านเค้าอยู่กิ่งเพชร แถวบ้านก็ดูถูกดูหมิ่นเค้า พ่อแม่เค้าช้ำใจมากเลย ลูกหนีเข้าป่าไป 2 คน ลูกชาย 2 คน ลูกสาวคนนึง ลูกสาวที่มีความสัมพันธ์กับเราน่ะนะ ก็หนีเข้าป่าไปทางภาคใต้ ส่วนน้องชายก็เข้าป่าไปภาคเหนือ 2 คน แล้วเนี่ยเค้าช้ำใจมากเลย แล้วชาวบ้านดูถูกดูหมิ่นว่าลูกบ้านนี้... หนีเข้าป่าไป ก็ต้องย้ายบ้านไปอยู่อีกฟากถนน

ผู้สัมภาษณ์: คือเค้าจะดูถูกคนที่หนีเข้าป่า
คุณศรีสวาท:  เป็นที่นินทา ซุบซิบนินทา แทนที่จะบอกว่า “เฮ้ย บ้านนี้เก่ง” ไม่ใช่ คนยังไม่มีความคิด เค้าไม่ชอบคอมมิวนิสต์ เอ้าว่าอย่างงั้นเถอะ เค้ากลัวคอมมิวนิสต์ เพราะตอนนั้นการวาดภาพคอมมิวนิสต์มันเป็นพวกทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ก็ว่ากันไป สิ่งเหล่านี้ แล้วยังไม่มีความรู้  ถ้ารู้ก็ไม่กลัว เมื่อไม่รู้ก็กลัว นี่คือเหตุการณ์ 6 ตุลา ’19 ที่เราได้มีส่วนรู้เห็น เหตุการณ์ตรงนี้นะคะ เดี๋ยวเล่าให้ฟังนิดนึง เมื่อตอน 14 ตุลา ขอย้อนนิดนึงนะคะ  คือตอนนั้นน่ะ ประชาชนรักกันมากเหลือเกิน ขณะที่เราวิ่งช่วยเหลืออยู่ในธรรมศาสตร์นี่นะ เรียกคนให้ออกมาจากหน้าหอประชุมน่ะ ไปนั่งดู ไปนั่งจ้องกับปืนตลกที่สุดเลย แล้วก็บาดเจ็บ เราก็เรียกให้คนถอยเข้ามาๆ ก็มีเด็กคนนึงวิ่ง เอาเงินให้ถุงนึงนะ มีทั้งเศษตังค์มีทั้ง แบงค์ร้อย สมัยก่อนแบงค์ห้าร้อย แบงค์พันไม่มีนะ เอามาให้เยอะเลย บอกพี่ผมฝากไว้ ผมไปล่ะ แล้วเราก็ถือถุงเงินนั้นไว้นะ ต่อมาเรากลับ วิ่งขึ้นไปเนี่ย บนที่ทำการขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ธงชัย วินิจจะกูล เป็นนายก อมธ.  บนตึกโดม เค้าทิ้งแล้วนี่ ปรากฏว่าเราไปเจอตังค์ ใส่ถังพลาสติก ถังนี่สูง สูงมากเลย  2 ถัง เหรียญใหม่เอี่ยมอยู่เต็มถัง เหรียญใหม่เลย คล้ายๆ เหรียญเพิ่งออกมาจากกระทรวงการคลัง โห  หิ้วไม่ไหว มันหนักมากเลย เราก็เรียกเด็กอีกคน เด็กผู้ชายอีกคนมา “มาช่วยกันหิ้ว” เราบอก แล้วผลสุดท้าย เราไม่เอาละ เราไม่หิ้วละ เราไม่ยุ่งด้วย เราเก็บแต่ถุงตังค์ที่เด็กคนนั้นยื่นให้เท่านั้นเอง

ผู้สัมภาษณ์: นี่คือ 14 ตุลา
คุณศรีสวาท: 14 ตุลา พอหลังจากนั้น พอเสร็จศึกอะไรแล้ว เราก็เอาไอ้เงินถุงนั้นเอาไปคืน แล้วก็ลงบัญชีเอาไว้ เค้ารับไว้ที่ประตูท่าพระจันทร์ เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ จำไม่ได้แล้วนะ แต่ก็คิดว่าหลายร้อยอ่ะ ส่วนเงิน 2 ถังที่เราไปจับตั้งแต่ทีแรก บนที่ทำการของ อมธ.  ไม่รู้ใครหิ้วไปไหน หนัก เราไม่สามารถจะลากและไม่รู้จะลากไปทำไม ชีวิตเรา จะเล่นงานเราเมื่อไหร่ยังไม่รู้ มาห่วงอะไรกับเงินใช่มั้ยคะ ใครจะเอาไปไหนก็เอาไปเถอะ เราไม่เสียดายตอนนั้น เราห่วงชีวิตผู้คนและชีวิตของเรามากกว่า นี่ย้อนนิดนึงนะคะ ทีนี้หลังเหตุการณ์ ’19 ขึ้นมาเนี่ย...

ผู้สัมภาษณ์: ตอนที่ไปร่วมชุมนุม ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 คุณป้าก็เห็นด้วยกับเนื้อหาของการประท้วงในครั้งนี้รึเปล่าครับ
คุณศรีสวาท: เห็นด้วยค่ะ

ผู้สัมภาษณ์: คือต้องไล่ถนอมออกใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: เพราะเค้าปกครองด้วยธรรมนูญการปกครองและเขียนด้วยคณะปกครองคณะหนึ่ง มันไม่ได้ไปจากประชาชน ซึ่งตอนนั้นเราเข้าใจว่าประชาธิปไตยคือการมีรัฐธรรมนูญ แต่จริงๆ แล้วนะ ถ้าเอาความคิดของเราในช่วงนี้นะ รัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่หมายความว่าจะเป็นประชาธิปไตยนะ หรือประชาธิปไตยมันก็ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตยมันเกิดขึ้นมาโดย nature ของคนมากกว่า มันไม่ใช่ของรัฐธรรมนูญ หรือของที่เขียนอะไรเอาไว้อ่ะ

ผู้สัมภาษณ์: ก็คือ 6 ตุลา เนี่ย?
คุณศรีสวาท: 6 ตุลา ตอนนั้น ในความคิดในขณะนั้นเรามีความรู้สึกว่า เราไม่มีรัฐธรรมนูญเราก็ไม่เป็นประชาธิปไตยสิ เอ่อ ในขณะนั้นนะ

ผู้สัมภาษณ์: แล้วเพื่อนคุณป้าล่ะ ที่ยิงกระสุนนัดแรกเลยใช่มั้ยครับเข้าไปในธรรมศาสตร์
คุณศรีสวาท: ตอนนี้รู้สึกจะเป็น ตอนนี้ยศครั้งสุดท้ายเป็นพันตำรวจโท จะเล่าให้ฟัง หลังจากที่เขาเอากระสุน ตอนนั้นเป็นตำรวจกองปราบแต่อยู่กองอะไรก็ไม่ทราบ

ผู้สัมภาษณ์: ยศอะไรนะครับ
คุณศรีสวาท: ยศตอนนั้นเป็น จ่าตำรวจ ที่เรียนอยู่ด้วยกันนะ ทีนี้ตอนนั้น หลังจาก พอเหตุการณ์ปี ’19 ผ่านพ้นไปแล้วเนี่ย เค้าก็ได้รับเชิญจากสหรัฐอเมริกาให้ไปเยือนสหรัฐอเมริกา พอไปถึงสี่แยกในเมือง Los Angelis สี่แยกไหนก็ไม่รู้อะนะ มันมีคัทเอาท์ใหญ่เบ้อเร่อเลยนะ เขียน ขอต้อนรับฆาตกรจากเอเซีย คือตัวเขานั่นแหละ คอมมิวนิสต์ไง พวกคอมมิวนิสต์นอกจากในจะมีเมืองไทยแล้ว ใน LA ก็มีสาขาเยอะนะ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ก.ย. (พ.ย. 2552) จักรภพ เพ็ญแข ก็หนีศาลไปอยู่ที่U.S.A.ก็คงจะสัมพันธ์กับพวกนี้ และร่วมทัพทำงานเคลื่อนไหวต่อไป เพื่อช่วยเหลือทักษิณ ชินวัตร

ผู้สัมภาษณ์: เขียนเป็นภาษาไทยใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: เขียนเป็นภาษาไทยเลย แล้วมีภาษาอังกฤษด้วย ขอต้อนรับฆาตกรจากเอเซีย ก็มันเป็นคนยิงปืนนัดแรกเข้าไปในธรรมศาสตร์ เขามีลูกสาวหลายคนนะ ลูกชายหลายคน ปรากฏว่าตอนนี้ลูกเค้ายังเรียนอยู่คณะวารสารฯ นะ จะเล่าให้ฟัง ลูกสาวเค้าคน แหม เค้าชื่นชมในชื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาก เค้าสอบเอ็นทรานซ์ แต่ไปติดที่จุฬาฯ นิเทศฯ จุฬาฯ แต่ไม่เรียน อยู่ว่างๆ อยู่ 1 ปี มาสอบที่คณะวารสารฯ ใหม่ พอสอบเข้าคณะวารสารฯ ได้ เค้าก็เริ่มมีกิจกรรมกับกลุ่มของเค้าแหละ กิจกรรมคล้ายๆ อมธ. แกก็คงไปเล่าให้เพื่อนฟัง ว่า “พ่อฉันนะ เป็นคนแรกในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19ที่ยิงเข้าไปในธรรมศาสตร์” อย่างที่เล่าให้ฟังแล้ว เพื่อนก็บอก “ขอสัมภาษณ์พ่อหน่อย” พ่อก็บอก “เฮ้ย ดูซิ เล่าให้เพื่อนฟัง ” ลูกมันก็เล่า “พ่อเราเป็นฆาตกรแห่งเอเซีย”  เค้าบอกเพื่อนคนนี้ พันตำรวจโทวัชรินทร์ “ ไว้ใจไม่ได้เลยลูกเรานี่ มันจะเล่นงานเราซะแล้ว” เพื่อนขอสัมภาษณ์ว่าทำไมคุณถึงทำแบบนี้

