วันที่ 7 ตุลาคม
2516
มีการติดโปสเตอร์และใช้สีเขียนโจมตีรัฐบาลอย่าง
รุนแรงตามถนนหลายแห่งทั่วเมืองเชียงใหม่
วันที่ 8 ตุลาคม 2516
6.00 น. มีการโปรยใบปลิวในตัวอำเภอเมือง
รวมทั้ง ปิดโปสเตอร์ตามสถานที่และถนนต่างๆ มีข้อความโจมตี รัฐบาลอย่างดุเดือดว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการ
และสนับสนุน ให้นักศึกษาประชาชนเข้าร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญด้วย อย่างไรก็ตาม
ผู้กำกับการตำรวจภูธรเชียงใหม่ก็ได้ระดม กำลังตำรวจไปตระเวณเก็บแผ่นโปสเตอร์มาหมด
นายยุติศักดิ์ เอกอัคร นายกสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แถลงว่า
เรื่องรัฐธรรมนูญเป็นการ เรียกร้องเพื่อส่วนรวมจะต้องร่วมด้วยแน่ ขณะนี้กำลัง
ติดตามข่าวการเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษาใน กรุงเทพฯ ทุกระยะ และจะส่งตัวแทนมาร่วมหารือกับ
ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยด้วย
วันที่ 9 ตุลาคม 2516
กลุ่มนักศึกษาซึ่งใช้ชื่อว่า "กลุ่มนักศึกษาผู้รักชาติ"
ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญและโจมตีรัฐบาล อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเคลื่อนไหวรุนแรง
เพราะยังอยู่ในระหว่างการสอบประจำภาค แต่ก็มีการติด โปสเตอร์อยู่บ้างเช่นชักชวนว่า"เราจะพบกันที่กรุงเทพฯ"
วันที่ 10 ตุลาคม 2516
ที่วิทยาลัยครูเชียงใหม่ในตอนบ่าย มีการเปิดอภิปราย
ประณามการกระทำของรัฐบาล พอถึงตอนเย็น นักศึกษา วิทยาลัยครูประมาณ
3,000 คน ก็เดินขบวนไปร่วม ชุมนุมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จากนั้นพอถึง เวลา 18.30 น. นักศึกษาจึงเดินขบวนไปตามถนน สายต่างๆ
แล้วจัดชุมนุมที่ประตูท่าแพ ซึ่งมีนักศึกษาและ ประชาชนร่วมชุมนุมราว
5,000-6,000 คน
จนกระทั่งเวลา 21.00 น. ก่อนที่การชุมนุมจะ
สลายตัว ได้มีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาล ปล่อยตัว 13 ผู้ต้องหาและมอบรัฐธรรมนูญให้ประชาชน
ขณะเดียวกันสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ได้ เชิญชวนนักศึกษาไปร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ
วันที่ 11 ตุลาคม 2516
มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาล โดยนักศึกษาจากหลาย
สถาบันได้รวมตัวกันที่ใจกลางจังหวัด มีการปราศรัย โจมตีรัฐบาลและมีการปิดโปสเตอร์ทั่วตัวเมือง
พร้อมกันนั้นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่บางส่วนก็ได้เดินทางไปร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ
แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่ ตำรวจสกัดไว้ที่จังหวัดตาก
วันที่ 12 ตุลาคม 2516
ในตอนเย็น นักเรียนนักศึกษาแทบทุกสถาบันใน
เชียงใหม่ ได้ร่วมชุมนุมกันที่ประตูท่าแพ มีการแสดง ละคร โต้วาที ไฮปาร์ค
และรับบริจาคเงินกับอาหารเพื่อ ใช้ในการชุมนุม ที่ประชุมมีมติไม่สลายตัว
และยื่นข้อ เสนอต่อรัฐบาลให้ปล่อย 13 ผู้ต้องหาโดยปราศจาก เงื่อนไข
และให้รัฐบาลลาออก โดยให้รัฐบาลตอบข้อ เสนอภายในเวลา 12.00 น. ของวันที่
13 ตุลาคม
วันที่
13 ตุลาคม 2516
หลังเวลา 12.00 น. ยังไม่มีคำตอบจากรัฐบาล
หลังจากการเผาหุ่นประภาสแล้ว จึงเคลื่อนขบวนไปยัง ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่
ตั้งเป็นกองบัญชาการของ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในการที่จะร่วมกันต่อสู้
ให้ถึงที่สุด โดยมีประชาชนทยอยกันเข้ามาชุมนุมสมทบ มากขึ้นตลอดคืน
วันที่ 14 ตุลาคม 2516
เมื่อได้รับข่าวด่วนจากกรุงเทพฯ ว่ารัฐบาลใช้
มาตรการรุนแรงจนมีนักศึกษาเสียชีวิต คณะกรรมการ ศูนย์กลางนักศึกษาภาคเหนือจึงนำรถออก
ประกาศข่าวในเมือง ประชาชนเกิดความลังเลสับสน ในข้อมูล แต่ก็ทยอยมาชุมนุมสมทบเป็นจำนวนมาก
ในตอนเย็น
หลังจากที่จอมพลถนอมลาออก มีผู้ร่วมชุมนุมมาก
กว่า 10,000 คน มีการร่วมกันบริจาคโลหิต บริจาค อาหาร ทรัพย์สิน และเงินเป็นจำนวนมาก
วันที่ 15 ตุลาคม 2516
เมื่อสถานการณ์ในกรุงเทพฯ ยังคงตึงเครียดอยู่
ทาง คณะกรรมการศูนย์กลางนักศึกษาภาคเหนือจึงตัดสินใจให้สลายการชุมนุมเมื่อเวลาประมาณ
01.30 น. เพื่อความปลอดภัย
หลังจากนั้น เวลา 10.00 น. นักเรียน
นักศึกษา และ ประชาชนได้มาชุมนุมกันที่สนามกีฬาเทศบาลนคร เชียงใหม่
เพื่อร่วมกันทำพิธีไว้อาลัยแด่วีรชน 14 ตุลา
วันที่ 16 ตุลาคม 2516
นักเรียนนักศึกษาร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่
วีรชน 14 ตุลา ที่เสียชีวิต
วันที่ 19-21 ตุลาคม 2516
ศูนย์กลางนักศึกษาภาคเหนือได้ออกรับบริจาคเงิน
เพื่อนำไปใช้สำหรับการจัดนิทรรศการประชาธิปไตย ใช้ช่วยเหลือผู้ที่บาดเจ็บและเสียชีวิต
และใช้เป็นทุนให้ นักศึกษาออกไปแนะแนวการใช้ประชาธิปไตยในทาง ที่ถูกแก่ประชาชน
|