ผู้สัมภาษณ์: อยากเหมือนกันครับ แต่ว่าคุณป้าเคยได้คุยมั้ยครับ ว่าทำไมเค้าเลือกที่จะยิง
คุณศรีสวาท: คือพวกนี้นะคะ เค้าเป็นคนของรัฐ เค้าเป็นตำรวจ เค้าเป็นคนของรัฐ เค้าก็คล้ายๆ กับว่า ใครก็ตามที่ทำงานให้รัฐบาลเนี่ย มันก็เหมือนกับ แล้วก็โดยหน้าที่ไง เค้าก็รู้สึกพวกนักศึกษา พวกทำลายชาติ พวกทำลายศาสนา พวกคอมมิวนิสต์ เพราะตอนนั้นบอกแล้วไง ฝ่ายซ้ายขึ้นมา พวกนี้ก็เล่นแรงเหลือเกิน พวกนักศึกษาคุณอย่าชี้นำตรงไหนนะ เขาทำอย่างงั้นหมด ฝ่ายซ้ายชี้นำหมดนะ เค้าเรียกพวกซ้ายจัด แถมเรียกว่ารุนแรงอีก ซ้ายจัดรุนแรง  พวกนี้อันตราย ขวาจัดก็อันตราย อย่างสมัคร กับพวกธงชัย มันเหมือนกับตุ้มนาฬิกา แกว่งปุ๊บไปนี่ แกว่งปุ๊บไปนี่ พวกนี้รุนแรง และไม่มีเหตุผล  นี่ธงชัยเป็นต้น นี่ยังเสียดายนะ  ที่จริงแล้ว ถ้าหากว่าเราเป็นประชิปไตยอย่างแท้จริงแล้ว เหตุการณ์อย่างนี้จะไม่เกิดขึ้น  ก็เสียดายที่ว่าไปสนับสนุนทักษิณ แต่ก่อนนี้ก็เชื่อถือทักษิณนะ เลือกเค้า 2 ครั้ง เป็นฮีโร่ แต่ต่อมาเพื่อนที่เรียนด้วยกันเป็นข้าราชการบอก “โอยมันไม่ใช่อย่างงั้นนะ” ลำไย น้อง... ยัยคุณนายแดง น้องสหกรณ์เกี่ยวกับเรื่องลำไยอ่ะ มันน่ะโกงทั้งนั้นนะ  กรรมวิธีในการโกง เพราะน้องชายของเพื่อนเค้าทำลำไยอยู่ที่ลำพูน คนนี่แหละเป็นคนใช้กรรมวิธีอะไรต่างๆ เค้าเป็นคนเล่า ก็ถามจริงเหรอ เอ๊ะ ตอนนั้นเรายังชอบอยู่ แต่ต่อมาพฤติกรรมความชั่ว มันเริ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเราก็ไม่ชอบประชาธิปัตย์ เราก็ไม่เลือกแล้วทำให้รู้ด้วยว่าเราไม่ต้องการเลือก ทั้งทักษิณแล้วก็ประชาธิปัตย์ เราก็ไม่ต้องการเลือก นะต่อมา ต่อมา เราเลือกประชาธิปัตย์ หลายคนในขณะนั้นเว้นช่องว่างไว้เลย ไม่ต้องการเลือกใคร คือเราไปใช้สิทธิ์ไม่ให้เสียสิทธิ์ไง ทักษิณไม่ใช่ธรรมดา แล้วเดี๋ยวเล่าให้ฟังก่อน เอาเรื่อง 6 ตุลา ’19 จบรึยังคะ

ผู้สัมภาษณ์: คือบนเวที 6 ตุลา นี่ที่เค้าพูดไฮปาร์คกันนี่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการขับไล่ให้จอมพลประภาส จารุเสถียร ออกไป ซึ่งเราก็เห็นด้วย
คุณศรีสวาท: เห็นด้วยค่ะ ที่จะอาศัยศาสนาบวชเป็นสามเณรเข้ามา ซึ่งมันก็ไปกระทบกระเทือนถึงหลายสถาบันนะ สถาบันสงฆ์  เพราะว่าบุคคลคนนี้... อาจจะเป็นข้อต่อรองกับพระมหากษัตริย์ก็ได้ ที่ตอนนั้นท่านขอร้องให้ออกไปก่อนเพื่อให้บ้านเมืองมันสงบ จริงๆ แล้วอำนาจทั้งหลายมันอยู่ในมือ ถ้าจะฆ่าจริงๆ เนี่ยก็ฆ่าพวกเราหมดแล้ว คนมือเปล่ากับคนมีอาวุธใช่มั้ยคะ ก็บอกแล้วเนี่ย อย่างเหมาเจ๋อตุงเค้าก็บอก อำนาจรัฐมาจากปากกระบอกปืน ก็ชัดเจน คุณทำงานการเมืองมาจนถึงที่สุดขั้น ถึงที่สุดคุณก็ต้องใช้ปืน เค้าเป็นทหารเค้ามีอาวุธ แล้วประชาชนมือเปล่าจะไปสู้อะไรได้ มันเอาจริงๆ แล้วก็ฆ่าตาย พระเจ้าอยู่หัวท่านมองเห็นตรงนี้ ออกไปก่อนๆ ใช่มั้ยคะ ท่านให้ออกไปก่อน

ผู้สัมภาษณ์: แล้วเหตุการณ์ 14 ตุลา นี่คุณป้าเชื่อว่าใครเป็นคนที่ก่อเหตุทำให้เกิดความรุนแรง
คุณศรีสวาท: เราคิดว่าพวกนี้ พวกที่มีอำนาจทางการเมืองในขณะนั้น จอมพลถนอม ประภาส แล้วพันเอกณรงค์ ณรงค์นี่มีอำนาจล้นฝ้าแล้วการเรื่องทุจริต คอร์รัปชั่นนะ ขบวนการญาติโยมทั้งหลาย คือสืบทอดมาจากสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แล้วเลวร้ายยิ่งกว่าสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ว่าเลวร้าย ที่ว่าเหี้ยมหาญนะ ยังไม่เท่าไอ้นี่ ไอ้นี่หน่อมแน้มๆ นะ แล้วก็ปล่อยให้ลูกชายลูกเขย พันเอกณรงค์ มีอำนาจมาก แล้วก็ โอ้ย บ้านเมืองนี่แย่มากเลย คือพวกฉันพวกเธออะไรอย่างงี้ไง ก็คล้ายๆ ทักษิณ คือ เพียงแต่เปลี่ยนอำนาจจากรัฐบาลทหารมาเป็นรัฐบาลพลเรือนเท่านั้นน่ะ แสบยิ่งกว่า  

ผู้สัมภาษณ์: แล้วภาพในเหตุการณ์ 14 ตุลา ภาพที่คุณป้าพอนึกถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา แล้วก็นึกภาพนี้คือภาพอะไร ที่ติดตาครับ
คุณศรีสวาท: ภาพที่มันติดตาคือภาพที่ประชาชนถูกทำลาย

ผู้สัมภาษณ์: ถูกยิงอย่างงี้ใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ประชาชนถูกทำลาย เราไม่รู้ว่าถูกยิงเยอะแยะ เรียกว่าถูกทำลาย มันสะใจดี

ผู้สัมภาษณ์: แล้วหลัง 6 ตุลา คุณป้าได้รับทราบการเข้าป่าของขบวนการนักศึกษา?
คุณศรีสวาท: ทราบค่ะ เพราะตัวเองก็ถูกชักชวน และตัวเองก็จนทนไม่ได้ จึงบอกกับเพื่อน บอก “คุณ ฉันจะเข้าป่า” เพื่อนถามว่า “แล้วคุณจะเข้าป่าตรงไหนอ่ะ” บอก “ไม่รู้เหมือนกัน”บอกกับเพื่อน ผู้ชายที่เค้าเก่งๆ ทางทฤษฎี การเมือง เป็นเพื่อนที่ธรรมศาสตร์

ผู้สัมภาษณ์: อยู่ในกลุ่มศึกษาด้วยกันรึเปล่าครับ
คุณศรีสวาท: ค่ะ กลุ่มที่เค้าให้การศึกษากับเรา คือ บอกว่า “เราทนไม่ได้นะ” แล้วน้องผู้หญิงคนนั้นเค้าก็มาเล่าให้ฟัง โดยบังเอิญนะคะ เจอเค้าโดยบังเอิญ หรือเป็นเจตนา จำไม่แม่นละ เราก็จำไม่ได้ ที่คือราชดำริ  เค้าก็ออกมาจากภาคใต้ ก็ถามว่ามาทำไม เค้าบอกว่า เค้ามาซื้อ overhead, ไมค์, projector ถามว่าเค้าทำงานยังไง เรียนมาพอดีเลยนะ หน่วยให้การศึกษากับประชาชน เค้าซื้อ overhead  ไปใช้ในงาน หน่วยปลุกระดม หน่วยปลุกระดมชาวบ้านที่ปักษ์ใต้ ไม่รู้ที่จังหวัดอะไร จำไม่ได้ละ แล้วไปอยู่หน่วยนั้น เราก็พูดคุยกันอ่ะนะ แกก็ดีอกดีใจอะไรงี้ แล้วเราก็ให้สตางค์แก สองหรือสามร้อยบาท แกไม่เอา  โชคดีที่แกไม่เอา เพราะช่วงนั้นนะ ถ้าหากว่าแกเอานะ แล้วมีคนไปบอกกับฝ่ายรัฐบาลนะ เราจะถูกกล่าวหา หาว่าไปสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์

ผู้สัมภาษณ์: ประมาณปีไหนได้นะครับ
คุณศรีสวาท: นี่ค่ะ เป็นช่วงปี ’20 พอแกถูกปล่อยตัวมา แกหนีเข้าป่าไปทางภาคใต้ ที่เล่าให้ฟังอ่ะ เตี่ยไปประกันนะ 3 คนเนี่ย 6 แสน หนีเข้าป่าหมดเลย

ผู้สัมภาษณ์: มาเจอกันอีกทีตอนหลัง
คุณศรีสวาท: ค่ะตอนหลังประมาณปี ’20

ผู้สัมภาษณ์: ก็ยังอยู่ เค้ายังเคลื่อนไหวอยู่กับที่ภาคใต้ด้วย
คุณศรีสวาท: ค่ะ เค้าอยู่ทางภาคใต้

ผู้สัมภาษณ์: เดี๋ยวย้อนกลับมาตอนที่คุณป้าบอกเพื่อนผู้ชายว่าอยากเข้าป่าแล้วยังไงต่อ
คุณศรีสวาท: อ๋อ เพื่อนไม่ให้เข้า เอ่อ ขอโทษนะ เพื่อนพูดแบบหยาบๆ “คุณเข้าไปเดี๋ยวก็ท้องป่องออกมา” นี่เคสที่ 1 เคสที่ 2 บอก “คุณน่ะกลัวแม้กระทั่งกิ้งกือกะงู แล้วคุณจะเข้าไปยังไงในป่านั่นมันสารพัด แล้วคุณไป คุณไปปฏิวัติกับใคร คุณไปปฏิวัติกับนกกับหนูเหรอ คุณไปปฏิวัติกับใคร” ก็บอก “พวกนู้นเข้ากันเยอะแยะ” ก็บอก “คุณพวกนั้นเค้าอยู่ในเมืองไม่ได้เค้าก็ต้องเข้าไป ฝ่ายนำเค้าชี้ให้เข้าก็ต้องเข้า ไอ้เราไม่ได้สังกัดองค์กรอะไรเลย คุณสะเปะสะปะ คุณเข้าไปได้ได้ไง” ใช่มั้ยคะ เราไม่รู้จักใคร แล้วเพื่อนก็บอก “อย่าไปเลย เค้าทำงานกันในเมือง ไม่มีใครเค้าไปทำในป่า เค้าพวกทหารป่า เค้าก็ทำงานกันในป่า” แล้วเราก็ฟังไอ้วิทยุอะไร เสียงประชาชน ฟังจนคุ้นหูแล้วเราก็ศึกษาจากเค้าบ้างอะไรบ้าง แล้วก็บางทีคนก็ถ่ายทอดเอามาแล้วก็เอามาพิมพ์ เอามาให้เราอ่านบ้างอะไรบ้าง มันทำให้ความรับรู้ทางด้านการเมืองของเรามากขึ้น


ผู้สัมภาษณ์: ก็คือหลังจากมีคนรู้จักบางส่วนเข้าป่าไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้ติดต่อหรือสัมพันธ์อะไรกันอีกแล้ว
คุณศรีสวาท: คืออย่างวีระศักดิ์ ยอดระบำ ตอนนั้นเค้าไปอยู่หมู่บ้านซับแดงนะ ที่โคราช แล้วหลังจากนั้นเค้าก็ลงใต้ คือที่รู้จักกับเค้าไม่ใช่อะไรหรอก เค้าเรียนภาคกลางวัน เราเรียนภาคกลางคืน แล้วเวลาอาจารย์ assign บอกว่าให้ถ่ายภาพน่ะ แล้วเราเอาเวลาที่ไหนไปถ่ายภาพอ่ะ เราต้องทำงาน เราก็มีวีระศักดิ์คอยช่วยเหลือเรา เค้าเป็นเด็กเค้าเป็นน้องน่ะ แล้วก็มีกิจกรรมอะไร พี่ร่วมด้วยไม่ได้นะ เอาปัจจัยไป อะไรทำนองนี้ ก็ไม่ถึงกับสนิทสนมอะไรมากนัก

ผู้สัมภาษณ์: ส่วนใหญ่การรับรู้เกี่ยวกับการต่อสู้ในป่านี่มาจากการบอกเล่าของคนข้างในใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ใช่ค่ะ แล้วจากการติดตามฝ่ายรัฐบาล ติดตามฝ่ายซ้าย เราติดตามการเคลื่อนไหวของฝ่ายรัฐบาล ติดตามการเคลื่อนไหวของพวกฝ่ายซ้ายที่อยู่ในเมืองด้วย คือมีการบอกเล่าเป็นทอดๆ

ผู้สัมภาษณ์: แล้วติดตามยังไง
คุณศรีสวาท: ติดตามจากเพื่อนฝูงน่ะ ทำให้เรารู้ว่าอะไรคืออะไร ทำให้ทุกวันนี้ เราเสียใจอย่างยิ่งที่พวกบางคนเนี่ยไปใส่เสื้อแดง ซึ่งครั้งหนึ่งเนี่ยเค้าเคยประณามพวกนักการเมืองว่าเป็นเผด็จการรัฐสภา เช่น จาตุรนต์ ฉายแสง วิสา คัญทัพ อดิศร เพียงเกษ หมออะไร หมอสุรพงษ์ หมอสันต์ หมอแหวง หมอมิ้ง แล้วบุคคลอื่นอีก ซึ่งเราเสียดายที่ว่า คุณไปเป็นทาสของทักษิณ คุณจะอาศัยทุนมาล้มเจ้า ถามว่าถูกต้องรึเปล่า ทักษิณเป็นคนดีรึเปล่า เราอยู่องค์การโทรศัพท์ ทักษิณได้รับสัมปทานจากองค์การโทรศัพท์ ขนาดไหน ประชาชนรู้รึเปล่า นายเราก็ไม่มีปากพูดเพราะอะไร พ่อค้ากับพนักงานรัฐวิสาหกิจสมรู้ร่วมคิดกัน นี่พูดกันตรงๆ แล้วเราก็มีส่วนร่วมในการทำร้ายประชาชนด้วย ในฐานะที่เราเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์ แล้วเราต้องทำงานเหมือนกัน หลอกลวงประชาชน บางทีเราก็แย่มากเลย

ผู้สัมภาษณ์: ครับ เดี๋ยวขอย้อนกลับไปอีกครั้งนึงในเหตุการณ์ 14 ตุลา คุณป้ามองแกนนำ มุมมองใน ณ ขณะนั้นกับ ณ ขณะนี้ มุมมองต่อแกนนำอย่างเสกสรรค์ อย่างเสาวนีย์ อย่างธีรยุทธ บุญมี คุณป้ามองแกนนำเหล่านี้เป็นยังไง
คุณศรีสวาท: ในช่วงนั้นนะที่เรามองเค้านะ เราก็ว่าโอเคนะใช้ได้ เค้าใช้ได้ทีเดียว เค้าก็มีความมุ่งมั่นที่ คล้ายๆ เราอย่างงี้แหละ คือด้านหนึ่งคือรักความเป็นธรรม เอาว่าอย่างงั้นดีกว่า แต่ถามว่าอะไรคือเหตุผลที่เค้าอยู่ในเมืองไทยไม่ได้ หรืออยู่ในเมืองไม่ได้ คุณเสาวนีย์เค้าก็ไปเมืองนอกใช่มั้ย ไปอยู่ฝรั่งเศส คุณธีรยุทธ กับคุณเสกสรรค์เค้าก็ต้องเข้าป่าไป พร้อมกับคุณเทิดภูมิ ใจดี ใกล้เคียงกันเนี่ย อะไรล่ะที่ทำให้อยู่ไม่ได้ ก็อำนาจลึกลับไปทำร้ายเค้าอ่ะ อย่างเทิดภูมิก็ถูกลอบยิง เสกสรรค์ก็ถูกปองร้าย ธีรยุทธ ก็เช่นกัน เค้าอยู่ไม่ได้เพราะอะไร เพราะไปทำลายเค้าอ่ะ คือความรุนแรงไง ถ้าว่า 3 – 4 คนเนี่ย เค้าต่อสู้ในแนวทางประชาธิปไตย ถ้าผู้มีอำนาจเปิดโอกาสให้เขา เค้าจะไม่เข้าป่า จะไม่ไปร่วมมือกับพวกฝ่ายซ้าย พวกซ้ายจัดเนี่ย เราขอเรียกเลยนะ ขอประณามเลยนะ ว่าพวก พคท. เนี่ยเป็นพวกซ้ายจัด ถ้าเป็นนักประชาธิปไตยนะ เราคิดว่าเราต่อสู้กันในระบบรัฐสภา ถ้าในระบบรัฐสภาสู้ไม่ได้นะ เราก็ต้องมาดูว่าอะไรคือเหตุผลที่สู้กันไม่ได้ เราต้องยืนอยู่บนความถูกต้อง เราไม่ใช่จะเอาชนะกัน ถามว่าถ้าประชาธิปไตยเนี่ยนะ คุณจะต้องไปเข่นฆ่าเค้าเนี่ยนะ ยกขบวนเข้าไปทุบรถเค้า ยกขบวนเข้าไปไล่เค้า ตีเค้า ต่อเค้าเนี่ย ประชาธิปไตยแบบนี้เราไม่เอานะ ประชาธิปไตยแบบนี้เราไม่ต้องการนะ เอ้อ ไอ้นี่มันไม่ใช่ มันไม่ใช่ประชาธิปไตย แล้วไอ้พวกเนี้ย ไปรวมกลุ่มกับเค้าได้ยังไง ไอ้พวกเสื้อแดงเนี่ย (หัวเราะ) พูดอย่างงี้นะ คุณอาจจะเป็นเสื้อแดงก็ได้ แต่ขอพูดเลย ถ้าหากว่าติดต่อเค้าได้ บอกว่าเรารับไม่ได้เลยนะ เรารับไม่ได้ มีเพื่อนเนี่ย ชวนนะ เค้าเป็นคนงาน เค้าเป็นอดีตคนงานของโรงพยาบาลนึง เค้าก็ติดต่อสัมพันธ์กับพวกฝ่ายซ้าย ซึ่งเราก็รู้อยู่ เราไม่ได้รังเกียจอะไรหรอก เวลาเค้าทุกข์ยากมาเนี่ยนะ เค้าไม่เคยได้อะไรจากพวกฝ่ายซ้ายนะ มีแต่เราเนี่ยหยิบยื่นให้ ตั้งแต่แม่เค้าอะไรเค้า เนื่องจากความรู้แกต่ำ เพราะฉะนั้นพวก แล้วก็มีความรับรู้จากพวกฝ่ายซ้ายมาม้ากมาก พูดผิดๆ ถูกๆ อะไรของแกก็ไม่รู้แหละ คราวนี้แกใส่เสื้อสีแดง เค้าก็ชวนเราไปใส่ เราก็บอกไม่ได้ เค้าก็ด่าพระเจ้าอยู่หัว ที่พูดเนี่ยก็ไม่ใช่ว่าเรานิยมเจ้านะ เราไม่ใช่พวก royalist นะ แต่เรายืนอยู่ความเป็นธรรม เค้าก็ด่าพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็เปรียบกับทักษิณ ด่าพระเจ้าอยู่หัวมาว่าเป็นอภิสิทธิ์ชน เราก็บอกว่า “พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้นะ ท่านไม่ได้อยากจะเป็นเจ้านะ เค้าสถาปนา รัฐบาลในขณะนั้นเค้าสถาปนาให้ท่านขึ้นมาเป็นเจ้า แล้วเมื่อท่านเป็นเจ้าขึ้นมา ท่านก็ไม่ได้ทำอะไรที่มันชั่วช้าเลวทราม” เห็นมั้ย ท่านทำอะไรที่ชั่วช้าเลวทราม ท่านก็ไปๆ ไปๆ จนกระทั่งร่างกายท่านรับไม่ไหว ท่านก็เลยต้องอย่างเงี้ย อย่างงั้นยังมีความคิดนะ ที่เสนอแนะตรงนั้น เสนอแนะตรงนี้ว่าไอ้แก้มลิงควรอย่างงั้น ไอ้แก้มลิงงี้ควรอย่างงี้ สะพานนั้นควรอย่างงี้ คนจบวิศวะฯ ยัง... ชื่อคุณประเสริฐ สมะลาภา ตอนนั้นเป็นปลัด กทม. เนี่ยนะ ถือว่าในฐานะข้าราชการใหญ่ที่สุดแล้วนะปลัด กทม. สะพานปิ่นเกล้าเนี่ย มันก็แออัด พอสร้างขึ้นไปแล้วมันก็แออัด พระเจ้าอยู่หัวบอกว่า “ทำไมไม่สร้างซ้อนขึ้นมาอีกสะพานนึงล่ะ” เค้าบอก “ซ้อนไม่ได้” พระเจ้าอยู่หัวก็รับสั่ง นี่ได้ยินเลยนะ “ก็ทำไมซ้อนไม่ได้ล่ะ ก็คุณก็ตอกเสาเข็มลงสิ ระหว่างช่องแม่น้ำเนี่ยะนะ ตรงกลาง” สะพานมันคล้ายๆ คู่กันอย่างเงี้ย 2 สะพาน “ตรงกลางคุณก็ขึ้นเสา คุณก็ตีเสาเข็มมันลงไป ตั้งตอหม้อมันลงไป แล้วก็เอาเป็นสะพานอีก 1 สะพาน” ใช่มั้ย (หัวเราะ) นี่คือ นี่คือ เพราะเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ พระองค์นี้นะ คือๆ พระเจ้าอยู่หัวแต่ละพระองค์ก็มีคุณกับประเทศมาโดยตลอดอ่ะ จะมากบ้าง น้อยบ้าง จะอะไรบ้าง ทีนี้เค้าในฐานะผู้นำเนี่ย นำทัพอะไร เค้าย้อนนะเพื่อนคนนี้ เค้าย้อนไปถึงรัชกาลที่ 1 เลย “นี่คุณ พูดกันตรงๆ เลยนะ พระเจ้าอยู่หัวท่านก็ไม่เคยซุกหุ้นนะ ขณะเดียวกันทักษิณน่ะ ซุกหุ้นนะ ซุกรอบ 1 แล้ว ซุกรอบ 2 ยังไม่พอ ที่รัชดานี่ชัดเจนมากเลย” ชัดเจนเพราะนี่ฟังอาจารย์แก้วสรร เนี่ยนะ อาจารย์แก้วสรรเนี่ยออกทีวีเนี่ยในฐานะที่เป็นประธานหรือเลขาฯ อะไรอ่ะที่ตรวจสอบอะไรเนี่ย การเดินทางการทุจริตของทักษิณที่จากตรงนี้มาตรงนี้ เราเข้าใจเลย มันเข้าข่ายกฎหมายเลย เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญระบุความผิดทางการเมือง นี่ดีนะ ว่าการฟ้องนี่ผิด spec ไง ถ้าฟ้องให้ถุกนะ ยัยคุณหญิงอ้อ นี่โดนด้วย คือฟ้องอะไรรู้มั้ย ฮั้วการประมูล เรารู้ดีเลย คุณฮั้วอีก 2 บริษัท แล้วอีก 2 บริษัทนี้เป็นใครเรารู้อีก คุณฮั้วกัน ใครเสนอราคาต่ำ เชื่อว่าคุณจะได้ ราคาสูง ถ้าเราฟ้องเรื่องนี้ตั้งแต่แรก หรือเราให้ความรู้นี้ตั้งแต่แรกกับอาจารย์แก้วสรรนะ ไอ้บริษัทที่ฮั้วนี่และยัยคุณหญิงนะ โดนหมดเลย เค้าฮั้วประมูล ฮั้วกันจริงๆ เราสามารถสืบพยามบุคคลได้ไง

ผู้สัมภาษณ์: ขอย้อนกลับไปอีกนิดนึง แล้วที่คุณป้าพูดเหมือนกับว่ามันมีการขัดแย้งกันระหว่างเสกสรรค์ การนำโดยเสกสรรค์กับการนำของธีรยุทธใช่มั้ยครับ ไม่ทราบว่าในขณะนั้นคุณป้าทราบมั้ยครับว่ามีการขัดแย้งตอนที่ร่วมชุมนุม
คุณศรีสวาท: อ๋อ ตอนนั้น ตอนที่ร่วมชุมนุมเนี่ยนะคะ ตอนที่มันเกิดเหตุการณ์ยิงกันครั้งแรก ข้างสวนจิตร เราไม่รู้หรอก ตอนนั้นเราอยู่บ้าน แต่มาภายหลังเรารับทราบ เพราะตัวเสกสรรค์เองก็มีอาการเจ็บป่วย ตอนที่เกิดเหตุการณ์นั่น เพราะความอ่อนเพลียหรืออะไรไม่ทราบนะ ก็เข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลวชิระ อันนี้ต้องสัมภาษณ์เค้าเอง ตอนนี้เค้าสอนอยู่รึเปล่า

ผู้สัมภาษณ์: คุณจิระนันท์เนี่ยนะ เมื่อสมัยเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 นะ ตอนที่ม็อบกัน แกก็เป็นนิสิตอะไร เภสัชใช่มั้ย เภสัชหรือทันตแพทย์นะ
คุณศรีสวาท: ครับ จุฬาฯ แกเป็นเด็กผู้หญิงที่น่ารักมากเลย จำได้ จำได้ติดตา ถึงจนบัดนี้ นุ่งกระโปรงชุดสีชมพูนะ แต่งชุดสีชมพูมานะ แล้วแกก็มาที่หอประชุมที่ธรรมศาสตร์ แล้วแกก็พูดผ่านไมโครโฟนมา บอกว่าวันนี้ที่แต่งตัวสวยมานี่ เพราะว่าไปส่งคุณแม่กลับใต้ แม่เค้าเป็นนายเหมืองอะไร ทำเหมืองที่ปักษ์ใต้ แล้วจากวันนี้ไปจะไม่เห็นแกแต่งตัวอย่างนี้แล้วนะ เห็นมั้ยคะ แล้วเราอ่านชีวิตที่คุณเสกสรรค์เขียนในหนังสือ น่าสงสารมากชีวิตคนคู่นี้นะ ไม่น่าแยกกันเลย อ่านแล้วน้ำตาซึมอ่ะ ที่เสกสรรค์ได้เขียนเอาไว้น่ะ ลูกเค้าเนี่ยนะ ต้องกินนมจากแม่ซึ่งไม่มีโปรตีนเลย เป็นน้ำเขียวๆ บีบใส่กระป๋อง แล้วน้ำนมเนี่ย แทนที่จะเป็นสีนมนะ มันก็เป็นสีเขียวๆ ให้ลูกกิน อ่านแล้วเศร้าใจ ชีวิตคนที่อยู่ในป่าไม่ใช่นั่น เสกสรรค์ไปอยู่ในป่าก็ไปพบความอยุติธรรม ต้องไปเป็นทหารชายแดนคือปะทะกับรัฐบาล ปะทะกับทหารรัฐบาล เนี่ยเพราะอะไร เพราะไปขัดแย้งกับพรรค พรรคเลยส่ง ชี้นิ้วสบาย (หัวเราะ) ธีรยุทธเค้าอยู่กับแกนนำ เรารู้มาหมด รู้ก่อนที่จะเป็นข่าว ออกจากป่าวันไหน ยังไงเมื่อไหร่ เรารู้ละ ก่อนที่จะเปิดตัวตั้งนาน การข่าวของเรา เข้าอยู่ตลอดเวลา นี่เล่าให้ฟังเท่านี้นะ อย่าสาวลึก

ผู้สัมภาษณ์: ครับ แล้วเหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้เข้าร่วมมั้ยครับ
คุณศรีสวาท: เข้าค่ะ เข้าอีก คือสามีช่วงหลังนี่นะคะ เราค่อยๆ ให้ความรู้เค้าไง เค้าก็เริ่มมีการตื่นตัวเริ่มอะไร เริ่มรักความเป็นธรรม เค้าก็มาเค้าก็บอก เค้ามานั่งอยู่บ้านนะ อยู่ดูแลลูกนะ ตอนนั้นลูกก็เริ่มโตแล้วอ่ะนะ บอกว่าเออไม่เป็นไรหรอก เสร็จแล้วเราก็มา แกล้งทำเป็นซื้อสมุนไพรที่ท่าพระจันทร์ แล้วก็มานั่งม็อบ (หัวเราะ) อยู่ที่สนามหลวง

ผู้สัมภาษณ์: คือตอนนั้นสามีก็มาอยู่ด้วยแล้วใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: มา แต่เค้าไปอยู่มุมไหนไม่รู้อ่ะ แล้วบางทีกลางคืนเราก็ออกมา ออกมาแถวนี้แถวราชดำเนินแถวนี้ บางทีเห็นท่าไม่ดี เราก็กลับ บางทีเราก็เดินดุ่มๆ ของเราอยู่คนเดียว แม้แต่ตุลากับพวกพันธมิตรเสื้อเหลืองนี่นะเราก็มานะ แต่เราเดินอยู่คนเดียวน่ะ แล้วเราว้าเหว่มากเลย แล้วเราก็ไม่กล้าเข้าไปร่วมชุมนุมกับเค้า ตำรวจมันจ้องเรา ไอ้รถตำรวจไอ้รถกรงขังน่ะนะ “เอ๊ะ เราจะเข้าไปยังไงว้า” เข้าไม่ได้ ก็เลยต้องเถลไถลไปนั่งกินข้าวที่ร้านเล็กๆ ในวัดมกุฏฯ น่ะ เพื่อจะหาทางอ้อมโลก เพื่อจะเข้าไปทางนี้ แล้วก็เข้าไม่ได้ ตำรวจทั้งนั้นน่ะ เราก็กลัวผู้หญิงคนเดียวอ่ะ เดินดุ่มๆ อยู่คนเดียว

ผู้สัมภาษณ์: พฤษภา ’35 ตอนเค้าปราบนี่ยังอยู่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ตอนปราบเนี่ยนะ ตอนปราบเนี่ยไม่ได้อยู่ แต่หลานชายอยู่ แต่หลานชายอายุมากกว่าเรานะ เป็นญาติๆ กัน เค้าเป็นหลาน แล้วก็หลานอีกคนเป็นนายทหาร มันเค้าปืนจ่อ จ่อไอ้หลานผู้ชายเนี่ยนะ มันก็เป็นพี่น้องกันน่ะ พอแหงนหน้ามา เอ้า ไอ้หลานที่ถูกจับเนี่ยนะ มันก็เลยต้องถอดสร้อยมา บอก “ช่วยเอาไปฝากแม่หน่อยนะ ให้แม่เก็บไว้หน่อย” (หัวเราะ) ไอ้ตัวมันก็ถูกเค้าจับกุมคุมขังอยู่ระยะนึง แล้วก็ปล่อย แต่ตัวเราเนี่ย ถามว่า ไอ้ตอนที่เค้าปะทะกันเนี่ย ได้เข้าอยู่ในกระบวนการของการปะทะมั้ย ไม่ได้อยู่

ผู้สัมภาษณ์: คือคุณป้าเข้าไปร่วมชุมนุมในฐานะมวลชนอยู่แล้วใช่มั้ยครับ คือเห็นด้วยกับประเด็นคือต้องขับไล่สุจินดาออกไป
คุณศรีสวาท: คือเค้าเสียสัตย์ไง คือตอนแรกเค้าบอกเค้าไม่เป็นนายกฯ แต่ต่อมาเค้ามาเป็นนายกฯ แล้วเรารู้ว่าพวกทหารมันก็ไม่ใช่ว่ามือสะอาดบริสุทธิ์อะไรหรอก แต่ว่ามันไม่กินมูมมาม มันไม่ใช่แบบทักษิณน่ะ ถึงมันจะกินยังไงมันก็ไม่เท่าทักษิณ คือมันจะกินมันก็กินแบบยังไงอ่ะ มันก็กินแบบในส่วนที่ทหารพึงจะกินอ่ะ นึกออกมั้ยคะ เช่น เงินเกี่ยวกับการซื้อรถถังนะ ทหารบกนะซื้อรถถัง ทหารอากาศก็เรือบิน ทหารเรือก็เรือรบ มันค่าคอมมิทชั่น มันได้อยู่แล้ว บนโต๊ะใต้โต๊ะอะนะ แล้วมันก็อาจมีเงินส่วนนั้นเอามากันไว้ คือ มันไม่ได้ใช้อำนาจในการค้าขายไง ไม่ถึงกับไปแก้กฎหมายมาเพื่อตัวเอง มันไม่ได้เหมือนไอ้ทักษิณ ไอ้นี่มันแก้กฎหมายเลย (หัวเราะ) เพื่อเอาผลประโยชน์ให้กับตัวเอง อย่างงี้เป็นต้น เราไม่ชอบตอนนี้อ่ะเราไม่ชอบ เราไม่ชอบที่ว่าเค้าเสียสัตย์

ผู้สัมภาษณ์: อ่อ นี่คือพฤษภา ใช่มั้ยครับ ’35 แล้วอันนี้มาปัจจุบันแล้ว มีประเด็นในอดีตเพิ่มมั้ยครับ อ้อ ผมมีอีกประเด็นนึง ตอน 14 ตุลา นี่คุณป้ามีความใกล้ชิดกับขบวนการกรรมกร มีกรรมกรมาเข้าร่วมกับขบวนเยอะมั้ยครับ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา
คุณศรีสวาท: มีค่ะ ที่ทำงานเนี่ยมี ถ้าเผื่อจะถือแล้วนี่นะ ตัวเองก็เป็นคนหนึ่งนะที่เค้าเรียกอะไร labour อ่ะ ผู้ใช้แรงงานนะคะ เพราะในลักษณะของรัฐวิสาหกิจมันมีลักษณะทับอยู่นะ ส่วนหนึ่งก็จะเป็นราชการ อีกส่วนหนึ่งก็เป็น labour คือถ้าส่วนที่ได้ผลประโยชน์ ชั้นเป็น labour นะ ชั้นต้องการจะไปติดต่อไหนให้มีอภิสิทธิ์ก็เป็นข้าราชการนะ (หัวเราะ) แต่ว่าก็มีค่ะ มีพวกรัฐวิสาหกิจเข้าร่วมเยอะแยะ

ผู้สัมภาษณ์: คือเข้าร่วมเป็นองค์กรหรือเข้าร่วมเป็นปัจเจก เป็นตัวคน
คุณศรีสวาท: ก็มีเป็นสมาพันธ์นะ สมาพันธ์หมายถึงว่าหลายสหภาพแรงงานเค้ารวมกันเป็นสมาพันธ์

ผู้สัมภาษณ์: ตอน 14 ตุลาใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ค่ะ ตอน 14 ตุลา โอ๊ะ ไม่ใช่ ตอน 14 ตุลา ยังไม่มีๆ ปี ’19  6 ตุลา ’19 อันนั้นมีแล้วค่ะ เป็นสมาพันธ์ เป็นสหภาพผู้ใช้แรงงานอะไรต่างๆ ไอ้นี่มากมาย แต่ว่า14 ตุลา ’16 ตอนนั้นไม่มี มีแต่กลุ่มบุคคล เป็นบุคคลที่คิดกันว่าจะทำอะไร ยังไม่มีชื่อ เป็นกลุ่มนั้น... กลุ่มรถไฟ...

ผู้สัมภาษณ์: คือกลุ่มรถไฟก็ได้เจ้าร่วมใน 14 ตุลา เหรอครับ
คุณศรีสวาท: อูย ไม่รู้อะไร กลุ่มรถไฟเนี่ยนะ เค้าได้ต่อสู้ทางด้านแรงงานมา เมื่อครั้งตั้งแต่มีรถไฟใหม่ๆ รถไฟเนี่ย ถ้าเผื่อเป็นขบวนการหัวหอกของการต่อสู้จริงๆ แล้ว ก็คือรถไฟ กรรมกรรถไฟ สมัยก่อนเราเรียกว่ากรรมกรรถไฟ แต่คุณสมศักดิ์ โกศัยสุขเค้าได้อยู่ร่วมในการต่อสู้มา โอ้โห สาหัสสากรรจ์ ในขบวนการแรงงานสมัยก่อนมันมีทั้ง ขบวนการแรงงานที่ขายตัวให้รัฐบาลก็มี กรรมการที่ไม่ได้ขายตัวให้รัฐบาลก็มี แต่ไอ้ที่ขายตัวให้กับรัฐบาลนี่อยู่ไม่ยืด แต่ตาสมศักดิ์นี่จะอยุ่ยืด (หัวเราะ)

ผู้สัมภาษณ์: แล้วถ้าจะให้คำอธิบายสั้นๆ ของเหตุการณ์ 14 ตุลา คุณป้าคิดว่าคำอะไรหรือประโยคอะไรที่จะเหมาะสมกับเหตุการณ์นี้มากที่สุด
คุณศรีสวาท: จะเอาอะไรดีล่ะ 14 ตุลา เนี่ยนะ เป็นการลุกขึ้นเรียกร้องนะ รัฐธรรมนูญนะ ให้กับประเทศชาติ อย่างนั้นใช่มั้ยคะ อันนี้เป็น point ที่สำคัญ

ผู้สัมภาษณ์: แล้วกรณี 6 ตุลา ล่ะครับ เหตุการณ์ล่ะครับคิดว่ามันมีคำอธิบายสั้นๆ ที่ คำนี้เหมาะกับเหตุการณ์นี้มากที่สุดเลย
คุณศรีสวาท: เพราะว่า 6 ตุลา ’19 ขบวนการประชาธิปไตยถูกปราบ เนื่องจากดำเนินการ... บางกลุ่มนะ หัวขบวนนะ ไอ้ท้ายขบวนไม่รู้ หัวขบวนนี้บางทีก็ดำเนินการแบบ ตกอยู่ภายใต้การชี้นำของพวกซ้ายจัด ของพวกพคท. มันถึงถูกทำลายไง ถ้าไม่มี การชี้นำนะ ให้ขบวนการประชาธิปไตย หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 มันจะขับเคลื่อนไปโดยธรรมชาติของมันนะ มันจะไม่ถูกทำลาย นี่มันถูกทำลายโดยพคท. และขอพูดเลย อยากจะเรียกพคท. มาแล้วก็ชี้หน้าว่า คุณทำลายขบวนการนักศึกษา ขบวนการประชาธิปไตยของประชาชน บ้านเมืองไม่มีความสงบสุข พฤติกรรมเช่นเดียวกับพวกเสื้อแดงในปัจจุบัน ประชาชนเอือมระอา

ผู้สัมภาษณ์: แล้วอย่างพฤษภา ’35 เนี่ยล่ะครับ
คุณศรีสวาท: อันนั้นก็เป็นการลุกขึ้นสู้ของประชาชนชนชั้นกลาง เกี่ยวกับประชาธิปไตยนี่แหละ แล้วก็ตอนประชาชน ไม่ชอบเผด็จการทหาร จะมีการปฏิวัติใช่มั้ยคะ ที่พลเอกสุจินดา คราประยูร บอกว่าจะไม่เป็นนายก แต่แล้วก็เป็นนายกรัฐมนตรีเสียเองเข้ามา อันนั้นประชาชนเค้าก็ทนไม่ได้

ผู้สัมภาษณ์: เมื่อกี๊คุณป้าบอกว่า ได้อยู่ในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตันด้วยใช่มั้ยครับ อยากให้เล่า
คุณศรีสวาท: ตอนนั้นเรายังเด็กอยู่ 8 – 9 ขวบ

ผู้สัมภาษณ์: ตอนนั้นจอมพล ป. ใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ใช่ค่ะ

ผู้สัมภาษณ์: ภาพที่รับรู้เป็นยังไงมั่งครับ
คุณศรีสวาท: เท่าที่มองเห็นด้วยสายตา ก็คือ เรือรบหลวงศรีอยุธยานะ ก็เป็นเรือรบที่ใหญ่คิกว่าใหญ่มากนะคะ ก็ถูกเครื่องบินทิ้งระเบิด และจมอยู่ใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับกรมอู่ทหารเรือ

ผู้สัมภาษณ์: เห็นตอนทิ้งเลยใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: เห็นควันลุก แล้วเรือศรีอยุธยาก็ค่อยๆ จมลง บ้านอยู่เลยสะพานพุทธ แนวเดียวกับ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก็มานั่งดู

ผู้สัมภาษณ์: อยู่ฝั่งธนฯ ใช่มั้ยครับ
คุณศรีสวาท: ค่ะ เลยสะพานพุทธไปหน่อย ริมแม่น้ำ แล้วก็มองเห็นด้วยสายตาว่าเรือถูกระเบิด มีควัน มีเพลิง มีควัน แล้วต่อมาไม่ช้าไม่เร็วก็จมลง ตอนนั้น เราไม่รู้ว่าใครเป็นใคร เรารุ้เพียงเท่านั้น ต่อมาเราศึกษาประวัติศาสตร์แล้วจากการที่พ่อเล่าให้ฟังนะคะ มันก็ คือเป็นการต่อสู้กัน ระหว่างรัฐบาลจอมพล ป. กับอีกพวกนึง ก็คงจะพวกไหนก็ไม่รู้ เราก็ไม่รู้นะ มีการต่อสู้กัน แย่งชิงกัน แค่นั้นนะ ที่เรารู้ในขณะนั้น ในสมัยเด็กๆ แล้วเราก็มองเห็นว่าทหารบกกับทหารเรือเป็นศัตรูกัน ร้านรวงในขณะนั้นปิดนะ แถววงเวียนเล็กนี่ปิด แต่ก่อนนี่แถววงเวียนเล็กนี่นะ เป็นแหล่งกินอาหารของคนกลางคืนน่ะ มีสารพัดของกิน ด้องก็ปิดหมด แล้วทหารเรือก็อดอยากมาก ไม่มีอาหาร เค้าก็มีขนมปังมาขนมปังมันก็แห้ง เค้าก็วิ่งมาที่ท่าน้ำ เอาขนมปังชุบน้ำ สมัยก่อนแม่น้ำเจ้าพระยาสะอาด ไม่โสโครกอย่างงี้ สมัยก่อน น้ำในแม่น้ำ เผลอๆ บางคนนะ เค้าก็กินได้อะไรได้ ก็มันไม่มีสิ่งปฏิกูล ทหารเรือก็เอาขนมปังมาชุบน้ำในแม่น้ำเนี่ย ทหารบกอยู่ฝั่งพระนคร ทหารเรืออยู่ฝั่งธนฯ ทหารบกก็ยิง ทหารเรือก็วิ่งหนี อย่างงี้ค่ะ แล้วก็ถ้าร้านค้าตรงไหนเปิด พวกทหารก็จะวิ่ง ที่แขวนกล้วยหอมเอาไว้ คนเค้าขายกล้วยหอมนะ ทหารนี่ก็วิ่งเอาของเค้ามากิน ที่เห็นด้วยสายตานะ ก็แค่นั้นแหละค่ะ ตอนนั้นมันเด็กเกินไปที่จะไปรับรู้อะไรมากมาย

ผู้สัมภาษณ์: ช่วงก่อน 14 ตุลา
คุณศรีสวาท: อ๋อ ช่วงก่อน 14 ตุลา มันก็อ่านหนังสือไปตามเรื่องตามราว อ่านหนังสือพิมพ์บ้างอะไรบ้าง แต่ความรับรู้ทางด้านการเมืองตอนนั้นยังไม่มีอะไรมากมาย เราก็คิดว่าโอเคอ่ะ บ้านเมืองมันก็พอไปได้ แล้วมันก็เป็นชีวิตในมหาวิทยาลัยที่บอกแล้วว่ามันสนุกสนานร่าเริง ไม่คิดอะไรมากมาย มีเงินใช้ ได้แต่งตัว ได้เที่ยว ได้สนุกสนานเฮฮา ที่จุดประกายมากที่สุดก็คือ พอเค้าจับ 12 คนไป ตอนแรก 12 นะคะ ต่อมาไขแสง สุกใส สส นครพนม แกก็เข้ามอบตัวเป็น 13 คน อันนั้นเป็นประกายทำให้ “รู้ว่า บ้านเมืองเราไม่เป็นประชาธิปไตยเหรอเนี่ยแล้วไอ้ที่มันร้องเพลงและประกาศทางวิทยุอยุ่ทุกวันล่ะ ว่าประชาธิปไตยๆ มันไม่ใช่เหรอ” เพื่อนบอกว่า “เจ๊มันไม่ใช่หรอก” “เรา “มีธรรมนูญการปกครอง ก็เขียนโดยคณะทหาร” เพื่อนตอบ

ผู้สัมภาษณ์: แล้วกลับมาปัจจุบันแล้วนะครับ คือคุณป้ายังได้ทำกิจกรรมอะไรมั้ยครับเกี่ยวกับทางการเมือง
คุณศรีสวาท: ไม่ค่ะ แต่ก็ได้เข้าร่วมแล้วก็ได้ศึกษาเค้า ได้ศึกษาพฤติกรรมของเค้า เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังนิดนะคะ ว่าทำไมตอนนี้เรา ความคิดเราเมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ขึ้น พอเราไปอ่าน  ต่อมาพวกที่เข้าป่าไปเนี่ย ที่เค้าอยู่ในป่า เราก็ติดตามข่าวคราวอะไรต่างๆ ของเค้าเนี่ยนะคะ ต่อมารัฐบาลโดยพลเอกเปรม ชวลิต ยงใจยุทธ อาทิตย์ กำลังเอก พลเอกสายหยุด เกิดผล พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เห็นมั้ย ทหารหมดเลย เราดูว่าไอ้การที่มันเป็นเผด็จการอย่างที่เล่าให้ฟังแล้วนะคะ จริงๆ แล้วทหารจริงๆ น่ะ มันไม่ใช่เผด็จการหรอก แต่ว่า... ด้วยว่าเค้ามีระเบียบวินัยของเค้า มันก็เลยดูเหมือนว่าเป็นเผด็จการซึ่งการเป็นเผด็จการมันเหมาะสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือบ้านเมืองเกิดเหตุการณ์ วิกฤตจะแก้ไขสถานการณ์ต้องรวดเร็ว รอช้าไม่ได้เปรียบเทียบที่เราฟังอภิปรายในสภานะ  ทุกวันนี้เอาเหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้นน่ะ คุณว่ามันคืออะไรอ่ะ บางอย่างมันทุเรศน่ะ ทุเรศแล้วไม่รู้จะทุเรศยังไง เรื่องไม่เป็นเรื่องยังจะหยิบเอามาเป็นเรื่องอภิปรายได้ 2 วัน 3 วัน กับไอ้นิดเดียวแค่นี้ แทนที่ว่าคุณจะใช้เวลาให้ไปเป็นประโยชน์ อภิปรายข้ออื่นที่มันมีผลต่อประเทศชาติอะไร ป่าว คุณไม่ได้อภิปราย แต่ทหารเค้า เค้าก็รำคาญ ใช่มั้ย ทหารก็รำคาญ เพราะฉะนั้น ประชาชนบางกลุ่ม นักการเมืองปัจจุบันมองทหารไอ้เผด็จการ ทหารก็มองนักการเมืองไอ้ทุเรศ  เห็นมั้ย คือมันมองแบบสุดขั้ว เมื่อกี๊ที่อธิบายว่าซ้ายจัดกับขวาจัดน่ะ มันมีหลักคิดเหมือนกัน เหมือนลูกตุ้มนาฬิกา แกว่งไปทีก็สุดขั้ว แกว่งไปทีก็สุดขั้ว ทหารมองนักการเมืองด้วยความคิดระอาใจอภิปายเรื่องเดียว 3วัน 3คืนไม่จบ ไร้สาระ ใช่มั้ย นักการเมืองก็มองทหารว่าไอ้เผด็จการเอาแต่คำสั่งใช่มั้ย แต่จริงๆ แล้วที่เราดูเนี่ยนะ ในปัจจุบันเนี่ยนะ คำสั่งที่ 66/23 ที่เขียนขึ้นมา คือจากทหารกลุ่มนึงซึ่งเป็นนักประชาธิปไตย คือทหาร ถ้าพูดกันจริงๆ แล้ว กลุ่มนี้เกิดจาก จปร. รุ่นที่ 7 ในทหาร จปร. รุ่น 7 จะมีตัวเอกที่สำคัญ  เราถามว่ามันเกี่ยวอะไรกับเรา ใช่ บุคคลเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความคิดเรา คือ 1. กลุ่มของจำลอง ศรีเมือง พวกนี้จะศึกษาธรรมะ ตอนแรกพลตรีจำลองนี้ก็ไม่ใช่ธรรมะนะ ตอนแรกนี่จำลอง fascist นะ อย่างเหตุการณ์ 6 ตุลา ’19 เนี่ย จำลองเนี่ยเพิ่งเสร็จศึกจากเวียดนามมาสดๆ ร้อนๆ จำลองก็  เลือดแรง กำลังพร้อมที่จะเข่นฆ่าใครก็ได้ คนมันผ่านสมรภูมิมาแล้ว แล้วจำลองไม่ได้ผ่านสมรภูมิเดียวนะ ผ่านมาหลายสมรภูมิทีเดียว ครั้งสุดท้ายก็คือเวียดนาม แล้วก็ตา พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี นี่บ้าดีเดือด พวกนี้ตอนแรกมันก็กลุ่มเดียวกัน ก็มีความคิดมันหล่อหลอมมาจากแหล่งเดียวกันนี่ ต่อมาเมื่อเค้าเป็นผู้ใหญ่ขึ้น กลุ่มนี้เค้าก็มีประจักษ์ สว่างจิตร ซึ่งยิงตัวตายไปแล้ว พันเอกสาคร พลเอกปรีชาอะไรพวกเนี้ยนะ พวกในระดับนี้ พวกนี้แนวความคิดแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จเลยนะ ถามว่ารักความเป็นธรรมมั้ย เค้าก็รักความเป็นธรรมนะ กลุ่มพลตรีจำลอง ศรีเมือง กลุ่มนี้มีน้อย คือศึกษาธรรมะ ต่อมาพวกนี้เป็นผู้ใหญ่ขึ้น แล้วระดับพลตรีนี่ถือว่าเป็นผู้ใหญ่ขึ้นแล้วนะ จากพันเอกก็มาพลตรี พลโท พลเอก ก็เริ่มเรียนรู้อะไรมากขึ้น แต่ว่าเวลาเมื่อสมัยเค้าเป็นเด็กๆ คำว่าเด็กๆ ก็หมายถึงว่า พันโท พันเอก นี่ยังถือว่าเด็กนะ แต่เค้าขึ้นนายพลแล้วนี่มันเริ่มเป็นผู้ใหญ่แล้ว พวกนี้นะคะ เค้าแบ่งความคิด เราแบ่งแยกเองนะ คือเราวิเคราะห์เค้าเอง แล้วแบ่งแยก คือ 1. พวกเผด็จการ 2. พวกประชาธิปไตย ซึ่งเรารู้จักหลายคน พวกนี้จะนุ่มนวล จะพูดจาเป็นนักประชาธิปไตย อีกพวกนึงคือพวกพลตรีจำลอง ศรีเมือง ซึ่งเป็นพวกธรรมะ ซึ่งมีน้อย เราแบ่งรุ่น 7 ออกเป็น 3 พวก คืออย่างงี้

ผู้สัมภาษณ์: รู้จักเป็นการส่วนตัวรึเปล่าครับ
คุณศรีสวาท: บางคนเรารู้จักเป็นการส่วนตัว แล้วถามว่า พวกนี้มีอิทธิพลต่อความคิดเรามั้ย มี บอกว่ามี แต่ถามว่าเรารับได้มั้ย บางกลุ่มเราก็รับได้ บางกลุ่มเราก็รับไม่ได้ อย่างพวกพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร อย่างที่เราให้ความคิดของเราไว้แล้ว เราไม่เคยไปสัมผัสกับเค้าโดยตรง หลังจากเราผ่านความคิดของเราไปยังเค้าเนี่ย ตอนนั้นคุณณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ จริงๆ แล้วก็อยากบอกว่าเรารู้จัก แต่ว่าตอนนี้เราห่างไกล  เราได้ศึกษาวิทยานิพนธ์ของคุณณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ จริงๆ เค้าจบจากเศรษฐศาสตร์ ที่ธรรมศาสตร์

ผู้สัมภาษณ์: ตอนนี้สอนอยู่จุฬาฯ
คุณศรีสวาท: เค้าก็ย้ายๆ ไปๆ มาๆ 2 มหาวิทยาลัยค่ะ เดี๋ยวก็ย้ายมาที่ธรรมศาสตร์ เดี๋ยวก็กลับไป เดี๋ยวก็ย้ายกลับมาใหม่อะไรไม่ทราบเหมือนกันแหละ ทีนี้ วิทยานิพนธ์ของเค้าบอกมี 20 ตระกูลนะที่มีอิทธิพลต่อประเทศไทย จับหันซ้ายหันขวา มีอิทธิพลต่อพ่อค้า มีอิทธิพลต่อนักการเมือง แล้ว 20 ตระกูลผูกขาดทางการค้า พอคุณประจักษ์รู้ ว่าพวกนี้กุมบังเหียนของประเทศชาติกุมเศรษฐกิจของประเทศ จะหันซ้ายหันขวายังไงก้ได้ อันนี้ในช่วงนั้นนะ ในช่วงหลังเหตุการณ์ ประมาณก่อนปี ’35 ตอนปี ’35  “เอางี้” พันเอกประจักษ์เค้าบอก “เอาเขียนชื่อ 20 ตระกูลนี้ ใส่หมวกเลย เขียนชื่อมันไว้แล้วก็เขย่าๆ แล้วหยิบขึ้นมาหนึ่งอัน วันนี้ชื่ออะไร ฆ่าเลย” เค้าไม่อยากจะพูดมากไง ไม่อยากจะสาธยายมาก นี่คือลักษณะของทหารไง ก็รู้แล้วมันชั่ว จากการศึกษานี่นะ มันชั่ว มันผูกขาดกันยังไงๆ ทางเศรษฐกิจ ทำให้คนยากจน ต้องไปร่วมกับคอมมิวนิสต์ เพื่อปลกแอกจากพวกนี่ แล้วทหารก็ต้องไปสู้รบกับประชาชนคนยากจน ต้นเหตุที่แท้จริงก็เกิดจากกลุ่มคนผูกขาดเหล่านี้เองก็เอาอย่างงี้ พวกทหารประชาธิปไตยบอก “เฮ้ย ทำอย่างงั้นไม่ได้นะ เราต้องเอาเค้ามาสอบมาสวนมาอะไรต่ออะไร กฎหมายไม่ให้อยู่ดีๆ จะไปฆ่าเค้าได้ไง” เค้าผ่านศึกเวียดนาม ผ่านเขมรมาแล้ว เพิ่งฆ่าเขมรมาสดๆ ร้อนๆ อะไรงี้ เรื่องการฆ่าคนนี่เรื่องเล็กมาก แล้วบอกไอ้นี่ทำลายประเทศชาติจับฆ่าเลย ก็สรุปว่าเป็นแค่คำพูดแต่ไม่ได้กระทำ นี่คือความคิดของเค้า ส่วนคุณจำลองนะก็จะใช้แนวความคิดแบบธรรมะนำการเมือง เค้าถือว่าคุณธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้านักการเมืองมีคุณธรรมบ้านเมืองก็สงบร่มเย็น เค้าถึงได้ตั้งพรรคพลังธรรม แล้วต่อมาก็มีการเชิญนายทักษิณเข้าไป แล้วต่อมามันเกิดอะไรขึ้นมาก็ไม่รู้ ทักษิณก็แยกออกมา ส่วนทหารประชาธิปไตยเนี่ยเค้าเป็นส่วนสำคัญนะ ในการร่างคำสั่ง คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 66/23 คือคล้าย กลุ่มที่อยู่ในป่าทั้งหลายเนี่ย คุณที่เข้าไปในป่า คุณออกมา มีอะไรๆ มาพูดกันในรัฐสภา นี่คือเป้าหมายหลัก พูดแบบสรุปรวม คือจริงๆ มันมียาวเฟื้อย แล้วตอนนั้นเราซึ่งเป็นพนักงานของรัฐ เราก็ศึกษาตรงนี้ พอเราศึกษาแล้วเนี่ย หลังจากคำสั่งที่ 66/2523 ออกปั๊บ พวกที่อยู่ในป่าจึงออกมา การออกมาของเค้า บางพวกซึ่งเป็นพลเรือน หรือบางพวกที่เป็นทหารก็ต่อต้าน ไอ้พวกนี้ให้มันออกมาทำไม ให้มันมาสู้รบในเมืองทำไม มันจะสู้รบแบบโซเวียตหรือไง มันจะมาทำลาย ให้มันอยู่ในป่า อีกพวกนึงก็บอกว่าออกมาเหอะ มีอะไรมาสู้กันในสภา เราเป็นประชาธิปไตย ผลสุดท้ายคำสั่งนี้ออกมา พวกในป่าก็ออกมา แล้วก็ให้มาต่อสู้กันในสภา คุณเสกสรร ประเสริฐกุลก็ไปเรียนเมืองนอก คุณจิระนันท์ก็ไปเรียนเมืองนอก คุณธีรยุทธก็ไปเรียนเมืองนอก (หัวเราะ) แล้วใครต่อหลายคนก็ออกมา นี่ไงที่ว่าทหารเป็นเผด็จการน่ะ ถามหน่อยว่าเผด็จการจริงหรือเปล่า พลเอกเปรมนี่ใช่เป็นเผด็จการมั้ย สายหยุดนี่ใช่เป็นเผด็จการมั้ย ขนาดมีหนังสือโจมตีนะ พลเอกเปรมนะ ตอนที่ร่างคำสั่ง 66/23 เนี่ย กลุ่มทหารกลุ่มหนึ่งแล้วกลุ่มพลเรือนอีกกลุ่มหนึ่งร่วมมือกัน ทำหนังสือ เค้าเรียกบัตรสนเท่ห์ หนังสือลับ  ออกมาโจมตีพลเอกเปรม หาว่าอยู่เบื้องหลังไอ้พวกนี้  พวกหมอทั้งหลายที่ออกมาเนี่ย นายอะไรต่ออะไรที่ออกมาเนี่ย กล่าวหาพลเอกเปรม กล่าวหาพลเอกสายหยุด เกิดผล ขนาดว่าคุณเสกสรรค์ออกมาเนี่ย พลเอกสายหยุดเอากระเช้าดอกไม้ไปให้ เอาอะไรไปให้ ไอ้พวกขวาตกขอบก็โจมตี โจมตีพลเอกเปรม ในฐานะเป็นผู้เซ็น โจมตีพลเอกชวลิต ในฐานะตอนนั้นตำแหน่งอะไรเสธ. อะไรจำไม่ได้ พลเอกสายหยุดตอนนั้นท่านอยู่ กรป. กลางแต่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เนี่ยจำได้แม่นเลย ท่านก็เป็นผู้หนึ่งนะคะ ต่อมาเป็นนายกฯ เค้าก็ออกคำสั่ง เพราะฉะนั้นเนี่ย การที่เรามองว่าทหารเป็นเผด็จการ พอเห็นสีเขียวปั๊บ เหมือนอย่างที่เรามองเมื่ออดีตไง ตอนที่ทหารเข่นฆ่าประชาชน ตอนเมื่อเหตุการณ์ 14 ตุลา ’16 เนี่ย เรามองทหารเราเกลียดมากเลย เราว่าทหารมันเข่นฆ่าประชาชน แต่เมื่อเราศึกษาเราผ่านเหตุการณ์อะไรต่างๆ มาแล้ว เรารู้จักอะไรเนี่ย ทหารไม่ใช่อย่างงั้นทุกคน ทหารเป็นประชาธิปไตยมี ไอ้ที่ไปโจมตีเค้าพลเอกเปรมร้อยแปดพันเก้าน่ะ “พวกคุณรู้รึเปล่าที่ออกจากป่ามาน่ะ เพราะเค้าเซ็นคำสั่งให้พวกคุณออกมา ถ้าไม่ใช่ทหารเหล่านี้แล้วพวกคุณไม่ได้ออกหรอกอยู่ในป่านั่นแหละ” และตายในป่า พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ก็เช่นเดียวกัน พลเอกสายหยุด เกิดผล นี่ทั้งหลายแหล่ เหล่านี้ พลเอกอาทิตย์น่ะ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่อินกับคำสั่งที่ 66/23 เท่าไหร่ แต่ท่านก็ต้องทำโดยหน้าที่ เมื่อคณะทหารที่เป็นทหารประชาธิปไตย ซึ่งมาจาก จปร. รุ่น 7 เนี่ย รุ่นพลตรีจำลอง ศรีเมือง เค้าเสนอแนะความคิดนี้มา แต่ถามว่าเค้ามีอิทธิพลนี่มากมั้ย  ไม่มาก เพียงแต่เรารับได้ในบางข้อบางเรื่อง เค้าบอกทุกวันนี้มันยังไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเรายอมรับมันไม่เป็นนะ ประชาธิปไตยมันไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง มันอยู่ที่ธรรมชาติของคนน่ะ คนทุกวันนี้มันเป็นที่ไหน แล้วบรรดาหมอทั้งหลายที่ไปอยู่กับพวกเสื้อแดงน่ะ แล้วคุณอะไรที่พ่อเค้าเป็นคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์น่ะ ทองปักษ์ เพียงเกษ ออกจากป่าแล้วนะ

ผู้สัมภาษณ์: อดิศร เพียงเกษ
คุณศรีสวาท: อื้อ อดิศรน่ะ ถามว่าคุณเคยประณามว่า ในลักษณะของทักษิณเนี่ย ประชาธิปไตยแบบยกมือพรึ่บ ไม่ว่าคุณจะเลวขนาดไหนเนี่ย ยกมือพรึ่บเนี่ย ถามว่าเผด็จการรัฐสภาใช่มั้ย ที่พวกคุณต้องเข้าป่าไป แล้วทำไมปัจจุบันนี้คุณถึงรับได้ล่ะ รับทักษิณได้ล่ะ ทักษิณเป็นนักประชาธิปไตยหรือ คุณเรียกร้องประชาธิปไตยจริงเหรอ ไม่ใช่ คุณไม่ใช่ประชาธิปไตย แล้วคุณเที่ยวไปไล่ล่าเค้าที่พัทยา ที่กระทรวงมหาดไทย ถามว่านี่หรือประชาธิปไตยของพวกคุณ ก็ที่คุณตอหลดตอแหลปลิ้นปล้อนอยู่บนเวทีเสื้อแดงของคุณเนี่ย นี่หรือประชาธิปไตย บอกไม่ใช่ มันกะล่อน คุณหลอกลวง คุณนักต้มตุ๋นน่ะ เสียดายคุณเข้าป่า เสียดายคำสั่ง 66/23 ที่พวกคุณอาศัยเข้ามา แล้วคุณมาร่วมมือกับเผด็จการรัฐสภา ทำร้ายประชาชน เราอยู่องค์การโทรศัพท์นี่ รู้ดี สัมปทานมือถือที่ใช้อยู่ 081 อะไรของบริษัท AIS น่ะ ทักษิณใช้วิธีการพลิกแพลงแค่ไหน นี่พวกเราเป็นนักประชาสัมพันธ์นะ ต้องพยายามประชาสัมพันธ์อย่างงั้นอย่างงี้ ไล่บี้กับการสื่อสารของ DTAC ต้องบี้ DTAC ลงไปเพื่อให้ AIS อยู่ได้ แก้สัญญา เนี่ยเล่าให้ฟังนะคะ AIS ( ทักษิณ)ได้รับสัมปทานจากองค์การโทรศัพท์ ใช้อาศัยคลื่นองค์การโทรศัพท์ สมัยก่อนมันก็คลื่น 900 แล้วก็ 1900 ของ AIS ต่อมามันก็พัฒนาขึ้นมา ทักษิณเนี่ยได้รับสัมปทานจากองค์การโทรศัพท์ตรงนี้ สัมปทานองค์การโทรศัพท์เนี่ย สมมุติว่าเค้าให้องค์การโทรศัพท์ปีนึง 1 พันล้าน กำไรขององค์การโทรศัพท์ทั้งหมดนะคะรัฐบาล เกือบ 50% ต่อปี ก็โดยกำไรจากการให้สัมปทานอะไรต่างๆ ก็มีทักษิณอยู่ด้วย ต่อมาทักษิณเค้าเริ่มมองเห็นว่าการให้สัมปทานองค์การโทรศัพท์ นี่สมมุติตัวเลขนะคะ แต่จริงๆ มันมากกว่านี้ 1 พันล้านนี่มากเกินไปละ ไม่เอา เค้าเข้าสภาเลย เอาเรื่องเข้าสภาขอแก้เอาสัมปทานเนี่ยนะ มาแก้เป็นขอเสียภาษีสรรพสามิต ภาษีสรรพสามิตมันสำหรับอะไร เหล้า บุหรี่ เครื่องดื่น  แหล่งบันเทิง แต่นี่เอาโทรศัพท์มือถือเข้าไปด้วย ตลกที่สุดเลย แทนที่จะเสียให้องค์การโทรศัพท์ปีละ 1 พันล้าน กลับเสียภาษีสรรพสามิตแต่ 3 ร้อยล้าน อีก 7 ร้อยล้านเข้ากระเป๋า นี่ไง เห็นชัดๆ เลย ไม่ใช่เรื่องนี้เรื่องเดียว เรื่องสมุดโทรศัพท์ เมื่อกี๊เล่าให้ฟังแล้ว “ไม่พิมพ์มันซะอย่างงั้นน่ะ  ใช้อย่างงี้” ทำไม ผลสุดท้ายเดี๋ยวนี้ไม่มี มีแต่หน้าเหลือง ต้องฟังเพื่อนอีกคน เพื่อนจบจากธรรมศาสตร์ จบนิติฯ กับบัญชี เพื่อนคนนี้ เป็นหัวหน้ากองเหมือนกันอยู่ที่องค์การโทรศัพท์ เค้าถูกแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจรับสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ นายก็เรียกมาเลย “นี่คุณ ผมแต่งตั้งให้คุณเป็นประธานนะ ตรวจรับสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์” ก็ “ไหน มีเท่าไหร่” “อ้อ มีแค่นี้” “อื้อ ผมทำไม่ได้หรอกครับผมต้องทำตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีคือ ของต้องมาครบ ผมถึงจะตรวจรับได้ว่าตรงตาม spec มั้ย เช่น สั่งพิมพ์ 5 หมื่นเล่ม ก็ต้อง 5 หมื่นเล่ม ไม่ใช่คุณเอามาแค่ร้อยเล่ม แล้วบอกคุณเซ็นรับสิ ผมทำไม่ได้” แล้วเค้าจบกฎหมายด้วย แล้วจบบัญชีด้วย เค้าบอก “ถ้างั้นคุณจะให้ผมสร้างโกดังเก็บสมุดโทรศัพท์เหรอ” นายว่างี้ “ก็ถ้าบริษัทเค้าพิมพ์แล้วเค้าก็ทยอยมาก็ได้นี่” บอก “ไม่ได้ระเบียบมันมีอยู่ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีมันบังคับอยู่ ว่าต้องของครบแล้วถึงจะตรวจรับ ไม่ใช่ทยอยมาเป็น lot เป็น lot” นายบอก “ถ้างั้นคุณไม่ต้องทำ” ปลดเลย ไม่ใช่ปลดจากการเป็นประธานตรวจรับอย่างเดียวนะ ปลดจากตำแหน่งผู้อำนวยการกองเลย ไอ้นี่ก็เลยนั่งลอยๆ อยู่เฉยๆ กินเงินเดือน 8 หมื่น นั่งอยู่เฉยๆ นายเดินผ่านก็ตะโกนด่าที นายโต๊ะใต้โต๊ะร้อยแปดพันเก้า เสร็จแล้วก็เมื่อพ้นหน้าที่จากการถูกบีบหรือยังไงไม่ทราบ ทักษิณให้มาเป็นประธานบริษัทนึงของเค้า แล้วส่งเค้าไปเป็น สว. แล้วก็มิหนำซ้ำ ฝากหุ้นไว้อีกให้ เวลาที่นายคนนี้ นั่ง wheel chair เพื่อนที่ถูกปลดเนี่ยนะ เป็นรู้สึกอัมพฤกษ์นะ เค้ายังสงสัยว่าหุ้นที่ฝากไว้เนี่ย จะทำยังไง ก็บอก “เอ๊ะ อัลไซเมอร์จริงรึเปล่า เป็นอัมพฤกษ์จริงรึเปล่า หรือแกล้งทำเป็นอัมพฤกษ์” นึกออกมั้ย เซ็นคืนไม่ได้ กรรมมันตามสนอง ไปขโมยมาก็ถูกขมายไปอะไรทำนองนี้ นี่เล่าให้ฟังนะ ที่เรารู้ว่าทักษิณมีกรรมวิธีพลิกแพลงยังไง เพราะฉะนั้นถ้าเค้าขายตามปกตินะคะ เค้าไม่รวยมหาศาลอย่างงี้ เพราะฉะนั้นรัฐบาลอังกฤษรู้ดี เค้ารู้ว่ารวยมาโดยวิธีใด ถึงไม่ให้เข้าประเทศไง ทั้งๆ ที่ตัวไปซื้อบ้านนะ ปลูกบ้านที่หรูที่สุดในอังกฤษเนี่ยนะ เพราะฉะนั้นรับบาลอังกฤษถึงไม่ให้เข้าประเทศของเขา

ผู้สัมภาษณ์: คุณป้ามีอะไรอยากจะฝากมั้ยครับ ทางออกของสถานการณ์ปัจจุบัน คิดว่ายังไงสั้นๆ
คุณศรีสวาท: ตรงนี้นะคะ ถ้าเผื่อเราอยากจะให้พวกที่ ออกมาจากป่าเนี่ย เมื่อหลังเหตุการณ์ปี ’23 เนี่ย ที่ออกจากป่ามาสู่เมือง ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 66/23 เน้นตรงนี้เลย ขอให้มาช่วยกันพัฒนาบ้านเมืองให้มารับใช้ประชาชน ไม่ใช่ไปรับใช้นายทุนทักษิณ หรือพวกคุณจะอาศัยทุนทักษิณไปล้มจ้าว แต่ต่อมาคุณก็กลับไปล้มทักษิณมันไม่ง่ายอย่างที่คุณคิดหรอก อยากจะให้เป็นอย่างเงี้ย ขอให้มารับใช้ประชาชน ขอให้เป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ไม่ใช่เที่ยวไปไล่ทุบ ไล่ตี ไล่ยิง ไล่ฟัน อย่างงี้ไม่ใช่ประชาธิปไตย ขอเน้นตรงนี้เลยนะคะ อย่างนี้มันพวก Anarchist ค่ะเค้าเรียกอนารยะชน อันนี้เรารับไม่ได้ บ้านเมืองเนี่ยมันจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในสักวันหนึ่ง เราไม่ใช่ ยึดอะไรอยู่กับที่หรอก แล้วประชาชนทุกวันนี้ เค้าไม่ใช่โง่  ขอให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นผู้ขับเคลื่อน แต่ไม่ใช่พวกซ้ายจัดหรือขวาจัดเป็นผู้เร่งรัดให้เกิดขึ้น


จบการสัมภาษณ์